พัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA”

พัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA”

 

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

 

www.drsuthichai.com

 

คนเราเกิดมาอาจไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของชาติกำเนิด แต่คนเราทุกๆคนสามารถเลือกที่จะพัฒนาตนเองได้

 

                คนเราจะมีความก้าวหน้าในชีวิต ก้าวหน้าในที่ทำงาน คนๆนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองจะมุ่งเน้นไปที่การสร้างที่นิสัยที่ดีไปทดแทนนิสัยที่ไม่ดีของตนเอง เช่น การสร้างนิสัยที่มีความขยันขันแข็งไปทดแทนนิสัยที่ขี้เกียจ , การสร้างนิสัยความเป็นผู้ดีไปทดแทนนิสัยที่ต่ำทรามของตน , การสร้างนิสัยความเสมอต้นเสมอปลายไปทดแทนนิสัยที่จับจดโลเล เป็นต้น

 

                ในบทความฉบับนี้ กระผมขอพูดเรื่อง “ พัฒนาตนเองด้วยมิติ การจัดการ PDCA ”

 

                สำหรับหลักความคิด PDCA เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามในขณะนั้นเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ซึ่งประเทศที่ให้ความช่วยเหลือญี่ปุ่น คือประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งคนเข้าไปช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาซึ่งบุคคลดังกล่าวคือ DR.Deming ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องคุณภาพ  ซึ่ง Dr.Deming ได้คิดค้น วงจรการบริหารงานแบบ PDCA  ซึ่งเป็นการบริหารแบบเรียบง่ายโดยการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าที่มีมากอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งหลัก PDCA  มีดังนี้

 

                P (Planning) การวางแผน เป็นกิจกรรมลำดับแรก ที่ต้องกำหนดเพื่อไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากว่าเราต้องการพัฒนาตนเองในด้านความขยันขันแข็ง เราจำเป็นจะต้องวางแผนการใช้เวลาในชีวิตของเราเพื่อให้ทุกนาทีเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น วางแผนการทำงานในแต่ละวัน แบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน ออกกำลังกาย เวลาสำหรับครอบครัว เป็นต้น

 

                การวางแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ในการทำงานต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การพัฒนาตนเอง ดังนั้นหากท่านต้องการพัฒนาตนเอง หากท่านต้องการเปลี่ยนแปลงตนเอง จงเริ่มสำรวจตัวเองว่า สิ่งไหนที่ท่านต้องการพัฒนาตนเองเป็นอันดับแรกๆ แล้วเริ่มวางแผนการเป็นรายวัน รายเดือน รายปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง

 

                D (Do)  การลงมือทำ การปฏิบัติตามแผน  เมื่อมีการวางแผนงานแล้ว แต่ขาดซึ่งการลงมือทำ แผนที่วางเอาไว้ก็นิ่งสนิท ดังนั้น การลงมือทำจึงเป็นสิ่งที่ทำให้แผนการที่วางเอาไว้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา คนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนเอง จะไม่ปล่อยให้เวลาเสียไปเปล่าๆ เขาจะไม่เป็นคนที่รอคอยโชคชะตา แต่เขาจะเป็นคนกำหนดโชคชะตาของตนเอง ด้วยการลงมือ “ ทำทันที หรือ ททท.” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะคนที่ประสบความสำเร็จทุกคน ไม่ใช่เป็นแต่คนที่มีความคิดดีๆ แต่ไม่ยอมลงมือกระทำ แต่เขาจะตัดสินใจทำทันที เพราะการลงมือกระทำ เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ

 

                C  (Check) ตรวจสอบและประเมินตนเอง  เมื่อเราลงมือกระทำตามแผนการที่วางเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เราต้องมีการตรวจสอบและประเมินตนเอง ตามแผนที่วางไว้ ว่าสิ่งที่เราทำนั้น ได้กระทำตามแผนหรือไม่ หรือ มีสิ่งใดที่เราไม่ได้ทำ

 

                A (Action) การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เมื่อมีการตรวจสอบและประเมินตนเองแล้ว เราควรหาวิธีการในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา สิ่งที่เราได้ทำเอาไว้ โดยการนำเอา C  (Check) มาตรวจสอบปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

 

                ดังนั้น หากต้องการพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ” PDCA  เราคงต้องมีการกระทำอย่างจริงจัง และควรทำในลักษณะเป็นวงจรกล่าวคือ PDCA แล้วไปยัง PDCA แล้วไปยัง PDCA อีกหลายรอบ ควรทำเป็นวงจรซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ควรทำแค่รอบเดียว และหลักการ PDCA  ยังนำไปใช้ได้ในเรื่องของ การบริหารต่างๆ อีกด้วย เช่น การบริหารงานผลิต , การบริหารงานเขียน , งานบริหารงานบุคคลและการบริหารและพัฒนาตนเองอีกด้วย

 

หากว่าคุณมีความปรารถนาจะสร้างความสำเร็จ  การพัฒนาตนเองด้วยมิติ “ การจัดการ PDCA ” ช่วยท่านได้

 




Create Date : 05 เมษายน 2555
Last Update : 5 เมษายน 2555 13:04:31 น.
Counter : 2005 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



เมษายน 2555

1
2
4
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
29
30
 
 
All Blog