การวิเคราะห์ผู้ฟัง
การวิเคราะห์ผู้ฟัง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
//www.drsuthichai.com

จำนวนหรือขนาดผู้ฟัง เพศ วัย ระดับอายุ ศาสนา ความเชื่อ อาชีพ การศึกษา ของผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ควรใช้วิเคราะห์เพื่อสร้างความสนใจในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน เพราะปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพูดต่อหน้าที่ชุมชน

- จำนวนหรือขนาดของผู้ฟัง นักพูดที่ดีต้องมีข้อมูลพอสมควรว่า ในวันที่จะเดินทางไปพูดมีผู้ฟัง

ประมาณกี่คน เป็นกลุ่มผู้ฟังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก มีพื้นที่หรือสถานที่พอเพียงหรือไม่ในการบรรจุผู้ฟัง เพราะขนาดผู้ฟังกับสถานที่ มีความสัมพันธ์กัน ในการเตรียมการพูด เช่น พูดที่ท้องสนามหลวง มีผู้ฟังมากมาย หรือบางกรณีอาจมีผู้ฟังไม่กี่คนในท้องสนามหลวง วิธีการพูด รูปแบบการพูด เครื่องมือที่ช่วย ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป เพราะการพูดที่มีผู้ฟังนั่งชิดกัน เบียดกัน ในห้องประชุม จะทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม มีอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่า การพูดที่มีผู้ฟังบางตา มีจำนวนไม่มาก ในขณะที่มีสถานที่กว้างขวาง

- เพศของผู้ฟัง เพศหญิงมักชอบ ความสวยงาม การแต่งตัว การทำความสะอาดดูแลบ้าน การเข้าสังคม

ส่วนผู้ฟังเพศชายมักชอบ เรื่อง การเมือง การเล่นกีฬา การต่อสู้ รถยนต์เครื่องยนต์ โดยมากผู้หญิงมักมีความอ่อนไหวกว่าผู้ชาย การพูดจูงใจด้วยคำพูดที่สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ มักจะชักจูงโน้มน้าวผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อีกทั้งการพูดกับผู้ฟังที่มีลักษณะ ชายล้วน หญิงล้วน แบบกลุ่มผู้ฟังผสมผสานทั้งเพศชาย เพศหญิง จึงต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ คำพูด ภาษา เนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป

- วัยหรือระดับอายุ มีความสำคัญมากเพราะคนที่มีอายุหรือวัยมากกว่า ย่อมมีประสบการณ์ใน

ชีวิตมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เช่น

วัยเด็ก มีลักษณะชอบความสนุกสนาน ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทนฟังเรื่องต่างๆได้นาน เบื่อง่าย และการพูดต้องใช้น้ำเสียง จินตนาการในการพูดมากกว่าวัยอื่นๆ เราลองสังเกตว่าเด็กมักชอบฟังนิทาน ผู้เล่านิทานมักใช้น้ำเสียง จินตนาการในการเล่า

วัยรุ่น มักต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบความตื่นเต้น โลดโผน อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ฉะนั้นผู้พูด ควรหาเรื่องใหม่ๆ แปลกๆ ในการนำเสนอก็จะสามารถดึงดูดความสนใจในการพูดได้

วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์ชีวิตมาก มีลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือสิ่งที่เป็นที่พึ่งพาทางใจ ชอบเรื่องศาสนา เข้าวัด ฟังธรรม เป็นห่วงลูกหลาน

- ศาสนาและความเชื่อ ผู้พูดควรระมัดระวัง ควรศึกษาความเชื่อความศรัทธาของแต่ละศาสนา

ไว้บ้าง เพราะ ศาสนา เชื้อชาติ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนเรายึดถือมาช้านาน การพูดโดยไม่คิด บางครั้งอาจเป็นเรื่องสนุกๆ แต่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟังและผู้พูดได้

- อาชีพ ทุกอาชีพมีความแตกต่างกัน มีความสนใจที่แตกต่างกันไป เช่นพูดให้ชาวนาก็พูดเรื่องที่

แตกต่างกันกับนักธุรกิจกิจหรือคนรับราชการ อาจพูดเรื่อง กระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งทำให้ชาวนาเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพทำนา หรือพูดกับ นักธุรกิจก็ควรพูดเรื่อง เศรษฐกิจ การค้าขาย การบริหาร การจัดการ

ดังนั้น นักพูดที่ดีต้องสร้างโครงเรื่องให้สอดคล้องกับความสนใจของอาชีพผู้ฟังก็จะทำให้ผู้ฟังเกิดความชอบความศรัทธา ในตัวผู้พูด

- การศึกษา ถ้าไปพูดให้กลุ่มผู้ฟังที่มีการศึกษาน้อย ควรพูดเรื่องง่ายๆ แต่ถ้าไปพูดให้กลุ่มที่มี

การศึกษาสูง เราก็ควรพูดในแนวลึกมากกว่าแนวกว้าง พูดเน้นหนักวิชาการ บางครั้งอาจจะต้องพูดศัพท์ภาษาอังกฤษ บ้างเพราะคำบางคำ แปลเป็นภาษาไทย ความหมายอาจจะผิดได้ การพูดต้องมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง

สรุปว่า การพูดที่ประสบความสำเร็จ นักพูดหรือผู้พูด จะละเลย การวิเคราะห์ผู้ฟังไม่ได้ เพราะผู้พูด เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ ที่จะประเมินว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังพอใจ จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟังและจงพูดในสิ่งที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง แล้วท่านจะเป็นนักพูดหรือผู้พูดที่อยู่ในหัวใจของผู้ฟัง



Create Date : 23 กันยายน 2554
Last Update : 23 กันยายน 2554 13:36:11 น.
Counter : 1352 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog