Actions Speak Lound Than Words (ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
Actions Speak Lound Than Words
(ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด)
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)
//www.drsuthichai.com
ท่าทางหรือบุคลิกภาพ มีความสำคัญในการพูด บุคลิกภาพ หมายถึง สภาพนิสัยจำเพาะคน ซึ่งอาจรวมถึง รูปร่าง หน้าตา การแสดงออก ท่าทาง การนั่ง การยืน การเดิน เสื้อผ้า ทรงผม กริยาอาการ ตลอดจนเครื่องประทับต่างๆ ฯลฯ
นักพูด วิทยากร นักบรรยาย จึงควรเอาใจใส่ในเรื่องบุคลิกภาพ โดยต้องมีการปรับปรุง พัฒนาบุคลิกภาพดังนี้
1.อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เคยกล่าวไว้ว่า วิธีการสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการพูด ควรงดแสดงอาการ 1.ล้วง 2.แคะ 3.แกะ 4.เกา 5.หาว 6.ยัก 7.โยก 8.ถอน 9.ค้อนและ 10.กะพริบ
2.ควรเดินขึ้นเวทีการพูดและพูด อย่างกระตือรือร้น เบิกบานแจ่มใสและกระฉับกระเฉง การที่ผู้พูดพูดด้วยความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง ผู้ฟังก็จะมีความรู้สึกตามที่ผู้พูดพูด แต่เมื่อการพูดครั้งใดที่ผู้พูด เดินขึ้นเวทีพูดและพูดด้วยความเฉื่อยชา เศร้าสร้อย ผู้ฟังก็จะรับรู้ถึงอารมณ์ดังกล่าวของผู้พูด อีกทั้งทำให้บุคลิกภาพของผู้พูดไม่เป็นที่ประทับใจอีกด้วย
3.ควรพัฒนาการใช้สายตา เมื่อต้องพูดต่อหน้าที่ชุมชน การใช้สายตาต้องมองไปให้ทั่วถึง วิธีการใช้สายตาที่ดี ต้องค่อยๆ กวาดสายตาไปยังผู้พูด ไม่ควรมองเพดาน ไม่ควรมองพื้น หรือมองไปยังที่ผู้ฟังคนใดคนหนึ่งมากเป็นพิเศษ ควรสบตาผู้ฟังและแสดงออกซึ่งความจริงใจในการพูด
4.การแสดงออกทางใบหน้า ควรยิ้มแย้มแจ่มใสเวลาพูด การยิ้มจะทำให้บรรยากาศในการพูดไม่ตึงเครียดจนเกินไป การใช้สีหน้าในการพูดก็ควรให้เหมาะสมกับเรื่องที่พูด เช่นพูดเรื่องเศร้า ก็ไม่ควรยิ้มหรือหัวเราะ แต่ควรทำหน้าเศร้า ทำน้ำเสียงเศร้า ไปตามเนื้อเรื่องที่พูด
5.การแต่งกายต้องให้เหมาะสมกับตัวเอง ต้องแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ ยึดหลักสะอาด เหมาะสมกับวัย เหมาะสมกับสถานที่ที่จะไปพูด การแต่งกายที่ดีควรแต่งกายเสมอผู้ฟังหรือสูงกว่าพูดฟังสักเล็กน้อย แต่ไม่ควรแต่งกายต่ำกว่าผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังใส่สูทแต่เราเป็นผู้พูดดันใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ อย่างนี้ก็ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
6.การใช้ไมโครโฟน ควรให้ปากห่างไมโครโฟนประมาณ 1 ฝ่ามือ เพราะถ้าปากใกล้ไมโครโฟนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดเสียงดัง แต่ถ้าปากห่างไมโครโฟนมากไปก็จะทำให้เสียงที่พูดเบา ก็จะทำให้ผู้ฟังไม่ค่อยจะได้ยิน แต่ทั้งนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลอีกเช่นกันเพราะบางคนอาจเป็นคนพูดเสียงดัง บางคนอาจจะเป็นคนพูดเสียงเบา ผู้พูดจึงต้องรู้จักประมาณระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟนด้วย
7.ฝึกการใช้ภาษากาย ภาษากายเป็นการสื่อสารของมนุษย์โดยผ่านความเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การพยักหน้าทันทีที่มีความเห็นด้วย หรือ ส่ายหน้าทันทีที่เห็นขัดแย้ง ฯลฯ อีกทั้งต้องระวังการใช้ภาษากายที่เป็นไปในลักษณะลบ เช่น การไม่กล้าสบตาผู้ฟัง การแสดงออกซึ่งความกระวนกระวายใจ การดูนาฬิกาบ่อย ฯลฯ
ดังนั้น Actions Speak Lound Than Words หรือ ท่าทางนั้นดังกว่าคำพูด มีความเป็นจริงมากที่เดียว ดังจะเห็นได้จากนักพูดบางท่าน ที่พูดเก่ง แต่ใช้ภาษาท่าทางที่แสดงออกด้วยความไม่จริงใจ จึงทำให้ผู้ฟังเกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา เช่น ไม่กล้าสบตาผู้ฟัง ชี้นิ้วใส่หน้าผู้ฟัง กัดฟัน ใช้เท้าเตะสิ่งของต่อหน้าผู้ฟัง เป็นต้น
สรุปก็คือ ท่าทางเป็นภาษาหนึ่งในหมวดของอวัจนภาษา(Non-Verbal Communication) ซึ่งภาษาท่าทางสามารถสื่อไปยังผู้ฟังได้ นักพูด วิทยากร นักบรรยาย ที่ดีจึงควรมีการปรับปรุง พัฒนาภาษาท่าทาง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรักความศรัทธาและเข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ฟังได้ง่ายขึ้น







Create Date : 13 ตุลาคม 2554
Last Update : 13 ตุลาคม 2554 4:27:06 น.
Counter : 483 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
17
18
19
22
25
28
31
 
 
All Blog