การปิดฉากการพูด
การปิดฉากการพูด

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

//www.drsuthichai.com

การปิดฉากการพูด เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการสร้างโครงเรื่องในการพูด การปิดฉากเป็นส่วนสุดท้ายของโครงเรื่อง ซึ่งมีการลำดับคือ การเปิดฉากการพูด การดำเนินเรื่อง และการปิดฉากการพูด

การปิดฉากการพูดที่ดี เดล คาร์เนกี นักพูดชื่อดังเคยให้คำแนะนำไว้ว่า “ จงบอกเขาอีกครั้งหนึ่งว่าท่านได้บอกอะไรแก่เขาบ้าง ” แต่อย่างไรก็ตามวิธีการปิดฉากการพูดที่ดีมีดังนี้

1.ปิดฉากแบบสรุปใจความสำคัญ เป็นการสรุปเนื้อหาของเรื่องที่พูดอีกครั้งโดยย่อ ว่าสิ่งที่พูดมามีกี่ข้อ เช่น ส่วนประสมทางการตลาดสรุปแล้วมีทั้งหมด 4 P (Marketing Mix) ได้แก่ 1. Product ผลิตภัณฑ์ 2. Price ราคา 3. Place ช่องทางหรือสถานที่ 4. Promotion การส่งเสริมการตลาด

2.ปิดฉากแบบ คำคม กวี สุภาษิต หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ เป็นการปิดฉากโดยยกคำคม กวี สุภาษิต สำนวน โวหาร หรืออ้างอิงวาทะของบุคคลสำคัญ แต่ข้อควรระวัง ผู้พูดต้องจดจำ คำคม กวี กลอน สุภาษิต สำนวน โวหารหรือวาทะของบุคคลสำคัญให้แม่นยำ ไม่ควรพูดผิด เนื่องจากการปิดฉากมีความสำคัญมากในการพูด เราจะต้องปิดฉากด้วยความมั่นใจ ปิดฉากด้วยความหนักแน่น หากพูดผิดๆถูกๆ ก็จะทำให้ผู้ฟังขาดความเคารพ นับถือ ไม่ศรัทธาได้

3.ปิดฉากแบบชักชวน เรียกร้อง กล่าวคือ เมื่อพูดถึงเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้ว ควรสรุปจบโดยการชักชวน เรียกร้องหรือรณรงค์ ให้ผู้ฟังได้กระทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การชักชวนให้เลิกบุหรี่ การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย การเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น

4.ปิดฉากแบบฝากให้คิด เป็นการปิดฉากแบบไม่ได้ชี้นำผู้ฟัง แต่เป็นการปิดฉาก โดยพูดถึงเนื้อหาของเรื่องโดยให้ข้อเท็จจริง ให้ข้อมูล เสนอปัญหา แต่ฝากให้ผู้ฟังไปคิดต่อ เช่น ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เป็นปัญหาที่พูดถึงกันมายาวนาน เราจะปล่อยให้ปัญหาคอรัปชั่นมีกันอีกนานเท่าไร เมื่อพูดจบประโยคก็ลงจากเวทีไปโดยไม่ต้องรอคำตอบจากผู้ฟังหรือผู้พูดพูดตอบ

5.ปิดฉากแบบอารมณ์ขัน เป็นการปิดฉากที่นำเอาเรื่องราวที่ขำขันมาใช้ เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่ชอบความสนุกสนาน รื่นเริง ไม่ค่อยชอบการพูดที่มีลักษณะเคร่งเครียด หากนักพูดท่านใด พูดตลก พูดสนุกสนาน มักเป็นที่ยอมรับนับถือ อีกทั้งยังสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้ฟังได้ด้วย แต่ข้อควรระวัง กล่าวคือ เรื่องที่เรานำมาปิดฉากในการพูด อาจทำให้ผู้ฟังไม่หัวเราะได้ แทนที่ผู้ฟังจะหัวเราะ กลับนั่งเงียบกันทั้งห้อง กระสุนเกิดด้านขึ้น ดังนั้นหากหลีกเลี่ยงได้ ควรปิดฉากด้วยวิธีการอื่นได้ก็จะเป็นการดีกว่า

สำหรับการปิดฉากที่ควรหลีกเลี่ยง หรือไม่ควรพูด เพราะเป็นการปิดฉากที่ฟังแล้ว เรียบๆ ไม่ทรงพลัง เช่น

- ขอจบแต่เพียงแค่นี้ , ขออภัยหรือขอโทษหากพูดอะไรผิดพลาด , ขอขอบคุณท่านผู้ฟังที่มาฟังกันในวันนี้

ฯลฯ ความจริงการปิดฉากในลักษณะไม่ถือว่าผิดพลาด เสียหายอะไร แต่เป็นการปิดฉากที่ไม่ค่อยจะทรงพลัง หรือ เป็นการปิดฉากที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ

ดังนั้นลักษณะการปิดฉากที่ดี ควรคำนึงถึง ความสอดคล้องระหว่าง การเปิดฉากการพูด และ การดำเนินเรื่อง การปิดฉากที่ดีควรมีความกระฉับ อีกทั้งต้องมีโครงเรื่องเป็นสุนทรพจน์

โดยสรุป การปิดฉากการพูด เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจ อีกทั้งต้องใส่ใจในการเตรียมการพูดว่าเราจะปิดฉากอย่างไรให้เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง เราจะปิดฉากอย่างไรให้ตรึงใจผู้ฟัง การปิดฉากที่ดีสามารถสร้างความศรัทธา ความน่าเชื่อถือของผู้พูดได้ ฉะนั้น นักพูดที่ต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉาก ไม่ใช่เปิดฉากดี ดำเนินเนื้อเรื่องดี แต่หากปิดฉากไม่ดี ก็จะทำให้การพูดในครั้งนั้นๆ ไม่เป็นที่ประทับใจผู้ฟังมากนัก หากต้องการประสบความสำเร็จในการพูด ก็ควรให้ความสำคัญกับการปิดฉากการพูดครับ




Create Date : 21 กันยายน 2554
Last Update : 21 กันยายน 2554 13:47:39 น.
Counter : 554 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog