การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
การสร้างความน่าเชื่อถือในการพูด
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
//www.drsuthichai.com
เคยมีคนตั้งคำถามกับกระผมว่า ทำไมคนนี้พูดแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ แต่ทำไมอีกคนหนึ่งพูดแล้วไม่เกิดความน่าเชื่อถือ ความจริงแล้วการพูดให้เกิดความน่าเชื่อมีหลายปัจจัยคือ
1.ตัวผู้พูด กล่าวคือ หากต้องการให้ผู้ฟังเชื่อถือ ตัวผู้พูดเองต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้ หากผู้พูดพูดโกหกบ่อยๆ ผู้ฟังก็คงยากที่จะเชื่อ การสร้างความน่าเชื่อถือในตัวผู้พูดยังรวมไปถึง อาชีพ ตำแหน่ง ฐานะทางสังคม รายได้ทางเศรษฐกิจ และบุคลิกภาพ(ทั้งภายในและภายนอก)
2.เนื้อหาในการพูด มีความสำคัญ หากการพูดนั้นวกไปวนมาฟังแล้วไม่เข้าใจผู้ฟังเกิดสับสน ไม่มีการเรียงลำดับเหตุการณ์ สถานที่ ขาดเหตุผล ขาดการอ้างอิง ขาดการเปรียบเทียบ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก ขาดการวิเคราะห์ ขาดการสรุป ขาดการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งเหล่านี้มักเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ผู้ฟังขาดความเชื่อถือ
3.วิธีการนำเสนอในการพูด มีส่วนสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือขึ้น เช่น มีหลักฐานเป็นภาพ คลิปเสียง คลิปภาพ ในการประกอบการพูด เพื่อให้เห็นของจริง หากใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือที่ทันสมัยก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ ความเชื่อถือได้ ทั้งนี้คงรวมถึงการต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วย เช่น วิเคราะห์เพศ วัย อาชีพ ช่วงอายุของผู้ฟัง ฯลฯ
สำหรับองค์ประกอบการพูดที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือหรือคล้ายตาม เราควรมีเทคนิคดังนี้
- สถิติ เป็นข้อเท็จจริงที่หน่วยงานต่างๆทำไว้ ควรหาข้อมูล สถิติจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือในการนำเสนอ
การพูด ตัวอย่างในการพูดให้เกิดความคล้อยตามหรือทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรีคุณสมัคร สนุทรเวช เป็นบุคคลที่นำเอาตัวเลข สถิติ มาใช้เป็นจำนวนมากในการพูดหาเสียงแต่ละครั้ง
- ความคล้ายคลึงกัน ความคล้ายคลึงกันของผู้พูดกับผู้ฟังก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้พูดกับผู้ฟังนับถือศาสนาเดียวกัน ก็จะได้รับความไว้วางใจมากกว่า , มีอาชีพเดียวกัน ก็จะสร้างความยอมรับจากผู้ฟังได้มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันบางอย่างอาจจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้มากกว่าความคล้ายคลึงกัน เช่น บุคคลที่มีฐานะดีกว่าหรือตำแหน่งหน้าที่ที่สูงกว่า ย่อมได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า ทั้งนี้คงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุการณ์ เงื่อนเวลาในการพูดด้วย
- พูดให้ตรงความต้องการของผู้ฟัง เช่น ผู้ฟังมีความต้องการสิ่งใด เราก็พูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจหรือพูดในสิ่งที่
ผู้ฟังมีความต้องการ เขาก็จะมีความเชื่อถือและคล้อยตามผู้พูด ซึ่งหลักจิตวิทยา อับราฮัม เอช มาสโลว์ ได้วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1.ความต้องการปัจจัยสี่ 2.ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย 3.ความต้องการความรักและมีส่วนร่วม 4.ความต้องการได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติ 5.ความต้องการบรรลุความหวังในชีวิต ซึ่งผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังว่าอยู่ระดับขั้นตอนใด
- เสียงคำพูดต้องชัดเจน หนักแน่น การจะพูดให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม เกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจ ผู้
พูดจะต้องพูดด้วยความมั่นใจก่อน ควรพูดด้วยความกระตือรือร้น พูดด้วยความคล่องแคล่ว อีกทั้งเมื่อมีการถามคำถามก็ควรตอบด้วยความรวดเร็ว หนักแน่น ชัดเจน เสียงดัง มีการเน้นระดับเสียงสูงต่ำ
- ต้องมีการเตรียมตัวมาอย่างดี เช่น เตรียมหลักฐานต่างๆ มาประกอบการพูด เช่น ภาพ คลิป ข่าว หลักฐาน
การอ้างอิง คำพูดของคนสำคัญ ตลอดถึงการเตรียมเนื้อหาในการพูด การเลือกใช้คำกลอน ถ้อยคำ คำคม เพลง มาประกอบการพูด
แต่อย่างไรก็ตาม การจะพูดให้คนเกิดความคล้อยตามหรือเชื่อถือ คงขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดเป็นหลัก หากผู้พูดไม่เชื่อถือตามสิ่งที่พูดไป หากผู้พูดพูดโกหกในสิ่งที่พูด หากผู้พูดไม่มั่นใจในสิ่งที่พูด ก็คงยากที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ผู้พูดพูด เช่น ผู้พูดพูดให้ผู้ฟังเชื่อว่าผีมีจริง แต่ตัวผู้พูดเองไม่เชื่ออีกทั้งยังไม่เคยเห็นผี ก็คงพูดให้พูดฟังเชื่อได้ยากเนื่องจากตัวผู้พูดเองยังไม่เชื่อหรือพูดให้ผู้ฟังเลิกสูบบุหรี่แต่ตัวผู้พูดเองสูบบุหรี่แบบมวนต่อมวนผู้ฟังก็คงเชื่อหรือคล้อยตามได้ยากเช่นกัน
















Create Date : 30 กันยายน 2554
Last Update : 30 กันยายน 2554 11:02:26 น.
Counter : 965 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

mrmarkandtony
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
24
25
26
27
28
29
 
 
30 กันยายน 2554
All Blog