Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
ปวดศรีษะเรื้อรัง











ปวดศีรษะเรื้อรังมีกี่แบบ...

         อาการปวดศีรษะมีประมาณ  5%   เท่านั้นที่เกิดจากโรคต่างๆ  เช่น  ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ เนื้องอกหรือฝีในสมอง หลอดเลือดสมองแตก เป็นต้น ส่วนที่เหลืออีกประมาณ  95% การแพทย์ตะวันตกยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  แต่ก็ได้แบ่งตามลักษณะการปวดดังนี้:
ปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migraine Headache) ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache)  ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)  ปวดศีรษะแบบผสม (Mixed Headache)

 

ปวดแบบไหนถึงเรียกว่าไมเกรน...


           ไมเกรนเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย  แต่พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ  22-55 ปี  ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย 3 เท่าประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยไมเกรนมีประวัติครอบครัวเป็น
โรคนี้ด้วย ซึ่งมักจะมีอาการดังนี้: 

ปวดตุบๆ ที่ขมับหรือเบ้าตาซีกใดซีกหนึ่งตามจังหวะการเต้นของชีพจร  แต่บางครั้งก็อาจปวดแบบตื้อๆ ก็ได้ อาจปวดสลับข้างในแต่ละครั้งหรือปวดพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง มักปวดนาน
เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ 
ก่อนปวดหรือขณะปวดอาจมีอาการตาพร่า ตาลาย เห็นแสงว็อบแว็บหรือตามืดมัวไป
ครึ่งซีก 
ถ้าปวดรุนแรงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนด้วย

 

ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวมีลักษณะอย่างไร...


          ปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและพบบ่อยหลังมีความเครียดความกังวล  การใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีความแปรปรวนของอารมณ์  ซึ่งมักจะมี
อาการดังนี้: 

 ปวดเหมือนถูกคีมหนีบไว้หรือถูกผ้ารัดไว้แน่นๆ  มีลักษณะปวดตื้อๆ หนักๆ บางคนอาจปวดจี๊ดบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ดวงตาหรือขมับบางรายอาจปวดตื้อไปทั่วศีรษะ มักจะปวดตอนบ่ายๆ หรือเย็นๆ เวลาหายก็มักจะหายไม่สนิท จะรู้สึกตื้อๆ ที่ศีรษะอยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งต่างจากไมเกรนที่ปวดรุนแรงแต่บทจะหายก็จะไม่เหลืออาการปวดเลย



คลัสเตอร์... อาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุด

         ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์หรือที่เรียกว่าปวดศีรษะจนแทบอยากจะฆ่าตัวตายนั้น มักจะพบ
ในผู้ชาย ไม่เหมือนกับไมเกรนที่พบในผู้หญิงมากกว่า ซึ่งมักจะมีอาการดังนี้:

 ปวดตุบๆ บริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง รู้สึกร้อนแปล๊บที่หน้าผากเหมือนมีมีดร้อนๆ มาทิ่ม  คัดจมูก ตาข้างที่ปวดจะแดงฉ่ำและน้ำตาไหล  มักจะปวดตอนกลางคืนและปวดตรงเวลาทุกวัน อาจนานเป็น 10-20 นาทีหรือเป็นชั่วโมง บางรายอาจปวดเรื้อรังเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เวลาปวดจะมีอาการรุนแรงจนอยู่เฉยไม่ได้ต้องเดินไปมา ซึ่งต่างกับไมเกรนที่เวลาปวดมักอยากนอนเฉยๆ ในห้องมืดๆ

   ใครมีโอกาสปวดศีรษะแบบผสม...

         ปวดศีรษะแบบผสมคือ มีทั้งอาการไมเกรนและอาการปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัวหรืออาการปวดศีรษะแบบอื่นๆ ร่วมกันในเวลาเดียวกัน สาเหตุของการปวดศีรษะแบบผสมที่พบบ่อยที่สุดคือ การใช้ยาแก้ปวดเกินขนาด ผู้ป่วยที่มีประวัติไมเกรนหรือปวดศีรษะแบบกล้ามเนื้อตึงตัว หากทานยาแก้ปวดเป็นประจำมักจะพัฒนาเป็นการปวดศีรษะแบบผสมเมื่ออายุ 30-40 ปี 


 
   สาเหตุปวดศีรษะเรื้อรังในทัศนะการแพทย์ตะวันตก...

         ถึงแม้ว่าปัจจุบันการแพทย์ตะวันตกได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของการปวดศีรษะแบบไมเกรนหรือคลัสเตอร์ได้ เพียงแค่สันนิษฐานว่าไมเกรนหรือคลัสเตอร์อาจเกิดจากการบีบตัวหรือขยายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ จึงเป็นผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว  ส่วนสาเหตุการปวดศีรษะจาก กล้ามเนื้อตึงตัวนั้น  ถึงแม้เมื่อก่อนมีทฤษฎีว่าเกิดจากอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอและรอบศีรษะ แต่ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะต่างเชื่อกันว่าน่าจะมีสาเหตุเช่นเดียวกันกับการปวดศีรษะแบบไมเกรนและคลัสเตอร์ 


  
   สาเหตุปวดศีรษะเรื้อรังในทัศนะการแพทย์จีน...

          ภาวะหยางในตับลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะ ในตับและไตมีทั้งหยินและหยาง ไตต้องส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับเพื่อไม่ให้หยางหรือความร้อนในตับมีมากเกินไป แต่เนื่องจากไตเสื่อมลงตามวัยหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะส่งผลให้เกิดภาวะไตอ่อนแอ ไตจึงไม่สามารถส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอทำให้หยางหรือความร้อนในตับมีมากเกินไปจนลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติที่ความร้อนต้องลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง นอกจากนี้ อารมณ์ที่ตึงเครียด ตื่นเต้นหรือคิดมากเป็นประจำก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหรือเพิ่มความรุนแรงของภาวะหยางในตับ เมื่อความร้อนในตับลอยขึ้นไปกระทบบนศีรษะก็จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง หูอื้อตาลาย หน้าแดง ปากขม อารมณ์หงุดหงิด   โมโหง่าย ขี้หลงขี้ลืม อุจจาระแข็งหรือท้องผูกลิ้นแดง ฝ้าบนลิ้นเหลือง แขนขาเหน็บชา ลิ้นแข็ง พูดอ้อแอ้ ฯลฯ อาการปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูงก็เกิดจากสาเหตุนี้เช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อตับขาดความสมดุลก็จะมีการสร้างโคเลสเตอรอลมากเกินควร ทำให้หลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกายแข็งและตีบมากขึ้นทั้งๆ ที่มีการควบคุมอาหารการกินและออกกำลังกายแล้วก็ตาม

         ภาวะเลือดเหนียวหนืดและจับตัวเป็นก้อน  ระบบการไหลเวียนของโลหิตต้องอาศัยพลังชี่หรือพลังลมปราณจากไตเป็นแรงผลักดัน เมื่อไตอ่อนแอลง พลังชี่ก็จะอ่อนลงไปด้วยทำให้พลังสะดุด เลือดเหนียวหนืดและจับตัวเป็นก้อนกีดขวางทางเดินของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง  เส้นลมปราณต่างๆ และหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงศีรษะติดขัดจนเกิดอาการปวด ศีรษะเรื้อรัง ดังเช่นทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน  ปวดแสดงว่าไม่โล่งโล่งแล้วก็จะไม่ปวด  การติดขัดของเส้นลมปราณต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงศีรษะจะทำให้เกิดลักษณะการปวดศีรษะที่ต่างกัน อาทิ:

หากเส้นลมปราณเส้าหยาง   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน  หากเส้นลมปราณหยางหมิน   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์  หากเส้นลมปราณไท่หยาง   มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แบบกล้ามเนื้อตึงตัว  หากเส้นลมปราณเจี๋ยยินหรือตูม่าย  มีการติดขัด  ก็จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณกลางศีรษะ  หากเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะติดขัดพร้อมกันหลายเส้น ก็จะเกิดอาการปวดศีรษะในหลายๆ รูปแบบร่วมกัน





อัมพฤกษ์ อัมพาต... ความเสี่ยงที่จะตามมา

          ในทัศนะการแพทย์ตะวันตก  ผู้ป่วยปวดศีรษะเรื้อรังจะมีความเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ อัมพาตสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็น เนื่องจากอาการนำของการปวดศีรษะเรื้อรังจะคล้ายคลึงกับอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต เช่น  ตาพร่า ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงและชา พูดไม่ชัด เป็นต้น และความเสี่ยงนี้จะเพิ่มสูงขึ้นหากมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ใช้ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนเป็นประจำ นอกจากนี้ ผู้ป่วยไมเกรนยังมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่ไม่เป็นมากถึง 5 เท่า 
          
           ส่วนการแพทย์จีนเห็นว่า  อาการปวดศีรษะเรื้อรังและอัมพฤกษ์ อัมพาตมาจากสาเหตุเดียวกัน   เพียงแต่ต่างกันที่ระดับความรุนแรงเท่านั้น อาการปวดศีรษะเรื้อรังเปรียบเสมือนเป็นสัญญาณเตือนภัย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจพัฒนาเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตเมื่ออายุเพิ่มขึ้น 

 
   วิธีการรักษาแบบองค์รวมของการแพทย์จีน...

          ปวดศีรษะเรื้อรังใช่ว่าแค่มีอาการปวดที่ศีรษะเท่านั้น หากแต่เป็นการสะท้อนถึงสภาพความเสื่อมโทรมของร่างกาย ดังนั้น การบำบัดรักษาจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่แก้ปวดเป็นครั้งคราวเท่านั้น แต่การแพทย์จีนยังให้ความสำคัญในการขจัดต้นเหตุของปวดศีรษะเรื้อรังโดยใช้วิธีดังนี้:
ทะลวงเส้นลมปราณเส้าหยาง หยางหมิน ไท่หยาง เจี๋ยยินและตูม่าย ซึ่งเป็นเส้นลมปราณที่หล่อเลี้ยงศีรษะให้โล่งสะอาด จึงบรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ขจัดภาวะตับมีหยางมากเกินไปซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการปวดศีรษะ บำรุงรักษาไตเพื่อให้หยิน-หยางในไตเกิดความสมดุล ไตจึงสามารถส่งหยินหรือความเย็นในไตไปหล่อเลี้ยงตับได้อย่างเพียงพอ  และเมื่อตับอยู่ในภาวะสมดุลก็จะมีการสร้างโคเลสเตอรอลในปริมาณที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ ในขณะเดียวกันเมื่อไตแข็งแรงขึ้น  พลังชี่ซึ่งเป็นแรงผลักดันของเลือดก็จะสมบูรณ์ขึ้น  ระบบการไหลเวียนของโลหิตจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
        
  อาการปวดศีรษะเรื้อรังต่างๆ รวมทั้งอาการปวดศีรษะจากอุบัติเหตุและความดันโลหิตสูงจึงค่อยๆ ทุเลาลงและอาจหายไปในที่สุด...

หนังสือและเอกสารทางการแพทย์อ้างอิง

The encyclopaedia of traditional Chinese medical science The Chinese meteria medica specified in pharmacopoeia of P.R. China     The headache sourcebook   Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating headache
  Journal of medical officer (April 1994, Vol.4 No.47) 
Influence of traditional Chinese medicine on experimental thrombosis  Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating diabetes mellitus  Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating hyperlipidemia  Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating hypertension  Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating angina pectoris of
  coronary heart disease (CHD) 
Clinical test report of traditional Chinese medicine in treating angina pectoris of Coronary Heart Disease hypertension, hyperlipidemia & diabetes mellitus
  2002 international conference on modernization of TCM abstract 
Clinical test report of TCM in treating diabetes mellitus 30 cases 
  Journal of Chinese practical medicine (2003, Vol.5 No.2) 
Clinical research on 30 cases of regulating the abnormal blood-lipid level with TCM Chinese journal of modern clinical medicine (May 2003, Vol.4 No.5)  Fujian journal of TCM (May 2002, Vol.33 No.5) 

ขอบคุณข้อมูล enwei


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"

From: //variety.teenee.com/science/13725.html


Create Date : 05 มีนาคม 2553
Last Update : 5 มีนาคม 2553 8:38:28 น. 0 comments
Counter : 367 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MichaelRG
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add MichaelRG's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.