เวลาเดินเท่ากันทุกคนแต่หัวใจเราเต้นไม่เท่ากัน ...

<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 ตุลาคม 2554
 

My view : interesting sector ตอนที่ 2.2: Property Development : TTCL

นิยามของผม : รับเหมาเบ็ดเสร็จ ที่ต้องเฝ้าดูว่าจะมี backlog ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่



ทางกราฟ (28/10/54) : ttcl เริ่มเทรดเมื่อ 16/06/49 ราคาopening 4.48 บาทต่อหุ้น และมาทำไฮ ที่ราคา 12.3 เมื่อ 05/09/54 ถ้ามองกราฟทางเทคนิค รายสัปดาห์ MACD ตัดเป็น downtrend
ถ้ามองจากอีเลียตเวฟ มันทำ low 4.20 high ที่ 12.3 เอาคำนวณในใจหยาบๆ ถ้าลงมา 23.6 % = ประมาณ 10.39บาท
ถ้าลงมา 38.2 % = ประมาณ 9.21 บาท ถ้าลงมา 50 % = ประมาณ 8.25 บาท ถ้าลงมา 61.8 % = ประมาณ 7.3 บาท
( ล่าสุด ตลาด set( โดยคิดจาก โลว์สุดที่ ราวๆ380จุด ไฮประมาณ1148จุด) รวมปรับฐานมาสุดแค่ 38.2 % แต่ถ้ามองว่าset ต้องปรับลงมาถึง 50 % set ต้องลงมาถึง ราวๆ 750-760 จุด )


Keypoint ของ TTCL
...ธุรกิจรับเหมา มองว่าเป็น วัฎจักร ก็ก้ำกึ่ง มองว่าเป็นไปตามรอบเศรษฐกิจ ก็เข่าข่าย
โดยทั่วไป นักลงทุนมักจะมองว่า งานรับเหมานั้น ต้องพึ่ง backlog (ถ้าได้งานมา ก็รวย ถ้าไม่มีงานเข้า ก็กินแกลบ)
โอกาสที่ได้จากรายได้ที่มั่นคง นั้นค่อนข้างยากพอสมควร (ยิ่งถ้าเศรษฐกิจย่ำแย่ ใครที่ไหนอยากก่อสร้าง )


จุดเด่นที่ ttcl พยายามทำและเป็นบริษัทรับเหมาที่อยู่ในประเทศไทยบริษัทเดียวที่สร้างรูปแบบไว้คือ เป็นบริษัท EPC ( engineering&design +procurement +construction ) ซึ่งเรารู้อยู่ว่า บริษัทรับเหมาโดยส่วนใหญ่(ในประเทศไทยเกือบทั้งหมด) จะเป็นธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างเพียงอย่างเดียว โดยมีการ co-operate จากบริษัทอื่นๆในการออกแบบวางแปลนก่อสร้างและหาเครื่องจักรต่างๆ
แต่ใน TTCL ก็จะทำแบบเบ็ดเสร็จ คือ ตั้งแต่ออกแบบวิศวกรรม จัดซื้อเครื่องจักรต่างๆ รวมถึงงานก่อสร้าง ทำให้มีมูลค่าเพิ่มจากงานหนึ่งชิ้น โดยมีสัดส่วนรายได้กระจายไปที่ engineering&design 30 % +procurement 40 % +construction 30%
ความที่เป็น EPC business ถ้ามีการแข่งขันในระหว่าง proposal ก็มีคู่แข่งที่น้อยราย เมื่อเทียบกับ บริษัทรับเหมาทั่วไป (บริษัทรับเหมาทั่วไปเวลา proposal จะมีคู่แข่งราวๆ 9-10 ราย แต่สำหรับ TTCL จะมีคู่แข่งน้อยราย เพียงราวๆ 3-4 ราย ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาในรอบห้าปี ttcl success proposal ราวๆ 30 % ของทั้งหมด )


ในปีที่ผ่านมา ttcl ได้พยายามสวมหมวกสองใบ คือ นอกจากรับโปรเจก power มาทำแล้วยังขอไปมีส่วนถือหุ้นในโครงการนั้น ซึ่งที่เริ่มไปก็คือ โครงการโรงงานไฟฟ้านวนคร(ที่ไปถือหุ้นราวๆ 70 % )ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ดำเนินการไปแล้วราวๆ 30 % (หมายเหตุ : ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบจากน้ำท่วม ที่จะทำให้การก่อสร้างชะงักหรือ ผลกระทบด้านอื่นๆการชะลอการสร้าง ความเสียหายจากน้ำท่วม )

ข้อมูลbacklog& proposal





ในปีนี้ ttcl ได้ backlog ที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง โดยเฉลี่ย ผบห. ได้มองว่า backlog ที่ได้มานั้นจะสามารถรับรู้รายได้ในครึ่งปีหลัง (ครึ่งหลัง2554) น่าจะอยู่ในราวๆ อีก 4000 ล้านบาท (ซึ่งใน1H2554 ได้ไปแล้ว 3458 ล้านบาท)
หมายเหตุ ในครึ่งปีหลังน่าจะรู้ผล proposal อีกราวๆ 3-4 โครงการ อาจจะได้อีกหนึ่งโครงการเข้ามาเป็น backlog



Strategy ที่สำคัญของ ผบห. ที่วางไว้ เกี่ยวกับ target revenue



ถ้าจากกลยุทธ์ 5-year plan ในปี 2011 น่าจะได้ตามเป้าหรือไม่ต้องติดตามดูผลประกอบการอีกสองไตรมาส
และถ้าประสบความสำเร็จ ตามแผน ก็ถือว่าเป็นบริษัทที่มี revenue ห้าปี เติบโตขึ้นเกือบสี่เท่า !


มองแต่ภาพดีๆ หันมาดูความเสี่ยงด้วยความที่รายได้ต้องพึ่งกับ backlog ดังนั้น ถ้า proposal น้อย โอกาสได้ก็น้อยยิ่งขึ้น ความมั่นคงของรายได้จากรับเหมาจึงค่อนข้างไม่นิ่งเท่าไร (บริษัท ttcl พยายามหารายได้มาเป็นฐาน เช่นการเข้าร่วมหุ้นกับบริษัทที่ให้ ttcl สร้าง เช่น power จากโรงงานนวนคร )
แต่ทว่า... ข้อเสีย ก็เป็นจุดที่เอามาเป็นโอกาสได้ เราสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้พอสมควรว่า อนาคตบริษัทจะมีรายได้
รับเหมาเป็นไปตามเศรษฐกิจ ถ้าดี โอกาสมีงานเข้าก็เยอะ ถ้าเศรษฐกิจก็มีโอกาสขาดรายได้ได้เช่นกัน


วันนี้ขอ scan แค่นี้ก่อน ไว้รองบไตรมาสสามออกมาก่อน ค่อยกลับมาคุยใหม่ ^ ^



Create Date : 30 ตุลาคม 2554
Last Update : 30 ตุลาคม 2554 9:20:37 น. 1 comments
Counter : 3811 Pageviews.  
 
 
 
 
เป็นแนวทางวิเคราะห์ที่ดี...ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: seenin IP: 14.207.198.156 วันที่: 30 ตุลาคม 2554 เวลา:21:25:49 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kunjoja
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add kunjoja's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com