เวลาเดินเท่ากันทุกคนแต่หัวใจเราเต้นไม่เท่ากัน ...

<<
มิถุนายน 2555
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
4 มิถุนายน 2555
 

ความเสี่ยงจาก human error

ปล. บทความนี้เป็นการนำเสนอแนวความคิดที่ผมรวบรวมมาจากหนังสือต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการพอร์ท (Portfolio management)ไม่ได้แปลว่า การทำแล้วจะประสบความสำเร็จในการลงทุนแต่เป็นอีกมุมมองที่เป็นทางเลือกเสริมสำหรับการดูแลพอร์ทตนเองให้รอบคอบมากขึ้น ^^

……
ก่อนที่เราจะขับรถ(car) เราต้องมีทักษะและรอบรู้สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ตัวเราเองขับรอดปลอดภัยซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการขับรถน้อยที่สุด
เพราะการขับรถ

--เราต้องรู้จักควบคุมรถให้เป็น รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ

--รู้จักหลีกเลี่ยงในโซนที่เราคิดว่าไม่ปลอดถัยไม่แน่ใจก็ไม่ขับเข้าไปชะลอรถหรือขับเลี่ยงออกไป

--พยามดูแลบำรุงรักษารถและการขับรถให้ถูกกฎจราจร ก็เป็นการลดความสี่ยง


ทั้งหมดที่เราทำถือว่าเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงก่อนการขับรถ ระหว่างขับรถ
ที่เขียนเพื่อจะโยงถึงว่า

การจัดการความเสี่ยง ให้นึกถึง CAR ...
Control Avoidance andReduction ---- ควบคุมหลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยง ...
(แล้วจะกล่าวถึงในอนาคต ) 
.......

มีสามนักวิชาการ ที่ให้แนวความคิดในเรื่องของ risk mangemnet เป็นมุมมองสามมิติที่น่าสนใจ

1.มุมมองของ แฮรี่  มาร์คโควิทซ์ ที่่จะเน้นการกล่าวถึงมิติของ portfolio selection efficient diversification of investment ( ไว้จะกล่าวถึงบทต่อไป ) 


2.มุมมองของ  บิล ชาร์ป ได้สร้างทฤษฎี ที่เรียกว่า  Capital Asset 
pricing
  Model (CAPM )  ที่กล่าวถึง ว่าหุ้นแต่ละตัวมีความเสี่ยงอยู่สองประการคือ ความเสี่ยงที่มันอยู่ในตลาดหุ้นซึ่งไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้  และ ความเสี่ยงที่จำเพาะเจาะจงถึงฐานะทางธุรกิจของบริษัทซึ่งสามารถควบคุมและกำจัดได้ 


3.มุมมองของ ยูจีน ฟามา ที่ กล่าวถึง The Behavior of stock prices  เพื่ออธิบายถึง ความที่ตลาดมีประสิทธิภาพ (EMT )

ทั้งหมดจะค่อยๆเขียนในบทต่อๆไป ...

.....

แต่ทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นการบริหารความเสี่ยงภายใต้ มุมมองของสามนักคิดชื่อดังที่นำไปสู่ การพัฒนา ระบการดูแลพอร์ทสมัยใหม่ 

แต่ทัั้งนี้ทั้่งนั้น....
จุด
pitfall ที่ไม่ควรละเลยที่ทำให้ระบบนั้นเดินต่อได้อย่างยากลำบาก ก็คือ มนุษย์

ผมเลยตอ้งยกหัวข้อ นี้มาก่อนเข้าสู่ระบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อได้พึงระลึกว่า ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งหรืออีกมิติหนึ่งที่สำคัญ ไม่แพ้ที่กล่าวมา
ถ้าเราไม่จัดการ
human error นี้ให้หมดไปแล้ว ระบบก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 


human error ในที่นี้ ไม่ได้พูดถึง การทำผิดพลาดจากความไม่ชำนาญหรือผิดพลาดทางเทคนิค (เช่นคีย์ผิด อ่านตัวเลขผิดพลาด หรือ lossevent – ความหมายคือเช่นการเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตามทำให้เราหลุดออกจากระบบนั้นๆ เช่นอยู่ๆเกิดป่วยอุบัติเหตุหรืองานฉุกเฉินต่างๆมาแบบไม่คาดคิด) ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้ ผมมองว่า เป็น technical error ที่ไม่ได้เกียวโดยตรงกับระบบ


แต่
human error ที่จะกล่าวถึงนั้นมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อมุมมองสามมิตินี้เป็นอย่างมาก ถ้าเราลด risk จาก humanerror นี้ได้ ก็จะทำให้ มุมมองสามมิตินี้ มี ความเป็นประสิทธิภาพซึ่งจะนำไปสู่ efficient Frontier (เส้นทางการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด) ตามที่มาร์โควิทซ์ ได้บัญญัติ ศัพท์คำนี้ขึ้นมา
......
human error ในที่นี่จะนึกถึง

1.     1.  การตัดสินใจที่เกิดจากอารมณ์ความกลัวและความโลภเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัจจัยนี้ผมยกมาเป็นข้อหนึ่งของ human error เพราะถือว่าเป็นpoint ที่สำคัญที่จะทำให้ระบบการดูแลบริหารจัดการพอร์ทเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่ายสุด และเป็นปัจจัยที่ยากจะตัดสินที่สุดว่า สิ่งที่เราคิดนั้นเป็นเหตุผลที่เป็นข้อมูลจริงหรือเพียงแค่การนำมาอ้างเพื่อมาใช้ประกอบกับอารมณ์ของเรา(ตัวอย่างเช่น เรากลัวหุ้นร่วงก็หาเหตุผลทุกอย่างเพื่อสนับสนุนว่าหุ้นร่วงเพราะอะไร หรือ พอหุ้นขึ้นเราก็มีเหตุผลมาอ้างได้ว่าเพราะอะไรทั้งๆที่เหตุผลเหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ทราบกันอยู่แล้วก่อนการตัดสินใจซื้อหุ้นหรือขายหุ้น )

2.    2.   Data error ข้อมูลที่ผิดพลาดจากตัวเราเอง เช่นการอ่านกราฟแนวโน้มผิดพลาดการประเมินมูลค่าบริษัทที่ผิดพลาด ถ้าเราเจอปัญหานี้ แสดงว่า ทักษะและความรู้เรายังต้องฝึกฝนและศึกษาให้มากขึ้นซึ่งเป็นข้อผิดพลาดอีกประการที่เจอไม่ต่างจากข้อหนึ่งแต่ผมว่าเป็นข้อผิดพลาดที่เป็นข้อดี ถ้าเรารู้ตัวเราหาทางแก้ไขและฝึกฝนศึกษาข้อผิดพลาดเหล่านี้จะลดน้อยลงไปในที่สุด

3.    3.   ข้อสุดท้ายผมไม่รู้ว่าจะเรียกว่าไรบังเอิญผมใช้เคยศึกษาเรื่องกราฟมาบ้าง ทำให้ผมนึกถึงศัพท์คำหนึ่ง นั่นคือ
Noise –มันคือตัวที่ทำให้เราสับสนต่อการสื่อสาร ทำให้เราเข้าใจผิดพลาดต่อ maintarget
ความหมายของ
noise ที่ผมคิดมันก็คือ ตัว barrier to communication

อ่านแล้วก็งง ละดิ  ผมขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆก็คือ 
ทางเทคนิค ก็คือ กราฟที่สร้างความสับสนว่า กราฟนี้จะมีทิศทางขึ้นหรือลงคล้ายๆคลื่นรบกวน เล็กๆมารบกวนในกราฟใหญ่ (
ถ้าคนที่เล่นเทคนิคเล่น tflex อาจจะเข้าใจง่าย คือกราฟส่งสัญญาณว่าซื้อ/ขายในเฟรมเล็กๆแต่ได้ไม่นานก็กลับมาสู่วงจรหรือทางเดิม )
ในทางพื้นฐานก็คือ
story
ข่าวประจำวัน ข่าวรอบข้าง ข่าวลือ หรือเรื่องราวต่างๆที่หามูลความจริงยังไม่ได้แต่ทุกคนก็คิดมาประมวลเข้ากับมูลค่าพื้นฐานหุ้นไว้ล่วงหน้าก่อนทำให้เกิดการตัดสินใจเปลี่ยนจากเดิมได้

สรุป
human error ทั้งสามประการ (จริงๆอาจจะมีอีกเยอะแต่ผมนึกได้แค่นี้ก่อน ) ก็มีผลกระทบต่อการใช้มุมมองทั้งสามมิติที่จะกล่าวถึงต่อไป

บทนี้ขอจบแค่นี้ก่อน แล้วบทต่อไปจะกล่าวถึงเรื่องทั้งสามมิติไปทีละมิติครับผม




Create Date : 04 มิถุนายน 2555
Last Update : 23 ตุลาคม 2556 10:54:37 น. 1 comments
Counter : 6673 Pageviews.  
 
 
 
 
ที่เขียนไม่ได้กล่าวถึงว่า แนวทางการคัดเลือกหุ้น ดีไม่ดีหรือถือหุ้นอะไร
แต่เป็นการเขียนถึง การทำ risk ต่างๆที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซื้อหุ้น ขายหุ้น ปรับพอร์ท และการบริหารพอร์
 
 

โดย: kunjoja IP: 223.205.17.249 วันที่: 4 มิถุนายน 2555 เวลา:19:41:12 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

kunjoja
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add kunjoja's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com