ฟังก์ชัน Excel (Part 1)
  1. ฟังก์ชัน MOD

คำอธิบาย

ส่งกลับค่าเศษที่เหลือ หลังจากที่ number ถูกหารโดย divisor แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะมีเครื่องหมายเหมือนกับ divisor

ไวยากรณ์

MOD(number, divisor)

ไวยากรณ์ของฟังก์ชัน MOD มีอาร์กิวเมนต์ดังต่อไปนี้

  • ตัวเลข    ต้องมี คือจำนวนที่คุณต้องการหาค่าเศษที่เหลือ

  • Divisor    ต้องมี คือจำนวนที่คุณต้องการใช้หารตัวเลข

ข้อสังเกต

  • ถ้า divisor เป็น 0 ฟังก์ชัน MOD จะส่งกลับ #DIV/0! เป็นค่าความผิดพลาด

  • ฟังก์ชัน MOD สามารถแสดงในรูปของฟังก์ชัน INT ได้

MOD(n, d) = n - d*INT(n/d)

ตัวอย่าง

ถ้าคัดลอกตัวอย่างไปใส่ไว้ในแผ่นงานว่างเปล่าจะทำให้อ่านตัวอย่างได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

  1. เลือกตัวอย่างในบทความนี้ ถ้าคุณกำลังคัดลอกตัวอย่างใน Excel Online ให้คัดลอกและวางทีละเซลล์
    Important: ไม่ต้องเลือกส่วนหัวของแถวหรือคอลัมน์

    การเลือกตัวอย่างจากวิธีใช้

  2. กด CTRL+C

  3. สร้างเวิร์กบุ๊กหรือเวิร์กชีตเปล่า

  4. ในเวิร์กชีต ให้เลือกเซลล์ A1 แล้วกด Ctrl+V ถ้าคุณกำลังทำงานใน Excel Online ให้ทำซ้ำการคัดลอกและการวางสำหรับเซลล์แต่ละเซลล์ในตัวอย่าง
    Important: ตัวอย่างเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง คุณต้องวางลงในเซลล์ A1 ของเวิร์กชีต

  5. ในการสลับการแสดงผลระหว่างผลลัพธ์กับสูตรการคำนวณ ให้กด Ctrl+` (ตัวกำกับเสียงเกรฟ) หรือไปบนแท็บ สูตร ในกลุ่ม ตรวจสอบสูตร ให้คลิกปุ่ม แสดงสูตร

หลังจากที่คุณคัดลอกตัวอย่างไปยังเวิร์กชีตเปล่าแล้ว คุณสามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณได้

1

2

3

4

5

A

B

สูตร

คำอธิบาย (ผลลัพธ์)

=MOD(3, 2)

เศษเหลือของ 3/2 (1)

=MOD(-3, 2)

เศษเหลือของ -3/2 โดยมีเครื่องหมายเหมือนกับตัวหาร (1)

=MOD(3, -2)

เศษเหลือของ 3/-2 โดยมีเครื่องหมายเหมือนกับตัวหาร (-1)

=MOD(-3, -2)

เศษเหลือของ -3/-2 โดยมีเครื่องหมายเหมือนกับตัวหาร (-1)


2. ฟังก์ชัน Round

สูตร Round นี้เชื่อว่าผู้ใช้ Excel ทั่วไปรู้จักกันดี แต่ไม่เคยนำมาสูตรใช้กันกับการคำนวณทุกเซลล์ เนื่องจากไม่ทราบเรื่อง Repeating Binary Numbers กันมาก่อน

สูตร Round ทำหน้าที่ปัดตัวเลขทั้งเลขหลักทศนิยมหรือเลขหลักอื่น ให้เหลือค่าเท่าจำนวนหลักที่ต้องการ

=Round( ตัวเลข, จำนวนหลัก)

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลขบวก เช่น =Round(1234.567,2) จะปัดหลักทศนิยมให้เป็นแค่ 2 หลัก จึงได้ค่าเป็น 1234.57 (เนื่องจากทศนิยมหลักที่ 3 เป็นเลข 7 ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับเลข 5 จึงปัดขึ้น)

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลข 0 เช่น =Round(1234.567,0) จะปัดหลักทศนิยมให้เป็นแค่ 0 หลัก จึงได้ค่าเป็น 1235.00 (เนื่องจากทศนิยมหลักที่ 1 เป็นเลข 5 ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับเลข 5 จึงปัดขึ้น)

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลขลบ เช่น =Round(1234.567,-2) จะปัดตัวเลขหลักหน่วยและสิบให้เป็นหลักร้อย จึงได้ค่าเป็น 1200.00 (เนื่องจากเลขหลักที่ 2 เป็นเลข 3 ซึ่งไม่มากกว่าหรือเท่ากับเลข 5 จึงตัดทิ้ง)

3.ฟังก์ชัน Trunc

สูตร Trunc ทำหน้าที่ตัดตัวเลขทั้งเลขหลักทศนิยมหรือเลขหลักอื่น ให้เหลือค่าเท่าจำนวนหลักที่ต้องการ โดยไม่ต้องดูว่าหลักถัดไปเป็นเลขใด

สูตร Trunc ย่อมาจากคำว่า Truncate แปลว่า ตัดทิ้ง

=Trunc( ตัวเลข, จำนวนหลัก)

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลขบวก เช่น =Trunc(1234.567,2) จะตัดหลักทศนิยมให้เป็นแค่ 2 หลัก จึงได้ค่าเป็น 1234.56

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลข 0 เช่น =Trunc(1234.567,0) หรือ =Trunc(1234.567) จะตัดดหลักทศนิยมให้เป็นแค่ 0 หลัก จึงได้ค่าเป็น 1234.00

จำนวนหลักในสูตร ถ้าเป็นเลขลบ เช่น =Round(1234.567,-2) จะตัดตัวเลขหลักหน่วยและสิบให้เป็นหลักร้อย จึงได้ค่าเป็น 1200.00

4. ฟังก์ชัน Int

สูตร Int ทำหน้าที่ตัดตัวเลขหลักทศนิยม ให้เหลือเป็นเลขจำนวนเต็มที่น้อยกว่าเลขเดิม

=Int( ตัวเลข)

=Int(1234.567) จะได้ผลลัพธ์ 1234
แต่ถ้าใช้สูตรหาจำนวนเต็มของค่าลบ =Int(-1234.567) จะได้ผลลัพธ์ -1235

5. ฟังก์ชัน PMT

PMT(rate, nper, pv, [fv], [type])

          rate,nper,pv เป็นส่วนที่ต้องรระบุไว้ ส่วน fv และ type ที่อยู่ในวงเล็บปีกกา จะระบุหรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่ระบุจะมีค่าเป็น 0

อธิบาย Function PMT

rate หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่องวด

nper Number of Periods หมายถึง จำนวนงวดเป็นกี่เดือน

pv PresentValue หมายถึง จำนวนเงินกู้ปัจจุบัน

fv FutureValue หมายถึง มูลค่าอนาคต  หากไม่ระบุจะมีค่าเป็น 0

type หมายถึง ตัวเลข 0 หรือ 1 สำหรับกำหนดวันครบกำหนดชำระเงิน 
เป็นรูปแบบในการชำระหนี้ จะมีค่าเท่ากับ 1 เมื่อเป็นการชำระหนี้ต้นงวด และจะมีค่าเท่ากับ 0 เมื่อเป็นการชำระหนี้ปลายงวด หรือละไว้  หากไม่ระบุจะมีค่าเป็น 0


          จากภาพด้านบน สามารถสร้าง Function PMT ได้ดังนี้

-  ไปที่เซลล์ D4 พิมพ์อัตราดอกเบี้ยต่อปี (เปอร์เซ็นต์) 6.00%  อย่าลืมใส่สัญลักษณ์ % ต่อท้ายด้วย

-  คลิกเลือกเซลล์ D5 พิมพ์ระยะเวลาผ่อนชำระ (ปี)   15

-  คลิกเลือกเซลล์ D6 พิมพ์จำนวนยอดเงินกู้ (บาท)   1,000,000.00

-  คลิกเลือกเซลล์ D7 หาจำนวนเงินผ่อนชำระต่องวด (บาท) พิมพ์

          =PMT(D4/12,D5*12,D6,,)

           การคิดเงินผ่อนชำระต่องวดจะคิดเป็นรายเดือน ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่คิดเป็นรายปีก็ต้องคิดเป็นรายเดือนคือต้องหารด้วย 12 และระยะเวลาผ่อนชำระที่เป็นรายปีก็ต้องคำนวณเป็นรายเดือนด้วยก็คือต้องคูณด้วย 12

          เครื่องหมาย ,, เป็นค่า fv และ type จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

          จะได้ค่าออกมาติดลบ ซึ่งเป็นเงินที่จะต้องจ่ายออกไป  ถ้าไม่ต้องการให้ค่าติดลบก็ให้ใส่เครื่องหมายลบหน้าสูตรเป็น

=-PMT(D4/12,D5*12,D6,,)






Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2558 0:49:06 น.
Counter : 1366 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Khaotao
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กุมภาพันธ์ 2558

3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28