ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่น่ากลัวมากๆ สำหรับคนไทย...อย่าทำตาม

ทฤษฏี 3 ทฤษฏีที่สรุปได้จากการได้เห็นวิธีการที่คนในสังคมไทย หลังจากที่ได้เห็นวิธีการที่คนในสังคมจำนวนไม่น้อยสรุปประเด็นเรื่องต่างๆ ผิดไปจากความจริง มีการตีความที่ผิดเพี้ยนและผิดพลาดไปจากความเป็นจริง สร้างข้อสรุปที่สับสนไม่สมเหตุสมผล แต่มักจะถูกนำมาใช้ตีความ แปลข้อมูลในสังคมไทย

ทั้ง 3 ทฤษฏี ได้แก่



ทฤษฎีชะลอม



ทฤษฏีที่หนึ่ง เรียกว่า ทฤษฏีชะลอม

เปรียบได้กับคน ๆ หนึ่งมีสมมุติฐานในใจว่า กองฟางมีรูปร่างเหมือนชะลอม จึงพยายามหาข้อพิสูจน์ หาเท่าไร กองฟางก็ยังคงเป็นรูปร่างต่าง ๆ ไม่เหมือนชะลอมสักนิด แทนที่เขาจะเปลี่ยนใจใหม่ เขากลับอัดฟางลงไปในชะลอมจนแน่น แล้วเอากรรไกรเล็มตัดฟางที่เล็ดลอดออกมาจากชะลอมนั้นจนมันเรียบ จากนั้นจึงถอดชะลอมออก แล้วเที่ยวไปบอกใครต่อใครว่า

" เห็นไหม...กองฟางมีรูปร่างเหมือนชะลอม"

เป็นการสร้างความเชื่อให้เป็นความจริง แม้ความจริงไม่ใช่สิ่งที่เขาเชื่อ โดยการคัดข้อมูลออกตามใจ เพื่อให้ข้อมูลลงตัวตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในใจ แล้วพยามบอกคนอื่นให้เชื่อตามตนเอง



ทฤษฎีฆ่าวัวทิ้งผลผลิตเพิ่ม


ทฤษฏีที่สอง เรียกว่า ทฤษฏีฆ่าวัวทิ้ง - ผลผลิตเพิ่ม

เป็นการอ้างเหตุและผลที่ผิดพลาด เปรียบเปรยเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งทำการค้นหาว่า

เหตุใดผลผลิตทางการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น

เมื่อประมวลผลข้อมูลพบว่า ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติก็คือ การที่จำนวนวัวลดลง จึงทำให้สรุปว่า การที่จำนวนวัวลดลง ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ได้พิจารณาหรือไตร่ตรอง ตัวแปรอื่น ๆ ที่เป็นเหตุให้จำนวนวัวลดลง หรือตัวแปรอื่นที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งที่ความจริง หากพิจารณาตัวแปรอื่น ๆ อย่างรอบคอบ จะพบว่า การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น การที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น เกิดจากการใช้รถแทรกเตอร์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อคนใช้รถแทรกเตอร์ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ความเป็นจริงการใช้วัวย่อมลดลง จะถูกนำไปฆ่าเพื่อขายเป็นอาหารซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกัน



ทฤษฎีลูกอมในขวดโหล


ทฤษฏีที่สาม เรียกว่า ทฤษฏีลูกอมในขวดโหล

สะท้อนการหยิบข้อมูลบางส่วนแล้วไปตีขลุมว่าเป็นเช่นนั้นทั้งหมด

สมมุติว่าในขวดโหลใบหนึ่งมีลูกอมหลากหลายชนิดอยู่ 10,000 เม็ด ภายในขวดโหลนี้มองไม่เห็นจากด้านนอก เราล้วงหยิบลูกอมเม็ดแรกเป็นลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว จากนั้นหยิบอีกเม็ดหนึ่งเป็นลูกอมรสเดียวกัน และส่งต่อให้เพื่อน เพื่อนก็หยิบได้ลูกอมรสเดียวกัน

เราจึงสรุปว่าขวดโหลนี้บรรจุลูกอมน้ำผึ้งรสผสมมะนาวทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่ในความจริง ข้อสรุปดังกล่าว ใช้ไม่ได้ตามหลักสถิติ เพราะการหยิบข้อมูลมาเพียง 2 - 3 ตัวอย่าง แล้วสรุป ว่าประชากรทั้งหมดเป็นเช่นนั้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ผิด จำนวนตัวอย่างไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าเป็นเช่นนั้นได้ ถ้าจะให้เกิดความน่าเชื่อถือ จำเป็นต้องสุ่มหยิบลูกอมจำนวนที่มากเพียงพอ และอยู่ในหลาย ๆตำแหน่งของขวดโหลนั้น ๆ เช่น ล้วงลงไปให้ลึกที่สุดแล้วหยิบมาจำนวนหนึ่ง หยิบจากด้านบนจำนวนหนึ่ง ล้วงหยิบจากด้านข้างซ้าย-ขวา และตรงกลางของขวดโหลอีกจำนวนหนึ่ง หยิบจากด้านบนอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าปรากฏว่าทุกเม็ดที่เราหยิบออกมาเป็นลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว เราก็อาจจะพอสรุปความน่าจะเป็นได้ว่า ขวดโหลนี้น่าจะมีแต่ลูกอมรสน้ำผึ้งผสมมะนาว อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปนี้เป็นเพียง "ความน่าจะเป็น" เท่านั้นไม่สามารถสรุปว่าทั้งหมดเป็นเช่นนั้นได้

แล้วแบบนี้ เราจะอธิบายให้คนกลุ่มเหล่านี้ มองเห็นความถูกต้องได้อย่างไร นั่นคือสิ่งที่เราต้องช่วยกันครับ เพื่อสังคมไทยของเราเอง

ที่มา
//gotoknow.org/blog/sangsri/422274


Create Date : 24 มกราคม 2554
Last Update : 24 มกราคม 2554 22:32:25 น. 1 comments
Counter : 2126 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน ติวเลขออนไลน์


โดย: swkt (tewtor ) วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:11:21:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.