ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
5 มีนาคม 2555

Shame (2011)

สารบัญภาพยนตร์

Shame (2011)


บททดสอบครั้งยิ่งใหญ่ของชายผู้ติดเซ็กซ์




Shame ภาพยนตร์เล็กสัญชาติอังกฤษของผู้กำกับ Steve McQueen ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกประจำปี พ.ศ.2555 ในประเทศไทยที่ได้รับเรตติ้ง 20+ ซึ่งเป็นเรตติ้งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้เขาฉายได้ แต่ด้วยข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดประการใดก็ตาม สุดท้ายหนังเรื่องนี้ก็ยังเข้าฉายโดนถูกตัดไปถึง 1.26 นาที จึงเกิดข้อสงสัยในตัวคอหนังอย่างมากมายว่า ฉากที่ถูกตัดไปนั้นมีความสุ่มเสี่ยงมากเลยหรือที่จะทำให้หนังถูกแบนห้ามฉาย

และที่น่าเสียใจแกมเจ็บใจสำหรับนักดูหนังก็คือ ฉากที่ถูกตัดนั้น เป็นฉากสำคัญที่จะทำให้ แก่นเรื่องของความน่าอับอายในตัวเองของแบรนดอน (Michael Fassbender) ได้จุดประกายขึ้นมา และการตัดออกทำให้ภาพยนตร์เกิดความไม่ต่อเนื่อง เพียงแต่เห็นภาพครุ่นคิดในเงามืดของแบรนดอน ซึ่งผู้ชมอาจไม่แน่ใจว่าเขากำลังครุ่นคิดถึงสิ่งใด และอาจเป็นการลดทอนกำลังแรงส่งข้อคิดของหนังให้ผู้ชมที่ควรได้รับจากเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่

ที่กล่าวมาข้างต้นเพียงแต่เป็นการตั้งข้อสงสัยของนักดูหนัง ที่เชื่อเหลือเกินว่าในทุกๆซีนและในทุกๆฉากของภาพยนตร์นั้นกำลังสื่อสารอะไรบางอย่างอยู่ และการตัดออกไปทื่อๆนั้นหากไม่มีเหตุผลที่พอเพียงก็ถือเป็นการทำลายศิลปะของภาพยนตร์โดยไม่น่าให้อภัยอย่างยิ่งยวด

โดยเรื่องราวของ Shame นั้นเป็นการถ่ายทอดตีแผ่ชีวิตส่วนตัวของแบรนดอน ผู้ชายติดเซ็กซ์ แม้คำว่าเซ็กซ์ในมุมมองของบุคคลทั่วไปอาจหมายถึงความสุขสนุก แต่สำหรับเซ็กซ์ในมุมมองของภาพยนตร์เรื่อง Shame นั้นมันหมายถึงความอัปยศอดสูเลยทีเดียว



แบรนดอน มีชีวิตไม่ต่างจากเครื่องจักร หรือมนุษย์เทียม ที่ชีวิตของเขาไม่มีท่าทีในการค้นหาความสุขทางจิตใจใดๆเลย ทุกวันเขาผ่านไปโดยการตอบสนองอารมณ์ทางเพศเป็นสำคัญ ทั้งการซื้อบริการ ไซด์ไลน์ สาวทางเน็ต เจอกันตามผับบาร์ การค้นหาตามรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือแม้กระทั่งช่วยตัวเองที่คอนโดตัวเองหรือที่ทำงานก็ตาม ความสัมพันธ์กับผู้หญิงเป็นแบบ One Night Stand ไม่มีการสร้างสัมพันธ์ใดๆกับใครเลยที่จะทำให้เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจที่นอกเหนือจากคำว่าเซ็กซ์

ชีวิตประจำวันของแบรนดอนผ่านไปด้วยการตอบสนองตัณหาของตนเอง จนกระทั่ง ซิสซี่ (Carey Mulligan) น้องสาวของแบรนดอนได้มาขออาศัยคอนโดของเขา แม้ภาพยนตร์ไม่ได้เล่าปูมหลังของพี่น้องคู่นี้ให้กระจ่างชัดนอกจากให้ผู้ชมเกิดการตีความต่างๆนานา อีกทั้ง ซิสซี่ ยังมีบุคลิกแตกต่างกับพี่ชายลิบลับเพราะเธอค่อนข้างชอบสร้างความสัมพันธ์และดูเป็นคนเรียกร้องความสนใจจากบุคคลรอบกายรวมทั้งพี่ชายของเธอเอามากๆด้วย

สิ่งแรกเลยที่ผู้ชมจะคิดได้จากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือ แบรนดอน ไล่น้องสาวไม่ให้อยู่กับเขาเพราะเหตุใด 1. เพียงเพราะว่าซิสซี่เข้ามาทำให้กิจวัตรประจำวันของเขาต้องเปลี่ยนไป หรือ 2. แบรนดอนกลัวว่าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองและทำลายกรอบทางศีลธรรมระหว่างพี่กับน้องลง

ซึ่งเป็นไปได้ทั้งสองทาง แต่ถ้าเราจับประเด็นด้วยวิธีการที่หนึ่งแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็สื่อสารออกมาได้อย่างซื่อตรงและตรงไปตรงมา การที่ถูกน้องสาวเข้ามาคอยขัดจังหวะการปลดปล่อยปีศาจร้าย(เซ็กซ์) ออกจากตัว ทำให้เขารู้สึกชีวิตเขาต้องปรับเปลี่ยนไปหรือ วิธีที่สองซึ่งหากเป็นวิธีนี้ ย่อมเป็นวิธีที่น่าสนใจที่จะพูดถึงได้ยืดยาว และวิเคราะห์ตีความในระดับเจาะรากลึกได้อย่างน่าสนใจ และผู้เขียนก็มีความเอนเอียงสนใจในหัวข้อที่ 2 เป็นอย่างมาก



สิ่งหนึ่งที่แบรนดอนต้องต่อสู้กับจิตใจตัวเองก็คือศีลธรรมระดับสังคมกับสัญชาติญาณดิบทางเพศของตัวเองล้วนๆ ก่อนอื่นต้องกล่าวเลยว่า สิ่งหนึ่งที่แบรนดอนมักไม่ค่อยสร้างความสัมพันธ์กับหญิงอื่นใดเป็นเพราะ เขาไม่ต้องการสร้างกรอบศีลธรรมในจิตใจมาเกลือกกลั้วกับ ความน่าอายในระดับสัญชาตญาณของปีศาจร้ายในจิตใจ เพราะเขามองว่าสิ่งที่เขาเป็นมันคือความน่าอับอายขั้นรุนแรงในชีวิต และการสร้างความสัมพันธ์กับใครอาจนำพาให้หญิงอื่นพบเจอสิ่งนี้ที่เขาปกปิดไว้และ ภาพยนตร์สื่อชัดเจนกับเพื่อนทำงานคนหนึ่งที่เขารู้สึกดีด้วย และออกเดทด้วยกัน และเขาหวังจะมีโอกาสในครั้งต่อไป

แต่แล้ววันหนึ่งเขาก็ทำตัวเป็นปีศาจร้ายหวังฟันเธอคนนั้นด้วยอารมณ์ทางเพศ แต่ด้วยการต่อสู้ทางจิตใจของแบรนดอนเขากลับเลือกให้ ศีลธรรมที่ก่อกุมทางจิตใจชนะปีศาจร้ายตนนั้นลงได้ ด้วยความน่ายินดี ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่พอบอกได้ว่า แบรนดอนไม่ใช่คนน่าเลวร้ายในระดับความสัมพันธ์ทางสังคม(Social Relationship) แต่เขาจะเลือกที่จะปลดปล่อยปีศาจร้ายกับบุคคลที่ไม่ได้อยู่ร่วมความสัมพันธ์ในระดับสังคมกับเขาเท่านั้น

นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่เขาเลือกตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดในระดับสังคมออกทั้งหมด เพราะเขาไม่อยากทำผิดพลาดกับระดับศีลธรรมทางจิตใจ และทำลายศีลธรรมที่มนุษย์ควรจะมี และนี้เป็นเหตุผลที่เขายังคงมีความเป็นลูกครึ่งมนุษย์เทียมและมนุษย์ที่แท้จริงผสมกันอยู่ตลอดเวลา และยอมอยู่อย่างโดดเดี่ยว เพื่อป้องกัน การทำลายศีลธรรมทางสังคมลง เพราะถ้าวันนั้นมาถึงเมื่อไหร่เขาก็คือสัตว์ร้ายเดรัจฉานดีๆนี้เอง และไม่ควรค่าจะอยู่โลกอีกต่อไป



บททดสอบที่ยิ่งใหญ่ ก็คือ บททดสอบความสัมพันธ์ในระดับเครือญาติ บททดสอบนี้เป็นทดสอบที่ใหญ่มากซึ่งเป็นบททดสอบที่ถูกทดสอบผ่านมาตั้งแต่มนุษย์ในสมัยยุคหินเป็นต้นมา โดยในสมัยนั้นแม้มนุษย์ยุคหินจะมีความไร้ซึ่งเหตุผล ซึ่งแตกต่างจากสมัยปัจจุบัน แต่มนุษย์ยุคหินมีความเกลียดกลัว “รักร่วมสายเลือด” ความเกลียดกลัวรักร่วมสายเลือดและกฎข้อห้ามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเซ็กซ์ในระหว่างญาติพี่น้อง แสดงให้เห็นว่าคนยุคหินมีระบบศีลธรรมที่คอยควบคุมบังคับพฤติกรรมและวิถีชีวิตของพวกเขา คนที่อยู่ในตระกูลเดียวกันจะแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์กับคนร่วมตระกูลไม่ได้ นั้นเป็นกรอบศีลธรรมที่ส่งต่อจวบจนมาถึงปัจจุบัน

ดังนั้นการที่ซิสซี่เข้ามาอยู่กับแบรนดอน เป็นความกระอักกระอ่วนและความสำคัญในระดับความเป็นมนุษย์ของแบรนดอน แบรนดอนชนะศีลธรรมทางสังคมที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และแบรนดอนกำลังโดนบททดสอบศีลธรรมในระดับข้อห้ามที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยยุคหิน เป็นข้อห้ามใน”รักร่วมสายเลือด” เป็นข้อห้ามที่มีโทษถึงตายในสมัยนั้น ถูกส่งต่อมาถึงสมัยปัจจุบัน และแบรนดอนโดนทดสอบอย่างจริงจัง แบรนดอนมีอาการไม่ต่างจากหึงหวง น้องสาวจากการที่โดนหัวหน้าที่ทำงาน ร่วมหลับนอนกับซิสซี่

เขาต้องต่อสู้ทางจิตใจของตนเอง เขาตระหนักว่าตัวเองมีความรู้สึกไม่ต่างจากลูกครึ่งสัตว์และมนุษย์ แม้สุดท้ายเขาจะสามารถเอาชนะกรอบทางศีลธรรมในระดับวงศ์วานได้ แต่ผู้ชมจะเห็นว่า แบรนดอนก็มีชีวิตที่แตกต่างจากมนุษย์ธรรมดามากขึ้นไปทุกที การมีเซ็กซ์หมู่หรือกระทั่งการเข้าบาร์เกย์ เป็นมูลเหตุสำคัญที่ชีวิตของแบรนดอนช่างน่าอดสูยิ่งนัก และรอยตีนกาที่เกิดขึ้นบนใบหน้าแบรนดอน ที่เกิดขึ้นจากการถึงจุดสุดยอดหรือจะเป็นฉากกลางสายฝนก็ตาม มันไม่ต่างกันเลยในแง่ของความปวดร้าวในระดับจิตใจ บางครั้งไม่แน่ใจว่า ตีนกาเหล่านั้นเป็นการช่วยเมคอัพของผู้กำกับเพื่อให้น่าเกลียดขึ้นหรือไม่ เพราะมันดูช่างน่าเกลียดน่ากลัวมากขึ้นทุกที



สุดท้ายคนที่น่าสงสารที่สุดคงหนีไม่พ้น แบรนดอน เองเขาต่อสู้กับสรรพสิ่งในจิตใจยิ่งกว่านักบวชที่ต่อสู้กับมารผจญทางจิตใจ การต่อสู้ของศีลธรรมในระดับสังคมและในระดับสายเลือด กับสัญชาติญาณของสัตว์ที่เกาะกุมใจของเขาซึ่งแน่นอนว่าเขาเป็นโรคจิตเพศอย่างแน่นอน

การแบ่งสันปันส่วนให้สิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้อยู่ในระดับพึงพอใจด้วยการที่ยังเป็นมนุษย์นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ในทางหนึ่ง แบรนดอนประสบความสำเร็จในแง่ของความเป็นมนุษย์ในสังคมโดยสมบูรณ์ แต่หากสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือศีลธรรมทางสังคมเขาคือสัตว์ที่ต้องการเพียงความพึงพอใจแต่เพียงสถานเดียว และนั้นทำให้เขายอมแปลกแยกและโดดเดี่ยวกับชีวิต เหมือนติดบ่วงกรรมที่ไม่มีทางหลุดพ้นได้ตลอดไป

และหากจะวิเคราะห์มองหาทางออกหลุดพ้นให้กับชีวิตของแบรนดอนแล้วนั้น คงตอบได้ว่าไม่มี (นอกจากการรักษาโรคทางจิต) ผู้ชมเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และได้รับรู้เรื่องราวของผู้ชายที่น่าสงสารคนนี้เพียงเท่านั้น เหมือนที่กล้องตั้งเอาไว้แบบลองเทคให้นักแสดงได้เล่นไปเหมือนผู้ชมได้แค่เฝ้ามองเท่านั้น ไม่มีส่วนเข้าไปยุ่มย่ามในชีวิตของแบรนดอนเลย แต่อย่างน้อยๆ แบรนดอนก็กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่า บททดสอบที่เขาได้รับ ทำให้เขาเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ แม้จะเป็นแค่ระดับศีลธรรมในสังคมก็ตาม

คะแนน 8/10
เกรด A



ภาพยนตร์ยอดเยี่มประจำปี 2011 พร้อมรีวิว

HUGO
The Artist
The Tree of Life
The Descendants (2011)
50/50
Midnight in Paris
The Girl with Dragon Tattoo
A Separation
We Need to Talk About Kevin
The Help

อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์




Create Date : 05 มีนาคม 2555
Last Update : 22 มีนาคม 2555 0:23:44 น. 3 comments
Counter : 3744 Pageviews.  

 
ชอบคุณวิจารย์ดีๆอ่านแล้วคิดตามแล้วเห็นภาพเลยครับ ..


โดย: Nphasin S. IP: 182.53.82.172 วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:12:45:23 น.  

 
เห็นโปรชัวร์เรื่องนี้แล้วก็รู้ได้เลยว่าเป็นเรื่องที่คงจะสื่อมาในแนวนี้แต่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการตัดทอนบางฉากออกไปด้วย (เป็นการตัดสินจาก คนกลุ่มเดียว จริงๆเลย)
โดยส่วนตัวไม่ได้ดูนะคะ แต่อ่านจากรีวิวของ จขบ.แล้วก็เห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดีค่ะ
หนังที่สื่อถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งในระดับเครือญาติ ในแบบที่กล่าวถึงก็เคยมีโอกาสได้ยินได้ฟังอยู่บ้างค่ะ แต่ไม่กล้าดู ไม่ใช่ว่าอิโนเซนท์แอ๊บแบ๊ว หรืออย่างไรหรอกนะคะ แต่ไม่กล้าดู เพราะแค่เพียงคิด มันก็รู้สึกหดหู่แล้ว เป็นประเด็นหนังที่น่าสนใจ แต่ก็ไม่เคยที่จะดูเลย ( :
สิ่งที่ทำให้คิดได้ว่าตัวเอกในเรื่องมีปัญหาแล้วแน่ๆก็คือการที่ตัวเอกแอบกลัวกับการมีความผูกพันต่อคนรอบข้างแม้แต่กับผู้หญิงที่ตนเองรู้สึกดีด้วยก็เลี่ยงที่จะผูกพันไปมากกว่านี้.. เพราะกลัวที่จะแสดง"ความลับ"นั้นออกมา ซึ่งนั่นทำให้รู้สึกได้ถึงความผิดปกติ
การที่คิดว่าการแสดงปฎิสัมพันธ์นั้นออกมากับหญิงที่รักเป็นเรื่องน่าอาย นั่นแปลว่า เค้าไม่ได้รักเธอจริงหรือเปล่าคะ
เอ
เราชักจะวิจารณ์นอกลู่นอกทางไปแล้ว555
มีข้อสงสัยอีกอย่างหนึ่งค่ะ
น้องสาวของตัวเอกนั้น เป็นน้องสาวจริงๆเลยหรือเปล่าคะ หรือเป็นลูกพี่-ลูกน้อง?
อย่างไรก็ตาม
ขอบคุณที่รีวิวหนังดีดีค่ะ


โดย: nobuta wo produce วันที่: 10 มีนาคม 2555 เวลา:21:08:05 น.  

 
พระเอก เป็นโรคติดเซ็กซ์ ซึ่งตัวเขา ถือเป็นเรื่องอับอายในชีวิตของเขาเลยทีเดียว เขาจึงไม่ต้องการสร้างสัมพันธ์กับหญิงใดๆ ในแบบคนรักจริง จึงเลือกหญิงที่เป็นคู่นอนที่ไม่มีการผูกมัด

แต่สำหรับเพื่อนร่วมงาน เขาเริ่มรู้สึกดีกับเธอโดยการแอบมอง ในขณะทำงาน จนมีโอกาสทำความรู้จักและออกเดทกัน แต่ก็ไม่ได้หวังฟันเธอ จะเห็นว่าในระดับความสัมพันธ์แบบทั่วไป ชายผู้ที่ติดเซ็กซ์คนนี้ก็มีความน่ารัก

แต่เมื่ออารมณ์ทางเพศเกิดขึ้น เขาก็สามารถเปลี่ยนไปเป็นอีกคนทันที โดยการ พาเพื่อนร่วมงานมาเพื่อหวังฟัน แต่วินาทีที่กำลังจะเกิดอะไรขึ้นนั้น เขากลับหยุดกะทันหัน และเริ่มรู้สึกในความผิด

และถ้าถามว่าพระเอกไม่ได้รักจริงใช่มั้ย ผมตอบไม่ได้ครับ เพราะพระเอกกำลังเริ่มสร้างสัมพันธ์ในระดับแรกกับเธอ แต่เมื่อเกิดอารมณ์ก็อยากระบายกับใครสักคน ดังนั้นถ้าตัดสินว่าพระเอกไม่ได้รักเธอจริง แล้วหวังฟัน ถือเป็นการตัดสินที่โหดร้ายกับเขาเป็นอย่างมาก (และผมไม่อยากให้ใครคิดเช่นนั้นเลย )

สำหรับในรายของพระเอก ผมมองว่า เรื่องของเซ็กซ์ กับ เรื่องของสัมพันธ์ มันแยกออกจากกัน นี่เป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่พระเอก ค่อนข้างเป็นคนแปลกแยก เพราะโรคติดเซ็กซ์ทำให้ชีวิตเขาย่ำแย่อย่างมาก

หนังไม่ได้บอกรายละเอียดชัดเจน แต่น่าจะเป็นพี่น้องร่วมสายเลือดกันจริงๆ

ประเด็นที่หนังจะจับจริงๆ คงเป็นเรื่องการสำรวจชีวิตของชายผู้ติดเซ็กซ์ที่ต้องพบเจออะไร ที่เข้ามาทดสอบชีวิตของเขามากมาย และเขาจะเลือกผ่านมันไปอย่างไร

ดังนั้นหนังมันดูค่อนข้าง หดหู่ แต่มันมีประเด็นให้จับต้องอย่างมากมาย


โดย: A-Bellamy วันที่: 12 มีนาคม 2555 เวลา:15:33:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]