ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
6 กุมภาพันธ์ 2555

War Horse(2011)

สารบัญภาพยนตร์

War Horse (2011)


นิทานเรื่องม้าของสปีลเบิร์ก


ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Starpics คอมลัมน์ "ที่ตรงนี้คุณเขียน" ฉบับ 819 กรกฎาคม 2012



“หากชื่อของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก ไปปรากฏในโปรเจคหนังเรื่องใด หนังเรื่องนั้นย่อมเป็นที่น่าสนใจในทันท่วงที” คำกล่าวอ้างข้างต้นไม่ใช่คำกล่าวเกินเลยแต่อย่างใด สำหรับเจ้าพ่อนักทำหนังฉายาพ่อมดแห่งวงการฮอลลีวูด ที่มีผลงานภาพยนตร์ในฐานะผู้กำกับเกือบครึ่งร้อย และในฐานะโปรดิวเซอร์อีกเกินหนึ่งร้อยกว่าเรื่องไปแล้ว โดยผลงานกำกับล่าสุดของเขาคือ War Horse ภาพยนตร์ดราม่าอิงประวัติศาสตร์สงคราม ที่หวังจะเขาไปเฉิดฉายรับตุ๊กตาทองคำในเทศกาลออสการ์ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้นี้

ภาพยนตร์ War Horse ถูกดัดแปลงมาจากวรรณกรรมสำหรับเด็กชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ของ Michael Morpurgo ซึ่งว่าด้วยเรื่องความรักความสัมพันธ์ฉันเพื่อนมิตรระหว่างเด็กหนุ่ม อัลเบิร์ต นาราค็อตต์ กับ ม้าโจอี้ ซึ่งมีอันต้องพลัดพรากจากกันในคราวที่ ม้าโจอี้ ถูกเกณฑ์ไปช่วยประเทศอังกฤษรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอัลเบิร์ตเอง หมายมั่นสัญญาว่าจะต้องหาโจอี้ให้พบในสักวันหนึ่ง

สิ่งที่ สปีลเบิร์ก เน้นย้ำจากภาพยนตร์เรื่องนี้เห็นจะมีจาก 2 เรื่องใหญ่ๆด้วยกัน นั่นคือความรักความผูกพัน และความโหดร้ายของภาวะสงคราม ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ใช่แนวความคิดที่แปลกใหม่แต่อย่างใดสำหรับ สปีลเบิร์ก หรือแม้กระทั่งนักทำหนังทั่วโลก แต่สิ่งที่ สปีลเบิร์ก เหนือชั้นกว่าใครนั่นคือการทำหนังที่ดูเหมือนเป็นวิธีการง่ายๆ แต่จะทำอย่างไร ที่จะทำให้เกิดความประทับใจให้กับผู้ชมอย่างไม่รู้ลืม

War Horse เป็นบททดสอบหนึ่งในการทำหนังที่มีพล็อตเรื่องง่ายๆ ให้แสดงวิธีออกมาได้อย่างน่าจดจำ สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นที่หาที่ติไม่ได้ก็คือ วิธีการถ่ายภาพของ ยานุสซ์ คามินสกี(Janusz Kaminski )ผู้กำกับภาพคู่บุญของ สปีลเบิร์ก ที่ได้รับรางวัลออสการ์จากเรื่อง Saving Private Ryan และ Schindler's List และแน่นอนทั้งสองเรื่องถูกกำกับโดย สปีลเบิร์ก เอง



การเปิดเรื่องตัวละครในช่วงต้นนั้นถือเป็นช่วงเวลานิ่งเงียบที่ดูจะไม่มีความพิเศษอย่างใด แต่ด้วยวิธีการที่เน้นย้ำ ทั้งการใช้โทนสีเย็นในการสร้างความอบอุ่นให้กับตัวละคร การเคลื่อนกล้องที่ดูนิ่งเงียบแต่สามารรถเล่าเรื่องได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังเช่น การถ่ายภาพโจอี้อยู่ในคอก โดยการให้กล้องถ่ายภาพผ่านคอกที่ทำให้โจอี้ อยู่ในกรอบภาพที่มีความอึดอัด ก่อนที่จะทำให้ผู้ชมรู้ว่า โจอี้กำลังถูกจับไปประมูล เป็นต้น วิธีการสไตล์เช่นนี้จะพบเห็นได้ตลอดเรื่อง และเป็นวิธีการที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนหนังที่จะใช้เป็นกลวิธีการศึกษา เป็นการใช้ภาพเล่าเรื่องอย่างง่ายๆแต่น่าสนใจ

จุดสำคัญที่เป็นจุดเด่นของ สปีลเบิร์กอีกเรื่องนั่นคือ การเน้นย้ำถึงภาพการแสดงอารมณ์ ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกคล้อยตามและรู้สึกไปกับตัวละคร ถ้าหากสังเกตให้ดี ในช่วงต้น สิ่งที่สปีลเบิร์ก พยายามปูเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับม้า เขายังสามารถปูเรื่องพื้นฐานทางครอบครัว ที่มีปัญหารายล้อมรอบด้าน แต่สิ่งหนึ่งที่ครอบครัวนี่ไม่เคยทำหล่นตกหายไปก็คือความรักที่มีให้แก่กันในครอบครัว (การทำท่าทางไม่รัก แต่ใจลึกๆนี่โครตรักมักเด่นชัดอยู่ในหนังของสปีลเบิร์กตลอดมา) และนี้เป็นคงเป็นจุดเด่นที่หาการเทียบเคียงจากใคร ทำให้ผู้ชมดูหนังของสปีลเบิร์กด้วยความประทับใจ และรู้สึกร่วมไปกับตัวละครได้อย่างไม่ยากเย็น

การปูเรื่องที่ทำให้เห็นความสำคัญของตัวละคร(หมายถึงความสัมพันธ์ครอบครัวที่ไม่ใช่แค่ม้าและคน) แต่กลับไม่ได้นำไปสานต่อเลยตั้งแต่ โจอี้ ถูกส่งไปในสงคราม ทำให้เสียดายความรู้สึกตรงนี้ที่ผู้ชมกำลังรับรู้และมีอารมณ์ร่วมไปกับการเปิดเรื่อง เพราะหลังจากช่วงต้น หนังต้องเปลี่ยนประเด็นไปเน้นย้ำถึงเรื่องความโหดร้ายจากสงคราม โดยผ่านตัวโจอี้ ซึ่งไม่ต่างจากการพาผู้ชมไปพบถึงความโหดร้ายด้วยวิธีการต่างๆ

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คนในสงครามจะกลายเป็นมนุษย์ที่อยู่อีกจำพวกหนึ่งกับมนุษย์ทั่วไปโดยทันที ด้วยความเน้นย้ำมากมาย จากตัวโจอี้เอง ที่ต้องไปอยู่หลากหลายประเทศ เปลี่ยนตัวละครรอบกายมากมายเป็นพัลวัน ทำให้อารมณ์ความต่อเนื่องของผู้ชมไม่คล้อยตาม จนบางครั้งอาจเกิดความน่าเบื่อโดยไม่ตั้งใจได้



แต่เมื่อดำเนินเรื่องมาถึงจุดหนึ่ง การนำเสนอภาพความน่ารัก ของบุคคลที่ปฎิปักษ์คนละขั้วกันในสงครามซึ่งต่างฝ่ายต่างออกมาช่วยโจอี้ ที่ติดอยู่กับรั้วลวดหนามคนละข้าง ซึ่งเป็นตรงกลางของสมรภูมิรบ เป็นการชี้นำให้เห็นความดีงามของมนุษย์ที่ยังมีความเมตตาต่อสัตว์ อีกทั้งยังเป็นการนำเสนอที่เผยให้เห็นว่าแท้จริงมนุษย์มิได้เลวร้าย สงครามต่างหากที่มันทำให้มนุษย์เลวร้าย แสดงถึงความอบอุ่น ความมีคุณธรรมในวิธีคิดของสปีลเบิร์กได้เป็นอย่างดี แม้ฉากนี้ถ้ามองอย่างไม่คิดอะไรอาจดูทำให้เป็นไปแบบตลกๆ ขำๆ แต่ถ้ามองในแง่ร้ายอาจเอนเอียงไปทางยัดเยียดความคิดให้ผู้ชมด้วยซ้ำไป

ส่วนรายละเอียดประกอบรายทางในหนังของสปีลเบิร์ก มักมีความสมเหตุสมผล มีสาเหตุในการกระทำตั้งแต่ต้น(set up) เพื่อไปมีส่วนสำคัญในฉากอื่นต่อไป(pay off) ซึ่งถ้าสังเกตก็จะพบว่านี่คือวิธีการสำคัญที่จะทำให้หนังดูง่ายและเข้าใจในทันที

ยกตัวอย่างในฉากที่ อัลเบิร์ต ถูกแก๊สทำให้ต้องปิดตาเพราะอักเสบ ถ้าถามว่าเพราะเหตุใด อาจเพราะสปีลเบิร์กคิดฉากต่อมาไว้แล้วว่า ต้องการให้เห็นถึงความผูกพันของโจอี้ และอัลเบิร์ต ที่ไม่ต้องใช้ประสาททางตาเข้าใจหรือเห็นกันเลย แต่กลับจำได้ซึ่งกันและ หรือหมายถึง สิ่งพิเศษมักไม่ใช้แค่ดวงตาพิสูจน์ แต่ดวงใจจะบอกความพิเศษได้งดงามกว่านั้นมากมาย ดังนั้นหมายถึงว่า สปีลเบิร์ก สามารถเล่าเรื่องได้อย่างตรงไปตรงมาและงดงาม การให้ผู้คนพักอารมณ์ตลอดทาง "เป็ด" ในเรื่องเป็นตัวอย่างสำคัญ ที่ทำให้ผู้ชมยิ้มได้

สุดท้ายจึงกล่าวได้ว่า War Horse แม้จะไม่ใช่หนังดีเด่นจนน่าขนลุกอะไร แต่ด้วยวิธีกานำเสนอทำให้มันมีความประทับใจตลอดเรื่อง แม้อาจจะยังไม่ใช่ภาพยนตร์ที่ดีที่สุด แต่บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ของพ่อมดแห่งวงการฮอลลีวู๊ดได้เป็นอย่างดี ว่าเหตุใดชื่อของเขาจึงโด่งดังยอมรับไปทั่วทั้งโลก

สปีลเบิร์กเองเคยกล่าวว่าการที่เขามาทำหนัง ทำให้เขามีเวลาใช้ชีวิตกับครอบครัวและลูกๆได้น้อยเต็มที แต่หากเราสังเกตภาพยนตร์ของเขา เราจะพบว่า สปีลเบิร์กมีวิธีคิด ที่มีความน่ารักอบอุ่นต่อโลกผ่านภาพยนตร์ของเขาทั้งหมด และนี่อาจเป็นทดแทนการละเลยจากหน้าที่ของพ่อก็เป็นได้ และหากเปรียบภาพยนตร์ของสปีลเบิร์กเป็นหนังสือนิทาน สปีลเบิร์กคงเป็นผู้เล่านิทาน ที่ทำให้คนฟังหลงใหลติดตรึงใจก่อนนอนไปทุกๆคืน

คะแนน 7.75/10
เกรด B+



อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์



Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 11 กรกฎาคม 2555 11:03:51 น. 4 comments
Counter : 5134 Pageviews.  

 
ขอบคุณมากค่ะ ชอบทั้งคนวิจารณ์คนนี้และคนสร้างหนัง


โดย: ชอบ IP: 202.60.207.154 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:16:11 น.  

 
สปิลเบิร์กมีหนังหลายเรื่องนะครับปีนี้
ฉายที่ไหนบ้างครับ นอกจาก Paragon


โดย: คนขับช้า วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:19:23:11 น.  

 
ผมชอบมากครับเรื่องนี้


โดย: ลูกอบรสเขียด วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:20:23:28 น.  

 
วิจารณ์หนังดีๆแบบนี้ให้พวกเราอ่านอีกนะ


โดย: zoop IP: 61.91.251.235 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:14:52:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]