ตีความหนัง...ตีความชีวิต
สารบัญภาพยนตร์
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
24 กุมภาพันธ์ 2555

A Dangerous Method (2011)

สารบัญภาพยนตร์

A Dangerous Method (2011)


สัญชาตญาณดิบอันตราย




สิ่งพิเศษสำหรับภาพยนตร์ประการหนึ่งคือการนำเอาประวัติศาสตร์ในหนังสือถ่ายทอดออกมาให้เห็นเป็นภาพ แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องจริงซะทั้งหมด แต่มันได้เติมเต็มจินตนาการของผู้ชม ให้ความฝัน ความคิด ได้เขยิบเข้าใกล้กับความจริงขึ้นเข้ามาทุกทีๆ เหมือนที่ David Cronenberg กำลังบรรจงสร้างสองบุคคลสำคัญในแวดวงจิตวิเคราะห์ นั่นคือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ และ คาร์ล จุง ให้มีตัวตนและเลือดเนื้อเชื้อไข ไม่ต่างจากคนสามัญชนธรรมดา พาผู้ชมไปพบวิธีการคิด วิธีการทดสอบรักษา และบุคคลิกลักษณะท่าทาง ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นในความเป็นจริง แต่สำหรับภาพยนตร์แล้วมันสามารถทำได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เรื่องราวของ A Dangerous Method เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่20 ซึ่งเป็นช่วงที่วงการจิตวิทยากำลังรุ่งเรืองจากทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Viggo Mortensen) แม้อาจจะไม่ได้รับการยอมรับในวงกว้างก็ตาม แต่มันก็เป็นพื้นฐานที่ปลุกกระตุ้นให้นักจิตวิทยาต้องหันมาสนใจกับเรื่องสัญชาตญาณทางเพศของมนุษย์

คาร์ล จุง (Michael Fassbender) นักจิตวิทยาคนสำคัญอีกคนหนึ่งที่แม้นจะไม่ได้รู้จัก ซิกมันด์ ฟรอยด์ เป็นการส่วนตัว แต่เขาก็ได้นำเอาทฤษฎีของฟรอยด์มาทดสอบใช้กับคนไข้ล่าสุดของเขาที่ชื่อ ซาบีน่า (Keira Knightley) สาวรัสเซีย-ยิวชนชั้นสูงที่มีอาการปกติ ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอาการปากเบี้ยวปากบูด โดยเธอมักแสดงอาการเช่นนี้เมื่อเธอต้องเอ่ยเอื้อนถึงการถูกทำโทษของพ่อที่ตีเธอด้วยไม้

นั่นเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้ จุง เข้าใจถึงภาวะเก็บกดซ่อนเร้นถึงอารมณ์ทางเพศที่เธอเก็บกดไว้ตลอดมา และ จุง ได้รู้ถึงความสามารถของซาบีน่า ว่าเธอเองก็เป็นมีความสามารถทางด้านจิตวิเคราะห์เหมือนกัน ทำให้เขาให้เธอเป็นผู้ช่วยวิจัยและนั่นทำให้เธอมีความสุขและเป็นผลให้อาการเธอทุเลาลง

ด้วยการรักษา ซาบีน่า ทำให้เขาได้เดินทางไปหา ฟรอยด์ เพื่อติดต่อพูดคุย สิ่งหนึ่งที่ฟรอยด์ดูห่างชั้นและเย่อหยิ่งก็คือเขาทำตัวเหมือนนักจิตวิเคราะห์ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ จุง เองก็ตาม โดยจุงเองเห็น ฟรอยด์เป็นเพื่อนจึงได้บอกเล่าความฝันของตัวเองทุกอย่าง และทันใดที่ฟรอยด์ตีความความฝันของ จุง นั้นก็เท่ากับว่า จุงเป็นเพียงไม่ต่างจากคนไข้ของฟรอยด์เพียงเท่านั้นเอง ฟรอยด์เฝ้าย้ำว่า สิ่งสำคัญของการเป็นนักจิตวิเคราะห์คือการ ต้องห้ามมีอะไรกับคนไข้



ความซับซ้อนของ A Dangerous Method คือการที่ผู้ชมที่ไม่มีความรู้ในคำศัพท์ในจิตวิเคราะห์อาจจะเกิดอาการไม่เข้าใจในสิ่งที่ ฟรอยด์ และ จุง คุยกันได้เสียซะทั้งหมด มิหนำซ้ำบทสนทนาในเรื่องค่อนข้างเยอะและมากมาย จนดูรวดเร็วเกินไปที่ผู้ชมจะคิดตามทัน แต่มันก็สมเหตุสมผลในแง่ของความยิ่งใหญ่และลึกล้ำของ 2 นักจิตวิเคราะห์

องค์ประกอบโดยรวมนั้นถือว่า A Dangerous Method มีคุณสมบัติโดยรวมที่เป็นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพเลยทีเดียว ทั้งองค์ประกอบศิลป์ เครื่องแต่งกาย และคุณสมบัติปลีกย่อยๆ และเรื่องเล็กน้อยหลายประการ แต่สิ่งที่ยังขาดคือ ด้วยการที่เน้นบทสนทนามากเป็นพิเศษ ทำให้แอคชั่นการกระทำน้อยไปพอสมควร จนทำให้เป็นหนังที่เนิบช้า ไม่มีจุดสูงสุดของอารมณ์ ให้ผู้ชมตื่นเต้น ลุ้นระทึก หรือเอาใจช่วยตามตัวละคร จึงดูเหมือนเป็นสภาวะแห้งแล้งของอารมณ์

ตามหลักประวัติศาสตร์นั้นมีคนมากมายที่ขัดแย้งและแตกคอกับ ฟรอยด์ รวมทั้งจุง ที่ไม่เห็นด้วยที่บอกว่า โรคประสาทนั้นเกิดมากจากสัญชาตญาณที่ถูกเก็บกดเรื่องเพศ ทุกคนกล่าวหาว่าฟรอยด์ หมกหมุ่นแต่เรื่องเพศแต่เพียงอย่างเดียว ไม่เปิดกว้างในเรื่องอื่นๆ ยังเป็นข้อครหาสำคัญว่าสุดท้ายสิ่งที่สัญชาตญานของมนุษย์นั้นเรื่องเพศเป็นสิ่งสำคัญที่สุดจริงหรือไม่ และถ้าเป็นจริงเราควรจะปกปิดปิดกั้นไว้หรือไม่

แต่ด้วยการนำเสนอของภาพยนตร์จะเล็งเห็นว่า บางครั้งสิ่งที่ถูกเก็บกดที่อยู่ภายในจิตใจถ้ามันได้รับการกระตุ้น มันก็พร้อมที่จะถูกปลดปล่อย และถ้าเราไปกั้นมันไว้ มันก็จะเก็บกดและถูกฝังไว้ในจิตใจส่วนลึก พร้อมรอสักวันที่จะเป็นอิสระ สิ่งสำคัญคือการบริหารจิตใจให้มีความสมดุล รู้จักปลดปล่อยในสิ่งที่ควร และเก็บกั้นไว้บ้าง ชีวิตเราก็คงมีความสุข

ตามทฤษฎีของฟรอยด์ เรื่องเพศ คือสิ่งที่มนุษย์ถูกปิดกั้นเอาไว้ ไม่ให้ออกมาเผชิญสู่โลกภายนอก จนบางครั้งอาจจะเก็บกดและป่วยทางจิต แต่มีคนหลายต่อหลายคน พยายามจะหนีความจริงว่าเรื่องเพศ ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญในการดำรงชีวิต

คนพวกนั้น ฟรอยด์ อาจกำลังบอกว่า คนพวกนี้เป็นพวกที่ไม่ยอมรับความจริง และยอมรับไม่ได้ว่าเขากำลังป่วยทางจิต หรือโหยหามากแต่ไม่ได้รับการตอบสนองที่พึงพอใจ จึงเก็บกดไว้จิตใจส่วนลึกๆ คนจำพวกนี้นั้นน่ากลัว เพราะสิ่งเก็บกดเหล่านี้มันพร้อมจะระเบิดออกมาได้ทุกเมื่อ และเชื่อเหลือเกินว่า ถ้ามันระเบิดออกมาเมื่อไหร่ คนพวกนั้นอาจจะเอ่ยว่า “อะไรก็เอาทั้งนั้น” ช่างน่ากลัวจริงๆ

คะแนน 7.75/10
เกรด B+

ปล.ผู้เขียนเก็บกดอยากวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างมาก แต่ต้องกั้นไว้ให้หนังออกจากโรงก่อน เพือไม่ให้เกิดการสปอยด์




ภาพยนตร์ยอดเยี่มประจำปี 2011 พร้อมรีวิว

HUGO (2011)
The Tree of Life (2011)
50/50 (2011)
Midnight in Paris (2011)
The Girl with Dragon Tattoo (2011)
A Separation (2011)
We Need to Talk About Kevin (2011)
The Help(2011)

อ่านบทความเรื่องอื่นได้ที่:สารบัญภาพยนตร์


Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 5 มีนาคม 2555 16:00:15 น. 1 comments
Counter : 3728 Pageviews.  

 
เพิ่งจะดูเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา คิดถึงอาจารย์ที่สอนจิตวิทยา ทุกท่านครับ


โดย: นักเรียนเก่า IP: 204.124.83.131 วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:9:24:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

A-Bellamy
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ย้ายบล็อกแล้วนะครับ ติดตามกันต่อได้ที่ http://www.A-Bellamy.com ครับ

พูดคุยเรื่องหนังกันได้ที่Facebook

สนุกกับการอ่านบล็อกนะครับ


บทความล่าสุด
Jack the Giant Slayer (2013)
The Tree of Life(2011)
Iron Man (2013)
ลัทธิ Constructivism
คู่กรรม(2013)
Stoker(2013)
Amour(2012)
Silver Linings Playbook(2012)
Zero Dark Thirty(2012)
Les Misérables(2012)


บทความแนะนำ
จัดอันดับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 2012
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(แยกตามลัทธิ)
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์(ตาม ค.ศ.)
สารบัญภาพยนตร์ประวัติศาสตร์

[Add A-Bellamy's blog to your web]