ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ศาลทหาร กับโครงสร้างและอำนาจการพิพากษาคดี




 ศาลทหาร หมายถึง ศาลที่ตัดสินในคดีของทหาร แต่ศาลทหาร จะมาตัดสินในคดีอาญาก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ มาดู อำนาจ และโครงสร้างของศาลทหาร 

            หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศฉบับที่ 37-38 เรื่อง คดีที่เกี่ยวกับการหมิ่นสถาบันฯ หรือความมั่นคง หรือคดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน ให้ไปอยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น ทำให้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ศาลทหารมีหน้าที่อะไรกันแน่ เพราะปกติแล้วศาลทหารไม่ค่อยปรากฏอยู่ในหน้าข่าวสักเท่าไรนัก จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 2557  กองทัพเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ

            สำหรับจุดเริ่มต้นของศาลทหารนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงเรื่องการศาลทั่วประเทศ ทำให้ระบบศาลไทยถูกแบ่งออกเป็น 2 ศาล ได้แก่ ศาลยุติธรรม เป็นของพลเรือน อยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และศาลทหาร อยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม

            ทั้งนี้ คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น เป็นคดีที่บุคคลอยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิด หรือบางครั้งอาจจะมีการพิจารณาคดีอย่างอื่น เช่น ความผิดฐานเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น โดยบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ได้แก่

             1. ทหาร ทั้งทหารประจำการ และทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์)

             2. นักเรียนทหาร

             3. บุคคลที่ไม่ได้เป็นทหาร แต่อยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือเป็นบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบุคคลที่เป็นเชลยศึก


ศาลทหารมีกี่ชั้น

            การรับฟ้องคดีของศาลทหาร แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

             1. ศาลจังหวัดทหาร จะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศเป็นทหารประทวน

             2. ศาลมลฑลทหาร จะรับฟ้องคดีที่จำเลยมีชั้นยศทหารประทวนขึ้นไปจนถึงชั้นสัญญาบัตร ไม่เกินยศพันเอก

             3. ศาลทหารกรุงเทพ รับฟ้องได้ทุกชั้นยศ

            คดีบางอย่างก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร มีทั้งหมด 4 ประเภท คือ

             1. คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร กระทำผิดร่วมกัน

             2. คดีที่เกี่ยวพันคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

             3. คดีเกี่ยวกับศาลเยาวชนและครอบครัว

             4. คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร

            ประเภทของศาลทหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น ได้แก่

             1. ศาลทหารในเวลาปกติ

             2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ

             3. ศาลอาญาศึก


            ศาลทหารในเวลาปกติ เป็นศาลทหารที่ดำเนินการในช่วงที่บ้านเมืองสงบสุข แบ่งออกเป็น 3 ชั้นเหมือนกับศาลพลเรือน ดังนี้

             1. ศาลทหารชั้นต้น (ศาลชั้นต้น)

             2. ศาลทหารกลาง (ศาลอุทธรณ์) ตั้งอยู่ในกรมพระธรรมนูญ

             3. ศาลทหารสูงสุด (ศาลฎีกา) ตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถ.แจ้งวัฒนะ

            ขณะที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ จะเป็นในช่วงเวลาของการมีสงคราม หรือการประกาศใช้กฎอัยการศึก ทำให้ศาลทหารมีอำนาจสามารถพิพากษาคดีอาญาอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม หากภาวะสงครามหรือการประกาศใช้กฎอัยการศึกสิ้นสุดลง ศาลทหารก็ยังคงมีอำนาจในการพิพากษาคดีอาญาที่ยังค้างอยู่ในศาลได้อยู่

            ส่วนศาลอาญาศึก เป็นการตั้งศาลขึ้นมาเมื่อเข้าต่อสถานการณ์ คือ เมื่อมีการรบเกิดขึ้น ได้มีการกำหนดยุทธบริเวณ และในเขตยุทธบริเวณ มีกำลังทหารไม่น้อยกว่า 1 กองพัน หรือมีเรือรบ ป้อม ที่มั่นของทหาร ฉะนั้น การตั้งศาลอาญาศึก จึงเป็นการตั้งเพื่อพิจารณาคดีในยุทธบริเวณนั้น

ตุลาการ ศาลทหาร

            การแต่งตั้งตุลาการของศาลทหาร สามารถแบ่งได้ดังนี้

             1. ตุลาการศาลทหารสูงสุด และตุลาการศาลทหารกลาง ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

             2. ตุลาการศาลทหารชั้นต้น และศาลประจำหน่วยทหาร เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาทหาร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

             3. ตุลาการในศาลทหารชั้นต้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาในท้องที่นั้น

            จากข้อมูลทั้งหมด ก็ทำให้พอเข้าใจได้ว่า สถานการณ์หลังจากที่ คสช. ประการควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ เป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ศาลทหารจึงมีอำนาจพิพากษาในคดีอาญาตามหลักการนั่นเอง ส่วนสถานการณ์จะกลับเข้ามาสู่ภาวะปกติเมื่อใดนั้น ก็คงต้องรอดูต่อไป

ขอขอบคุณ





Create Date : 27 พฤษภาคม 2557
Last Update : 27 พฤษภาคม 2557 22:27:56 น. 0 comments
Counter : 1577 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sitcomthai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 53 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add sitcomthai's blog to your web]