ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 

กายนี้คือก้อนทุกข์ (หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม)

)


หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


"หากสละทั้งชีวิต ตั้งใจประพฤติปฏิบัติกันจริง ๆ แล้ว พระพุทธศาสนาก็ไม่เป็นของยากลำบากและเหลือวิสัยอะไร ทำได้จนเต็มความสามารถของตนที่เดียว"

"กายนี้คือก้อนทุกข์ กายนี้เป็นที่หมายให้พ้นเสียจากทุกข์ ฝึกสติปัญญาให้ดี แล้วมาพิจารณากายนี้ให้แจ้ง ก็จะพ้นทุกข์

เอกสารอ้างอิง : หนังสือ "อาจาริยธัมโมทยาน" (หน้า 46) และ หนังสือ "ธรรมพระบูรพาจารย์" (หน้า 6)




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2553    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2553 21:02:08 น.
Counter : 1312 Pageviews.  

การปล่อยวาง ตอนที่ 1 : พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากแท้ที่สัตว์หลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเรา จงอย่าประมาท รีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูง อย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย

ฉะนั้นควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ "มรรค ผล ไม่พ้นสมัย"

การที่เราอยู่ร่วมกันนี้จะต้องมีระเบียบ ระเบียบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนหมู่มาก ไม่ใช่จำเป็นเฉพาะบุคคลเท่านั้นอยู่คนเดียวก็ต้องมีระเบียบ อย่างพระวินัย พระวินัยสมัยก่อนนี้มีนิดเดียว พระสงฆ์ที่มาบวชในพระพุทธศาสนามีมากขึ้น ต่างคนต่างจะทำอะไร ก็มีหลายเรื่อง บางคนอยากจะทำอย่างนั้น บางคนอยากจะทำอย่างนี้ ก็มีกันมาเรื่อยๆ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าของเราตั้งข้อกติกา คือพระวินัยขึ้นมา เพื่อเป็นข้อปฏิบัติ อยู่ไปนานๆ ก็มีบางคนก็ทำเรื่องมาอีกหลายอย่าง ดังนั้นพระวินัยจึงไม่มีทางจบสิ้น หลายล้านสิกขาบท แต่ก็ยังไม่จบ พระวินัยไม่มีทางจบลงได้ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรม เรื่องธรรมะนี้มีทางจบ ก็คือ "การปล่อยวาง" เรื่องพระวินัยก็คือเอาเหตุผลกัน ถ้าเอาเหตุผลกันแล้วไม่จบหรอก

สมัยหนึ่งอาตมาไปบริหารพระ 3-4 องค์ ไปอยู่ในป่า ไฟไม่ค่อยจะมี เพราะอยู่บ้านป่า องค์หนึ่งก็ได้หนังสือธรรมะมาอ่าน อ่านอยู่ที่หน้าพระประธานที่ทำวัตรกัน อ่านอยู่ตรงนั้นก็ทิ้งตรงนั้นแล้วก็หนีไป ไฟไม่มี มันก็มืด พระองค์มาทีหลังก็มาเหยียบหนังสือนั้น จับหนังสือขึ้นมาก็โวยวายขึ้นว่า "พระองค์ไหนนี่ ไม่มีสติ ทำไมไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ" สอบสวน
ถามก็ไปถึงพระองค์นั้น

พระองค์นั้นก็รับปากว่า "ผมเอาหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่"

พระองค์ที่เหยียบหนังสือนั้นก็ว่า "ทำไมท่านไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ ผมเดินมาผมเหยียบหนังสือนี่"

"โอ... อันนั้นเป็นเพราะท่านไม่สำรวมต่างหากเล่า

เห็นไหมมันมีเหตุผลอย่างนั้น จึงเถียงกัน องค์นั้นบอกว่า "เพราะท่านไม่เอาไปไว้ในที่เก็บ ท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ท่านจึงไว้อย่างนี้" องค์นี้บอกว่า "เป็นเพราะท่านไม่สำรวม ถ้าท่านสำรวมแล้วคงไม่เดินมาเหยียบหนังสือเล่มนี้" มีเหตุผลว่าอย่างนั้น มันก็เกิดเรื่องทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่จบ ด้วยเรื่องเหตุผล

เรื่องธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล คือธรรมะมันสูงกว่านั้น ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น มันอยู่ นอกเหตุเหนือผล ไม่อยู่ในเหตุ อยู่เหนือผล ทุกข์มันจึงไม่มี สุขมันจึงไม่มี ธรรมนั้นท่านเรียกว่าระงับ ระงับเหตุระงับผล ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตาย เหมือนพระสององค์นั่น

ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ต้องอยู่นอกเหตุเหนือผล นอกสุขเหนือทุกข์ นอกเกิดเหนือตาย ธรรมนี้มันเป็นธรรมที่ระงับ คนเราก็มาสงสัยอยู่นี่แหละ ผู้ชายยิ่งสงสัยมาก ความสงสัยนี่ตัวสำคัญ มีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะตายอยู่แล้ว (หัวเราะ) มันไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ ธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ เป็นทางเดิน เดินไปเท่านั้น ถ้ามัวคิดว่าเมื่อไปถึงนี่ ฉันนี้สุขเหลือเกิน ไม่ได้ ฉันนี้ทุกข์เหลือเกิน ไม่ได้ แต่ถ้าฉันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ นี่คือมันระงับแล้ว สงสัยไม่มี

ตรงโน้นมันจะมีอยู่ที่ตรงไหน มันก็อยู่ที่ตรงที่ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สุขเกิดขึ้นมา ทุกข์เกิดขึ้นมา เรารู้มัยทั้งสองอย่างนี้ สุขนี้ก็สักว่าสุข ทุกข์นี้ก็สักว่าทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นมาดับไปเท่านั้น จะเอาอะไรกับมัน สงสัยทำไมมันเกิดอย่างนั้น เมื่อเกิดอีกทำไมมันไปอย่างนั้นละ สงสัยอย่างนี้มันเป็นทุกข์ ปฏิบัติไปจนตายก็ไม่รู้เรื่อง มันทำให้เกิดเหตุ ไม่ระงับเหตุของมัน

ความเป็นจริง ธรรมที่พวกเราปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ ธรรมนี้นำเราไปสู่ความสงบ สงบจากอะไร จากสิ่งที่ชอบใจ จากสิ่งที่ไม่ชอบใจ ถ้าเราชอบสิ่งที่เราชอบใจ ไม่ชอบในสิ่งที่เราไม่ชอบใจ มันไม่หมด ธรรมนี้ไม่ใช่ธรรมระงับ ธรรมนี้เป็นธรรมก่อทุกข์ขึ้นมาให้เข้าใจอย่างนั้น

ฉะนั้น เราจึงสงสัยตลอดเวลา แหม วันนี้ฉันได้มาแล้ว พรุ่งนี้ทำไมหายไปแล้ว มันหายไปไหน ฉันนั่งเมื่อวานนี้ มันสงบดีเหลือเกิน วันนี้ทำไมมันวุ่นวาย มันไม่สงบ เพราะอะไร อย่างนี้ก็เพราะเราไม่รู้เหตุของมัน ครั้นปล่อยวางว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เห็นไหม มันเป็นอยู่ของมันอย่างนี้ วันนี้มันสงบแล้ว เออไม่แน่นอนหนอ เราต้องเห็นโทษมันอย่างนี้ สงบแล้วมันก็ไม่แน่นอน ฉันไม่ยึดมั่นไว้ สงบก็สงบเถอะ ความไม่สงบก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ฉันไม่ว่า ฉันเป็นผู้ดูเท่านั้น ที่สงบฉันก็รู้ว่าเรื่องมันสงบ ที่ไม่สงบฉันก็รู้ว่าไม่สงบ แต่ว่าฉันไม่ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องที่ว่ามันสงบหรือไม่สงบ เห็นไหมเรื่องมันเป็นอยู่ของมันอย่างนั้น อย่างนี้มันก็ระงับ มันก็ไม่วุ่นวาย มันจะสงบ ฉันก็รู้ว่ามันเรื่องของมัน ฉันจะดูอยู่แค่นี้แหละ ดูเรื่องที่มันสงบ มันก็ไม่แน่นอน ดูเรื่องที่มันวุ่นวายมันก็ไม่แน่นอน มันแน่นอนอยู่แต่ว่า มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เราอย่าไปเป็นกับมันเลย

ถ้าอย่างนี้ มันก็สบายและสงบ เพราะเรารู้เรื่องมัน ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้น อยากให้เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ มันสงบเพราะเรารู้เรื่องว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็มีการปล่อยวาง เราคิดดูซิว่า ถ้าทุกคนต้องพูดให้ถูกใจฉัน คนทุกคนต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ฉันจึงจะสบาย คนทั้งโลกจะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำถูกใจเราทุกคน มีไหม ไม่มี เมื่อไม่มี เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง เราเกิดมาในชีวิตหนึ่ง เราจะหาความสงบว่า คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสบาย ในชีวิตหนึ่งจะได้สบายไหมคนเรา คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ถ้าไม่อย่างนั้นฉันก็ไม่สงบ คนคนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชีวิตก็ไม่มีความสงบ เพราะคนหลายคน ใครจะมาพูดถูกใจเราทุกคน ใครจะมาทำให้ดีทุกหน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นธรรมะ เราจะต้องศึกษาอย่างนี้

ฉะนั้นเราจะต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา อย่าไปหมายมั่น อย่าไปยึดมั่น จับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสีย
อย่างนางเตยนี่ เห็นไหม มันทำอย่างนั้น มันถูกใจเราไหม บางทีก็ไปในวัดและก็เข้าห้องน้ำเสีย ฉันจะปลงสังขารเดี๋ยวนี้ ฉันไม่หนีหรอก จะต้องไปรื้อส้วม เอามันออกมา ต่อมามันก็ทำอีก เพราะคนมันเป็นบ้าเสียแล้ว จำเป็นก็ต้องปล่อยไป นางเตยน่ะมันเป็นบ้าเสียแล้ว เราต้องรู้เรื่องกันว่ามันเป็นบ้า มันสติไม่ดี มันเสียสติ อย่าไปถือมันเลย มันจะพูดอย่างไรก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำอย่างไรก็ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบาย

อารมณ์ก็เหมือนกันฉันนั้น ที่มันมากระทบเราอยู่ทุกวันนี้ บางทีก็ร้าย บางทีก้ดี บางทีก็ชอบใจ บางทีก็ไม่ชอบใจ คนทุกๆ คนนั่งอยู่ในนี้ก็เหมือนกัน จะทำให้ถูกใจเราทุกคนมีไหม มันไม่ได้ นอกจากเราปฏิบัติธรรมะให้รู้ว่า คนคนนี้มันเป็นอย่างนี้ นานาจิตตัง ไม่เหมือนกัน

เราจำเป็นต้องอบรมใจของเราทุกๆ คน เมื่อมันโกรธขึ้นก็ดูความโกรธ ความโกรธนี้มันมาจากไหน เราให้มันโกรธหรือเปล่า ดูว่ามันดีไหม ทำไมเราถึงชอบมัน ทำไมเราถึงไม่ทิ้งมัน เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วไม่ดี ไม่ดีเราเก็บมันไว้ทำไม ก็เป็นบ้าเท่านั้น ทิ้งมันเสียถ้าเห็นว่ามันไม่ดี มันก็จะไปในทำนองนี้

เมื่ออยู่ด้วยกันกับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อน ไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฏฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย ท่านก็สบายเพราะท่านเข้าใจว่าเรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ท่านยืนอยู่เฉยๆ พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย พระพุทธองค์ก็เฉย จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอาท่านไม่หนีไปไหน ไม่เหมือนพระอานนท์

พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์ถามว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์ อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า" พระพุทธองค์ตรัสว่า "อานนท์ ตรงนี้ถ้าเรายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ" พระอานนท์ว่า "ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา" "อายทำไมอานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร" พระอานนท์บอกว่า "อาย" "อายทำไมเรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้เราก็ไปที่โน้น ถ้าไปที่โน้นแล้ว เขาไม่ให้ เราจะไปไหนอานนท์"

"ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก" "ถ้าหากบ้านโน้นเขาก็ไม่ให้ เราจะไปตรงไหน" "ไปตรงโน้นอีก" พระพุทธองค์ตรัสว่า "เลยไปไม่มีหยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์เข้าใจผิดแล้ว ไม่ต้องอายซิ"

พระองค์ตรัสว่าอะไรเป็นบาป อันนั้นท่านให้อาย อะไรที่ไม่เป็นบาปจะอายทำไม ใครอายก็โง่เท่านั้น ภาวนายังไม่เป็นเลย ถ้าอายอย่างนั้น เราจะไปอยู่ตรงไหนจึงจะมีปัญญา ถ้าไปอยู่คนเดียว ไม่มีใครพูดดีพูดชั่วให้ มันก็สบาย แต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้ มันไม่มีปัญญา ถ้าถูกอารมณ์แล้วปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น

ฉะนั้นเราอยู่ในโลก ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เรื่อยไปเป็นธรรมดา ไม่อยากเป็นมันก็เป็น ไม่อยากจะอยู่มันก็อยู่ เป็นไปอยู่อย่างนั้น ให้เรามาพิจารณาอย่างนั้น เราต้องกลับมาย้อนพิจารณาอารมณ์ที่ท่านตรัสว่า นินทาสรรเสริญมันเป็นคู่กันมา เรื่องนินทาเรื่องสรรเสริญเป็นธรรมดาของโลก ถ้าไม่ดีเขาก็นินทา ถ้าดีเขาก็สรรเสริญ พระพุทธองค์ท่านไม่เห็นแก่นินทา ไม่เห็นแก่สรรเสริญ จงเรียนสรรเสริญให้มันรู้จัก จงมาเรียนนินทาให้มันรู้จัก ให้รู้จักสรรเสริญกับนินทา สรรเสริญนินทามันก็มีผลมีเหตุเท่ากัน นินทาเราไม่ชอบ นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ถ้าสรรเสริญเราชอบ

สิ่งที่เราชอบมันพาให้เราทุกข์มีไหม เช่นว่า เรามีเพชรสักก้อนหนึ่ง เราชอบมาก ชอบกว่าก้อนหินธรรมดา เอาวางไว้ ถ้ามีขโมยมาหยิบเอาก้อนเพชรไป เราจะเป็นอย่างไร นั่นของดีมันหาย ทำให้เราเป็นทุกข์ได้เหมือนกัน
ดังน้น เราต้องอดทนต่อสู้ ให้เรามีสติคุ้มครองจิตของเรา สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว อันนี้ช่วยประคับประคองดวงใจของเราให้อยู่กับธรรมะ สติระลึกได้ว่า บัดนี้เราจะจับไม้เท้า เมื่อเราจับไม้เท้าอยู่เราก็รู้ว่าเราจับไม้เท้า นี่เป็นสัมปชัญญะ ถ้าเรารู้อยู่ในขณะนี้ ขณะเมื่อเราจะทำหรือเมื่อเราทำอยู่ก็รู้ตามความจริงของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้แหละที่จะช่วยประคับประคองใจของเราให้รู้ธรรมะที่แท้จริง

ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวันเราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวัน เป็นอย่างนี้

สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไรทำอะไร ต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ คล้ายๆ กับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือจะมาขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนคนนี้มันมาทำไม เราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา

อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นมันก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ทำเรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม

เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่า เราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาทเราก็รู้จัก ไม่มีความประมาทเรารู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" เรารู้เห็นนานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันรู้เรื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ชาวตะวันตกมาอยู่ในประเทศไทย อยู่ไปเฉยๆ อย่างนั้น ความที่อยู่ติดต่อใกล้ชิดกันไป ถึงแม้พูดภาษาไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่มันรู้เรื่องเข้าใจได้ เห็นไหม มองดูหน้ากันรู้เรื่องกัน ถึงพูดภาษาไม่รู้เรื่อง แต่ก็อยู่กันไปได้ มันรู้กันด้วยวิธีนี้ไม่ต้องพูดกัน ทำงานก็ต่างคนต่างทำ ทำอยู่ใกล้ๆ กันนั่นแหละไม่รู้จักพูดกัน มันก็ยังรู้เรื่องกัน อยู่ด้วยกันได้ รู้ได้โดยอากัปกิริยาที่ว่ารักกันหรือชอบกัน อะไรมันก็รู้ของมันอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับแมวกับสุนัข มันไม่รู้ภาษา แต่ว่ามันก็รู้จักรักเจ้าของเหมือนกัน แมวหรือสุนัขมันอยู่บ้านเรา ถ้าเรามาถึงบ้านสุนัขมันก็วิ่งไปทำความขอบคุณด้วย เห็นไหม ถ้าเรามาจากตลาดหรือมาจากที่อื่นมาถึงบ้าน แมวอยู่ที่บ้านเรา มันก็มาทำความขอบคุณ มันจะร้องว่า เหมียวๆ มันมาเสียดมาสีเรา แต่ภาษามันไม่รู้ แต่จิตมันรู้อย่างนั้น

อันนี้เราก็อยู่ไปได้อย่างนั้น เราต้องให้เข้าใจกันอย่างนั้น เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมา มันเป็นทุกข์ พระท่านว่ามันเป็นทุกข์มาแล้ว ชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบ แล้วเอาไว้ทำไมถ้าไม่ชอบ จะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปซิ ถ้าทุกข์มันเกิดล่ะ คุณชอบทุกข์หรือเปล่า ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบทุกข์แล้วยึดไว้ทำไม ก็ทิ้งมันเสียซิ ท่านก็สอนทุกวันๆ ก็รู้เข้าไปๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์มันเกิดมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้จักคำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์เราก็ไม่ชอบ ไม่ชอบทุกข์แต่เราไปยึดไว้ทำไม สอนอยู่เรื่อยๆ บางทีก็เห็นชัด เห็นชัดก็ค่อยๆ วาง วางไปเป็นเรื่องธรรมดาอย่างเก่า ทีหนึ่งก็ดี สองทีก็ดี สามทีก็ดี มันก็เกิดประโยชน์แล้ว เกิดรู้เรื่องขึ้นแล้ว

เมื่อมันเกิดความรู้เฉพาะตัวของเรา เราจะนั่งอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พูดภาษาไม่เป็น แต่จิตเรารู้ภาษาธรรมะ เราปิดปากตรงนี้ไว้ ปิดปากกายแต่เปิดปากใจนี้ไว้ ใจมันพูด นั่งอยู่เงียบๆ ยิ่งพูดดี พูดกับอารมณ์ รู้อารมณ์เสมอ นี่เรียกว่า "ปากใน" นั่งอยู่เฉยๆ เราก็รู้จัก พูดอยู่ข้างใน รู้อยู่ข้างใน ไม่ใช่คนโง่ คนรู้อยู่ข้างในรู้จักอารมณ์ สั่งสอนตัวเองก็เพราะอันนี้...

ชีวิตของเรานี้ มันแก่ทุกวัน เกิดมามีการยกเว้นไม่แก่บ้างไหม วันคืนของเรานี้ ตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตอนค่ำ มันยกเว้นอายุเราไหม วันนี้มันก็ให้แก่ พรุ่งนี้มันก็ให้แก่ นอนหลับอยู่มันก็ให้แก่ ตื่นอยู่ก็ให้โตขึ้นตามเรื่องของมัน เรียกว่า ปฏิปทาของมันสม่ำเสมอเหลือเกิน เราจะนอนอยู่ มันก็ทำงานของมันอยู่ เราจะเดิน มันก็ทำงาน คือความโตของเรานี่แหละกลางวันมันก็โต กลางคืนมันก็โต จะนั่งจะนอนมันมีความโตของมันอยู่ เพราะชีวิตประจำวันมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ร่างกายของเรามันได้อาหาร มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่า ปฏิปทาของมัน มันจึงทำให้เราโต จนไม่รู้สึก ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไรเลย มันก็โตของมันเอง แต่สิ่งที่เราทำคือ เรากินอาหาร กินข้าว ดื่มน้ำ นั่นเป็นเรื่องของเรา เรื่องร่างกายมันจะโตจะอ้วน มันก็เป็นของมัน เราก็ทำงานของเรา สังขารมันก็ทำงานของสังขาร มันไม่พลิกแพลงอะไร นี่ปฏิปทามันติดต่อกันอยู่เสมอ

การทำความเพียรของเราก็เหมือนกัน ต้องพยายามอยู่อย่างนั้น เราจะต้องมีสติติดต่อกันอยู่อย่างนั้นเสมอ มีความรู้ติดต่อกันอยู่เสมอ เป็นวงกลม จะไปถอนหญ้าก็ได้ จะนั่งอยู่ก็ได้ จะทานอาหารก็ได้ จะกวาดบ้านอยู่ก็ได้ ต้องไม่ลืม มีความรู้ติดต่ออยู่เสมอ ตัวนี้มันรู้ธรรมะ มันจะพูดอยู่เรื่อยๆ ใจข้างในมันจะพูดอยู่เรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้น มีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิกบานอยู่สม่ำเสมออย่างนั้น นั้นเรียกว่าเป็นประโยชน์มาก ไม่ต้องสงสัยอะไรเลย อะไรมันเกิดขึ้นมา เราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง เท่านี้ละ เราก็รู้ของเราไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละการปฏิบัติของเรา




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2551    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2551 16:46:38 น.
Counter : 994 Pageviews.  

โพธิปักขิยธรรม 37

ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ที่พระองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงไว้ 84000 พระธรรมขันธ์นั้น ธรรมอันเป็นกุศลซึ่งเป็นภาคปฏิบัติที่ต้องเจริญได้รวบรวมไว้ใน โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ หมายถึงธรรมอันเป็นฝ่ายกุศลและเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ซึ่งมีสติเป็นธรรมเอกและเป็นธรรมที่เป็นฐานของหมวดธรรมต่างๆ ในโพธิปักขิยธรรม ทั้ง 37 ข้อ แบ่งออกเป็น 7 หมวด คือ
- สติปัฏฐาน 4
- สัมมัปธาน 4
- อิทธิบาท 4
- อินทรีย์ 5
- พละ 5
- โพชฌงค์ 7
- อริยมรรคมีองค์ 8

สติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐาน 4 คือการเจริญสติระลึกรู้ธรรมะ 4 หมวด คือ
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เป็นข้อปฏิบัติที่มีสติเป็นประธาน เป็นสัมมาสติในอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อละสังโยชน์ เข้าถึงอริยมรรค อริยผล และพระนิพพาน สติที่ระลึกรู้อารมณ์ในสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ สติที่ระลึกรู้ตามความเป็นจริงว่า
กายเป็นสักแต่ว่ากาย
เวทนาเป็นสักแต่ว่าเวทนา
จิตเป็นสักแต่ว่าจิต
ธรรมเป็นสักแต่ว่าธรรม
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา หากหลงไปยึดมั่นถือมั่นเมื่อใดก็เกิดเป็นอัตตาตัวตน เกิดเห็นแก่ตัว เป็นทุกข์เมื่อนั้น

สังมัปปธาน 4
คือความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด และต้องเป็นไปในธรรม 4 ประการ ซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต้องอาศัยสติเป็นตัวกำกับได้แก่
1. เพียรพยายามระวังอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เช่น ไม่คิดโกรธ
2. เพียรพยายามละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เช่น ระงับอารมณ์โกรธ
3. เพียรพยายามสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้บังเกิดขึ้น เช่น พยายามฝึกใจให้มีเมตตา กรุณา
4. เพียรพยายามทำให้กุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญยิ่งขึ้น เช่น รักษาเมตตากรุณาในจิตใจเอาไว้ในทุกสถานการณ์ แม้เมื่อต้องประสบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็ยังพยายามทำจิตใจให้มีเมตตา กรุณา

อิทธิบาท 4
คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
1. ฉันทะ ความพอใจและเต็มใจ
2. วิริยะ ความเพียรพยายาม
3. จิตตะ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ
4. วิมังสา ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

จิตตะ ในอิทธิบาท 4 คือ ธรรมอันเดียวกันกับสตินั่นเอง

อินทรีย์ 5หมายถึง ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ และต้องเป็นไปตามสภาวธรรมที่เป็นกุศล มี 5 ประการ คือ
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่ในอารมณ์ เป็นศรัทธาอันแรงกล้าในจิตใจ ซึ่งอกุศลไม่อาจทำให้ศรัทธานั้นเสื่อมคลายได้
2. วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นใหญ่ และต้องเป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ 4 แห่งสัมมัปปธาน
3. สตินทรีย์ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน อันเกิดจากสติปัฏฐาน 4
4. สมาธินทรีย์ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไม่ฟุ้งซ่าน
5. ปัญญินทรีย์ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริงว่าขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สตินทรีย์เป็นธรรมที่เป็นตัวกลาง กำกับและเชื่อมให้สัทธินทรีย์กับปัญญินทรีย์ และวิริยินทรีย์กับสมาธินทรีย์ทำงานประสานกันอย่างสมดุล ไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งที่ทำให้เกิดผลเสียได้

พละ 5
หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค จะเกิดพละ 5 ได้ เมื่ออินทรีย์ 5 สมบรูณ์ มีความมั่นคงเกิดเป็นกำลังที่ทำให้อดทนไม่หวั่นไหว และทำให้เข้มแข็งเอาชนะธรรมที่เป็นข้าศึกได้ พละ 5 ประกอบด้วย
1. สัทธาพละ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา เป็นต้น
2. วิริยะพละ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
3. สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
4. สมาธิพละ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
5. ปัญญาพละ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลงได้

เช่นเดียวกับสติในอินทรีย์ 5 สติในพละ 5 เป็นตัวเชื่อมให้ศรัทธากับปัญญา และวิริยะกับสมาธิ ทำงานประสานกันได้อย่างสมดุล คือมีกำลังที่เกื้อหนุนกันพอดีๆ เพื่อให้เกิดสติปัฏฐาน 4 ได้สมบูรณ์

โพชฌงค์ 7
คือองค์ธรรมสำคัญที่ทำให้การตรัสรู้ โพธิจิต หรือการบรรลุธรรมเกิดขึ้นได้ มีสติเป็นบาทฐาน ประกอบด้วยองค์ธรรม 7 ประการ คือ
1. สติ ความระลึกได้
2. ธัมมวิจยะ การวิจัยธรรม ความรู้จักลักษณะแท้จริงของสภาวะธรรม ซึ่งเป็นตัวปัญญา ไม่ใช่การคิดเอา3. วิริยะ ความพากเพียร
4. ปีติ ความอิ่มใจ สุขใจในการปฏิบัติธรรม
5. ปัสสัทธิ ความสงบกาย สงบใจ ความผ่อนคลายกายใจ
6. สมาธิ ความตั้งใจมั่นของจิตที่มีอารมณ์เดียว ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ
7. อุเบกขา ความที่จิตมีความสงบระงับอย่างยิ่ง ไม่กระเพื่อมไหวไปตามสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ รัก ชัง กล้า กลัว ยินดี ยินร้าย ฯลฯ ซึ่งจะเป็นจิตที่มีความประณีตละเอียดอ่อน ปลอดโปร่ง เบาสบาย

อริยมรรคมีองค์ 8
หมายถึง หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน มีสัมมาสติเป็นตัวกำกับ และเป็นพื้นฐานของอริยมรรคทุกข้อ ประกอบด้วยองค์ธรรม 8 ประการ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ 4
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือคิดออกจากกาม ไม่คิดพยาบาท และคิดที่จะไม่เบียดเบียน
3. สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เวนจากการประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ การประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ผิดจากหน้าที่อันควร
6. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรในสัมมัปปธาน 4
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน 4
8. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ หมายถึง การเข้าสมาธิที่เป็นไปเพื่อละนิวรณ์โดยตรง

หากพิจารณาข้อธรรมในโพธิปักขิยธรรมแล้ว ในทางปฏิบัติจะเห็นว่าธรรมที่เป็นเอกและเป็นฐานสำหรับการปฏิบัติธรรมทุกข้อก็คือ สตินั่นเอง สติจึงเปรียบเหมือนรอยเท้าช้างที่สามารถรวมรอยเท้าสัตว์ต่างๆ ลงไว้ได้หมด สติรวมธรรมอื่นๆ ไว้หมดในตัวเช่นเดียวกัน

หากกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนา ว่าด้วยหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ซึ่งหมายถึงหนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน อันมีองค์ประกอบ 8 ประการ รวมเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 จะเห็นว่าสัมมาสติ ซึ่งเป็นข้อที่ 7 ในอริยมรรคนั้น เมื่อปฏิบัติจริงๆ แล้ว สัมมาสติจะต้องเป็นพื้นฐานของอริยมรรคทุกข้อ เรียกได้ว่าอริยมรรคข้ออื่นๆ ต้องมีสัมมาสติ เป็นตัวกำกับในทุกระดับ ทุกกรณี และอริยมรรคข้อที่ 7 ซึ่งเป็นตัวสัมมาสติ โดยตรงนั้น ก็หมายถึง สติระลึกในสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

อริยมรรคมีองค์ 8 ที่จัดหมวดหมู่และอธิบายในอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้สะดวกต่อการปฏิบัติ เป็นลำดับขั้นตอน คือ ไตรสิกขา ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาที่ต้องศึกษา 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
1. ศีล เป็นข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมกาย วาจา เพื่อให้มีความประพฤติดีงาม
2. สมาธิ คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมใจ เพื่อให้จิตใจสงบตั้งมั่น เหมาะสมกับการใช้ปัญญาอย่างลึกซึ้ง
3. ปัญญา คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

ธรรมะแต่ละข้อในไตรสิกขานี้ ต่างก็มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ศีล เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ และสมาธิ เป็นพื้นฐานในเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาที่รู้แจ้ง เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ก็เรียกว่าเป็นปัญญาขั้นสมบูรณ์ หมายถึงสมบูรณ์พร้อมด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเท่ากับอริยมรรคมีองค์ 8 สมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์ โพธิปักขิยธรรม 37 สมบูรณ์ นั่นเอง

ดังนั้น ไม่ว่าจะจัดหมวดหมู่ธรรมอย่างไร อธิบายหลักธรรมในรูปแบบไหน ก็สรุปลงที่หลักสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

เอกายะโน อะยัง มัคโค “หนทางนี้ทางเดียว ที่จะทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ ได้ล่วงพ้นความโศก และความรำพันคร่ำครวญได้ ดับทุกข์และโทมนัสได้ บรรลุอริยมรรคเพื่อเห็นแจ้งพระนิพพานได้ หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน 4”
ที่มา : พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก. สติเป็นธรรมเอก, (พิมพ์ครั้งที่ 7) : กรุงเทพมหานคร : วิริยะการพิมพ์, 2550.




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2551 16:40:08 น.
Counter : 3062 Pageviews.  

วิธีหาจิต (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)

ที่มา : //www.watkaosala.com/index.phplay=show&ac=article&Id=394944

โดย
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2524



วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก

ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิตอันเดียว ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น

ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูกรส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็น

จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจ

เรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่

เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว

ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ

อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2551 16:40:58 น.
Counter : 1348 Pageviews.  

หนีนรก (ตอนที่ 2) : หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

จากหนังสือเรื่อง "หนีนรก"
โดย พระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร)
วัดจันทาราม (ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี




หนีนรก ตอนที่ 2

การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก ตอนที่ 1 เป็นการปฏิบัติตนแบบเบาๆ เพราะยังไม่มีอาการไม่เสมอกัน คือปฏิบัติได้อย่างอ่อน ต้องเกิดเป็นคนอีก 7 ชาติ จึงจะนิพพาน ปฏิบัติตนได้อย่างมีความเข้มข้นอย่างกลาง ต้องเกิดเป็นคนอีก 3 ชาติ จึงถึงนิพพาน ถ้าปฏิบัติตนได้อย่างละเอียด เกิดอีก 1 ชาติไปนิพพาน

สำหรับการปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก ตอนที่ 2 นี้ทำได้แล้วเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวไปนิพพานได้เลย ท่านให้ปฏิบัติตามนี้คือ “ให้รักษาอารมณ์เดิมที่ปฏิบัติในตอนที่ 1 ไว้ให้คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง และให้ปฏิบัติเพิ่มเติมจากศีล 5 เป็น กรรมบถ 10 ดังต่อไปนี้”
1. เจริญมรณานุสสติ คือคิดว่าชีวิตเรานี้อาจจะตายวันนี้ไว้เป็นปกติ เมื่อตื่นจากที่นอนตอนเช้ามืด
2. เมื่อคิดว่าเราอาจจะต้องตาย เราไม่ทำความชั่วในวันนี้ และใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้เข้าใจในความดีของท่านจริงๆ ไม่สงสัยต่อไป ยอมรับนับถือท่านด้วยความเคารพด้วยความจริงใจ
3. รักษากรรมบถ 10 ประการให้ครบถ้วน

กรรมบถ 10 ประการ มีดังนี้
1. กายกรรม ทำทางกาย 3 ประการ
1.1 ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นฆ่าสัตว์แล้ว
1.2 ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นเอา
และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของเขาแล้ว
1.3 ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามี ของผู้อื่น ไม่ยุให้คนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดแล้ว
2. วจีกรรม กล่าวทางวาจา 4 ประการ
2.1 ไม่พูดวาจาที่ไม่มีความจริง
2.2 ไม่พูดวาจาหยาบ ให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง
2.3 ไม่พูดวาจาส่อเสียด ยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น
2.4 ไม่พูดวาจาที่ไม่มีประโยชน์ คือวาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์จะไม่พูดวาจานั้น
ทั้ง 4 ประการนี้ จะไม่พูดเองด้วย ไม่ยุให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้ว
ด้วย
3. มโนกรรม คือการคิดทางใจ 3 ประการ
3.1 ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ด้วยความเต็มใจ คือ
ไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกง เป็นต้น
3.2 ไม่คิดจองล้าง จองผลาญ จองเวร จองกรรม ผู้ใด คือไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุกๆ กรณีนั่นเอง
3.3 มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์ และปฏิบัติตาม จนมีผลตามที่ต้องการ
ความรู้สึกนึกคิดทางใจ 3 ประการนี้ ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุยงให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้ว

อธิบายการปฏิบัติ
การปฏิบัติ ขอแยกบารมีหรืออารมณ์ในไว้เป็น 3 ระดับ ตามที่กล่าวมาแล้วในวิธีปฏิบัติหนีนรกทั้งอย่างอ่อนหรืออย่างเข้มก็ตาม คนที่มีบารมี คือกำลังใจเข้มแข็ง เพียงบอกให้ทราบเพียงเท่านี้ก็พร้อมที่จะทำได้ และลงมือปฏิบัติได้เลย ไม่ต้องทบทวนแนะนำอย่างอื่นอีก เพราะศีล 5 ก็ดี กรรมบถ 10 ก็ดี เป็นปฏิปทาที่ทุกคนต้องการ เป็นของไม่ยากสำหรับคนที่มีบารมีเข้มข้น คือกำลังใจเต็มในด้านความดี เมื่อปฏิบัติได้จริงก็พ้นนรกได้จริง ไม่ใช่พ้นชาตินี้ชาติเดียว ถ้าจำเป็นต้องเกิดอีกกี่ชาติก็ตาม เรื่องอบายภูมิ 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีทางได้ไปเกิดในแดนนั้นอีก ถ้าจะวนเวียนเกิด ก็มีสิทธิ์เกิดได้เพียง มนุษย์ สวรรค์ พรหม ในที่สุดก็ไปนิพพาน

ข้อข้องใจ
อาจจะมีบางท่านถามว่า “ตายแล้วเกิดจริงหรือ? นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริงหรือ?”
ก็ขอตอบว่า “มีจริง เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงยืนยันมาสองพันปีเศษแล้ว” และในปัจจุบัน ชาวบ้าน แม้แต่ลูกเล็กเด็กน้อย ก็สามารถปฏิบัติไปพบแดนเหล่านี้ได้นับจำนวนหลายแสนคนแล้ว เฉพาะที่ฝึกให้ และที่ท่านสอนกันที่อื่นยังมีอีกมาก ไม่ใช่สอนให้ไปได้เฉพาะสำนักนี้เท่านั้น ที่อื่นก็มีอีกหลายสำนัก บางสำนักท่านสอนมาก่อนสำนักนี้เป็นเวลาหลายสิบปี ท่านคงผลิตออกไปได้มากกว่าสำนักนี้มาก ความจริงถ้าเป็นพุทธสาวกจริง คือยอมรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตาม การรู้เรื่องอย่างนี้ไม่มีอะไรหนักเลย ความรู้ในวิชชาสาม อภิญญาหก ท่านสอนไว้แล้ว คิดว่าพระ ที่ท่านบวชเป็นครูบาอาจารย์ ท่านคงทำได้ทุกองค์ มีข้อสงสัยอะไรก็ถามท่าน คิดว่าทุกท่านคงเต็มใจแนะนำให้

มีบางท่านพูดว่า เด็กเล็กไปนิพพานได้นั้น เกินพอดีไป ขอตอบว่า ท่าน ติสสะ แห่งเมือง โกสัมพี ท่านมีอายุเพียง 7 ปี ท่านบวชเพียง 3 วัน เป็น พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ และเป็นก่อนอาจารย์ที่ท่านบวชอยู่ด้วย ปัจจุบันนี้เด็กๆ มีการคล่องตัวกว่าผู้ใหญ่มาก พระแก่ๆ เสียอีก ปฏิบัติได้ยาก เพราะเด็กมีนิวรณ์ คืออารมณ์ชั่วน้อยกว่าพระผู้ทะนงคิดว่าตัวเลิศ

ท่านที่มีบารมีระดับกลาง
สำหรับท่านที่มีบารมีระดับกลางนี้ ต้องมีเครื่องกระตุ้นใจนิดหน่อย คือไม่มากนัก ขอให้ปฏิบัติตัว ปฏิบัติวาจาและใจ ดังนี้
อันอับแรก จับจุดที่ใจก่อน เมื่อชนะใจแล้ว กายและวาจาก็หมดฤทธิ์ เพราะกายและวาจา อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของใจ ใจคิดแบบไหนกายก็ทำตามนั้น วาจาก็พูดตามนั้น ถ้าบังคับใจอยู่ ก็หมดภาระในการหนักอารมณ์ที่จะบังคับกายกับวาจา สำหรับบารมีขั้นกลางนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือมาก เพียงอิทธิบาท 4 ประการอย่างเดียวก็สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วนภายใน 7 วัน

อิทธิบาท 4 ประการ คือ
1. ฉันทะ มีความพอใจในปฏิปทาที่จะปฏิบัติ คือ อารมณ์พร้อมยอมรับความจริงว่า “ชีวิตนี้ต้องตายแน่ ไม่มีใครที่จะไม่ตาย”
2. วิริยะ มีความเพียร พร้อมในการต่อสู้กับอารมณ์ที่คัดค้าน ที่มีอารมณ์คิดว่าจะไม่ตาย มีปัญญาฉลาด ยอมรับความจริงว่า ความตายมีแน่ และเวลาที่จะตายเอาแน่นอนไม่ได้ คิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ เพื่อให้อารมณ์ทรงความดี ไม่มีอารมณ์ชั่วสิงใจ เพราะอารมณ์ชั่วจะพาไปอบายภูมิ
3. จิตตะ เอาอารมณ์ใจจดจ่อในปฏิปทาที่จะปฏิบัติไม่ลืมความตาย ไม่ลืมความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ สนใจในข้อวัตรปฏิบัติของศีลและกรรมบถ 10 ไม่ละวาง
4. วิมังสา มีปัญญาสามารถพิจารณาตนเอง คือ พิจารณาอารมณ์ของตนเองได้ว่า “การที่เราปฏิบัติอยู่นี้ถูก หรือ ผิด หยาบ หรือ ละเอียด มีอารมณ์บกพร่องที่จุดไหนบ้าง ถือมงคลตื่นข่าวหรือเปล่า” คำว่าถือมงคลตื่นข่าวคือ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง มีข่าวว่าดีที่ไหนไปที่นั่น ส่วนข้อวัตรปฏิบัติก็ไม่มีอารมณ์ทรงตัว ใครว่าอย่างไรดีทำตามนั้นในที่สุดก็กลายเป็นคนจับจด ไม่มีอะไรจริงจัง ผลที่ได้รับก็เหลวทั้งเรื่องตลอดชีวิต เห็นมามากรายแล้ว คนอย่างนี้ท่านเรียกว่า “คนขาดสัญญา คือความจำ และไร้ปัญญา คือไร้ความคิดความฉลาด จะว่าโง่เฉยๆ ก็ไม่แน่ใจนัก ถ้าจะพูดว่าโง่แกมหยิ่งเห็นจะพอไปได้” ท่านที่มีบารมีปานกลาง เพียงเอา อิทธิบาท 4 เข้าเร่งความร้อนนิดหน่อยก็ทำได้สบายไม่มีอะไรหนักใจ
สำหรับท่านที่มีบารมีอย่างอ่อน บารมีอย่างอ่อนนี้มีหลายประเภท ประเภทอ่อนน้อยแนะนำไม่มากก็สามารถทำได้ ที่อ่อนมากไปหน่อยก็ต้องซ้ำๆ ซากๆ คนสอนเหนื่อยหน่อย ที่อ่อนปวกเปียกก็สอนไม่ได้เลย
เป็นอันว่า ผู้เขียนมีหน้าที่เขียน ใครจะปฏิบัติได้หรือไม่ได้ ผู้เขียนไม่ขอยืนยัน เพราะยืนยันก็แล้ว นั่งยันก็แล้ว นอนยันก็แล้ว บางท่านยันเท่าไรก็ไม่ขยับตัว ชักเอือมเต็มที เชิญตามสบาย มีหน้าที่บอกก็บอกให้ บอกแล้วทำตามหรือไม่ เป็นหน้าที่ของผู้อ่าน เอือมจัด ในท่านที่มีบารมีอ่อนทำตามนี้

พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร 4 ประการนี้ เป็นการปฏิบัติแบบเห็นอกเขาอกเรา คือเห็นใจกัน เอากฎธรรมดาใช้ธรรมะจริงๆ ก็คือกฎธรรมดานั่นเอง
1. เมตตา มีอารมณ์เมตตา คือความรักในคนและสัตว์ทั่วไป ถ้าจะละเมิดศีลหรือกรรมบถข้อไหนก็นึกถึงเมตตาก่อน คิดว่าเราสร้างความรักในกันและกันดีหรือว่าเราจะสร้างศตรูดี เลือกเอาตามชอบใจ อยากลงนรกก็สร้างศตรูไม่อยากลงนรกก็สร้างความเป็นมิตร ในที่สุดก็ละเมิดศีลและกรรมบถ 10 ไม่ได้เลย เพราะรักกันแล้ว ทำอย่างนั้นไม่ได้
2. กรุณา ความสงสาร ข้อนี้ก็เหมือนกัน เมื่อสงสารแล้วก็ไม่กล้าสร้างความทุกข์สะเทือนใจให้เกิดแก่คนอื่น บริสุทธิ์ไปอีกหน่อย
3. มุทิตา มีจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยยินดีด้วย ข้อนี้ไม่อธิบาย เพราะชัดแล้ว
รวมความว่า ทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นจริยามหาเสน่ห์ จริยาหมายถึงความประพฤติ คือประพฤติปฏิบัติตนเป็นมหาเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น ผู้คบค้าสมาคมด้วย ประเภทนี้พ้นนรกแน่
4. อุเบกขา ข้อนี้แปลกนิดหนึ่ง ท่านบอกว่า อุเบกขา คือวางเฉย ดูเหมือนจะใจจืดใจดำ แต่ความจริงไม่ใช่ อารมณ์เมตตา กรุณา มุทิตา ยังอยู่ครบเรียบร้อย ส่วนอุเบกขานี้เป็นการเฉยที่เกินกำลังจะช่วย เมื่อช่วยไม่ไหว ดิ้นรนไปก็เหนื่อยเปล่าไร้ประโยชน์ เฉยไว้ พร้อมทั้งใจยังมีเมตตากรุณาครบถ้วน รอจังหวะ หรือโอกาสมีเมื่อไรจะช่วยทันที ถ้าจังหวะไม่มีขอเฉยไว้ก่อน
ท่านที่มีบารมีอ่อนแหยะ ถ้าท่านค่อยๆ ทำตามนี้ คือใช้อารมณ์ พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 ค่อยๆ กระตุ้นใจท่าน ท่านทำแบบชนิดไม่เร่งร้อน ในที่สุดท่านก็จะชนะอารมณ์ชั่ว คือการทำลายศีล 5 หรือกรรมบถ 10 ประการ แต่ท่านใดบอกว่าเกินวิสัยท่าน ผู้เขียนก็ไม่ขอตำหนิ เพราะเป็นของธรรมดาของบารมี

ท่านที่มีอาชีพขวาง
มีหลายท่านมีความประสงค์ดี คืออยากจะปฏิบัติให้ได้ตามที่แนะนำ แต่อาชีพขวาง คือเป็นชาวนา ชาวไร่ ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ถ้าไม่ใช้เธอก็กินพืชหมด ถ้าใช้ก็บาป อยากจะหนีนรกกับเขาบ้าง นรกก็ย่องเข้าประตูบ้าน คืออารมณ์ใจทุกวันไม่รู้จะทำอย่างไรดี มีมาหารือมากท่าน

สำหรับท่านที่มีอาชีพขวางนี้ขอให้ปฏิบัติตามบุคคลตัวอย่าง เวลาฉีดยาฆ่าแมลง หรือหาปลาเลี้ยงชีพ ก็ว่ากันไปตามปกติ อาตมาไม่แนะนำให้เลิก เพราะถ้าบอกให้เลิก ต้องมีทุนทดแทน อาตมาก็ไม่มีทุน มีแต่หนี้สร้างวัดตั้งหลายล้านบาท ก็เลยไม่ขัดคอกัน

ถ้าจะถามว่า “ท่านที่มีอาชีพอย่างนี้ จะหนีนรกกับเขาตลอดกาลได้ไหม?”
ก็ต้องขอตอบว่า “สุดแล้วแต่กำลังใจ ถ้ามีความเด็ดเดี่ยวในกำลังใจ รับรองว่าหนีนรกได้แน่นอน”

ถ้าถามว่า “ถ้าเลิกอาชีพเดิมเขาจะอดตาย ท่านจะทำอย่างไร?”
ก็ขอตอบว่า “ยังไม่แนะนำให้เลิกอาชีพเดิม แต่ขอแนะนำให้มีอารมณ์มั่นคงในขณะที่ทำบุญ อย่างนี้รับรองว่าหนีนรกได้ตลอดกาล”

ถ้าจะถามว่า “ทำบุญก็ไม่มีทุนมาก เพราะยากจน จึงต้องฆ่าสัตว์”
ก็ต้องขอตอบว่า “ทำบุญที่มีบุญมากมหาศาล ไม่มีทรัพย์สินเงินทองเลยก็สามารถทำได้ และไม่ต้องไปทำบุญไกล ทำบุญที่บ้านของท่านนั่นแหละ ได้บุญมหาศาล”

ถ้าจะถามว่า “จะทำอย่างไร?”
ก็ขอตอบว่า “ใช้บทภาวนาเท่านั้นเอง” ใช้ตามนี้
เมื่อจะนอน เวลาทั้งวันต้องหากิน ก่อนกลับตาก็ตัดสินใจว่า พรุ่งนี้ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 7 โมงเช้า เราจะทรงศีล 5 หรือ กรรมบถ 10 ให้ครบถ้วน และตั้งแต่เวลานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะหลับ หรือตื่นขึ้นมาใหม่ จนกว่าจะถึง 7 โมงเช้า เราจะเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยศรัทธาแท้ หลังจากนั้นก็เอาใจนึกถึงพระพุทธรูปที่บ้าน หรือพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่ไหนก็ได้ที่ชอบมาก นึกถึงท่านตามกำลังใจที่จะนึกถึงได้ มองดูท่านด้วยความเคารพ จำได้แล้วก็หลับตานึกถึงรูปท่าน เมื่อภาพเลือนจากใจก็ลืมตาจำภาพใหม่ แล้วก็หลับตานึกถึงท่าน อย่าทำให้นานเกินไป พอใจเริ่มไม่สงบก็เลิก หรือถ้าจะหลับก็ปล่อยหลับไปเลย ค่อยๆ ทำแบบนี้ ตามเวลานี้ ไม่ช้าก็ชนะนรก คอยอ่านบุคคลตัวอย่างต่อไป


เอกสารอ้างอิง : พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ). หนีนรก, (พิมพ์ครั้งที่ 35) : กรุงเทพมหานคร : บริษัทเยลโล่การพิมพ์, 2550.





---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 1








หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 19 กรกฎาคม 2554 17:56:09 น.
Counter : 5601 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.