ขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คน ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ขอมีกำลังใจที่เต็มเปี่ยมและเข้มแข็ง มีสติที่ตั้งมั่น ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม, ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา, การนำข้อมูลไปใช้ต้องใช้หลักกาลามสูตร. Group Blog จำนวน 215 Group Blog : รวมข้อมูลทั้งหมด 525 เรื่อง (Click (คลิ๊ก) ตรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า หรือเครื่องหมายสามเหลี่ยมของกล่องสี่เหลี่ยม (ทางด้านขวามือ) (มีข้อมูลอยู่ในนั้นครับ) "ขอขอบคุณเจ้าของผลงานต่างๆ และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัยเท่านั้น"
Group Blog
 
All Blogs
 

อย่าจม !! อยู่กับอดีต (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)



ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
Website ที่มา: //pha.narak.com/topic.php?No=12602


ความหนักอกหนักใจ เหนื่อยใจในชีวิตของเราทั่วๆ ไป
อีกประการหนึ่งก็คือ การคิดในเรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมา

ไม่ใช่ว่าจะห้ามเสียเลย หามิได้
คิดได้ แต่ว่าต้องคิด ด้วยปัญญา
รื้อมันด้วยปัญญา สร้างขึ้นด้วยปัญญาตลอดเวลา
อย่างนั้นสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์
ไม่เป็นความเสียหายในการที่เราจะคิด

เพราะเอามาศึกษาค้นคว้าในเรื่องอย่างนั้น
ว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลงไปในสภาพอย่างไร
เราจะได้จดจำไว้เป็นบทเรียนสำหรับชีวิตของเราต่อไป
คิดแบบวิเคราะห์วิจัยอย่างนี้ไม่เสียหาย
แต่ว่าโดยมากหาได้คิดในรูปนั้นไม่ เอามาคิดในรูป
ที่มันจะสร้างปัญหา คือ ความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนทั้งนั้น
คือ คิดด้วยความโง่เขลา ไม่ได้คิดด้วยปัญญา ในเรื่องอะไรต่างๆ
เรื่องบางเรื่องมันผ่านพ้นไปตั้งนาน แล้ว
แต่เราก็เอามาคิด พอคิดแล้วก็เกิดความไม่สบาย
ใจเป็นทุกข์ขึ้นมาก็เพราะเรื่องอย่างนั้น

บางคนถึงกับว่าน้ำตาไหล ถามว่าทำไมจึงน้ำตาไหล
แหมคิดถึงเรื่องเก่าแล้วฉันเศร้าใจเหลือเกิน...
ก็มันเรื่อง อะไรที่ไปคิดให้เศร้าใจ
อยู่ดีๆ ไม่ว่า ไปหาเรื่องให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน
ที่คนโบราณเขาว่า เอามือไป ซุกหีบ
มือมันอยู่ดีๆ ไม่ชอบ เอาเข้าไปซุกในหีบ
แล้วก็ปิดฝาหีบลงไปโดนมือเจ็บปวดไปเปล่าๆ
นี่มันไม่ได้เรื่องอะไร ทำไมจึงชอบคิดในเรื่องอย่างนั้น
เรื่องเก่าๆ ที่ผ่านมาไม่ชอบปล่อยชอบวาง ไม่ชอบทิ้งเรื่องนั้นออกไปเสีย

ในหลักธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น ท่านวางหลักในเรื่องนี้ไว้ว่า
“อตีตํ นานวาคเมยฺย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ”

บอกว่า อย่าคิดถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว อย่าคิดถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ให้เพ่งพิจารณาในเรื่องนั้น

เพื่อให้รู้ชัดเห็นชัดตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ อันนี้เป็นหลักการอันหนึ่ง
ซึ่งเราน่าจะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา

เพราะว่าคนเราทั่วๆ ไป ที่มีความทุกข์ระทมตรมใจอะไรต่างๆ นั้น
ส่วนมากก็เป็นเรื่องเก่าๆ ที่มันผ่านพ้นมาแล้ว
ของหายไปตั้งสองเดือนแล้ว ก็ยังเอา มาคิดถึงอยู่
คือ บางทีก็พูดกับใครๆ ว่า แหมนึกถึงเรื่องนั้นทีไรแล้วแสนจะกลุ้มใจ
รู้ว่ากลุ้มใจ แต่ว่าทำไมไปคิดถึงเรื่องนั้น
นี่เขาเรียกว่าเผลอไป ประมาทไป
ไม่ได้ระมัดระวังควบคุมความคิดของตัว
แล้วก็ไปคิดถึงเรื่อง ที่ทำให้เศร้าใจ
ให้เสียใจเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วยประการต่างๆ
นั้นล้วนแต่เป็นเรื่องเก่าๆ แก่ๆ ทั้งนั้น
เอามานั่งคิด นั่งฝันไป ไม่ได้เรื่องอะไร
อย่างนั้นไม่ควรคิด เพราะมันผ่านพ้นไปแล้ว

เรื่องเวลานี้มันมีสามกาละคือว่า ปัจจุบัน อดีต อนาคต
สามกาลนี้มันนิดเดียวเท่านั้นเอง
ตัวปัจจุบันนี่ก็นิดเดียว แล้วมันก็กลายเป็นอดีตไป
แล้วอนาคตก็ย่างเข้ามา กลายเป็นตัวปัจจุบัน แล้วก็เป็นอดีตต่อไป
ถ้าหากว่าเราถือหลักว่าเวลานี้มันไม่คงที่
มันมาถึงเราแล้วก็ผ่านพ้นไปๆ วินาทีนั้นผ่านพ้นไป
วินาทีใหม่ผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านพ้นไป
คล้ายๆ กับภาพยนตร์ เวลาเราดูหนัง
ภาพต่างๆ มันผ่านสายตาเราไปในรูปต่างๆ กัน

นั่นคือความเปลี่ยนแปลงของภาพอยู่ตลอดเวลา
ภาพมันถี่ยิบเพราะความหมุนของเครื่องแล้วฟิล์มมันก็หมุนไป
เราก็เห็นว่าเป็นภาพวิ่งแสดงอย่างนั้นแสดงอย่างนี้
ปรากฏแก่สายตายของเรา ทำให้เราเห็นว่ามันเป็นจริงๆ จังๆ
เป็นเรื่องเป็นราว บางทีดูด้วยความเพลิด เพลิน
บางทีดูแล้วก็เศร้าโศกเสียใจ เวลาจบเรื่องลงไปก็พลอยเศร้าไปกับพระเอก
หรือว่านางเอกที่ต้องพบชะตากรรมที่ไม่นึกฝัน
ว่าจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ที่จริงภาพเหล่านั้นมันเป็นมายา
ที่มาหลอกตาเราชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง
แต่ว่าภาพมันติดต่อกัน เลยเห็นเป็นเรื่อง เดียวกันตลอดเวลา
อย่างนี้มันก็ผ่านๆ ไปเท่านั้นเอง

อะไรๆ มันก็ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่ได้หยุดอยู่
แต่ว่าเรานั้นเป็นผู้ทำผิด ทำผิดในเรื่องอย่างไร
ทำผิดคือไปเก็บเอาสิ่งนั้นไว้มาใส่ในใจ
ใส่ไว้ในห้วงนึกในความคิดของเรา
เก็บเรื่อยไปไม่รู้ว่าอะไรต่ออะไร เรียกว่าเป็น คนชอบเก็บ
ชอบสะสม ลักษณะของจิตมันก็อย่างนั้นอยู่ด้วยเหมือนกัน

คือว่า ชอบสะสมอารมณ์ประเภทต่างๆ ที่ผ่านมาเข้ามา
แล้วมันก็เก็บไว้ แล้วเอามานั่งคิด นั่งนึกให้เกิดความทุกข์ความเศร้าใจ
ไม่มีเรื่องอะไรจะคิดก็ไปเอาเรื่องที่มันเศร้าใจไม่สบายใจมาคิด
บางทีไปคิดในเวลาใกล้จะนอน เลยกระทบอารมณ์ นอนไม่หลับ
หรือบางทีไปคิดเวลารับประทานอาหาร
เลยเกิดเบื่ออาหารขึ้นมา ไม่อยากจะรับประทานแล้ว ใจมันไม่สบาย

ใจมันไปคิดในเรื่องครั้งกระโน้น เก่าไม่รู้สักกี่สิบปี แล้ว
ถ้าเป็นวัตถุก็เรียกว่าบูดแล้ว เน่าแล้ว เปื่อยแล้ว
เราอุตส่าห์เอามาสร้างเป็นโครงร่างขึ้นมาใหม่ ไปเก็บ
เอาขี้เถ้ามันมาเสกสรรปั้นแต่งให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้ว
นั่งดูด้วยความเศร้าโศกใจ นี่เรียกว่า ความเขลาหรือความฉลาด
ขอให้เราคิดดูสักเล็กน้อย

สิ่งใดที่มันผ่านไปแล้วก็ปล่อยไป ช่างมันเถอะผ่านพ้นไปแล้ว
เราจะไปคิดถึงสิ่งนั้นทำไมให้มันเป็นอดีตไป
อดีตมันก็ผ่านพ้นไปแล้วปัจจุบันมันก็ผ่านพ้นไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง
แต่ถ้ามาถึงเข้า เราก็พิจารณาต่อไปด้วยปัญญาว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นแก่เรา
แต่ว่าสิ่งนี้มันไม่เที่ยงมันมีความเปลี่ยนแปลง
คอยดูว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป
ให้เราทำตนเป็นคนดูด้วยปัญญา อย่าดูด้วยความยึดมั่นถือมั่น
อย่าดูด้วยความหลงผิดในเรื่องนั้นๆ
จิตใจเราก็จะสบายขึ้นไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ
นี้เป็นประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหา คือความไม่ สบายใจ
หรือว่าความเหน็ดเหนื่อยใจที่เกิดขึ้น
ให้พอคลายไปได้ จากการคิดนึกในรูปอย่างนี้

เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2520
จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 77 เม.ย. 50
โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี




 

Create Date : 11 ตุลาคม 2550    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2551 13:18:22 น.
Counter : 2502 Pageviews.  

ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด (สมเด็จพระญาณสังวร)

ที่มา : //www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10434



ทุกชีวิตมีเวลาอันจำกัด

พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


พ ร ะ ร า ช นิ พ น ธ์ เ พื่ อ ค ว า ม ส วั ส ดี แ ห่ ง ชี วิ ต
แ ล ะ พ ร ะ ค ติ ธ ร ร ม เ พื่ อ เ ป็ น แ ส ง ส่ อ ง ใ จ

พระคติธรรม


หน้าที่ของคนเราที่จะพึงปฏิบัติต่อชีวิตร่างกาย คือ การบริหารรักษาร่างกายให้ปราศจากโรค ให้มีสมรรถภาพ และประกอบประโยชน์เพื่อให้เป็นชีวิตดี ชีวิตที่อุดม ไม่ให้เป็นชีวิตชั่ว ชีวิตเปล่าประโยชน์ และในขณะเดียวกัน ก็ให้กำหนดรู้คติธรรมดาของชีวิต เพื่อความไม่ประมาท

พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้ทำลายชีวิตร่างกาย ถ้าจะเกิดความอยาก ความโกรธ ความเกลียด ในอันที่จะทำลายชีวิตร่างกายก็ให้ทำลายความอยาก ทำลายความโกรธ ทำลายความเกลียดนั้นแหละเสีย

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมคือคุณงามความดี ตรงกันข้ามกับอธรรม คือ ความชั่ว ซึ่งโดยมากก็รู้กันอยู่ ฉะนั้น เมื่อเคารพในความรู้หมายความว่า เมื่อรู้ว่าไม่ดี ก็ตั้งใจเว้นไว้ เมื่อรู้ว่าดี ก็ตั้งใจทำ ดังนี้เรียกว่า เคารพในธรรมที่รู้โดยตรง ซึ่งทำคนให้เป็นคน กล่าวคือเป็นมนุษย์โดยธรรม

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


-----------------------------------------------------------------------------------


๓ ต.ค.๕๐ เนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ ของสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


ศิษย์ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย พระบารมีแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ได้โปรดบันดาลพระราชทานพรให้พระองค์ ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบรูณ์ ขอพระองค์ทรงพระเจริญในธรรม เป็นร่มฉัตรของพุทธบริษัททั้งหลาย ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2550    
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2551 11:29:02 น.
Counter : 1028 Pageviews.  

หนีนรก (ตอนที่ 1) : หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

จากหนังสือเรื่อง "หนีนรก"
โดย พระราชพรหมยาน
(หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร)
วัดจันทาราม (ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี




ปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก
ตอนที่ 1


หนังสือปฏิบัติตนเพื่อหนีนรกนี้ ยึดสังโยชน์ 3 ประการเป็นพื้นฐาน สังโยชน์ 3 ประการ คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส

สังโยชน์ 3 ประการนี้ สำหรับข้อที่ 1 คือ สักกายทิฏฐิ ตามแบบท่านอธิบายไว้ในหลักสูตรนักธรรม ชั้นโท เป็นคำอธิบายถึงอารมณ์พระอรหันต์ ถ้าจะปฏิบัติกันตามลำดับแล้ว ต้องใช้อารมณ์ตามลำดับคือ ใช้ อารมณ์ ขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุด

อารมณ์ขั้นต้นนั้น ให้ใช้อารมณ์แบบเบาๆ คือ มีความรู้สึกตามธรรมดาว่า ชีวิตนี้ต้องตาย ไม่มี ใครเลยในโลกนี้ที่จะทรงชีวิตได้ตลอดกาลไปคู่กับฟ้าดิน ในที่สุดก็ต้องตายเหมือนกันหมด แต่ท่านให้ใช้อารมณ์ ให้สั้นเข้า คือ มีความรู้สึกไว้เสมอว่า ความตายไม่ใช่จะมาถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้คิดว่า เราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ จะได้ไม่ประมาทในชีวิต จะได้รีบรวบรัดปฏิบัติความดีไว้ การทำความดีหมายถึง พูดดี ทำดี คิดดี รวม 3 ดีนี้ถ้ามีเป็นปกติประจำวัน เมื่อยังไม่ตาม ยังอยู่เป็นคน ก็เป็นคนดี ถ้าตายเมื่อไร ตายแล้วท่านเรียกว่า เป็นผี ก็เป็น ผีดี คือทิ้งความดีไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังยังบูชา

อารมณ์ขั้นกลาง ท่านให้ทำความรู้สึกเป็นปกติว่า ร่างกายของคนและสัตว์ตลอดจนวัตถุทุกชนิดเป็นของสกปรกทั้งหมด ร่างกายคนและสัตว์ มีสิ่งที่น่ารังเกียจฝังอยู่ก็คือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่มีใครบอกว่าเป็นของ สะอาด แต่ก็มีประจำร่างกายทุกคน ถ้าไม่ค่อยทำความสะอาด เช็ด ล้าง มันก็เกิดอาการสกปรก มีแต่ความมัวหมอง เป็นของที่ไม่พึงปรารถนา เมื่อมีความรู้สึกตามนี้ ก็พยายามทำอารมณ์ให้ทรงตัวจนเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งหมด ไม่ยึดถือว่าร่างกายใดเป็นที่น่ารักน่าปราถนา

อารมณ์สูงสุด มีความรู้สึกตามนี้ คือมีความรู้สึกว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย และร่างกายไม่มีในเรา มีอาการ วางเฉยในร่างกายทุกประเภทเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
ที่เขียนมานี้ เขียนเพื่อบอกให้รู้ถึงลักษณะของสักกายทิฏฐิเท่านั้น ความมุ่งหมายของหนังสือนี้ ต้องการความรู้สึกเพียงแค่อารมณ์ขั้นต้นเท่านั้น เพราะมีอารมณ์เพียงขั้นต้นทุกคนก็พ้นอบายภูมิแล้ว คือถ้าจะมีการเกิดอีก อย่างช้าก็เป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ อารมณ์เข้มแข็งอย่างกลาง เกิดเป็น มนุษย์อีก 3 ชาติ ถ้าอารมณ์เข้มแข็งมาก เกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียว ต่างก็ไปนิพพานหมด จะมีการเกิดได้เพียงมนุษย์สลับกับเทวดาหรือ พรหมเท่านั้น ไม่มีการลงอบายภูมิ 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน 4 ภูมินี้ไม่ลงไปอีก แม้บาปเก่าจะสั่งสมไว้เท่าไรก็ตามที บาปไม่มีโอกาส จะดึงลงอบายภูมิได้ เพราะ บุญคือความดี มีกำลังเข้มแข็งกว่า แต่ต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนทั้ง 3 ข้อของสังโยชน์ ความจริงก็ไม่มีอะไร หนัก ถ้าตั้งใจทำจริงและคอยระวังไม่ให้พลั้งพลาด ใหม่ๆ อารมณ์เก่ายังเกาะใจ ก็อาจจะมีการพลั้งพลาดบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้า ระวังไว้เป็นปกติ ไม่เกิน 3 เดือน อารมณ์ก็ทรงตัว ต่อไปนี้ก็ยิ้มเยาะอบายภูมิได้สบาย บาปหมดหวังที่จะทวงหนี้ เอาไปชดใช้หนี้สิน ในอบายภูมิอีกต่อไป มีทางเดียวคือ เดินทางตรงไปนิพพาน

ปฏิบัติสังโยชน์ 3 ประการครบ

สังโยชน์ 3 ประการนี้มีการปฏิบัติอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับอ่อน กับ ระดับเข้มข้น จะพูดถึงการปฏิบัติระดับอ่อนก่อน ระดับอ่อนนี้ พ้นอำนาจบาปแล้วไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะ ไปนรก เป็นต้น อีก ท่านปฏิบัติกันอย่างนี้
1. ตื่นขึ้นเช้ามืด มีความรู้สึกประจำอารมณ์ว่า เราอาจจะตายวันนี้ก็ได้ เราต้องรวบรัดปฏิบัติเฉพาะความดี ทำตนหนีความชั่ว คือ
2. พิจารณาความดีของ พระพุทธเจ้า พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยปัญญา พิจารณาดูว่าท่านดีพอที่เราจะยอมรับนับถือไหม ถ้ามีปัญญาพิจารณาแล้วว่าดีพอที่จะยอมรับนับถือได้ ก็ตัดสินใจยอมรับนับถือ ด้วยความจริงใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำของท่าน สิ่งใดที่ท่านให้เราละ เราไม่ทำ สิ่งใดที่ท่านแนะนำให้ทำ เราทำตามด้วยความเต็มใจหมายเหตุ สำหรับพระสงฆ์นั้น อาตมาจัดให้ยอมรับนับถือเฉพาะพระอริยสงฆ์นั้น ความจริงปกติสงฆ์ก็ยอมรับนับถือได้ ถ้าท่านผู้นั้น ปฏิบัติตนสมควรแก่ผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ว่านักบวชท่านใด ปฏิบัติตนไร้แม้แต่ศีลห้าบางข้อ ก็ไม่ควรให้แม้แต่ข้าวบูดกิน เพราะเลวเกินไป เลวกว่า ชาวบ้านที่ท่านทรงความดี ส่วนใหญ่นักบวชพวกนี้ ความเลวจะไหลออกทางปากก่อน ให้สังเกตที่ปากเป็นอันดับแรก เมื่อปากเลว ก็ไม่มี อะไรเหลือ ทั้งนี้เพราะปากหรือกายจะพูดจะทำอะไร ใจเป็นผูสั่ง เมื่อใจเลวแล้ว ปากและกายก็เลวไปด้วย เป็นอันว่าเลวหมดทั้งตัว
สำหรับพระอริยสงฆ์นั้น ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตรงไปตรงมา ไหว้ได้ทุกเวลา ยอมรับนับถือได้
3. สังโยชน์ข้อที่ 3 พยายามรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับฆราวาส ก็มีศีล 5 เป็นหลักที่จะปฏิบัติ แต่หนังสือนี้ไม่มุ่งเฉพาะสอนพระ สอนเณร เพราะเป็นนักบวชอยู่แล้ว คิดว่าคงมีอารมณ์ความดีตัดสังโยชน์ 3 ได้เป็นอย่างน้อย แต่ถ้าบังเอิญไม่ได้ก็ไม่เกณฑ์ให้ตัด สุดแล้วแต่ ความพอใจของแต่ละท่าน
เรื่องการทรงอารมณ์ในศีก 5 เคยได้รับคำแนะนำจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงคาราม ท่านเคยแนะนำ เมื่อสมัยที่ผู้เขียนยังเป็น นักเทศน์ ท่านเคยถามว่า
"ไปเทศน์ สอนชาวบ้าน มีความรู้สึกว่าชาวบ้านทรงศีล 5 ได้ครบเป็นปกติไหม"
ได้กราบเรียนท่านว่า "เทศน์แนะนำเท่าไรก็ไม่มีผล เคยไปเทศน์แล้วครั้งหนึ่ง ปีต่อไปไปเทศน์อีก พวกท่านเหล่านั้นก็ยังก๊งเหล้ากันตามเคย"
ท่านก็พูดว่า "ที่เป็นอย่างนั้นไม่ใช่ชาวบ้านโง่ ฉันว่านักเทศน์โง่มากกว่า"
ท่านแนะนำต่อไปว่า "คนที่จะให้เขารักษาศึล 5 ครบทุกคนนั้นไม่ได้ ทั้งนี้ต้องสุดแล้วแต่กำลังใจของคน คนฟังเทศน์ทั้งศาลา ต้องมีคนดี มีกำลังใจ เต็มผสมอยู่ นักเทศน์เทศน์แนะนำให้เขาละไม่ได้ ก็แสดงว่านักเทศน์องค์นั้นโง่กว่าคนฟังเทศน์"
ได้กราบเรียนถามท่านว่า "จะแนะนำแบบไหน ให้เขารักษาศีล 5 ครบได้"
ท่านก็แนะนำว่า "จงอย่าหวังว่าเขาจะเชื่อเราทุกคน จงดูพระพุทธเจ้า เวลาท่านไปเทศน์โปรด ท่านมุ่งเจาะเฉพาะคนที่ถึงเวลาบรรลุมรรคผลเท่านั้น ท่านไม่ห่วงคนอื่น เพราะถ้าขืนห่วงคนอื่น ก็จะพากันไม่ได้อะไรทั้งหมด นักเทศน์ก็เหมือนกัน เมื่อไปเทศน์ให้สังเกตคนฟัง ถ้าท่าทางดีพอที่จะแนะนำ ได้ จึงควรแนะนำ ถ้าท่าทางไม่ดี ไม่มีท่าว่าจะเอาจริง ก็จงเทศน์หว่านไปแบบธรรมดาๆ การแนะนำควรใช้วิธี 2 วิธี เพราะความเข้มแข็งของกำลังใจ คนไม่เท่ากัน"

แนะนำคนที่มีกำลังใจเข้มแข็ง
คนที่มีกำลังใจเข้มแข็ง แนะให้ตั้งใจรักษาศีลให้ครบ 5 ข้อ วันละ 3 ชั่วโมง คือตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 9 โมงเช้า ในเวลาเท่านี้ จะอย่างไรก็ตามจะไม่ ยอมละเมิดศีลเด็ดขาด ถ้าเธอปฏิบัติตามนี้ได้ ไม่เกิน 3 เดือน เธอมีหวังรักษาศีล 5 ครบทุกสิกขาบทได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะการระมัดระวัง ศีลทั้ง 5 ข้อวันละ 3 ชั่วโมงนั้น เป็นการทรงฌานในสีลานุสสติวันละ 3 ชั่วโมง เพราะเป็นอนุสสติ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาภาวนา เอาใจคอยระวังไม่ ให้พลั้งพลาด เท่านี้ก็เป็นฌานแล้ว

ท่านผู้อ่านโปรดทราบ คำว่า ฌาน นั้น ความหมายจริงๆก็คือ อารมณ์ชิน คือมีอารมณ์ทรงอย่างนั้นเป็นปกติ อย่างพวกเรา ชินกับความทุกข์จนไม่เข้าใจว่ามันเป็นความทุกข์ นั่นก็คือ ความหิว ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ เป็นต้น มีทุกวันจนชิน เลยไม่เข้าใจว่าเป็นทุกข์ เห็นเป็นของธรรมดาไป คำว่า ฌาน ก็เหมือนกัน มีอารมณ์เป็นปกติจนไม่มีอะไรต้องระวัง หรือมีความหนักใจ

แนะผู้มีอารมณ์ใจเข้มแข็งน้อย
คนที่มีอารมณ์เข้มแข็งน้อย หรือที่เรียกว่า มีกำลังใจค่อนข้างอ่อนแอ แต่มีแววที่พอจะทำได้ ให้เลือกปฏิบัติเอาจริงเอาจังเป็นข้อๆ ที่พอจะทำได้ ให้เอาชนะจริงๆ ข้อใดข้อหนึ่งไปเลย เมื่อขนะข้อใดข้อหนึ่งแน่นอนแล้ว ก็ค่อยๆ เลือกเอาข้อที่เห็นว่าง่าย ไม่นานเท่าไรก็ชนะหมดทุกข้อ

สรุปอารมณ์หนีนรก
สรุปแล้ว อารมณ์ หรือการปฏิบัติตหนีนรก จนนรกตามไม่ทันต่อไปทุกชาตินั้น มีอารมณ์โดยย่อดังนี้
1. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตายแน่
2. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
3. ฆราวาสมีศีล 5 ทรงอารมณ์เป็นปกติ
ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นอารมณ์ในขณะที่ปฏิบัติ เมื่ออารมณ์ทรงตัวแล้ว อารมณ์ที่ปักหลักมั่นคงอยู่กับใจจริงๆ ก็เหลือ เพียงสอง ที่ท่านเรียกว่า องค์ ก็คือ
1. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามั่นคงจริง
2. มีศีล 5 บริสุทธิ์ผุดผ่องจริง
เพียงเท่านี้ นรกก็ดี เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เราผ่านได้ ไม่ต้องไปอยู่หรือเกิดในเขตนี้อีกต่อไป ถ้าจะถามว่า บาป กรรมที่ทำแล้วไปอยู่ไหน ก็ต้องตอบว่ายังอยู่ครบ แต่เอื้อมมือมาฉุดกระชากลากลงไม่ถึง เพราะกำลังบุญเพียงเท่านี้ มีกำลังสูงกว่าบาป บาปหมดโอกาสที่จะลงโทษต่อไป


เอกสารอ้างอิง : พระราชพรหมยาน. หนีนรก, (พิมพ็ครั้งที่ 22) : กรุงเทพมหานคร : เยลโล่ การพิมพ์, 2545





---------------------------------------------------------







บทสวดพระคาถาชินบัญชร








บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก







บทสวดโพชฌังคปริตร







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 1








หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3







หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4






---------------------------------------------------------




 

Create Date : 01 ตุลาคม 2550    
Last Update : 19 กรกฎาคม 2554 17:55:02 น.
Counter : 2248 Pageviews.  

ปณิธานอันแน่วแน่ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

"แม้หนัง เอ็น และกระดูกจะเหือดแห้งไป
แม้เนื้อและเลือดในร่างกายของเราจะแห้งหายไป
ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุธรรม เราจะไม่ลุกจากที่นั่งนี้"




 

Create Date : 30 กันยายน 2550    
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2551 16:44:54 น.
Counter : 569 Pageviews.  

มันมีเท่านี้เอง (พุทธทาสภิกขุ)




 

Create Date : 28 กันยายน 2550    
Last Update : 20 กรกฎาคม 2552 14:40:30 น.
Counter : 5769 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

muansuk
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 84 คน [?]




blog counter
blog counterDiseño Web
Share on Facebook



 Follow Me on Twitter
 คลิ๊ก


 ลงนามสมุดเยี่ยม muansuk blog ครับ คลิ๊ก




“ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้
เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์
และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา”

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต




“ถ้าเรารู้เรื่องธรรมดาของโลก และรู้จักความเป็นจริงของธรรมแล้ว
เราก็จะไม่ต้องมีความยุ่งยากในการเป็นอยู่
เรื่องภายนอกนั้น ถึงเราจะศึกษาให้มีความรู้สักเท่าไรๆ
ก็ไม่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้
สู้การเรียนรู้จิตใจของตนอยู่ภายในวงแคบๆ นี้ไม่ได้”

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




“… อย่าไปอยากรู้เรื่องของคนอื่นมันเป็นทุกข์
ให้สนใจเรื่องของตัวเอง
คือเรื่องของกายกับใจ
ดูให้มันชัด …”

หลวงปู่เพียร วิริโย




“… สิ่งใดมันล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นมันก็ล่วงไปแล้ว หมดไปแล้ว
ไม่ควรเอามาคิด มาติดอยู่ในใจ ละทิ้งให้หมด
ส่วนว่าอารมณ์อันเป็นอนาคตกาล
ดีร้ายประการใด ทั้งทางโลก และทางธรรม
สิ่งนั้นก็ยังอยู่ข้างหน้า คือยังไม่มาถึง
เวลาปัจจุบัน คือ เป็นเวลาเรานั่งภาวนา ฟังธรรม
สงบกาย สงบวาจา สงบจิต สงบใจ อยู่นี้แหละ
เป็นธรรมะปัจจุบัน ให้ระลึกภาวนาทุกลมหายใจเข้าออก...”

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร




“... ให้รักษาศีล
ให้รู้จักพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย
รู้จักแก้ไขจิตของตน ... ”

หลวงปู่จาม มหาปุณฺโญ





หลวงพ่อชา สุภทฺโท : ปล่อยวาง 1





พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร : ธรรมสู่ใจ





หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : ไม่ยอมละ





ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือมุตโตทัย-อาจาโรวาท โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (PDF) (9.25 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝากไว้ บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนาของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (โดย พระโพธินันทมุนี) (PDF) (625 KB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมธาตุ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (13.38) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (6.97) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพ่อแม่ครูอาจารย์ ชีวประวัติ คติธรรม และปฏิปทา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (12.82 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (14.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือไม่มาเกิดมาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (4.72 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงตา พระผู้สืบสานอริยวงศ์  รวบรวมโดยคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (50.51 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือกายคตาสติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (10.8 MB) คลิ๊ก
 ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมปกครองใจ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่จันทร์ศรี  จันททีโป (PDF) (11.47 MB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือปัญญาอบรมสมาธิ โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว  ญาณสัมปันโน (PDF) (1.29 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงตานิพพาน (พิธีพระราชทานเพลิงถวายสรีระสังขารหลวงตามหาบัวญาณสมฺปนฺโน) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมะทะลุโลก โดยท่านพ่อลี ธมฺมธโร (PDF) (3.18 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังแก่กล้า (PDF) (30.21 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เล่าเรื่อง (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรม...ย้ำเตือน  โดยหลวงปู่เพียร  วิริโย (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพระเพียร  วิริโย เป็นเพชรน้ำหนึ่งเพราะความพากเพียร (หลวงตาพระมหาบัว  ญาณสัมปันโน) (PDF) (8.68 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือธรรมพเนจร (หลวงปู่จันทา  ถาวโร) (PDF) (30.39 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหลวงปู่เจี๊ยะ  จุนฺโท  พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง (PDF) (13.58 MB) คลิ๊ก
Download หนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อชา สุภัทโท (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือสุภัททานุสรณ์ ชุด..จาริกสู่ประเทศอังกฤษ (PDF) (21.06 MB) คลิ๊ก Download หนังสือธรรมะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (PDF) (8.5MB) คลิ๊ก Download หนังสือสันติธมฺโมบูชา โดยหลวงปู่ฟัก สันติธมฺโม (PDF) (37.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือหนีนรก โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือสังโยชน์ 10 โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือวัดป่าบ้านตาด (PDF) (10.72 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือเศรษฐีธรรม (หลวงปู่ลี กุสลธโร) (PDF) (6.83 MB) ( คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือชีวิตนี้น้อยนัก โดยสมเด็จพระญาณสังวร (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือทำอย่างไรจะหายโกรธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือภูมิธรรมชาวพุทธ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระหลวงตา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) (PDF) (7.98 MB)  คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือจิตตวิชา หลักความรู้แจ้งทางจิตต์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) (PDF) (3.97 MB) คลิ๊ก Download หนังสือเปิดใจรับความสุข โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก Download E-Book ว.วชิรเมธี คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ โครงการบูรพาจารย์ (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตร และปฏิปทา (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 1) (PDF) (12.5 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):   หนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 2)  (PDF) (15.77 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือหลวงปู่แหวน สุจิณโณ (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 3) (PDF) (19.12 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ขาว อนาลโย (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 4) (PDF) (12.53 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระครูวิเวกพุทธกิจ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 5) (PDF) (12.13 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 1) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 6) (PDF) (24.41 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือพระกรรมฐานสู่ล้านนา (ตอน 2) (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 7) (PDF) (43.49 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 8) (PDF) (70.26 MB) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ชอบ ฐานสโม (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 9) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 10) (PDF) (10.17 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หนังสือหลวงปู่ฝั้น อาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 11).pdf (PDF) (14.3 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร (โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม 12).pdf (PDF) (13.41 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือวิธีปฏิบัติสมาธิ วิปัสสนากัมมัฏฐาน (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีทำสมาธิแบบหลวงปู่มั่น โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (1.05 MB)คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): แนวทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน 2 (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)  (PDF) (5.75 MB) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): เรื่องของลม (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) (PDF) (271.99 KB) คลิ๊ก  ดาวน์โหลด (Download): หนังสือวิธีเดินจงกรมภาวนา-นั่งสมาธิภาวนา โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (PDF) (9.18 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะ สำหรับผู้ป่วย, ญาติ และผู้รักษา (Download E-Book) :

ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือธรรมะสำหรับผู้ป่วย โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download):  หนังสือกายหายไข้ ใจหายทุกข์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก
Download หนังสือรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (PDF) คลิ๊ก Download หนังสือนึกถึงความตายสบายนัก โดยพระไพศาล  วิสาโล (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือพระไตรปิฎก :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก




ดาวน์โหลดหนังสือธรรมะทั่วไป (Download E-Book) :

Download หนังสืออริยวินัย (PDF) (9.27 MB) คลิ๊ก








Google

 ศีลและกรรมบถ คลิ๊ก
 พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี คลิ๊ก  ธรรมบรรยาย และธรรมนิพนธ์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน คลิ๊ก
 รวบรวมงานเขียนและบทความของพระไพศาล วิสาโล คลิ๊ก  วัดสังฆทาน จ.นนทบุรี (หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 กำลังใจสู้มะเร็ง คลิ๊ก  การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยมะเร็ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): วารสาร นิตยสาร และสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง:

ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 1 ปี 2555 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : วารสารมะเร็งวิวัฒน์ ปีที่ 17, ฉบับที่ 1 ปี 2554 (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ Cancer in Thailand Volume.5, 2001-2003 (PDF) คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร, คู่มือมะเร็ง และที่เกี่ยวข้อง:

ดาวน์โหลด (Download) :  หนังสือ, เอกสาร และคู่มือ เกี่ยวกับมะเร็ง ที่น่าสนใจ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับเคมีบำบัด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือเกี่ยวกับรังสีรักษา, การดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา และอื่น ๆ (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : เอกสาร และคู่มือควบคุมอาการปวดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว, อาการปวดจากโรคมะเร็ง (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสาร และคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง, การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งปอด (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้านม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : หนังสือ, เอกสาร และคู่มือมะเร็งเต้าตับ (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  แนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง (วัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download):  แนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน (PDF) คลิ๊ก




ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด (2547) (กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  เอกสารแนวทางเวชปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด (2549) (ศ.พญ.สุมิตรา  ทองประเสริฐ และคณะ) (PDF) คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link): การตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่ด้วย PET-CT สแกน โดย รศ.นพ.สุภัทรพร เทพมงคล คลิ๊ก ลิงค์ (Link): Bone Scan: การตรวจสแกนกระดูก (พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม; คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF)  คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : การผ่าตัดมะเร็งทำให้โรคแพร่กระจายจริงหรือ (รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ : ภาควิชาศัลยศาสตร์  สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอ และเต้านม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก ลิงค์ (Link): ความรู้เกี่ยวกับรังสีรักษา การฉายรังสีและเครื่องมือทางรังสีรักษา (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): สูตรอาหารต้านมะเร็ง (เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ; ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) : ข้อมูลจาก วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร  คลิ๊ก


 ลิงค์ (Link): การตรวจ MRI คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก, การแพทย์แผนไทย และธรรมชาติบำบัด

ลิงค์ (Link): วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): การแพทย์ทางเลือก บีเมสส คลินิก จังหวัดนครราชสีมา (นพ.สำราญ  อาบสุวรรณ : ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย) คลิ๊ก  ลิงค์ (Link): วิถีไทยคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพมหานคร (อาจารย์เภสัชกร มงคลศิลป์  บุญเย็น) คลิ๊ก
ลิงค์ (Link): Gerson Institute
 (รักษาตามแนวธรรมชาติบำบัด) คลิ๊ก





Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กร และที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ลิงค์ (Link) :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก ลิงค์ (Link) :  สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) : สถานวิทยามะเร็งศิริราช คลิ๊ก ลิงค์ (Link) : โครงการโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คลิ๊ก
ลิงค์ (Link) :  วัดคำประมง จ.สกลนคร (หลวงตาปพนพัชร์  จิรธัมโม) : วัดที่รักษาโรคมะเร็ง คลิ๊ก



 http://www.cancer.gov: National Cancer Institute คลิ๊ก  http://www.eortc.be: European Organisation for Research and Treatment of Cancer คลิ๊ก  http://www.oncolink.org: OncoLink (University of Pennsylvania) มีข้อมูลข่าวสารมากมาย และได้ผ่านการคัดเลือกและตรวจสอบโดย editorial board ของ OncoLink แล้ว, มีข่าวใหม่ประจำสัปดาห์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง, บทคัดย่อใหม่ของการวิจัยโรคมะเร็งที่ตีพิมพ์, การประชุมทางวิชาการต่าง ๆ ฯลฯ  คลิ๊ก
 http://www.iarc.fr/: The International Agency for Research on Cancer (IARC) คลิ๊ก  http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed: Pubmed เป็นเครื่องมือค้นหาฐานข้อมูล เรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล MEDLINE ซึ่งประกอบด้วยแหล่งอ้างอิง, บทคัดย่อ และบทความตัวเต็มทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ คลิ๊ก






Link: ลิงค์ หน่วยงาน, สถาบัน, องค์กรด้านการสาธารณสุข และที่เกี่ยวข้อง

 กระทรวงสาธารณสุข คลิ๊ก





 องค์การเภสัชกรรม คลิ๊ก
 กรมสุขภาพจิต คลิ๊ก

 สภากาชาดไทย คลิ๊ก



แพทยสภา คลิ๊ก ทันตแพทยสภา คลิ๊ก  สภาเทคนิคการแพทย์ คลิ๊ก  สภากายภาพบำบัด คลิ๊ก  สภาเภสัชกรรม คลิ๊ก  สภาการพยาบาล คลิ๊ก



 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คลิ๊ก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) คลิ๊ก



 สำนักงานประกันสังคม คลิ๊ก






ดาวน์โหลด (Download): กฎหมาย, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ, คำสั่ง

ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) :  พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 คลิ๊ก

ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับแพทยสภา คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ข้อบังคับ, ประกาศ และระเบียบ ทันตแพทยสภา คลิ๊ก



ลิงค์ (Link) : ค้นหาราชกิจจานุเบกษา : ค้นหาพระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง, ประกาศ, ระเบียบ, ข้อบังคับ และคำสั่ง คลิ๊ก





ดาวน์โหลด (Download): เอกสารข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สำคัญ

ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิผู้ป่วย คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download) : ใบรับรองแพทย์ คลิ๊ก





ลิงค์ (Link): การเดินทาง, แผนที่, ตารางเวลา และการส่งกลับทางอากาศ :

 การบินไทย (Thai Airways) คลิ๊ก นกแอร์ (Nok Air) คลิ๊ก  แอร์เอเชีย (Air Aisa) คลิ๊ก  บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways) คลิ๊ก  รถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก  รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : (รถไฟฟ้าใต้ดิน)
คลิ๊ก การรถไฟแห่งประเทศไทย : จำหน่ายตั๋วล่วงหน้า, ตารางเวลาเดินรถและราคาค่าโดยสาร, ระบบติดตามขบวนรถ  คลิ๊ก  เรียกแท็กซี่ (Taxi) คลิ๊ก


 ตรวจสอบ, คำนวณ ระยะทาง และพิมพ์แผนที่ คลิ๊ก  ตรวจสอบ, หาพิกัดดาวเทียม
 GPS คลิ๊ก  ตรวจสอบสภาพการจราจร   Near Real Time คลิ๊ก
 ตรวจสอบสถานการณ์น้ำกับ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิ๊ก  ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  ตรวจสอบเวลาการเดินรถไฟ คลิ๊ก
 ค้นหารถประจำทาง คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT คลิ๊ก  เส้นทางการเดินรถไฟฟ้า BTS คลิ๊ก
 ท่าขึ้นรถตู้ กรุงเทพ ฯ (และที่ใกล้เคียง) – ต่างจังหวัด คลิ๊ก  ค้นหาสายรถตู้ คลิ๊ก  เรือด่วนเจ้าพระยา คลิ๊ก






ลิงค์ (Link): หมายเลขโทรศัพท์, การติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

 YellowPages (เยลโล่เพจเจส) : ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ และอื่น ๆ คลิ๊ก

 หอพัก สกสค. (หอพักคุรุสภา) คลิ๊ก



 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
 คลิ๊ก  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) คลิ๊ก  AIS คลิ๊ก  DTAC คลิ๊ก  Truemove คลิ๊ก  ไปรษณีย์ไทย : บริการด้วยใจ เชื่อมไทย เชื่อมโลก คลิ๊ก







ลิงค์ (Link): ค้นหาแผนที่


 Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก  Maps.com: แม็ฟส์ ดอท คอม คลิ๊ก



 ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก  ค้นหาค้นหาแผนที่โรงพยาบาล คลิ๊ก
 ค้นหาสถานีบริการ LPG คลิ๊ก  ค้นหาสถานีบริการ NGV คลิ๊ก







Facebook: เฟสบุ๊ค – เข้าระบบ, ลงทะเบียน หรือเรียนรู้เพิ่มเติม คลิ๊ก Twitter: ทวิตเตอร์ – ลงชื่อเข้าใช้งาน คลิ๊ก YouTube: ยูทูป  – เข้าใช้งาน คลิ๊ก Wikipedia: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) :  Adobe Reader คลิ๊ก  Google Map: กูเกิ้ล แม็ฟส์ คลิ๊ก ดาว์นโหลด (Download) Adobe Flash Player คลิ๊ก





สมาทานศีล 5



หลวงพ่อชา สมาทานศีล 5



พุทธมนต์, พุทธคุณ ๑๐๘ นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเช้า นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



ทำวัตรเย็น นำสวดโดย หลวงพ่ออุทัย สิริธโร



พาหุงมหากา นำสวดโดย หลวงพ่อจรัญ ธิตธมฺโม



บทสวดพระคาถาชินบัญชร



บทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดโพชฌังคปริตร



พระคาถาสักกัตวา



หลวงพ่อชา สอนการทำสมาธิ



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 3/9



หลวงพ่อจรัญสอนกรรมฐาน ตอนที่ 4/9



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 1



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 2



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 3



หลวงพ่อฤๅษี ลิงดำ สอนกรรมฐาน 40 ตอนที่ 4



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย สอนกรรมฐาน









ลิงค์ (Link): ข่าวสาร, ข้อมูล, บทความเกี่ยวกับน้ำท่วม



 แจ้งขอความช่วยเหลือ (Thaiflood.com) คลิ๊ก




Thaiflood

 18 วิธีรับมือน้ำท่วม คลิ๊ก  การเตรียมการก่อนน้ำท่วม คลิ๊ก  การรับมือระหว่างน้ำท่วม คลิ๊ก
 การเตรียมการอพยพ คลิ๊ก  ข้อมูลดาวเทียมแสดงอุทกภัยประเทศไทย (ข้อมูลจาก GISTDA) คลิ๊ก  ภาพแสดงระดับความสูงต่ำของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ คลิ๊ก
 วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554 (Crisis Map) คลิ๊ก  ตรวจสอบแผนที่น้ำท่วมกับ esri Thailand คลิ๊ก  สถานการณ์น้ำในเขื่อน คลิ๊ก
 ตรวจสอบเส้นทางน้ำท่วมทางหลวง โดยกรมทางหลวง คลิ๊ก  แผนที่เส้นทางหนีน้ำท่วมจาก กทม.ไป ภาคเหนือ, อีสาน คลิ๊ก  รวมข้อมูล ที่จอดรถหนีน้ำท่วม สำหรับผู้ประสบอุทกภัย คลิ๊ก
 เทคนิควาง “กระสอบทราย” สู้น้ำท่วม คลิ๊ก
 การป้องกันน้ำเข้าบ้าน และวิธีอุดปิดช่องทางน้ำเข้าบ้าน คลิ๊ก  เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ น้ำท่วม!!! และเมื่อรถตกน้ำควรปฏิบัติอย่างไร คลิ๊ก  การทำเรืออย่างง่าย ๆ คลิ๊ก
 “ตะคริว” กับการเรียนรู้สู้ภัยน้ำท่วม คลิ๊ก  การปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Cardio Life Support : BCLS) (กรมแพทย์ทหารเรือ) คลิ๊ก  จะช่วยคนจมน้ำได้อย่างไร (ศ.พญ.วันดี วราวิทย์) คลิ๊ก


ดาวน์โหลด (Download): เอกสาร คู่มือเกี่ยวกับน้ำท่วม

ดาวน์โหลด (Download): Flood Fighting Methods (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): British Columbia Flood Plan (BC Flood Plan) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): Fact Sheet Floods (FEMA) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับสถานการณ์น้ำท่วม (จัดทำโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): คู่มือรับมือน้ำท่วมไม่ยาก (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): โรคที่มากับน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): อีกทางเลือกหนึ่งของชูชีพอย่างง่าย (สามารถทำเองได้) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): การใช้ถุงทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): 6 แนวทางกันนํ้าท่วมเข้าบ้าน (รศ.ดร.อมร  พิมานมาศ) (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): รวมวิธีป้องกันรถจากภัยน้ำท่วม (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): “ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม” การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนภัยน้ำท่วม ฉบับประชาชน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) (PDF) คลิ๊ก
ดาวน์โหลด (Download): พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 (PDF) คลิ๊ก ดาวน์โหลด (Download): พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (PDF) คลิ๊ก




หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ :




 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์ข่าวสด คลิ๊ก  หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คลิ๊ก

 TV 3 คลิ๊ก  TV 5 คลิ๊ก  TV 7 คลิ๊ก  ModerNine TV คลิ๊ก  Thai PBS คลิ๊ก



Ayutthaya Thai Flood 2011



น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942)



Nuidears Flood Control



mobile flood barrier



ถุงคลุมรถ



ข้อควรปฏิบัติขับรถช่วงน้ำท่วม



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 1/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 2/5 (23 ต.ค.54



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 3/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 4/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม – พบหมอรถ 5/5 (23 ต.ค.54)



Thai PBS ฝ่าวิกฤตน้ำท่วม - พบหมอบ้าน 1/6 (22 ต.ค.54)



เพลง ประสบทุกข์ ประสบภัย ฝ่าไปด้วยกัน (ขับร้องโดย พนักงานไทยพีบีเอส



เพลงน้ำใจไทย (ขับร้องโดย แอ๊ด คาราบาว)



Friends' blogs
[Add muansuk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.