นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
Heat stroke กับการออกกำลังกาย เกิดได้แม้ไม่ใช่หน้าร้อน

 

Heat stroke กับการออกกำลังกาย เกิดได้แม้ไม่ใช่หน้าร้อน

ปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพกำลังมาแรง ผู้คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น โดยเฉพาะการวิ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ในบ้านเรามีการจัดงานวิ่งหลายงานตั้งแต่ วิ่งมาราธอน, มินิมาราธอนหรือการวิ่งระยะสั้นอย่างฟันรัน ให้นักวิ่งที่สนใจเลือกลงแข่งขันได้ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายตัวเอง การฝึกซ้อม ความฟิต

แม้ว่าการวิ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย แต่ถ้าเราไม่มีการเตรียมความพร้อมของร่างกายให้ดี ก็อาจเสี่ยงเกิดอันตรายขณะวิ่งได้ โดยอาการอันตรายที่เกิดจากการวิ่งมาราธอนที่เรามักพบเจอได้และอาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิต นั่นก็คือ Heat Stroke หรือ โรคฮีทสโตรก

Heat Stroke เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดจากการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 40 องศา และร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิลงได้ จนเป็นผลทำให้อวัยวะในร่างกายได้รับความเสียหาย และทำงานผิดปกติ บางครั้งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การออกกำลังกายทำให้เกิด Heat Strokeได้อย่างไร?

มีการรายงานถึงการเกิดภาวะ Heat Stroke ในฤดูกาลอื่นที่ไม่ใช่ฤดูร้อน เป็นผลมาจากความชื้นในอากาศที่สูงและไม่มีแรงลม ทำให้ไม่สามารถขับความร้อนและพัดพาความร้อนจากร่างกายไปได้ การออกกำลังกายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด Heat Stroke คือการออกกำลังกายที่นานกว่า 1 ชั่วโมง เช่น การวิ่งมาราธอน การเต้นแอโรบิก เป็นต้น โดยอาการจะเริ่มจากลมแดด คือมีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกหน้ามืด เหงื่อออกน้อยหรืออาจไม่มีเหงื่อ จนมีอาการของฮีทสโตรกคือ หมดสติ ชักเกร็ง และอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการเกิด Heat Stroke

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • เลือกเสื้อผ้าที่บาง ระบายเหงื่อได้ดี และไม่ใส่เสื้อสีทึบ
  • การออกกำลังกายกลางแจ้งที่นาน ควรเข้าพักในที่ร่มๆ ทุก 2 ชั่วโมง หรือถ้ามีอาการของลมแดดควรหยุดออกกำลังกายทันที
  • ควรมีการซ้อมเพื่อปรับร่างกายประมาณ 5-7 วัน โดยเริ่มจากเวลาสั้นๆ ก่อน
  • งดทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ผู้ที่มีอาการลมแดดและ Heat Stroke ควรงดการออกกำลังกายหลังจากการรักษา 1-2 อาทิตย์
     

การเตรียมตัวก่อนไปวิ่งมาราธอน

สำหรับใครที่ไม่มีพื้นฐานการออกกำลังกายมาก่อนแล้วอยากลองวิ่งมาราธอน ต้องเริ่มจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการซ้อมวิ่งก่อน โดยมือใหม่หัดวิ่งควรเริ่มต้นจากการวิ่งเบาๆ อย่างการวิ่งสลับเดิน ใช้เวลาสั้นๆ 30 นาทีต่อวัน วิ่งประมาณ 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ การซ้อมวิ่งเบาๆ จะทำให้ร่างกายคุ้นชินกับการใช้พลังงานมากขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาการซ้อมให้จริงจังมากขึ้น

นอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมด้วยการซ้อมวิ่งแล้ว การตรวจร่างกายก่อนวิ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการตรวจจะเน้นไปที่การประเมินความเสี่ยงการเกิดอันตรายในขณะวิ่ง เช่น การประเมินอัตราการใช้ออกซิเจน, ตรวจสอบอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ รวมถึงโรคที่มีความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการวิ่งมาราธอนอย่าง เช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, หอบหืด เป็นต้น




Create Date : 30 พฤศจิกายน 2565
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2565 15:13:36 น. 0 comments
Counter : 335 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com