นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
เป็นทอนซิลอักเสบเกิน 7 ครั้งต่อปี ควรรีบพบแพทย์ด่วน



เป็นทอนซิลอักเสบเกิน 7 ครั้งต่อปี ควรรีบพบแพทย์ด่วน

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ ร้อยละ 99 มักเข้าใจว่า “ทอนซิล”มันอยู่ตรงข้างลำคอ แต่แท้จริงแล้วทอนซิลนั้นมีอยู่ในร่างกายทั้งหมด 3 ตำแหน่งด้วยกัน

อันแรก ตำแหน่งยอดฮิตที่เห็นได้ง่ายและเกิดการอักเสบบ่อยที่สุด นั่นก็คือทอนซิลที่อยู่สองฝั่งข้างช่องปากซ้ายและขวา ส่วนทอนซิลอีกสองตำแหน่งที่เหลือจะอยู่ในบริเวณที่สังเกตได้ยากคืออยู่บริเวณโคนลิ้น และอยู่เหนือเพดานอ่อนในคอนู้นนน ซึ่งตำแหน่งทอนซิลโคนลิ้นนั้นก็สามารถอักเสบได้เหมือนตำแหน่งข้างลำคอนี่แหละ เพียงแต่จะเอามือล้วงไปจับว่ามันบวมไหมก็แลดูจะลำบากอยู่

ทีนี้ถ้าถามว่าทำไมทอนซิลมันถึงอักเสบขึ้นมาเองดื้อๆ ได้ ต้องบอกว่ามันไม่ได้วันดีคืนดีจู่ๆ ประท้วงว่าอยากอักเสบหรืออยากพักผ่อนอะไรหรอกนะ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคหวัด หรือเชื้อที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจตอนบนเกิดการอักเสบนี่แหละ ทอนซิลเราจะเป็นตัวแรกที่ดักจับเชื้อพวกนี้เอาไว้ ก็เลยทำให้ก่อนที่เราจะป่วยเป็นไข้จริงจัง หวยก็เลยมักมาลงที่ด่านทอนซิลที่แรก

👩‍⚕️ วิธีรักษาทอนซิลอักเสบก็ไม่ยากอะไร ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ปวด หากมีอาการของหวัดก็จะให้ยาลดน้ำมูก แก้ไอ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ พักผ่อนเยอะๆ แต่หากเกิดการอักเสบติดเชื้อเป็นหนอง นอกจากจะรักษาตามอาการแล้วยังต้องให้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้องในการรักษาด้วย มิฉะนั้นอาจมีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ใกล้เคียง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบได้..

ที่สำคัญที่คนมองข้ามกัน หากใครมีอาการทอนซิลอักเสบบ่อยๆ แบบเรื้อรังที่เป็นมากกว่า 7 ครั้ง ใน 1 ปีอันนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์นะ เพราะบางครั้งอาจมีปัญหาที่ต่อมทอนซิลเองแล้ว ไม่ใช่ว่าเราไปสัมผัสเชื้อโรคเยอะหรอก แถมบางคนอาจมีภาวะต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้มีปัญหาเรื่องนอนกรน ทางเดินหายใจอุดกั้น มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรัง หรือทอนซิลโตผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งแทรกซ้อนได้ด้วย ฉะนั้นแพทย์อาจจำเป็นต้องพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแทนการรักษาด้วยยานะ

แต่ทว่าอย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เพราะการผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ แต่เป็นการรักษาที่ทำให้ทอนซิลอักเสบเรื้อรัง หายเป็นปกติได้ และด้วยอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีเลเซอร์, คลื่นเสียงความถี่สูง (Harmonic Scalpel) รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เส้นประสาทและหลอดเลือด จึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วอีกด้วย

การผ่าตัดต่อมทอนซิลไม่น่ากลัวและไม่มีข้อเสีย เพราะต่อมทอนซิลที่เป็นโรคถือว่าเป็นต่อมที่ไม่ได้มีฟังก์ชั่นการทำงานอะไร ไม่ได้ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรค แต่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคจึงต้องตัดทิ้ง โดยยังมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคอที่คอยดักจับเชื้อโรคแทนอีกมาก

ฉะนั้นการตัดต่อมทอนซิลออก ไม่ได้แปลว่าจะทำให้เรามีภูมิต้านทานที่ลดลงนะครับ สบายใจได้

📌 “ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง หู คอ จมูก” ข้อมูลเพิ่มคลิก https://www.ram-hosp.co.th/readcenter_clinic/51



Create Date : 17 มีนาคม 2564
Last Update : 17 มีนาคม 2564 10:26:21 น. 0 comments
Counter : 2686 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com