นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
ลูกนอนกรนแบบไหน? ที่ต้องพาไปพบแพทย์



😴 การนอนมีผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ สติปัญญา อารมณ์ และสมองเป็นอย่างมาก หากถูกรบกวนจากการหายใจติดขัด ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และอาจส่งผลกับระบบหัวใจและหลอดเลือด จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตกะทันหันจากภาวะหยุดหายใจเป็นเวลานานได้อีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า 20% ของเด็กมีอาการนอนกรน โดยเด็กประมาณ 7-10% มีอาการนอนกรนทุกคืน และพบว่าเด็กประมาณ 2% มีปัญหาขณะหลับและมีภาวะหยุดหายใจ ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตราย ภาวะการหายใจลดลงหรือหยุดหายใจขณะหลับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากการหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจแคบหรือตัน
2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากความผิดปกติของสมองที่ควบคุมการหายใจหรือกล้ามเนื้อ

แต่ส่วนใหญ่จะพบในแบบแรกบ่อยมากกว่า มักพบในเด็กช่วงก่อนวัยเรียนและช่วงวัยอนุบาล อายุ 2-6 ขวบ เมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ การที่ทางเดินหายใจอุดกั้นทำให้ต้องใช้พลังงานในการหายใจมาก เวลานอนเด็กจะกระสับกระส่าย ตื่นบ่อย ส่งผลให้การนอนหลับในเวลากลางคืนไม่มีคุณภาพ กระทบการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก

ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจาก “ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต” เป็นผลมาจากการอักเสบซ้ำๆ จากอาการภูมิแพ้หรือเป็นหวัดบ่อยในเด็ก นอกจากนี้ยังมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ภาวะอ้วนในเด็ก ความผิดปกติของโครงสร้างระบบทางเดินหายใจ เช่น กรามมีขนาดเล็ก มีทางเดินหายใจที่แคบกว่าปกติ มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ ฯลฯ

📌โดยสัญญาณอาการที่ชี้ว่าเด็กอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่คุณพ่คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือ
* นอนกรนเสียงดัง กรนถี่ๆ หรือกรนเกือบทุกคืน
* นอนกระสับกระส่าย หรือนอนท่าที่ผิดปกติ
* หายใจแรง หายใจสะดุดเป็นพักๆ หรือหายใจเฮือกๆ
* มีเหงื่อออกมาก ปัสสาวะรดที่นอน หรือละเมอ
* มีอาการไอหรือสำลัก ขณะนอนหลับ
* หลังจากตื่นนอนมีอาการปวดศีรษะ
* สมาธิสั้น หงุดหงิด ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมไม่ได้

🕵️‍♀️🔎หรือสังเกตง่ายๆ เวลาที่ลูกหลับลองนั่งนับดูว่าใน 1 ชั่วโมง ลูกหยุดหายใจไปกี่ครั้ง ถ้าน้อยกว่า 5 ครั้งถือว่า “นอนกรน” แต่ถ้ามากกว่า 5 ครั้งถือว่ามีปัญหา ยิ่งเกิน 30 ครั้งต่อ 1 ชั่วโมง จะถือว่ารุนแรง โดยปกติถ้าเกิน 15 ครั้งต้องได้รับการรักษา ซึ่งการรักษาเบื้องต้นคือการทานยาและพ่นยาประมาณ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกว่ามีอาการนอนหลับหรือนอนกรนอย่างไร?... ถ้าสงสัยว่าอาจมีปัญหาหรือมีความผิดปกติ ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม หากปล่อยไว้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกตามมาภายหลังได้นะครับ...



Create Date : 05 ตุลาคม 2563
Last Update : 5 ตุลาคม 2563 9:48:36 น. 0 comments
Counter : 567 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com