ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ฮือฮา นักวิจัย ม.มหาสารคามค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก

 นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคามและทีมวิจัยจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องสุดเจ๋ง จัดแถลงการณ์ค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ของโลกกว่า 52 ชนิด และ 1 สกุล หลังทุ่มวิจัยกว่า 7 ปีระหว่าง พ.ศ. 2551-57 พบทั้งแมลงริ้นดำ ไรน้ำ ขิงชนิดใหม่ ไลเคนส์



       วันนี้ (9 ม.ค. 58) ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการจัดแถลงข่าวการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก โดยมีนายปัญญา ถนอมรอด นายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แถลงข่าวการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก

       ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ผศ.ดร.อุบล ตังควานิช มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค้นพบแมลงริ้นดำชนิดใหม่ของโลก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุคนธ์ทิพย์ เศวตนลินทล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบไรน้ำกลุ่มออสตราคอดชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ ร่วมกับอาจารย์ ดร.ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบหอยทากบกสปีชีส์ใหม่ของโลกคือ หอยทากภูพานเปลือกร่อง,



       ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล แสนสุข สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบพืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก, ดร.วรรณชัย ชาแท่น ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบชนิดพืชใหม่ของโลก เถากระไดลิง หรือเสี้ยวภูลังกา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญเรือน บุตรสาทร พาป้อง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบไลเคนส์ชนิดใหม่ของโลกจำนวน 44 ชนิด



       ทั้งนี้ นักวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทั้งภายในมหาวิทยาลัย และทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสภาวิจัยแห่งชาติ โดยได้ทุนการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2551-2557 จนค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกกว่า 52 ชนิด และ 1 สกุลดังกล่าว



       ด้าน รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ทรัพยากรชีวภาพเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศไทย การศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นการศึกษาวิจัยระดับพื้นฐานที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านต่างๆ ของทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ในอนาคต เช่น การพัฒนาสิ่งมีชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การสกัดสารสำคัญเพื่อประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ อาหาร



       รวมถึงการประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดงานแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและสังคมภายนอกได้รับทราบถึงความสำเร็จของนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่สามารถค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อไปในอนาคต 





Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2558 8:33:07 น. 1 comments
Counter : 1182 Pageviews.  

 
สวัสดียามค่ำครับ


โดย: **mp5** วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:20:57:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]