ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ต้องรู้! อันตรายจากการดื่ม ชาดำเย็น ที่มากเกินไป ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้!



ขณะนี้ ชา คือเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นอย่างมาก และชาที่ทุกคนดื่มกันมานานคงหนีไม่พ้น ชาดำเย็น ที่ไม่ว่าจะไปตามร้านอาหารแห่งไหนก็มีชาชนิดนี้ไว้คอยให้บริการ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการดื่มชามากเกินไปมันทำให้ไตวายได้เลยนะ!

ต้องรู้! อันตรายจากการดื่ม ชาดำเย็น ที่มากเกินไป ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้!

          โดยในเฟซบุ๊ค สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับโทษจากการดื่มชาดำเย็นที่มากจนเกินไปเอาไว้ ทั้งหมดระบุว่า รายงานจากวรสารทางการแพทย์ NEJM ฉบับล่าสุด ได้เล่าถึงเคสของผู้ป่วยรายหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ไปพบแพทย์เนื่องจากมีอาการที่เข้าได้กับไตวาย จากการตรวจของแพทย์พบว่าชายคนนี้เป็นไตวายจริง และจากการซักประวัติชายคนนี้ดื่มชาดำเย็นเป็นปริมาณมาก

ต้องรู้! อันตรายจากการดื่ม ชาดำเย็น ที่มากเกินไป ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้!

          แพทย์ได้ทำการเจาะไตของเขาก็พบกับ ผลึกออกซาเลต แทรกตัวตกผลึกอยู่ในเนื้อไต ทำให้สรุปได้ว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นโรคไตวายจากผลึกออกซาเลต แพทย์ได้หาความเป็นไปได้หาความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ร่างกายจะรับออกซาเลตเข้ามา ปรากฎว่าไม่เจอ จึงสรุปได้ว่าเกิดนิ่วออกซาเลตจากการดื่มชาดำเย็นที่มากเกินไป

          "ชา" เป็นเครื่องดื่มที่มีออกซาเลตมาก ประมาณได้ว่าใน 1 มิลลิลิตรของชาดำที่ชงออกมา จะมีออกซาเลต 0.5 - 1 มิลลิกรัม  ซึ่งปริมาณออกซาเลตที่คนเรากินไม่ควรเกินในแต่ละวันคือ 50 มิลลิกรัมต่อวัน 

ต้องรู้! อันตรายจากการดื่ม ชาดำเย็น ที่มากเกินไป ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้!

          อย่างไรก็ตามชายคนนี้ดื่มชาดำเย็นวันละประมาณ 16 แก้วต่อวัน เท่ากับว่าเขาได้รับออกซาเลตวันละมากกว่า 1500 มิลลิกรัม ถึงแม้ว่าบางงานวิจัยจะบอกว่าในชามีสารที่ช่วยป้องกันการเกิดนิ่วอยู่ แต่ดูเหมือนว่าชายคนนี้จะได้รับออกซาเลตมากเกินกว่าสารดังกล่าวจะป้องกันได้ จนทำให้เกิดไตวาย

          ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตจากออกซาเลตก็มีหลายสาเหตุ เช่น กินมะเฟืองเปรี้ยวมากไป กินผัก Rhubarb มากเกินไป กินวิตามินซีมาก กินน้ำน้อย หลายๆ ปัจจัยประกอบกัน

          ส่วนใครที่กลัวว่าชาดำเย็นจะก่อให้เกิดนิ่ว ก็ไม่ควรดื่มชาดำเย็นมากเกินไปเหมือนชายคนนี้ อะไรที่มากไปมันก็ไม่ดี ควรเดินทางสายกลาง และที่สำคัญในเครื่องดื่มประเภทนี้ยังมีน้ำตาลมากซึ่งก็ให้เกิดอันตรายต่อรางกายได้เช่นกัน

 ขอบคุณรูปภาพจาก medicaldaily.com

ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

//www.clipmass.com/story/96734




Create Date : 05 เมษายน 2558
Last Update : 5 เมษายน 2558 22:56:35 น. 0 comments
Counter : 3051 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]