All Blog
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้นมเพียงพอกับความต้องการ

ปัญหาจากคุณแม่ที่สงสัยว่า ทำอย่างไรแม่จึงจะมีน้ำนมในปริมาณที่มากพอสำหรับลูก และจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้นมเพียงพอกับความต้องการ
ตามปกตินั้น ทารกแรกคลอดจะมีช่วงระยะเวลาที่ตื่นตัวเต็มที่ประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนที่จะหลับไป ฉะนั้นในช่วงเงลาหลังคลอดทันทีนี้ ถ้าได้นำทารกมาให้เริ่มดูดนมแม่ จากการที่ทารกได้ดื่มนมนี้ จะทำให้เกิดมีกระแสประสาทส่งไปยังต่อมใต้สมองของแม่ให้หลั่งฮอร์โมนสองชนิด
ชนิดหนึ่ง เป็น ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม และกระตุ้นให้เต้านมหลั่งน้ำนมออกมาโดยที่เด็กไม่ได้ดูดนม สังเกตได้จากเมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่ง เต้านมอีกข้างหนึ่งจะมีน้ำนมไหลออกมาด้วย
ฮอร์โมนนี้จะมีระดับคงที่ ถ้าน้ำนมที่สร้างแล้วถูกนำไปใช้หมดคือ ถ้าเด็กยิ่งดูดนมมากจนปริมาณน้ำนมในเต้านมของแม่ลดลง ก็จะมีฮอร์โมนเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ฮอร์โมนนี้จะมีระดับลดลงถ้าคุณแม่ได้รับยาบางอย่าง อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออารมณ์ไม่ดี วิตกกังวลและเครียด เมื่อฮอร์โมนลดลงเต้านมก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ผลิตนมเหมือนเดิม ทำให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดลง ฉะนั้นคุณแม่ที่ได้พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหารหรือวิตกกังวลก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยลง
ฮอร์โมนอีกตัวหนึ่งจะช่วยให้มีการหลั่งน้ำนม เมื่อเต้านมได้รับการกระตุ้นจากการที่ลูกดูดนม ฉะนั้นฮอร์โมนตัวนี้จะเพิ่มขึ้น เมื่อเด็กดูดนมบ่อยๆ ทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้น ฮอร์โมนตัวนี้จะมีปริมาณลดลง เมื่อคุณแม่อ่อนเพลีย มีความเจ็บปวด (จากบาดแผลการคลอด) มีผลให้เต้านมผลิตน้ำนมได้ลดลง ในขณะเดียวกันฮอร์โมนตัวนี้ยังมีส่วนทำให้มดลูกบีบรัดตัวมากขึ้น ทำให้มดลูกขับน้ำคาวปลาออกได้ดีขึ้น และขนาดมดลูกก็หดตัวเล็กลงไปสู่ขนาดมดลูกปกติก่อนตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้น ฉะนั้นคุณแม่ให้ลูกดื่มนมบ่อยๆ ก็จะทำให้ปริมาณฮอร์โมนนี้เพิ่มมากขึ้น และส่งผลดีถึงตัวคุณแม่เองด้วย
ในช่วงแรกเกิด ๗-๑๐ วันแรก ถึงแม้ว่าเต้านมของคุณแม่จะผลิตน้ำนมได้ไม่มากนัก แต่ก็พอเพียงสำหรับทารกเกิดใหม่ เพราะในช่วงนี้ความต้องการน้ำนมของเด็กทารกยังมีน้อย ฉะนั้นถึงแม่ว่าในระยะแรกๆ น้ำนมแม่อาจยังไม่ค่อนไหลหรือเมื่อลูกดูดนมข้างหนึ่งแล้วจะไม่มีน้ำนมไหลออกจากอีกข้าหนึ่ง คุณแม่ไม่ต้องตกใจว่าลูกได้รับนมน้อยไป
น้ำนมแม่ในช่วง ๑-๓ วันแรกมักจะมีลักษณะใสๆ มีสีเหลือง ไม่มีลักษณะขาวข้นเหมือนนมโดยทั่วไป ทำให้คุณแม่บางคนคิดว่านมของตัวเองขาดคุณค่าทางโภชนาการสำหรับลูก ที่จริงแล้ว น้ำนมใสๆ เหลืองๆ ในช่วง ๑-๓ วันแรกนี้คือ "หัวน้ำนม" เปรียบเสมือนหัวกระทิ นั่นคือ เป็นน้ำนมที่มีความเข้มของโปรตีนและสารประกอบที่เป็นภูมิต้านทานโรคในปริมาณที่น้อยกว่านมธรรมดา แต่มีคุณค่าทางโภชนาการและการป้องกันโรคสูงกว่าน้ำนมในวันต่อมา
หัวน้ำนมนี้ ยังมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับขี้เทา ซึ่งเกิดจากการที่ทารกกลืนน้ำคร่ำในครรภ์มารดาเข้าไปในขณะอยู่ในท้อง ฉะนั้นการที่ทารกดูดนมแม่ อาจจะถ่ายขี้เทาบ่อยกว่าทารกที่ดูดนมผสม (นมวัว) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบการขับถ่ายของทารกด้วย
เมื่อหลังคลอดได้ ๓-๔ วัน เต้านมก็จะผลิตน้ำนมธรรมดาที่มีสีขาวข้นและมีปริมาณมากขึ้น จนเพียงพอแก่ความต้องการของทารก เพราะเมื่อทารกหิวก็จะดูดนมที่ที่ผลิตได้หมด เมื่อหมด จะมีการกระตุ้นที่ต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น เพื่อผลิตน้ำนมให้เพิ่มขึ้น
ดังนั้นเมื่อคุณแม่ให้ลูกดูดนม ควรให้ดูดนมทั้งสองข้างโดยเริ่มจากข้างหนึ่ง เช่น ข้างซ้าย ๗-๑๐ นาที เมื่อทารกหยุดพัก ก็เปลี่ยนให้มาดูดทางขวาจนทารกเลิกดูด หลังดูดนมแล้ว อุ้มพาดบ่าให้เรอลมออกมา เพื่อป้องกันการสำรอกหรือท้องอืด และยังทำให้ทารกนอนหลับ ในคราวต่อไป เมื่อลูกร้องจะดื่มนม ให้เริ่มดูดจากทางขวาก่อน แลวจึงสลับไปข้างซ้ายจนอิ่ม ทั้งนี้ เพื่อให้ทารกดูดนมให้หมดทั้ง ๒ ข้าง ร่างกายของคุณแม่จะได้ผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เพื่อจะไปควบคุมให้เต้านมหลั่งน้ำนมให้เพียงพอ เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่ที่เพียงพอกับความต้องการของร่างการ เพื่อจะได้เติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป
การที่คุณแม่จะทราบว่า ลูกได้รับน้ำนมเพียงพอหรือไม่นั้น สังเกตได้ง่ายๆคือ
1. ลูกนอนหลับสบาย และตื่นขึ้นมาเพื่อดูดนมอีกในช่วงเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมงครึ่ง ถึง ๓ ชั่วโมง หรือดูดนม ๘-๑๒ ครั้ง ใน ๑ วัน (๒๔ ชั่วโมง)
2. คุณแม่รู้สึกว่าเต้านมคัดตึงในช่วงก่อนจะให้นม และรู้สึกเต้านมหายคัด ภายหลังลูกดูดนม
3. มีน้ำนมไหลจากเต้านมข้างที่ลูกไม่ได้ดูด
4. ได้ยินเสียงเด็กกลืนนม
5. เด็กฉี่เปียกผ้าอ้อม อย่างน้อยวันละ ๖-๘ ครั้ง
6. เด็กที่ดูดนมมักจะถ่ายอุจจาระประมาณ ๔-๖ ครั้งต่อวัน
7. สังเกตว่าลูกมีผิงพรรณเต่งตึงขึ้นและ ตัวโตขึ้น
คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ควรรับประทานอาหารให้มากขึ้นกว่าเดิม ประมาณวันละ ๓๐๐ กิโลแคลอรี่ ดื่มน้ำและเครื่องดื่มบำรุงร่างกายเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ ๖-๘ แก้ว ทั้งนี้เเพราะร่างกายคุณแม่ต้องการสารอาหารและน้ำไปผลิตน้ำนมให้ลูก และคุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ทุกวัน
ตัวอย่างอาหารสำหรับคุณแม่ที่ให้ลูดูดนม เพื่อให้ตุณแม่แข็งแรง และมีน้ำนมเพียงพอเลี้ยงลูกให้อิ่ม ควรประกอบด้วย
• โปรตีน เช่นเนื้อสัตว์ต่างๆ ประมาณ ๒๐๐ กรัม ไข่ ๑ ฟอง
• แป้ง ข้าว วันละ ๓-๔ ถ้วย
• ผัก ปริมาณไม่จำกัด หรือ วันละ ๑ ถ้วย
• ผลไม้ ปริมาณไม่จำกัด หรือ ส้ม กล้วย วันละ ๑-๒ ผล
• ไขมัน วันละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ
• เครื่องดื่ม เช่น น้ำสะอาด ๖-๘ แก้ว
• น้ำผลไม้ ๑ แก้ว
• น้ำแกง น้ำซุป
• น้ำเต้าหู้ ๑-๒ แก้ว
• นม ๒ แก้ว
คุณแม่ควรได้พักผ่อน เพื่อพักฟื้นจากการคลอด ได้นอนหลับมากขึ้น และควรมีคุณพ่อคอยช่วยเลี้ยงลูก และเป็นผู้คอยดูแลให้กำลังใจ หรือมีญาติพี่น้อง และคนช่วยเหลือแบ่งเบางานบ้าน ทำให้คุณแม่สบายใจ คลายเครียด และคลายความกังวลใจจากการเลี้ยงลูก ก็จะทำให้คุณแม่หลั่งน้ำนมได้มาก พอกับความต้องการของลูก ทำให้ลูกโตวันโตคืน และมีสุขภารแข็งแรง เนื่องจากได้รับอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก (คือน้ำนมแม่) ในปริมาณที่มากพอแก่ความต้องการของร่างกาย



Create Date : 27 มิถุนายน 2554
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 12:07:34 น.
Counter : 479 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

มนแพรวา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]