คิดถึงเพื่อนๆทุกคนนะคะ No Tag still..! Please..
พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา



ก่อนอื่น...
ต้องขอเล่าที่มา ของหนังสืออันทรงคุณค่าเล่มนี้
ให้เพื่อนๆฟังกันก่อนค่ะ ว่ามีที่มายังไง...

บ่ายแก่ๆวันนึง
ที่ตลาดนัดเล็กๆริมชานเมืองปทุมธานี
จขบ ชอบเดินดู หาของแปลกๆ และราคาถูก
โดยมากก็จะเป็นของแต่งบ้านหรือหนังสือ
วันนั้นเลือกได้หนังสือธรรมมะมาสามเล่ม
เป็นของดังตฤณหนึ่ง
ของพระมหาสมปองหนึ่ง
และเล่มเล็กบางๆ
ที่พอเห็นปุ๊บ รีบคว้าขึ้นมาดูใกล้ๆ
แล้วก็ถือไว้ไม่ปล่อยเลยอีกเล่มหนึ่ง
คนขายคิดแค่๒เล่ม
ส่วนเล่มเล็กนั้นเค้าแถมให้ค่ะ
น่าสนใจที่สุด คือหนังสือเล่มเล็ก
ที่ทำเอามือไม้สั่น ใจไหวๆ เนื้อเต้น
ด้วยความอยากเปิดดูให้ทั่ว
อยากถึงบ้านไวๆจะได้มีเวลานั่งอ่าน
นั่งแปล ภาษาไทยที่ค่อนข้างโบราณ
ให้เป็นภาษาไทยที่คนโง่เขลาอย่าง จขบ ให้เข้าใจง่ายขึ้น "__"
เมื่อได้มีเวลานั่งอ่าน
แล้วก็รู้สึกขนลุกขนพอง
ด้วยสำเหนียกในคุณค่าทางประวัติศาสตร์
และความรู้ทางธรรม...
ปลาบปลื้ม ดีใจสุดๆ
รีบหาผ้าชุบน้ำสะอาด
มาบรรจงเช็ดหนังสือเล่มน้อยนั้นด้วยความทนุถนอม
เช็ดจนสะอาดหมดจด...
จน ดูเป็นหนังสือที่สภาพดีเยี่ยมที่สุดเล่มนึงเลย
เรารีบขึ้นนอนแต่หัวค่ำ
เพื่อที่จะได้มีเวลาอ่านหนังสือเล่มนี้
ก่อนที่จะง่วงเกินไป
ยิ่งอ่านก็ยิ่งทึ่ง
ในสิ่งที่มนุษย์ผู้มืดบอดอย่างเรา
ได้รับจากเนื้อความในหนังสือนั้น
เป็นสิ่งที่ปุถุชนธรรมดาคิดไม่ถึงเลยทีเดียว

ต้องอัพบล็อก ๆ ๆ ๆ
ให้เำพื่อนๆได้อ่านบ้าง
รีบเปิดดูหนังสือเล่มนั้นให้ละเอียดทุกซอกทุกมุม
เพื่อ...หาข้อห้าม...
หาคำว่าสงวนลิขสิทธ์
หรือหาคำว่าอะไรก็ได้
ที่จะบอกเราว่าห้ามพิมพ์เผยแพร่
ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ก็ไม่เห็นมีเลย...
ดังนั้นแทบจะทุกคำทุกข้อความในบล็อกนี้
จักได้คัดลอกมาตามต้นฉบับ
คือหนังสือเล่มที่ได้มา
เพื่อที่จะได้คงไว้ซึ่งคุณค่าในทางภาษาไทยโบราณ
และด้วยปัญญาอันตื้นเขิน
จึงไม่สามารถตัดทอนสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกไปได้
โดยมิให้ความหมาย อรรถรส ในการอ่านยังคงอยู่ได้

วัตถุประสงค์อีกอย่างก็คือ
เราได้เก็บหนังสือที่มีคุณค่า
อันประเมินมิได้เอาไว้อ่านเอง
เอาไว้ให้ลูกหลานญาติพี่น้องอ่าน
เอาไว้ให้ผู้ฝักใฝ่ในธรรม
และถือปฏิบัติได้เข้ามาเก็บเกี่ยว
ได้อย่างมากมายมหาศาล
และตราบนานเท่าที่
เรายังมีพลังงานไฟฟ้าใช้กันอยู่

จึงขอ
กราบเรียนท่านเจ้าของต้นฉบับ
กราบขออนุญาติ
นำบทความในหนังสือ
มาเก็บไว้ตรงนี้ด้วยเจ้าค่ะ
โมทนาสาธุ

และขอแบ่งพิมพ์เป็นตอนๆ ละหนึ่งข้อ
เพราะเหตุว่า มิบังอาจตัดทอนให้สั้น
และเพื่อจะได้มีเวลาพักสายตา และทบทวน




คำปรารภ และ ถ้อยแถลง(อย่างย่อ)
เป็นหนังสือที่ทางคณะศิษยานุศิษย์
พิมพ์ถวายหลวงพ่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
เจริญชนมายุ ๙๗ ปี
ในวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
โดยพระเมธีธรรมาจารย์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสและเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิด
ได้ตอบสนองความต้องการของหลวงพ่อ
ที่จะจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง
"พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา"

โดยได้อาศัยอาจารย์หลง หาวารี
ในฐานะเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ
ได้พยายามหาต้นฉบับมาให้
จึงได้นำไปจัดพิมพ์
ตามความประสงค์ของหลวงพ่อ
เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวที
และเพื่อเป็นการสักการบูชา
พระคุณหลวงพ่ออันเป็นที่เคารพรัก
และเพื่อที่หลวงพ่อจะได้แจก
เป็นธรรมบรรณาการแก่ศิษยานุศิษย์
และผู้ที่เคารพนับถือที่ได้เกียรติ
มาถวายมุทิตาสักการะในครั้งนั้น
จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
และเพื่อเป็นการเพิ่มพูนสติปัญญา
ยังศรัทธาปสาทะให้ยึดมั่นในพระรัตนตรัย
ทำให้จิตใจ สะอาด สว่าง สงบ
พบแสงแห่งธรรมในการปฏิบัติ
และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ให้สิ้นไป

เรื่องอัฏฐธรรมปัญหานี้
สมเด็จพระเพทราชา
ซึ่งได้เสวยราชสมบัติ
ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา
ต่อจากรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้ทรงดำรัสถามอัฏฐธรรมปัญหาแก่
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
วัดพุทไธสวรรค์
เมื่อ วันอังคาร ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘
ปีมะเมียโทศกจุลศักราช ๑๐๕๒(พ.ศ. ๒๒๓๓)
แลสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ได้ถวายวิสัชนาแก้ปัญหานั้น
เป็นเนื้อเรื่องโดยพิศดารฯ

ปัญหาที่สมเด็จพระเพทราชาทรงตรัสถามนั้น
มีทั้งหมด ๘ ข้อ ด้วยกันดังนี้

๑. ทางใหญ่อย่าได้เที่ยวจรฯ

๒. ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัดฯ

๓. หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหารฯ

๔. ไม้โก่งอย่าทำกงวานฯ

๕. ช้างสารอย่าผูกกลางเมืองฯ

๖. ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้นฯ

๗. ถ้าจะให้ล่มต้องบรรทุกแต่เบาฯ

๘. ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง ๔ เสียฯ


อัฏฐธรรมปัญหาเหล่านี้
ตามที่ปรากฏในคำวิสัชนา
จะเห็นได้ว่า
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ไม่เคยได้ยินมาก่อน
จึงสันนิษฐานได้ว่า
มิใช่เป็นปัญหาอันรู้จักกันแพร่หลายในครั้งนั้น
เช่นจะมีอยู่ในหนังสือเรื่องใดๆ เป็นต้น
หรือจะเป็นปัญหาที่ได้มาจากที่อืน
เช่นเมืองพม่า เขมร มอญ ลาว
ก็เหลือที่จะคาดคะเนได้ว่า
ปัญหาทั้ง ๘ ข้อนี้เดิมมาจากที่ใด

น่าจะเป็นไปได้ว่า
เป็นทำนองพระราชนิพนธ์
ของสมเด็จพระเพทราชาเอง
เพราะถ้าเป็นของผู้อื่นเรียบเรียงถวาย
เห็นจะคงไม่กล้าใช้โวหารเช่นนั้น
ถ้าเป็นจริงอย่างนั้นแล้ว
ผู้อ่านก็จักได้ชื่อว่า
ได้อ่านพระราชนิพนธ์
ของสมเด็จพระเพทราชาเป็นครั้งแรก
ควรจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
องค์นี้จะเห็นได้ในคำอาราธนาว่า
สมเด็จพระเพทราชาทรงเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง
ถึงกับยกย่องว่าเป็นอาจารย์ทีเดียว
และน่าจะเป็นองค์เดียวกันกับ
อาจารย์ของเจ้าฟ้าตรัสน้อย
พระราชโอรสของสมเด็จพระเพทราชา
ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพงศาวดาร
กล่าวว่าเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฏก
คัมภีร์เลขยันต์
คาถาอาคมสรรพวิทยาคุณต่างๆเป็นอันมาก

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์องค์นี้
อยู่วัดพุทไธสวรรค์
กุฏิที่ท่านอยู่เป็นตำหนัก
มีภาพจิตรกรรมฝาผนังข้างใน
เห็นจะเป็นของสมเด็จพระเพทราชา
ทรงสร้างพระราชทาน
ปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ฯ

ส่วนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร
ในวโรกาสที่เจริญด้วยชนมายุและสมณศักดิ์
คือมีชนมายุ ๙๔ ปี
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
ทรงกรุณาโปรดเกล้า
พระราชทานสถาปนาเป็น
สมเด็จพระราชาคณะที่
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ซึ่งมีพระนามเดียวกันกับ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
องค์ที่ถวายวิสัชนาแก้อัฏฐธรรมปัญหา
ถวายสมเด็จพระเพทราชา
กษัตริย์ผู้ครองกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา

หนังสืออัฏฐธรรมปัญหานี้
มีต้นฉบับหลวง
อยู่ในหอพระมณเฑียรธรรม
และที่หอสมุดวชิรญาณ
เห็นว่าเป็นหนังสือที่เก่า
และเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ
ใคร่ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์
จึงได้นำมาพิมพ์ไว้มิให้สาปสูญไป
แต่ต้องขออภัยต่อท่านผู้อ่านไว้ด้วย
เพราะหนังสืออัฏฐธรรมปัญหานี้
ได้พิมพ์ตามต้นฉบับ
ของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยา
ฉบับพิมพ์ครั้งที่๒
ร.ศ.๑๓๑(พ.ศ. ๒๑๕๕)
ทั้งอักขระวิธี และทั้งบาลีปกรณ์
ซึ่งจะไม่ถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์และวิชาการนัก
แต่ก็พอได้ใจความ
จึงขออนุรักษ์
ตามหนังสือจดหมายเหตุกรุงศรีอยธยาเอาไว้
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาฯ

พระเมธีธรรมาจารย์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม
ผู้ดำเนินการจัดพิมพ์



จบตอนที่หนึ่ง
ผู้ที่สนใจกรุณาติดตามได้นะคะ
จขบ จะพยายามพิมพ์ต่อให้เร็วที่สุดค่ะ



Create Date : 22 กันยายน 2553
Last Update : 26 กันยายน 2553 7:50:07 น. 2 comments
Counter : 1307 Pageviews.

 

แหล่มเลยค่ะคุณจันทร์
อุ้มเฝ้ารออ่านตอนที่ 2 ต่อไปค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:22:46:10 น.  

 
ไม่เจอกันนานเกือบปีเลยนะขอรับ

ความจริงก็วนอยู่แถวๆนี้

ไม่ค่อยยักจะเจอท่านกลางทาง

เปลี่ยนแนวไม้ดอกไม้ประดับ

มาหันธรรมะเข้าพรรษาเหมือนกันเหรอคับ

ประวัติศาสตร์พระเพท
คอ่นข้างจะปิดประเทศ

และสถาปนาอำนาจราชวงศ์กลับคืน

สิ่งที่อ่านต้องประกอบบริบทพอสมควรเหมือนกัน


โดย: Mr.Chanpanakrit วันที่: 23 กันยายน 2553 เวลา:23:01:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จันทร์ไพลิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




********
********


ขอขอบคุณcodeและรูปสวยๆ
กรอบและlineน่ารักมากมาย
จาก
คุณ Kungguenter,
คุณLosocat,
คุณยายกุ๊กไก่,
และป้าเก๋า ชมพรค่ะ

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จันทร์ไพลิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.