คิดถึงเพื่อนๆทุกคนนะคะ No Tag still..! Please..
พระราชปุชฉาของสมเด็จพระเพทราชา ข้อที่ ๓


ขอโมทนาสาธุ
ให้แก่ผู้ที่สนใจแลฝักใฝ่ในธรรม
ให้อานิสสงส์ในการอ่านธรรม
ท่วมท้นเติมเต็มทันตา
แลให้ถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
นิพพานปัจจโยโหตุฯ





๓) อาตมภาพขอถวายวิสัชนา
ตติยปัณหาปฤษณาคำรบสาม
ว่า หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร นั้น
ชื่อหลวงเจ้าวัดนั้นคือ จิตรอันชื่อวิญญาณขันธ์
อันเปนประธานแก่เจตสิกทั้งปวง
อันชื่อ เวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์นั้นแล
เหตูว่าพระบาฬี ดังนี้ฯ
มหากัส์สปเถรปมุขปัญจสตา ภิก์ขูฯ
อันว่าภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐
มีพระมหากัสสปเถรเปนประธาน
อันนี้เปนอุประมา มโนปุพ์พํ คมา ธัม์มา
อันว่าอรูปธรรมทั้งหลาย
คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เปนประธานอันเปนอุประไมย



อธิบายว่าดังนี้
อันว่าหลวงเจ้าวัดนั้น
เปนประธานแก่ภิกษุทั้งหลาย
อันเปนลูกวัดแลมีดุจใด
อันว่าจืตรก็เปนประธาน
แก่จิตรทั้งหลายก็มีดุจนั้น
เหตุดังนั้นจึงว่า หลวงเจ้าวัดนั้น
คือจิตรอันชื่อว่า วิญญาณขันธ์
แลเปนประธานแก่เจตสิกทั้งหลาย
อันชื่อว่าเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์นั้นแล
ซึ่งว่าอย่าให้อาหารนั้น
คืออย่าให้จิตรยินดีต่ิอาหาร ๔ ประการ

คือ
กวฬึการาหารนั้น ๑
ผัสสาหาร ๑
มโนสัญญเจตนาหาร ๑
วิญญาณาหาร ๑

อันว่ากวฬึการาหารนั้น
นำมาซึ่งรูปมีโอชาเปนคำรบ ๘
อันว่าผัสสาหารนั้น
นำมาซึ่งเวทนาทั้งสาม
อันว่ามโนสัญญเจตนาหารนั้น
นำมาซึ่งปฏิสนธิในภพทั้งสาม
อันว่าวิญญาณาหารนั้น
นำมาซึ่งนามแลรูป




เหตุดังนั้น ธรรมทั้ง ๔ ประการ
นี้จึงได้ชื่อว่าอาหาร
ซึ่งว่าอย่าให้จิตรยินดี
ในอาหารนั้นเปนเหตุดังฤๅ
เหตุว่าอาหารทั้งสี่ประการนั้น
กอประด้วยไภย ๔ ประการ คือ
นิกันติกไภย ๑
อุปคมนไภย ๑
อุปปัติไภย ๑
ปฏิสนธิไภย ๑




อันว่าปวฬึการาหารนั้น
กอประด้วยนิกันติกไภยคือ รศตัณหา
เหตุว่าสัตว์ทั้งหลายมีอาทิ คือ เนื้อแลปลา
อันหลงด้วยรศตัณหา
ก็ถึงไภยฉิบหายเปนอันมาก ปการหนึ่ง
แม้นมนุษย์แลบรรพชิตแล้วก็ดี
ครั้นยินดีในรศตัณหาก็ย่อมถึงซึ่งไภย
อันจะเปนอันตราย
แก่พรหมจรรย์ก็มีเปนอันมาก
แม้นบรรพชิต
อันเปนปัจฉิมภวิกชาตินั้นก็ดี
ครั้นยินดีต่อรศตัณหา
ก็ย่อมบังเกิดไภย
ดุจพระสุนทรเถร
อันนางแพศยาตกแต่งโภชนาหาร
อันประดิษแลนิมนต์
ให้เข้าไปฉันแต่ในศาลา
อันเปนที่ชุมนุมภายนอกนั้นแล้ว
ก็นิมนต์ให้ไปฉันถึงหอนั่ง
แล้วก็นิมนต์ให้เข้าไปฉันถึงในเรือน
แล้วก็นิมนต์ให้ขึ้นไปฉันบนปราสาท ๗ ชั้น
พระมหาเถรนั้นได้บริโภค
อาหารอันประดิษแล้วนั้น
ก็ยินดีด้วยรศตัณหา
ก็ไปตามใจแห่งแพศยาผู้นั้น
แพศยานั้นจะให้ไปนั่งฉันที่ใด
ก็ไปนั่งฉันในที่นั้น
เหตุยินดีด้วยรศตัณหา



ครั้นขึ้นไปนั่งฉันในปราสาท ๗ ชั้นนั้น
แพศยานั้นหับประตูไว้แล้ว
ก็เล้าโลมด้วยมารยาสตรีอันมีประการต่างๆ
เพื่อจะให้เปนคฤหัสถ์แลจะให้บริโภคกามคุณ
พระมหาเถรนั้น มีสมภารบริบูรณ์แล้ว
ก็มิได้ยินดีในกามคุณนั้น
ก็บังเกิดธรรมสังเวช
ก็ลุถึงอรหรรต์แล้วก็เหาะหนีไปในอากาศ
ก็พ้นจากแพศยานั้น



ถ้าแม้ยังมิถึงปัจฉิมภวิกชาติ
แลสมภารยังไม่บริบูรณ์
ก็จะถึงซึ่งไภยอันตรายพรหมจรรย์
ด้วยแพศยาผู้นั้นแล
เหตุดังนั้นบุคคลผู้มีปัญญา
ปรารถนาพ้นจากสงสาร
แลจะเอานฤพานให้ได้นั้น
แม้นบริโภคโภชนาหารอันประณีตนั้นก็ดี
อย่าพึงยินดีในรศตัณหาบังเกิด
ก็พึงบริโภคด้วยปัญญาอันพิจารณา
ซึ่งอุประมาดุจบุคคลสองคน
อันเปนสามีภิริยาเดินไปในทางอันกันดาร
ขาดอาหารจะสิ้นชีวิตรนั้น
ก็กินเนื้อกุมารผู้บุตรนั้น
และมิได้ยินดีต่อรศตัณหาในเนื้อบุตรนั้น
แลกินเนื้อบุตรนั้นแต่เพื่อจะรักษาชีวิตร
แลมีอุประมาดุจใด



อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
จะปรารถนาให้พ้นจากสงสาร
แลจะได้ถึงนฤพานโดยพลัน
ก็พึงบิโภคอาหารแต่เพื่อจะรักษาชีวิตร
แลจะเจริญภาวนาให้ได้
วิปัสสนาปัญญาสิบประการ
แลมรรคญาณผลญาณ
อันจักกระทำนฤพานให้แจ้งนั้น
และอย่าให้บังเกิดความยินดีด้วยรศตัณหา
ดุจคนทั้งสองอันกินเนื้อบุตรนั้นเถิดฯ




อันว่าผัสสาหารนั้น
กอประด้วยอุปคมนไภย
คือสภาวะแห่งอารมณ์ทั้ง ๖
คือรูปารมณ์อันมาถูกต้องจักษุทวารนั้นก็ดี
คือสัททารมณ์อันมาถูกต้องโสตทวารนั้นก็ดี
คือคันธารมณ์อันมาถูกต้องฆานทวารนั้นก็ดี
คือรสารมณือันมาถูกต้องชิวหาทวารนั้นก็ดี
คือโผฏฐัพพารมณ์อันมาถูกต้องกายทวารนั้นก็ดี
คือธรรมารมณ์อันมาถูกต้องมโนทวารนั้นก็ดี
อารมณ์ทั้ง ๖ นี้
ถ้าเปนอนิฏฐารมณ์อันชั่ว อันถ่อย
อันมิถูกถึงพึงใจ
แลมาถูกต้องทวารทั้ง ๖ นั้นก็ดี
โทมนัสเวทนาก็บังเกิด
แลโทมนัสเวทนานั้นให้คับแค้น
เสียบแทงจิตรนั้นให้ลำบาก
ดุจปืนอันกำทราบอันชุบด้วยยาพิษ
แลมาถูกต้องเสียบแทงในหทัยวัตถุฉนั้น
ก็เปนอันลำบากยิ่งหนักหนา
ก็ไหลลงไปในผัสสาหารอันถูกต้องทุกข์นั้น
ก็ถึงไภยอันมิได้เปนประโยชน์
ในอิธโลกแลปรโลกนั้น
ถ้าแลอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น
เปนอิฏฐารมณ์อันงามอันดี
เปนที่ถูกเนื้อพึงใจ
แลมาถูกทวารทั้ง ๖ นั้น
โสมนัสเวทนาก็บังเกิด
แลโสมนัสเวทนานั้น
ก็ยังจิตรให้ลำบากด้วยสภาวกำหนัด
ยินดีในผัสสาหารอันถูกต้องอารมณ์นั้น
ก็หลงไปในผัสสาหารอันถูกต้องศุขนั้น
ก็ถึงซึ่งไภยอันมิได้เปนประโยชน์
ในอิธโลกแลปรโลกนั้นแล
ถ้าแลอารมณ์ทั้ง ๖ นั้น
เปนมัชฌตารมณ์บมิชั่วบมิดี
และมาถูกต้องทวารทั้ง ๖ นั้น
อุเบกขาเวทนาก็บังเกิด
แลอุเบกขาเวทนานั้นมิได้ตั้งอยู่นาน
ดุจทุกขเวทนาแลศุขเวทนานั้น
อุเบกขาเวทนานั้น
ก็บังเกิดบัดเดี๋ยวแล้วก็ดับไป



อันว่าสัตว์ทั้งหลายหมู่ใด
อันยินดีในผัสสาหาร
อันว่าสัตว์ทั้งหลายหมู่นั้น
มิได้พ้นจากสังสารทุกข์
เหตุว่าผัสโสนั้นเปนปัจจัยเวทนา
เวทนาเปนปัจจัยแก่ตัณหา
ตัณหาเปนปัจจัยแก่อุปาทาน
อุปาทานเปนปัจจัยแก่ภวะ
ภวะเปนปัจจัยแก่ชาติ
ชาติเปนปัจจัยแก่
ชรามรณดสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
ก็บังเกิดเปนกองทุกข์อยู่ในสงสาร
เหตุยินดีต่อผัสสาหารนั้นแล

อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
อันจะปรารถนาพ้นจากสงสาร
แลจะใคร่ได้นฤพานจงฉับพลัน
ก็อย่าพึงยินดีต่อ
ผัสสาหารในทวารทั้ง ๖ นั้น



ดุจแม่ไก่หาหนังมิได้นั้น
แลแม่ไก่จะไปในสถานที่ใดๆ
สัตว์ทั้งหลายจะจิกทึ้งกัด
เอาเนื้อกินเปนอาหารในสถานที่นั้นๆ
แม่ไก่อันหาหนังมิได้นั้น
ระวังระไวรักษาอาตมา
เหตุว่ากลัวแต่สัตว์ทั้งหลาย
จะมาจิกมาทึ้งอาตมานั้น
แลไม่ยินดีต่อสัตว์ทั้งหลาย
อันจะมาจิกทึ้งกัดนั้นแล มีดุจใด
อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
พึงระวังระไวรักษาทวารทั้ง ๖
อย่าพึงยินดีต่อผัสสาหารนั้น
แลพึงกลัวแต่ผัสสาหารนั้น
ดุจแม่ไก่อันหาหนังมิได้นั้น
แม้นอารมณ์มาถูกต้องทวารทั้ง ๖
แลเวทนาบังเกิดก็ดี
ก็พึงพิจารณาตามพุทธฏีกา
สมเด็จพระสรรเพ็ชพระพุทธเจ้า
ตรัสเทศนาไว้ดังนี้




อันว่านักปราชญ์ผู้ใด
แลเห็นซึ่งศุขเวทนานั้น
ว่าเปนวิปริณามธรรม
เหตุว่าศุขเวทนานั้น
ย่อมแปรเปนทุกข์เมื่อภายหลัง
แลเลงเห็นทุกขเวทนานั้นดุจปืน
อันกำทราบอาบด้วยยาพิษ
แลเลงเห็น อทุกขสมศุขเวทนา
อันรงับเปนศุขนั้นว่าบมิเที่ยง
นักปราชญ์ผู้นั้นชื่อว่า
เลงเห็นเปนอันชอบนักหนา
นักปราชญ์ได้ชื่อว่าภิกษุ
ก็ถึงซึ่งที่ใกล้นฤพานแล้วแล



อันว่ามโนสัญเจตนาหารนั้น
กอประด้วยอุปปัติไภย
อันจะชักไปให้บังเกิดในภพทั้ง ๓ คือ
กามภพ รูปภพ อรูปภพ
อันว่ามโนสัญเจตนาหาร
คืออปุญญาภิสังขารนั้น
ก็ชักไปให้บังเกิดในอุบายทั้ง ๔
อันว่ามโนสัญเจตนาหารอันเปน
กามาพจรบุญญาภิสังขาร
แลชักไปให้บังเกิดในกามสุติภพ
อันว่ามโนสัญเจตนาหาร
คืออรูปาพจรอเนญชาภิสังขาร
ก็ชักไปให้บังเกิดในอรูปภพนั้น
เหตุดังนั้นอันว่าบุคคลผู้ยินดี
ในมโนสัญเจตนาหาร
ก็จะเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในวัฏสงสาร
ก็จะได้ถวายชาติทุกข์ ชราทุกข์
พญาธิทุกข์ มรณทุกข์
โสกทุกข์ปริเทวทุกข์
โทมนัสทุกข์ อุปายาสทุกข์
อันเปนไภยอันยิ่งหนักหนา
เหตุว่ายินดีด้วย
มโนสัญเจตนาหารนั้นแล



อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
ปรารถนาจะพ้นจากสงสาร
แลจะให้ถึงนฤพานจงฉับพลัน
ก็พึงพิจารณาด้วยปัญญา
เลงเห็นภพทั้ง ๓
ดุจขุมเพลิงทั้ง ๓ ขุม เหตุว่า
ภพทั้งสามนั้น
เปนอันไหม้เดือดร้อนอยู่เปนนิจ
กาลด้วยเพลิง ๑๑ ประการคือ
ราคัคคี โทสัคคี โมหัคคี
ชาตัคคี ทุกขัคคี ชรัคคี
มรณัคคี โสกัคคี ปริเทวัคคี
โทมนัสสัคคี อุปายาสัคคี
เพลิง ๑๑ ประการนี้
เผาไหม้อยู่เปนนิจกาล
อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
พิจารณาเห็นแจ้งดังนี้แล้ว
และหน่ายยินร้าย
มิได้ยินดีต่อมโนสัญเจตนาหาร
นักปราชญ์ผู้นั้นก็จะทำ
ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์
จะถึงนฤพานอันอุดม
ในอาตมาภาพอันเปนปัจจุบันนี้แลฯ
อันว่าวิญญาณาหารนั้น
กอประด้วยปติสนธิไภย
เหตุว่าปติสนธิวิญญาณนั้น
ยังสัตว์ให้ไปในภพสงสาร
อันกอประด้วยทุกข์เวทนา
อันจะอดและอยาก
ดุจบุคคลอันเปนศัตรูแลข้าศึก
อันยังบุคคลให้หลงแล้ว
และประหารด้วยศาตราวุธนั้นแล
อันว่าบุคคลผู้ยินดีต่อวิญญาณาหาร
ก็จะต้องถูกต้องด้วยปติสนธิไภย
อันเปนทุกข์ลำบากอยู่ในวัฏสงสารสิ้นกาล
ช้านานยิ่งนักหนาแล




อันว่านักปราชญ์ผู้มีปัญญา
แลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า
วิญญาณาหารนำมาซึ่งปติสนธิไภย
อันเปนที่สะดุ้งตกใจกลัวยิ่งนักหนา
และกอประด้วยทุกข์เวทนามีประการต่างๆ
และนักปราชญ์ผู้มีปัญญานั้น
ก็หน่ายก็ยินร้ายมิได้ยินดี
ต่อวิญญาณาหารนั้น
นักปราชญ์ก็จะกระทำให้ถึงซึ่งที่สุดทุกข์
ก็จะถึงนฤพานอันอุดม
ในชาติเปนปัจจุบันนี้แล
อาตมาภาพขอถวายพระพร
ให้แจ้งในพระญาณ
ครั้นแลจิตรยินดีในอาหารทั้ง ๔ ประการ
ก็จะเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร
อันกอประด้วยทุกข์ดุจกล่าวมานี้
ครั้นแลมิให้จิตรยินดีต่ออาหารทั้ง ๔ ประการนี้
ก็จะพ้นจากสงสาร
ก็จะถึงนฤพานอันเปนศุขเที่ยงแท้
เหตุดังนั้นจึงว่า
อย่าให้จิตรยินดีต่ออาหารทั้ง ๔ ประการ
ดุจอย่าให้อาหารแก่หลวงเจ้าวัด
อันกล่าวในปฤษณานี้แล
อาตมาภาพขอถวายวิสัชนา
ด้วยพระธรรมเทศนานี้
เพื่อจะเปนต้นหนแลนายเข็มสำเภาเภตรา
คือพระบวรอาตมาพระองค์ผู้ประเสริฐ
วิสัชนาตติยปัณหาสำเร็จเท่านี้ก่อนแล




Create Date : 25 กันยายน 2553
Last Update : 28 กันยายน 2553 12:49:58 น. 3 comments
Counter : 487 Pageviews.

 


โดย: หน่อยอิง วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:21:29:08 น.  

 
สวัสดีค่ะ..

ภาษาทางธรรมะ..ต้องตั้งใจอ่านนะค่ะ

จะพยายามอ่านให้จบค่ะ..



เพิ่งทำรัดประคดเสร็จค่ะ

ต่อไปจะทำอาสนะสงฆ์ถวายเป็นกฐินค่ะ..



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:21:45:52 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แหล่มค่ะคุณจันทร์
ชอบ...............


โดย: อุ้มสี วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:22:38:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จันทร์ไพลิน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




********
********


ขอขอบคุณcodeและรูปสวยๆ
กรอบและlineน่ารักมากมาย
จาก
คุณ Kungguenter,
คุณLosocat,
คุณยายกุ๊กไก่,
และป้าเก๋า ชมพรค่ะ

Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จันทร์ไพลิน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.