"แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้"
Group Blog
 
All Blogs
 
กลลวงที่ 1 แสร้งทำเป็นรับ เมื่อคิดจะถอย

ลองพิจารณาดู กลลวงในการดำเนินการธุรกิจดูนะครับ แล้วลองนึกเปรียบเทียบกับกรณีการลงทุนในตลาดหุ้นดูครับ

"เราทุกคนก็เห็นกันอยู่แล้วนะครับ สินค้า Lot นี้ขายไม่ค่อยออกเลย จะทำอย่างไรดีนะ" เสียงประธานการประชุมดังขึ้นในที่ประชุม

"ผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ จากข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท เมื่อเดือนก่อนหน้านี้ มีแต่คนถามหาสินค้าชิ้นนี้ ทำไมมาวันนี้ ผู้คนพากันเลิกสนใจ ราวกับว่าไม่เคยมีการแย่งกันซื้ออย่างที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้" ผจก.ตลาด พูดด้วยสีหน้าที่ไม่เข้าใจอย่างจริงจัง

"อาทิตย์ที่แล้ว ผมก็ส่งคนไปสำรวจตลาดก่อนที่จะออกเสียงสนับสนุนให้นำเข้ามาเพิ่มนะครับ ยังพบว่า กระแสความนิยมในสินค้าตัวนี้ มีการตอบรับเป็นที่น่าพอใจทีเดียว" ผจก.ฝ่ายจัดหาสินค้า ให้การสนับสนุน

"นี่แหละครับ แผนระบายสินค้าของผู้ผลิต ผมเคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่งครับ หวังว่า เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ คงไม่เป็นอย่างที่ผมเคยประสพมานะครับ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น เราต้องใช้แผนตามน้ำก่อนที่บริษัทเราจะได้รับความเสียหายมากกว่านี้" ผจก.ฝ่ายวางแผน พูดด้วยเสียงอันราบเรียบ เหมือนไม่ได้ตระหนกใดๆ เหมือนที่หลายๆคนในห้องประชุมกำลังเป็น

"แผนระบายสินค้า และ แผนตามน้ำ อืม... คุณช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อยครับ คุณ...." ประธานการประชุม ขยับตัวด้วยท่าทีกระตือรือร้นและเต็มไปด้วยความสนใจ

ผจก.ฝ่ายวางแผน เลยสาธยายยืดยาวดังนี้ครับ

ครั้งหนึ่ง เคยมีสินค้าตัวหนึ่ง บูมมาก จนกระทั่งทุกคนถามหา เหมือนสินค้าตัวนี้ แต่ช่วงเวลาการบูม กินระยะเวลาอันสั้นมาก จนสายการผลิตในต่างประเทศของผู้ผลิตบางรายที่ก้าวเข้ามาทีหลังกำลังเข้าตาจน (ไม่คุ้มทุนในการจัดสายการผลิตสินค้า) จึงต้องออกแผนระบายสินค้ามา โดยกระพือข่าวการเตรียมการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยกว่าเดิมเกือบเท่าตัว แต่มีปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องนำไปใช้ควบคู่กับสินค้าเดิม และพยายามเน้นหัวข้อในเรื่อง เนื่องจากการผลิตสินค้าเดิมยังมีปัญหาไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของกำลังซื้อของผู้อุปโภค จึงต้องขอเลื่อนการวางตลาดสินค้าใหม่ไปประมาณ 2-3 เดือน และขอรับรองว่า ถึงแม้อีก 2-3 เดือนจะผลิตสินค้าเดิมไม่ทัน ก็จะหยุดการผลิตสินค้าเดิมชั่วคราวเมื่อถึงกำหนดเวลาต้องผลิตสินค้าใหม่ตามสัญญา เพื่อให้ผู้มีอุปการะเดิมได้ใช้สินค้าใหม่ที่นำมาใช้กับสินค้าเดิมได้โดยเร็ว หลังจากนั้น ก็จะเริ่มกลับมาทำการผลิตทั้งสินค้าเดิมและสินค้าใหม่ควบคู่กันต่อไป การประชาสัมพันธ์ครั้งนั้น ใช้งบประชาสัมพันธ์มากพอสมควร แต่ผลที่ได้คุ้มค่ามาก เนื่องจาก เมื่อผู้คนได้ยินข่าว ก็ถามหาจากผู้นำเข้า ทำให้ผู้นำเข้าหลายรายที่คิดว่าหมดรอบการขายสินค้านั้นแล้ว ได้รับกระแสเทียม ซึ่งบางส่วนเกิดจากการซื้อเทียม (บอกว่าจะซื้อถ้ามีสินค้าจำนวนมากตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นการสร้างกระแสความนิยมและปั่นราคาสินค้า) ซึ่งเป็นผลทำให้ ราคาสินค้าเดิมก็เริ่มขยับตัวสูงขึ้น จนทำให้ผู้นำเข้าทำการรีบเร่งสั่งสินค้าเดิมเข้ามา เพราะเกรงว่าจะขาดตลาดในช่วงที่จะมีการผลิตสินค้าใหม่ และหวังว่าจะได้กำไรงาม คล้ายๆกับสถานการณ์ที่เราเผชิญก่อนหน้านี้สักประมาณสองอาทิตย์

เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2 เดือน ทางบริษัทผู้ผลิตก็ออกมาให้ข่าวใหม่ว่า เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตสินค้าทั้งตัวเดิมและตัวใหม่ เกิดปัญหาขาดแคลน ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ราคาสินค้าใหม่ที่กำลังจะออกมา มีราคาแพงกว่าเดิมเกือบสองเท่าตัว แต่เนื่องจากมีการสั่งจองสินค้านั้นเข้ามามากพอสมควร(จริงๆก็คือการระบายสินค้าค้างสต๊อกในราคาดี) และไม่อยากให้เกิดปัญหา ขอให้ทางผู้สั่งจองทำการยืนยันราคากลับเข้ามา ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตจะทำการแบ่งเบาภาระให้โดยขายให้ในราคาทุน หรือขอให้รอจนกระทั่งวัตถุดิบ(ที่สมมุติขึ้นมา) เข้าสู่สภาวะปกติ ผลก็คือ ไม่มีการซื้อสินค้าเดิมอีกต่อไป เพราะแต่ละคนก็จะรอข่าววัตถุดิบกลับสู่สภาพปกติ (โดยไม่เคยมีการให้ข่าวอีกต่อไป จนเรื่องเงียบหายไปเอง) คงไม่ต้องบอกถึงผลเสียหายที่บริษัทนำเข้าได้รับนะครับ

กลับเข้ามาในเรื่องการลงทุนดีกว่าครับ นอกเรื่องไปพอควร เช่นกันครับ เมื่อต้องการระบายหุ้นที่ตนเองเก็บไว้ออกไป (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม) ก็ต้องพยายามสร้างข่าวดีออกมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นข่าวจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง ปัญหาคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าข่าวใดเป็นข่าวจริงหรือข่าวลือ หากจะต้องติดตามและวิเคราะห์ข่าว ไม่มีทางทันผู้ปล่อยข่าวอย่างแน่นอน ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยได้บ้างเล็กน้อยก็คือต้องสังเกตพฤติกรรมการซื้อขาย แต่ข้อจำกัดของรายย่อยอย่างหนึ่งก็คือ ณ.เวลาขณะใดขณะหนึ่ง รายย่อยจะไม่รู้ข้อมูลทั้งหมดอย่างที่รายใหญ่รู้ อันนี้เป็นกรรมอันเกิดจากที่ผู้ให้ข้อมูลที่ไม่มีใจเป็นธรรมพอ กรรมใดก่อไว้ ไม่ชาตินี้ ก็ชาติหน้า ได้สนองตอบกลับคืนอย่างแน่นอนครับ ผมเชื่อเช่นนั้น 5555

เอาละครับ ในเมื่อมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย ก็ขอให้จุดสังเกตเล็กๆน้อยต่อพฤติกรรมการซื้อขายที่เข้าข่ายในลักษณะ "แสร้งทำเป็นรับ เมื่อคิดจะถอย" ดังนี้ครับ

ให้สังเกตในช่อง Bid และ Offer ของราคา 3 ระดับที่รายย่อยได้รับรู้ดูนะครับ หากหุ้นใดมีข่าวดีๆออกมา ทั้งๆที่ราคาเต็มหรือเกินมูลค่าหุ้นมากเกินไปแล้ว หากจับสัญญานให้ดีในช่อง Bid ระดับ 2 และ 3 (บางทีก็โจ่งแจ้งแบบรวมระดับ 1 ด้วยนะครับ) จะเกิดปริมาณ Bid จำนวนมหาศาล ด้วยจำนวนรายเพียงไม่กี่ราย ในขณะที่ Vol มีค่อนข้างน้อย อันนี้ต้องอาศัยตาไวๆ หรือเครื่องมือพิเศษหน่อยนะครับถึงเห็นปริมาณการ Bid/จำนวนรายที่ค่อนข้างชัดเจน (ความถูกต้องประมาณ 90%) ตัวอย่างดังนี้นะครับ

ณ.เวลาเริ่มต้นสังเกต
ระดับ Vol Bid / Vol Offer
1 10000/1000
2 10000/1000
3 10000/1000

เมื่อเวลาผ่านไป 1 นาที
ระดับ Vol Bid / Vol Offer
1 20000/1000
2 1000000/1000 มีจำนวนรายที่ทำการ Bid เพียง 2-3 ราย
3 1000000/1000 มีจำนวนรายที่ทำการ Bid เพียง 2-3 ราย

เมื่อเวลาผ่านไปอีก 1 นาที
ระดับ Vol Bid / Vol Offer
1 20000/1000
2 5000000/1000 มีจำนวนรายที่ทำการ Bid เพียง 2-3 ราย
3 5000000/1000 มีจำนวนรายที่ทำการ Bid เพียง 2-3 ราย

ลักษณะเช่นนี้ เป็นการตั้งรับระดับ 2 และ 3 เพื่อให้ดูว่ามีกำลังซื้อต้องการรอซื้ออยู่สูงมาก ซึ่งผลทางจิตวิทยาทำให้คนที่อยากขาย ก็อาจเปลี่ยนใจไม่อยากขาย และผู้ที่คิดจะซื้อที่ราคาระดับ 2 และ 3 คิดว่าไปต่อแถวก็อาจไม่ได้ จึง Bid เพิ่มในระดับที่ 1 ซึ่งในขณะเดียวกัน ผู้ที่ตั้งใจทยอยปล่อยก็จะปล่อยที่ระดับ 1 ไปเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อย หากสังเกตเพิ่มในข้อมูลการซื้อขายจริงณ.ช่วงเวลาต่างๆ ก็จะเห็นว่า เกิดการซื้อขายที่ระดับหนึ่งระดับเดียวมากครั้ง ครั้งละเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นการทยอยขายนั่นเอง หากเกิดการพลิกล็อคมีคนเทขายที่ระดับ 2 (ซึ่งต้องเป็นรายใหญ่ฟากตรงข้าม ที่ไม่เคลียร์ทางกันก่อน) ก็มีโอกาสเจ็บตัวเหมือนกัน แต่ถ้าจังหวะตลาดดีๆ อาจลากขึ้นไปอีกเล็กๆน้อยเพื่อให้รายย่อยตาม แล้วทำแบบเดิมต่อไป ทั้งนี้ รายใหญ่หลายๆราย เขามีเครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมมากกว่าที่รายย่อยเราๆท่านๆใช้กันอยู่มากพอควรนะครับ โดยเฉพาะพวกโบรคทั้งหลาย แค่เห็นระดับการ Bid มากกว่า 3 ระดับก็ได้เปรียบเรามากแล้วครับ

ปล.ที่ผมนำมาเสนอให้เป็นจุดสังเกต ก็เพื่อย้ำเตือนให้พี่น้องผองเพื่อนนักลงทุนทั้งหลายลองสังเกตดูนะครับ ซึ่งอาจทำให้พอทราบคร่าวๆว่า ควรจะซื้อเมื่อใด และกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ตายตัวเสมอไป จุดตัดสินใจและความชัดเจนของพฤติกรรมจะอยู่ที่การซื้อขายในระดับที่ 1 และปริมาณซื้อขาย ณ.ช่วงเวลานั้น นะครับ และอีกประการคือ ผมนำเสนอเนื่องเพราะหวังไว้ลึกๆว่า จำนวนท่านที่ชอบ Day Trade บางส่วน อาจเปลี่ยนใจกลายเป็นนักลงทุนด้วยปัจจัยพื้นฐานธุรกิจของบริษัทที่ท่านสนใจลงทุนกันบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ

ปล.(ต่อ) โชคดีปีใหม่จีนด้วยครับ ขอให้รับทรัพย์กันถ้วนหน้านะครับ วันพรุ่งหรือวันศุกร์นี้ผมจะซื้อหุ้นหลายตัวเก็บเข้าพอร์ทครับ 55555

จากคุณ : ชอบอ่าน - [ 22 ม.ค. 47 00:18:07 A:210.86.137.86 X: ]


ขอบคุณค่ะ
^______^

มีข้อสงสัยดังนี้
จะดูได้ยังไงคะว่าbid ที่ตั้งไว้มีกี่ออร์เดอร์?

จากคุณ : อ-ริน - [ 22 ม.ค. 47 06:33:39 ]


ขอบคุณทุกๆท่านเช่นกันครับ

ตอบคุณ อ-รินครับ "จะดูได้ยังไงคะว่าbid ที่ตั้งไว้มีกี่ออร์เดอร์?"

หากเป็นรายใหญ่ เขามีข้อมูลตรงนี้อยู่แล้วครับ แต่หากเป็นรายย่อยต้องสังเกต อัตราการเปลี่ยนแปลงของ Volume ต่อช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปครับ (คล้ายๆกับอนุกรมเลขคณิตครับ) ถึงแม้ว่าหลายๆคนกำลัง Bid แต่การ Update ของ Volume ที่เปลี่ยนแปลงจะมีการปรับเปลี่ยนตามช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น หากสมมติให้ Volume ของ Bid มีการปรับเพิ่มจาก 100 เป็น 50000 ด้วยรูปแบบสองอย่างในช่วงเวลา 5 นาทีดังนี้ครับ (สมมุติให้ Bid เริ่มต้นเป็นศูนย์นะครับ)

รูปแบบที่ 1 มีการ ปรับจำนวน Volume ของ Bid เพิ่มขึ้นเรื่อยๆดังนี้

จำนวนเพิ่ม--------------------จำนวนรวม
1000--------------------------------1000
2000--------------------------------3000
4000--------------------------------7000
5000--------------------------------11000
6000--------------------------------17000
2500--------------------------------19500
2800--------------------------------22300
9000--------------------------------31300
4000--------------------------------34300
5700--------------------------------38000
5000--------------------------------43000
7000--------------------------------50000

รูปแบบที่ 2 มีการ ปรับจำนวน Volume ของ Bid เพิ่มขึ้นเรื่อยๆดังนี้
จำนวนเพิ่ม--------------------จำนวนรวม
10000-------------------------------10000
20000-------------------------------30000
20000-------------------------------50000

ทั้งนี้ต้องดูผลสรุปการจับคู่ซื้อขายด้วยนะครับ หากมีการหลุดการจับคู่ในระดับ 2 ในบางครั้ง จะเห็นลักษณะการจับคู่เป็นแบบ หนึ่งการขาย/หลายการซื้อ (One to Many) ที่ราคาระดับสองมากพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้ชัดขึ้นครับ

ปล. หากมีคำถามเพิ่ม ผมขอตอบกลับในช่วงอาทิตย์หน้านะครับ ต้องเตรียมตัวเดินทางแล้วครับ


จากคุณ : ชอบอ่าน - [ 22 ม.ค. 47 09:38:45 A:210.86.137.66 X: ]


Create Date : 02 สิงหาคม 2548
Last Update : 2 สิงหาคม 2548 13:24:16 น. 0 comments
Counter : 520 Pageviews.

หมากเขียว
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




สวัสดีครับทุกท่าน...ผมหมากเขียวแห่งสินธร...จาก Head of Prop Trade สู่ Private Trader อิสรภาพที่รอคอย



สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2553 โดย หมากเขียว™ ห้ามลอกเลียน ทำซ้ำ หรือคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่เขียนโดยข้าพเจ้านอกจากจะได้รับอนุญาต

Copyright © 2010.All rights reserved. These articles and photos may not be copied, printed or reproduced in any way without prior written permission of Mhakkeaw™.
Friends' blogs
[Add หมากเขียว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.