กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
การชะลอถ่านหินฉบับปลอม



บทความ โดย จริยา เสนพงศ์

การชะลอเพื่อผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนอุตสาหกรรมถ่านหินระลอกใหม่

จากเดิมการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่อยู่ภายใต้การจัดสรรของหน่วยงานด้านพลังงานของรัฐตามกรอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan) ซึ่งเป็นโครงการของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าของรัฐ กลุ่มทุนธุรกิจพลังงานเอกชนและการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน ขณะนี้กำลังเปลี่ยนมือสู่การลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกลางรายโครงการในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่บริษัทเอกชนเหล่านั้นดำเนินการอยู่แล้ว โดยที่โครงการถ่านหินเหล่านี้สามารถผลักดันได้ง่ายและรวดเร็วกว่า

การใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเพื่อลดต้นทุนราคาเชื้อเพลิงจากการเพิ่มสูงขึ้นของเชื้อเพลิงน้ำมันเตาทำให้ต้องนำเข้าถ่านหินอย่างต่อเนื่อง ทั้งในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น จากข้อมูลของกรมศุลกากร(1) พบว่า ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยนำเข้าถ่านหินราว 1.6 ล้านเมตริกตัน และเมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้วมีการนำเข้าถ่านหินเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 21.6 ทั้งจากเหมืองถ่านหินในออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ถ่านหินราว 39. 07 ล้านเมตริกตัน โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าถ่านหินราว 23.73 ล้านเมตริกตันและที่เหลือป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม

หากพิจารณาถึงการใช้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าถ่านหินและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมจะพบว่าอยู่ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนักและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อพิจารณาร่วมกับทิศทางการพัฒนาและการลงทุนของรัฐที่มุ่งผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าขยะและเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตามภาคต่างๆ ของประเทศ

การเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกลางของภาคอุตสาหกรรมกำลังเป็นที่จับตามองของนักลงทุนและประชาชนในพื้นที่เนื่องจากมีปัจจัยบางประการที่เอื้อให้โครงการดังกล่าวจะสามารถเดินหน้าตามที่คาดหมายไว้

ปัจจัยแรกคือ การลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่มีการดำเนินการอยู่แล้วและ /หรือเป็นพื้นที่ของเจ้าของโครงการ และอาจจะเปิดช่องให้มีการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ในพื้นที่ก่อนที่จะมีการอนุมัติขั้นตอนสุดท้ายจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) 

ยกตัวอย่างให้เห็นชัดจากกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (2) ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของกลุ่มธุรกิจในเครืออุตสาหกรรมกระดาษเอสซีจีที่มีโรงงานกระดาษของบริษัทในเครือดำเนินกิจการในพื้นที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และมีการใช้ถ่านหินในการผลิตความร้อนในอุตสาหกรรมกระดาษมาอย่างต่อเนื่อง

การเกิดขึ้นของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ จึงอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ และโครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบสื่งแวดล้อมหลังจากมีการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่

ถัดมาคือ การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ EHIAกระบวนการทั้งสองนี้ยังคงก่อให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ไม่แตกต่างจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ เนื่องจากกระบวนการจัดทำรายงานดังกล่าวยังคงซ้ำรอยความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินการศึกษาผลกระทบที่ยังคงขอบเขตการศึกษาไว้ที่รัศมี 5 กิโลเมตรทุกโครงการ ทั้งๆที่โครงการที่จะเกิดขึ้นอาจจะส่งผลกระทบมากกว่านั้นและเกิดการสะสมมลพิษในระยะยาว รวมทั้งการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจต่อการดำเนินโครงการฯ และการเพิกเฉยต่อการจัดทำทางเลือกการลงทุนพลังงานอื่นที่ครอบคลุมเพื่อประกอบการพิจารณา

อีกตัวอย่างที่กำลังเกิดขึ้นคือ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี (3)(4) ขนาด 150 เมกะวัตต์ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนอนุมัติสุดท้ายของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หลังจากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)ภายใต้สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ว่ามีการจัดทำรายงานฉบับดังกล่าวแต่ยังคงเกิดปัญหาดังที่กล่าวตอนต้น และส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมลงชื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและการเห็นชอบต่อรายงาน EHIA ดังกล่าวมากกว่า2,000 รายชื่อ

ประเด็นสุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความเกี่ยวพันของอุตสาหกรรมถ่านหินสู่การอนุมัติการรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ

การจัดการพลังงานของประเทศไทยยังคงล้มเหลวในมิติของธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็น

1) ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การเข้าถึงและสิทธิของประชาชนตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนพลังงานของประเทศซึ่งยังเป็นไปได้ยากยิ่ง

2) ผลประโยชน์ทับซ้อนของถ่านหิน รวมถึง รัฐบาลสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน ลงทุนสัมปทานถ่านหินและนำเข้าถ่านหินภายใต้การต่อรองอำนาจทางการเมือง

3) การนำเข้าถ่านหินของบริษัทเอกชนทุนใหญ่ที่เน้นการกระจายถ่านหินป้อนสู่อุตสาหกรรม โดยนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศสู่เกาะสีชัง ขนส่งทางเรือสู่จังหวัดอยุธยา และขนทางบกโดยรถบรรทุกป้อนให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้เป็นเชื้อเพลิง จากจุดเริ่มต้นธุรกิจนำเข้าถ่านหินมาใช้ในกิจการภายในสู่การขายถ่านหินให้กับอุตสาหกรรมอื่น และสุดท้ายขยายฐานสู่การลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินของตน โดยขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การรับซื้อไฟฟ้าของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)

จากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่จากกลุ่มทุนอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงถูกตั้งคำถาม เนื่องจากไฟฟ้าสำรองของประเทศมีมากกว่าร้อยละ 30 และรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานได้สั่งชะลอการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ทั้งหมดซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงาน แต่ขณะเดียวกัน ยังคงมีการเดินหน้าโดย กกพ. เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ จากกลุ่มอุตสาหกรรม

ดังนั้น การชะลอโครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ในประเทศไทยจึงมิใช่การเปลี่ยนผ่านสู่การลงทุนพลังงานหมุนเวียนแต่คือการเปลี่ยนมือสู่กลุ่มทุนภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้ถ่านหินอยู่แล้วและเพิ่มการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดกลางตามจังหวัดเป้าหมาย

การลด ละ เลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ของประเทศไทยยังไม่ขึ้นเกิดจริงตราบเท่าที่เจตจำนงของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนอุตสาหกรรมถ่านหินยังคงอยู่และดำเนินต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติพลังงานหมุนเวียนที่แท้จริงได้ ที่นี่

อ้างอิง
1. https://www.hellenicshippingnews.com/thailands-jan-coal-imports-rise-22-on-year-to-1-6-mil-mt/
2. https://www.matichon.co.th/region/news_725519
3. โครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน ขนาด 40 เมกะวัตต์ (TG 7)
4. โครงการ โรงไฟฟ้า พลังความร้อน ขนาด 150 เมกะวัตต์ 

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61817


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 30 สิงหาคม 2561
Last Update : 30 สิงหาคม 2561 13:48:37 น. 0 comments
Counter : 472 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com