กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
สิ่งมีชีวิตกี่สายพันธุ์บนโลกกำลังรับผลกระทบจากน้ำมือมนุษย์



Blogpost โดย Rex Weyler

แค่เพียงสังเกตดู เราก็รู้ได้ว่ามนุษย์นั้นได้เข้าไปรบกวนสมดุลของสรรพชีวิตบนโลก ทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ต้องสูญพันธุ์ไปมากมาย โดยในผลสำรวจสิ่งมีชีวิตบนโลก (Census of Earth’s Biomass) ฉบับล่าสุดได้มีการเผยถึงรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของความหลากหลายทางสายพันธุ์บนโลก

งานวิจัยของ ยีนอน เอ็ม บาร์-ออน และ รอน ไมโล จากสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มัน ร่วมกับ ร็อบ ฟิลิปส์ จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 ในวารสารชื่อ Proceeding of the National Academy of Science (PNAS) ฉบับนี้ ได้รวบรวมผลวิจัยทั้งระดับโลกและท้องถิ่นกว่าหลายร้อยชิ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งภายในเนื้อหามีการแสดงจำนวนโดยประมาณที่จัดทำขึ้นใหม่ของวงศ์ ไฟลัม และอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะเจาะจงบางชนิด

เราพบว่ามนุษย์และปศุสัตว์บนโลกมีจำนวนรวมกันมากถึงร้อยละ 96 ของจำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆอย่างวาฬ สิงโตทะเล หมี ช้าง แบดเจอร์ หนูผี กวาง เสือพูมา หนู หมาป่า และอื่นๆ ที่เหลือรวมกันนั้นมีจำนวนเพียงราวร้อยละ 4.2 เท่านั้น

โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดรวมถึงมนุษย์และปศุสัตว์นั้นคิดเป็นจำนวนเพียงร้อยละ 0.03 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก และสิ่งมีชีวิตประเภทสัตว์ทั้งหมด ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์จำพวกปลา แมลง หนอน สัตว์ปีก และอื่นๆ นั้นนับรวมกันเป็นเพียงร้อยละ 0.37 ของสิ่งมีชีวิตรวมเท่านั้น ส่วนผู้ผลิตหลักทั้ง 2 อาณาจักรที่สร้างอาหารเองได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ อันได้แก่พืชและแบคทีเรีย ยังคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนมากที่สุดทั้งบนผืนโลกและใต้ผืนน้ำ ซึ่งมีจำนวนรวมกว่าร้อยละ 95 ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด

การกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในโลก

แผนภาพโวโรนอยของการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตโลก (ได้รับการยินยอมให้เผยแพร่จากการสำมะโนสิ่งมีชีวิตของบาร์-ออน ฟิลิปส์ และไมโล)

จุดเริ่มต้นในโบราณกาล

แบคทีเรียคือสิ่งมีชีวิตที่มีเรื่องราวความเป็นมายาวนานและมีความสำคัญอย่างมาก พวกมันเริ่มเติบโตมาจากโมเลกุลที่มีชีวิตตั้งแต่เมื่อ 3,500 ล้านปีก่อน โดยมีไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ชื่อโปรแคริโอต รวมถึงอาร์เคียอันเป็นแบคทีเรียระดับเดียวกัน เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตรูปแบบเดียวที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้เมื่อเกือบสองพันล้านปีที่ผ่านมา

ขณะที่แบคทีเรียเริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้นจนสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นอาหารได้ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง พวกมันก็ทวีจำนวนขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ดี การเติบโตครั้งนี้ได้ปล่อยก๊าซออกซิเจนสู่ท้องทะเลและทำให้เกิดเหตุการณ์ “ออกซิเจนพิษ” ขึ้น ซึ่งเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งแรกในประวัติการณ์ในช่วง 2,500 และ 2,100 ล้านปีก่อน โดยออกซิเจนที่เป็นพิษต่อแบคทีเรียอนาแอโรบิก (anaerobic) ได้ทำให้สายพันธุ์จำนวนมากสูญพันธุ์ลง จนกระทั่งเกิดสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการให้สามารถเผาผลาญออกซิเจนเพื่อกำจัดมลพิษขึ้น โดยสิ่งมีชีวิตที่หายใจด้วยออกซิเจนนี้ได้ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่สมดุลอีกครั้งจนทำให้พืชเติบโต และในขณะเดียวกัน เหล่าฟังไจก็เติบใหญ่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ใต้ผิวโลกที่ไร้ออกซิเจน

ฟังไจในป่าดิบชื้นที่หุบเขาคาลาซู เมืองสอหร่ง ปาปัวตะวันตก © เจอรนาสันโต สุขารโน / กรีนพีซ

ในปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ยุคโบราณกาลเหล่านี้ทั้งอาร์เคีย ฟังไจ แบคทีเรีย โพรทิสต์ และพืชนั้นมีจำนวนมากถึงร้อยละ 99.6 ของสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยนักชีววิทยาได้ประเมินค่าชีวมวลไว้เป็นหน่วย “คาร์บอนพันล้านตัน” (Gt C) ซึ่งสรุปรวมของค่าการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันโดยอิงจากสำมะโนสิ่งมีชีวิตของบาร์-ออน ฟิลิปส์ และไมโลมีดังต่อไปนี้

สิ่งมีชีวิตรวมบนโลก: คาร์บอน 545.2 พันล้านตัน (Gt C)

พืช

450 Gt C

ร้อยละ 82.54

บนพื้นผิวโลกเป็นหลัก

แบคทีเรีย

70 Gt C

ร้อยละ 12.84

ใต้ผิวดินระดับลึก

ฟังไจ

12 Gt C

ร้อยละ 2.20

ใต้ผิวดินระดับตื้น

อาร์เคีย

7 Gt C

ร้อยละ 1.28

ใต้ผิวดินระดับลึก

โพรทิสต์

4 Gt C

ร้อยละ  0.73

ในน้ำเป็นหลัก

สัตว์

2 Gt C

ร้อยละ 0.37

ในน้ำทะเลเป็นหลัก

ไวรัส

0.2 Gt C

ร้อยละ 0.04

ในระบบนิเวศทั้งหมด

แม้ว่าผลวิเคราะห์นี้จะมียอดสรุปรวมที่น่าเชื่อถือ ทว่าจำนวนที่ได้ก็ยังไม่แน่นอนนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำทะเลลึกและใต้ผิวดิน ซึ่งเป็นไปได้ว่าทั้งแบคทีเรีย ฟังไจ อาร์เคีย และโพรทิสต์ต่างก็อาจมีจำนวนมากกว่าที่คำนวณไว้มาก ส่วนของค่าประมาณพืชและสัตว์นั้นมีจะความน่าเชื่อถือมากกว่า

ในส่วนของพืชซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลนั้นมีจำนวนมากที่สุดบนพื้นผิวโลกโดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด รวมถึงแม้จะมีการตัดไม้ทำลายป่าโดยมนุษย์และการกลายสภาพเป็นทะเลทรายของระบบนิเวศทุ่งหญ้าอย่างมหาศาลก็ตาม และแม้ว่ากว่าร้อยละ 99 ของสิ่งมีชีวิตจะอยู่บนพื้นผิวโลก แต่สัตว์ส่วนใหญ่กลับอยู่ใต้ท้องทะเลเป็นหลักในรูปของปลาและแพลงค์ตอนสัตว์

บนพื้นผิวโลก สิ่งมีชีวิตผู้ผลิต (พืชและแบคทีเรีย) นั้นมีจำนวนมากกว่าผู้บริโภคอย่างมาก แต่ในทางกลับกัน ผู้บริโภคกลับมีจำนวนมากกว่าผู้ผลิตในท้องทะเล ซึ่งเรารู้สึกข้องใจกับจำนวนดังกล่าวจนกระทั่งเราพบว่าผู้บริโภคในทะเลขนาดใหญ่นั้นมักจะกินผู้บริโภคที่มีขนาดเล็กกว่า ในขณะที่ผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดบนผิวโลกนั้นกลับกินพืชเป็นอาหาร

ช้างในทุ่งสะวันนามาไซ มารา ประเทศเคนยา แอฟริกา © มาร์คุส เมาว์ธ / กรีนพีซ

มีเพียงร้อยละ 60 ของสิ่งมีชีวิตในโลกเท่านั้นที่อยู่บนผิวโลกและในทะเล (ราว 320 Gt C)  ส่วนสิ่งมีชีวิตที่เหลือนั้นจะอยู่ใต้ผิวดิน อันได้แก่รากพืช (130 Gt C) และจุลินทรีย์ในดินและใต้ผิวโลกระดับลึก (ราว 100 Gt C) โดยราวร้อยละ 30 ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชนั้นจะเป็นรากอยู่ใต้ผิวโลก ซึ่งอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกันกับฟังไจ แบคทีเรีย และจุลินทรีย์อื่นๆ

ผลกระทบจากมนุษย์

จากสรุปรวมข้างต้นจะพบว่าสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่แพลงก์ตอนสัตว์และปลา ไปจนถึงมนุษย์และวาฬ นั้นมีจำนวนเพียงน้อยนิดเท่านั้นจากสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก ซึ่งหากสังเกตแค่ค่าสิ่งมีชีวิต (ร้อยละ 0.37 ของสิ่งมีชีวิตโดยรวม) เราจะพบการกระจายตัวดังนี้

สิ่งมีชีวิตบนโลก: คาร์บอน 2 พันล้านตัน (Gt C)

สัตว์ขาปล้อง (อาร์โทรพอด)

1.000 Gt C

ร้อยละ 50.00

50.00 %

กุ้ง กั้ง ปู แมลง แมงมุม

ปลา

0.700 Gt C

ร้อยละ 35.00

ปลาทะเล ปลาน้ำจืด

มอลลัสกา

0.200 Gt C

ร้อยละ 10.00

มักเป็นสัตว์ในทะเล

หนอนปล้อง (แอนเนลิด)

0.200 Gt C

ร้อยละ 10.00

หนอนปล้อง ปลิง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

0.167 Gt C

ร้อยละ 8.35

สัตว์บนบกและในทะเล

ไนดาเรีย

0.100 Gt C

ร้อยละ 5.00

ปะการัง แมงกะพรุน ไฮโดรซัว

หนอนตัวกลม (เนมาโทด)

0.020 Gt C

ร้อยละ 1.00

หนอนปรสิต

สัตว์ปีกตามธรรมชาติ

0.002 Gt C

ร้อยละ 0.10

สัตว์ปีกบนบกและในน้ำ

สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

< 0.001 GtC

น้อยกว่าร้อยละ 0.01

แทบไม่พบ

สัตว์เลื้อยคลาน

< 0.001 GtC

น้อยกว่าร้อยละ 0.01

แทบไม่พบ

จะเห็นได้ว่าครึ่งหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดคือสัตว์ขาปล้อง (อาร์โทรพอด) อันได้แก่แมงมุม ด้วง แมลง และสัตว์จำพวกกุ้ง กั้ง ปู โดยมีแมลงเป็นสายพันธุ์ที่มีจำนวนอุดมสมบูรณ์มากที่สุดกว่าหนึ่งล้านชนิดที่ได้รับการจดบันทึก ส่วนเคยแอนตาร์กติกบางสายพันธุ์ เช่น Euphausia superba นั้นมีจำนวนมากพอๆ กับมนุษย์ทั้งหมด และแม้แต่ปลวกเพียงแค่สายพันธุ์เดียวก็ยังอาจมีจำนวนมากกว่าจำนวนสิ่งมีชีวิตสัตว์ปีกทั้งหมดเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าแมลงจะมีจำนวนมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นอย่างมหาศาล แต่พวกมันเองก็ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มจำนวนประชากรของมนุษย์ ทั้งจากการทำลายที่อยู่อาศัยและการใช้สารฆ่าแมลง โดยนักชีววิทยาพบว่ามีสารเคมีแปลกปลอมตกค้างกว่า 150 ชนิดในเกสรผึ้งซึ่ง เอริค มุสเซน ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงผึ้งเรียกมันว่า “น้ำหวานพิษฆ่าแมลง” โดยมีตัวการหลักก็คือสารฆ่าแมลงชื่อนีโอนิโคตินอยด์ อันเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่นิยมใช้ทั่วไปโดยบริษัทเกี่ยวกับสารเคมี ทั้งไบเออร์/มอนซานโต ซินเจนทา บีเอเอสเอฟ ดาว และดูปองท์ ส่วนแมลงอื่นๆ อย่างผีเสื้อ จักจั่น และด้วงบางสายพันธุ์ก็ค่อยๆลดจำนวนลงเรื่อยๆ ตามพื้นที่ต่างๆ บนโลกเช่นกัน

เคยแอนตาร์กติกเพียงสายพันธุ์หนึ่งอาจมีจำนวนมากเท่าๆ กับมนุษย์ทั้งหมด © แอนเดรีย อิซซอที / Thinkstock

สัตว์อื่นๆ ที่เหลือส่วนมากคือสัตว์จำพวกปลา ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นคิดเป็นเพียงราวร้อยละ 8 ของสัตว์ทั้งหมด และร้อยละ 0.03 ของสิ่งมีชีวิตโดยรวมเท่านั้น แต่อย่างไรเสีย มนุษย์ก็ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่กินพื้นที่สัดส่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากที่สุด โดยมีสัตว์ที่ปศุสัตว์ของมนุษย์นั้นถึง 0.1 Gt C หรือคิดเป็นร้อยละ 59.9 ของชีวมวลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดบนโลก และตัวมนุษย์เองก็มีจำนวนมากถึง 0.06 Gt C หรือคิดเป็นร้อยละ 35.9 ของทั้งหมด ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบกนั้นมีจำนวนคิดเป็นเพียงร้อยละ 4.2 ของชีวมวลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น การที่บรรพบุรุษของเราพัฒนาเทคโนโลยีในการใช้ไฟ อาวุธ และการเกษตรกรรมขึ้นได้ทำให้มนุษยชาติมีอำนาจเหนือสรรพชีวิตบนพื้นโลก โดยเริ่มมาตั้งแต่ราว 50,000 ปีก่อนที่กิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์โบราณขนาดใหญ่ (megafauna) ซึ่งนับเป็นการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกถึง 178 สายพันธุ์ โดยสูญพันธุ์ไปทั้งสกุลกว่า 100 สกุล รวมถึงอูฐ ม้า กราวด์สลอธ เสือเขี้ยวดาบ และแกลปโตดอน (อาร์มาดิลโลขนาดใหญ่)

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีการทำเกษตรกรรม โดยสำมะโนความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตปี 2554 ที่รวบรวมโดยวาเคลฟ สมิล ชี้ว่ากิจกรรมของมนุษย์ในช่วงกว่า 5,000 ปีที่ผ่านมาได้ทำให้จำนวนสิ่งมีชีวิตรวมบนโลกลดลงถึงราวร้อยละ 50 คิดเป็นจากกว่า 1,000 GtC ในช่วงแรกเริ่มของเกษตรกรรมเหลือเพียง 545 GtC ในปัจจุบัน ซึ่งการลดจำนวนลงดังกล่าวก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทั้งจากการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ป่าและการดัดแปลงพื้นที่ป่าเพื่อการทำเกษตรกรรม

การครอบงำพื้นที่ของมนุษย์ในกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังบนพื้นโลก  โดยพอล เชฟัวร์กา และ วาเคลฟ สมิล

ส่วนในมหาสมุทร การประมงของมนุษย์ก็ได้ทำให้จำนวนปลาที่นิยมจับเพื่อการค้าลดลงถึงร้อยละ 85 และ “ปลาใหญ่” อย่างทูน่า ปลากระโทง และฉลาม ลดลงถึงร้อยละ 90 โดยอัตราปลาที่จับได้ในทะเลของโลกนั้นลดลงถึงร้อยละ 6.4 ตั้งแต่ปี 2535 แม้ว่าจะมีการใช้เรือและอวนที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พื้นที่ “เขตมรณะ” (พื้นที่ที่มีออกซิเจนน้อยจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้) ยังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 ซึ่งนับเป็นการปรับเป็นกรดจากการปล่อยคาร์บอนที่ทำลายแนวปะการังอันเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่รุนแรงที่สุด อีกทั้งการล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล รวมถึงวาฬ ก็ได้ทำให้จำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลลดลงถึงร้อยละ 80 ด้วยเช่นกัน

ราวครึ่งหนึ่งของพื้นที่ป่าบนโลกถูกทำลาย จากกว่า 6 พันล้านเฮกเตอร์ของป่าไพลสโตซีนเหลือเพียง 3.5 พันล้านเฮกเตอร์ และป่าที่เหลือรอดมาก็มักจะอยู่ในรูปของป่าฟาร์มเนื้อไม้หรือป่าช้าฝังศพซึ่งมีจำนวนชนิดของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ลดน้อยลงเรื่อยๆ หากเรานับรวมป่าเหล่านี้แล้ว เราจะพบว่ามนุษย์ได้ทำลายพื้นที่ป่าหรือทำให้ป่าเสื่อมโทรมลงถึงร้อยละ 70 ของป่าทั้งหมดบนโลก โดยเราต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไปราว 13 ล้านเฮกตาร์ต่อปี

ป่าที่ถูกตัดจนเหี้ยนเกรียนในเขตแดนครี ที่ควิเบกเหนือ © กรีนพีซ

ในระหว่างปี 2513 และ 2553 ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังลดลงถึงร้อยละ 29 โดยสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วนมโดยรวมนั้นลดลงถึงร้อยละ 58  ยิ่งไปกว่านั้น สัตว์ปีกที่มนุษย์เลี้ยง (ส่วนมากเป็นไก่) ยังมีจำนวนมากกว่าชีวมวลของสัตว์ปีกตามธรรมชาติทั้งหมดถึงสองเท่าครึ่ง ส่วนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานเองก็ลดลงอย่างมากจนเรียกได้ว่าเป็นชีวมวลที่ “แทบไม่พบ” ในสำมะโนชีวมวลปัจจุบัน

หากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าว มนุษย์เราจะต้องชลอการตักตวงผลประโยชน์จากโลกธรรมชาติและยุติการทำลาย การใช้จนหมดไป และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าบนโลกใบนี้ เพื่อเหลือพื้นที่ให้สรรพชีวิตอื่นๆ ได้เติบใหญ่บ้างเช่นกัน

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61770


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 15 สิงหาคม 2561
Last Update : 15 สิงหาคม 2561 11:49:58 น. 2 comments
Counter : 427 Pageviews.  
 
 
 
 
แวะมาทักทายจ้าาา sinota ซิโนต้า Ulthera สลายไขมัน SculpSure เซลลูไลท์ ฝ้า กระ Derma Light เลเซอร์กำจัดขน กำจัดขนถาวร รูขุมขนกว้าง ทองคำ ไฮยาลูโรนิค คีเลชั่น Chelation Hifu Pore Hair Removal Laser freckle dark spot cellulite ร้อยไหม IPL Medisyst adenaa ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ สักคิ้วถาวร สักคิ้ว 6 มิติ Cover Paint สักไรผม 3D Eyebrow Haijai.com สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำมันมะพร้าว ขิง ประโยชน์ของขิง ผู้หญิง สุขภาพผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการ ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อคนโบราณ
 
 

โดย: สมาชิกหมายเลข 4713825 วันที่: 15 สิงหาคม 2561 เวลา:16:30:17 น.  

 
 
 
เพียงเห็นภาพ ตอไม้ ก็ใจหาย... ในไทยมีเยอะมาก..

มีผลต่อการดำรงชีพ ของคน สัตว์ พืช...ต่อเนื่องกัน... ตอนนี้ได้แต่
เพียงเอาใจช่วย ขอให้ดำเนินการต่อต้าน การทำลายล้าง และส่งเสริม
ให้อนุรักษ์ธรรมชาติ ต่อไปครับ
 
 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 16 สิงหาคม 2561 เวลา:7:50:46 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com