กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เพิกเฉย PM2.5 ประเทศไทยพลาดเป้าการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)



บทความ โดย นันทิชา โอเจริญชัย อาสาสมัครกรีนพีซ

เกือบหนึ่งปีหลังจากที่สหประชาชาติโลก หรือยูเอ็น (UN) ได้ประกาศ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในปีพ.ศ. 2559 ซึ่งรัฐบาลไทยได้เริ่มดำเนินการแผน โดยมีมติกำหนดให้มี 30 ประสงค์เร่งด่วนที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการในช่วง 5 ปีแรก จากเป้าหมายทั้งหมด 17 ประการและ 169 เป้าประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่ใน 30 เป้าประสงค์นี้ ไม่มีข้อไหนเลยที่กล่าวถึงเรื่องมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM2.5 ที่กำลังเป็นประเด็นเร่งด่วนของประเทศไทย

รายงานดัชนีประสิทธิภาพ SDGs ปี พ.ศ. 2560 ของ UN เผยว่าประเทศไทยได้รับคะแนน 25.8 เต็ม 100 ในเรื่องของ “ระดับ PM2.5 (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ในเขตเมือง” ทั้งนี้จากการจัดระดับมลพิษทางอากาศของเมืองโดยกรีนพีซพบว่าทั้ง 19 พื้นที่มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ปี ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก(10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)และเกินค่ามาตรฐานของประเทศไทยเองที่ตั้งไว้อยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้น ไทยถูกจัดอันดับว่า “แย่” ในอีกหลายด้าน รวมทั้ง “การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคผลิตพลังงาน” และ “ความเปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังล้าหลังอยู่ในเรื่องของการต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตัวชี้วัดการปล่อยมลพิษทางอากาศของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน PM2.5 เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย 11ซึ่งมุ่งที่จะ “ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของประชากรมีความปลอดภัยทั่วถึง และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Cities and Communities) ส่วนในการจัดเรียงของสถิติทางการของประเทศไทยก็ได้ระบุว่า “ประชากรในเขตเมืองได้รับมลพิษทางอากาศกลางแจ้งเกินค่ามาตรฐานตามค่าที่กำหนดขององค์การอนามัยโลก” เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเช่นเดียวกัน แม้ว่าเป้าหมายเหล่านี้จะควบคู่ไปกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่นๆโดยเฉพาะเป้าหมาย 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมาย 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเป้าหมาย 15: การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภาคพื้นดิน ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพอากาศ แต่ยังดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยยังคงเพิกเฉยกับฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เป็นภัยคุกคามคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกวินาที

อันที่จริงแล้ว แต่ละเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน นั้นมีความเชื่อมโยงกับ การพัฒนาที่ยั่งยืนทุกเป้าหมาย โดยส่งเสริมเป้าหมายซึ่งกันและกัน การปรับปรุงในเรื่องหนึ่งไม่เพียงแต่ช่วยบรรลุความสำเร็จในด้านนั้นๆเพียงด้านเดียว แต่ยังคงช่วยแก้ไขปัญหาในด้านอื่นๆไปอีกด้วย ทั้งนี้การดำเนินแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะไม่ถูกจุดประสงค์ของมันเลย หากรัฐบาลเน้นปรับปรุงด้านใดด้านหนึ่ง โดยที่ละทิ้งเป้าหมายอื่น ๆ ไว้จัดการทีหลัง การบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนรัฐบาลจำเป็นที่จะพัฒนาทั้งระบบไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากว่าฝุ่นพิษ PM2.5 เป็นอีกหนึ่งต้นตอที่กระทบต้นทุนชีวิตของประชาชน จึงควรเป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

ในปีนี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศนำการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาผูกโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เพื่อที่จะเดินแผนไปในทิศทางเดียวกันกับที่วางไว้ก่อนหน้า แต่สิ่งที่เป็นปัญหากับยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยนั้น คือการที่ขาดคำว่ายั่งยืนไป และการที่ขาดคำนั้นจะทำให้การดำเนินแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDG นั้นไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิง

ขณะนี้ดูเหมือนว่าจุดหมายปลายทางเดียวของรัฐบาลคือการพัฒนา โดยมุ่งการเจริญเติบโตทางเงินและการผลาญทรัพยากร ดูตัวอย่างจากการพัฒนาเมืองหลวงและอีกหลายเมืองที่กำลังรุดพัฒนาที่กำลังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางอากาศที่คร่าชีวิตของประชาชนหลายหมื่นคนต่อปี หลักของการพัฒนาอาจหมายถึงเมืองที่ใหญ่ขึ้น แต่หลักของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นย่อมหมายถึงการพัฒนาเมืองที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วประเทศไทยจะหวังที่จะพัฒนาอย่างแท้จริงได้อย่างไร หากคนไทยยังต้องทนใช้ชีวิตในเมืองที่เต็มไปอากาศสกปรก

ร่วมลงชื่อ ขออากาศดีคืนมา ได้ที่นี่

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/pm25-sdgs/blog/59868


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 15 สิงหาคม 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 15:10:01 น. 0 comments
Counter : 5707 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com