กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
การร่วงโรยของถ่านหินสร้างความหวังแก้วิกฤตโลกร้อน



บทความ โดย Zachary Davies Boren

Lukas Schulze | Getty Images

การยกเลิกและการปลดระวางโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายประเทศที่เป็นผู้นำหลักทางเศรษฐกิจนั้นกำลังสร้างแรงกระเพื่อมสำคัญต่อความพยายามของโลกในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่เกิน 2 องศา และในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยลดหายนะที่จะเกิดจากวิกฤตโลกร้อนอีกด้วย

ปริมาณการผลิตพลังงานจากถ่านหินทั่วโลกได้ลดลงมากถึงครึ่งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว จาก 1,090 กิกะวัตต์ เหลือ 570 กิกะวัตต์

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ถูกยกเลิกไปเหล่านั้นส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นในประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งช่วงที่ถ่านหินรุ่งเรืองนั้นได้สร้างวิกฤตพลังงานล้น มลพิษทางอากาศที่ร้ายแรง ไปจนถึงการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน แต่หากรวมช่วงสองปีที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปคือประเทศผู้นำในการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ข้อมูลจากรายงาน “รุ่งเรืองแล้วร่วงโรย การติดตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกปี 2560” โดย เซียร่าคลับ(Sierra Club) กรีนพีซ และโคลสวอร์ม (CoalSwarm) เผยว่า ปี 2559 ที่ผ่านมา โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก ทุกช่วงการพัฒนา ได้ถดถอยอย่างเป็นปรากฎการณ์

โครงการที่อยู่ในช่วงก่อนการก่อสร้างมีการยกเลิกไปมีจำนวนร้อยละ 48 โครงการที่ยกเลิกการก่อสร้างมีจำนวนร้อยละ 62 และโครงการที่ยกเลิกไประหว่างการก่อสร้างมีจำนวนร้อยละ 19  สัดส่วนของการร่วงโรยของโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าเป้าหมายของการหยุดยั้งวิกฤตโลกร้อนก่อนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะเกิน 2 องศานั้นอาจจะทำได้ อย่างไรก็ตามปริมาณโรงไฟฟ้าถ่านหินจะต้องถูกปลดระวางมากขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนี้

ประเทศจีน

ในปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้เดินหน้าหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาตร์ ทั้งการหยุดอนุมัติแผนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จำกัดปริมาณการผลิต และแม้แต่ยกเลิกโครงการที่กำลังก่อสร้าง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จีนได้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 104 โครงการที่กำลังอยู่ในแผนพัฒนา และไม่นานนี้เราได้รายงานเพิ่มเติมว่า การอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ลดลงมากถึงร้อยละ 85 ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ปรากฎการณ์เช่นนี้คือสิ่งที่สามารถจุดประกายการยุติยุคฟอสซิลและการพึ่งพาพลังงานถ่านหินได้

อินเดีย

อินเดียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง และยังเร่งเพิ่มปริมาณถ่านหิน 3 เท่าตัว ตั้งแต่ปี 2550 ปริมาณการใช้งานโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ลดลงอย่างชัดเจน ต้องขอบคุณการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของพลังงานหมุนเวียน และมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประเทศอินเดีย

ผลลัพธ์คือ? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในปีที่แล้วว่า ปัจจุบันนี้อินเดียมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมากเกินพอที่จะใช้งานไปอีกหลายปี และคำกล่าวนี้ก็ได้รับการตอบรับโดยแผนพลังงานระดับชาติของรัฐบาล ซึ่งมีข้อสรุปว่าอินเดียไม่ต้องการการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก (นอกเหนือจากที่กำลังก่อสร้าง) ไปจนถึงศตวรรษหน้า

เงินทุนถ่านหินกำลังหมดไป และขณะนี้อินเดียกำลังสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอยู่อีก 13 แห่ง มีกำลังผลิตรวม 13  กิกะวัตต์ ซึ่งทั้งหมดกำลังถูกระงับ

ประเทศอื่น ๆ

แม้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่าจะช่วยเหลืออุตสาหกรรมถ่านหินของสหรัฐอเมริกา แต่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก  5 โครงการ ได้ตัดสินใจที่จะปลดระวางในช่วงสองเดือนแรกของการเข้ามาเป็นประธานาธิบดีของทรัมป์ ทำให้เหลือ 251 โครงการตั้งแต่ปี 2553

ยุโรปเองกำลังตามมาอย่างช้า ๆ แต่แน่นอน โดยที่มีเบลเยียมและสก็อตแลนด์กลายเป็นประเทศที่ปลอดถ่านหิน รวมถึงอีก 3 ประเทศในสหภาพยุโรปที่กำหนดวันที่จะเลิกใช้ถ่านหินเมื่อปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ที่น่ากังวลที่สุดคงเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้ถึงผลกระทบของแผนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 400 โรง ต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศ (อ่านรายงานของประเทศไทยได้ที่นี่)

แม้ว่าโครงการพลังงานหมุนเวียนของอินเดียจะทำให้ราคาพลังงานลมและแสงอาทิตย์ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินแล้ว โดยที่ไม่มีเงินอุดหนุน แต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ยังคงไม่ริเริ่มการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำให้ถ่านหินเป็นทางออกที่น่าสนใจกว่า ถึงจะมีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

หากพิจารณาตามเป้าหมายในการปกป้องโลกจากหายนะของวิกฤตโลกร้อนก็จะต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน

อ่านรายงาน “รุ่งเรืองแล้วร่วงโรย การติดตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกปี 2560” ที่นี่

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่ Greenpeace Energydesk

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59076


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 01 สิงหาคม 2560
Last Update : 18 ตุลาคม 2560 15:19:58 น. 0 comments
Counter : 680 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com