กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เทศกาลฟุตบอลโลกครั้งนี้ รัสเซียมีวิธีจัดการปัญหามลพิษในอากาศอย่างไร?



บทความ โดย Konstantin Fomin

ในงานฟุตบอลโลกครั้งนี้ เมืองใหญ่หลายแห่งในประเทศของผมต่างเต็มไปด้วยผู้คนจำนวนมหาศาลจากทั่วทุกมุมโลกมารวมตัวกัน ซึ่งพวกเขาล้วนเดินทางมาเพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมในบรรยากาศของงานเทศกาลกีฬาอันยิ่งใหญ่ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกงานนี้

สนามกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่รัสเซีย © CC Vladimir Varfolomeev

ผู้ที่มาร่วมงานฟุตบอลโลกต่างได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศดังกล่าวขณะที่เดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งเพื่อร่วมสนุกกับการแข่งขันแต่ละนัด แต่ก็อย่างที่เจ้าภาพหลายๆคนรู้กันดี ว่าไม่ใช่แค่เพียงบรรยากาศที่น่าตื่นเต้นเท่านั้นที่ผู้ชมเหล่านี้จะได้ดื่มด่ำ แต่ยังมีมลพิษในอากาศอันเป็นปัญหาที่ประชากรทั่วประเทศต่างตระหนักถึง โดยจากผลการวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ที่สนับสนุนโดยกรีนพีซรัสเซียนั้นชี้ว่า ประชากรในกรุงมอสโกถึงร้อยละ 82 ไม่พอใจกับคุณภาพอากาศที่พวกเขาใช้หายใจ ส่วนในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นมีถึงร้อยละ 77 และร้อยละ 60 ในเมืองคาซัน

พวกเขาต่างรู้ดีว่าตัวการหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษในอากาศนี้คืออะไร ซึ่งผลการวิจัยข้างต้นยังชี้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจกว่าร้อยละ 80 ในกรุงมอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเมืองรอสตอฟ-นา-โดนู (เมืองที่มีประชากรมากที่สุดลำดับที่ 10 ในประเทศรัสเซีย) นั้นตระหนักว่าควันที่ปล่อยจากเครื่องยนต์พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นแหล่งมลพิษหลักที่ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง โดยคุณสามารถอ่านวิธีช่วยรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ที่นี่

ก่อนหน้าที่งานฟุตบอลโลกครั้งนี้จะเริ่มต้นขึ้นนั้น กรีนพีซรัสเซียก็ได้เขียนถึงเจ้าหน้าที่ทางการของเจ้าภาพผู้จัดงานในเมืองต่างๆเพื่อดูว่าพวกเขาจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร

ข่าวดีก็คือ...

การจราจรในกรุงมอสโก © Greenpeace

ในกรุงมอสโก เครื่องยนต์รุ่นที่ต่ำกว่ามาตรฐานการปล่อยควันยูโร-3นั้นถูกจำกัดไม่ให้วิ่งในส่วนใจกลางเมือง ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่บังคับใช้ครอบคลุมเป็นเวลาหลายปี

และเพื่อผลักดันให้ผู้คนหันมาใช้เครื่องยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทางการยังได้ติดตั้งสถานีชาร์จไฟสำหรับเครื่องยนต์พลังงานไฟฟ้าถึง 78 จุดในลานจอดรถแห่งต่างๆทั่วเมือง และยังมีแผนจะติดตั้งเพิ่มอีก 79 จุดในปีหน้า

นอกจากนี้ ทางการยังมีแผนจะสร้างทางจักรยานที่เชื่อมกับเขตอื่นๆและสวนสาธารณะที่อยู่ใกล้เคียงเพิ่มอีกด้วย


สนามกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก © CC Daniil Drozdov

ส่วนในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐบาลท้องถิ่นกำลังเตรียมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะระบบไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงรถรางและรถบัสไฟฟ้า และในเมืองนี้ยังมีการจำกัดการเดินรถที่ปล่อยมลพิษสกปรกรวมถึงรถบรรทุกขนส่งสินค้าอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ทางการยังมีแผนจะขยายเส้นทางจักรยานด้วยเช่นกัน โดยในปีที่ผ่านมา มีการสร้างทางจักรยานถึงเกือบ 40 กิโลเมตร และมีการจัดโครงการเช่าจักรยานขึ้น ซึ่งแผนการสร้างทางจักรยานอีก 39.6 กิโลเมตรนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในปีนี้

การตรวจวัดระดับมลพิษในอากาศในเมืองรอสตอฟ-นา-โดนู © Maxim Shpak / Greenpeace

ทางฝ่ายบริหารของเมืองรอสตอฟ-นา-โดนูได้กล่าวตอบกลับผลการวิจัยของกรีนพีซว่า “วิธีการที่เราใช้แก้ปัญหาการจราจรที่ผ่านมาในอดีตซึ่งมีเพียงแค่การเพิ่มความจุการเดินรถบนถนนนั้นไม่อาจช่วยแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังอาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น” และเจ้าหน้าที่ทางการของเมืองเยคาเตรินเบิร์กยังกล่าวอีกว่าพวกเขากำลังให้ความสนใจกับการพัฒนาระบบขนส่งที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น รวมถึงรถบัสที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าผ่านสายเคเบิลลอยฟ้าและการขยายเส้นทางจักรยานระหว่างช่วงที่มีการทำถนนใหม่ในเมือง

แต่ก็ยังมีข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก...

การตรวจวัดระดับมลพิษในอากาศในเมืองซามารา  © Alla Belolipetskaya / Greenpeace

หากพิจารณาจากคำตอบของทางเมืองซามาราและเมืองวอลโกกราดที่มีต่อแบบสำรวจของเรานั้นพบว่า ทางการของเมืองทั้งสองนี้ต่างเข้าใจดีว่าการแก้ไขปัญหามลพิษในอากาศนั้นเป็นเรื่องจำเป็น ทว่าน่าเศร้าที่พวกเขายังไม่มีมาตรการเดินหน้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งพวกเขาอาจเริ่มจากการสนับสนุนให้ประชากรในเมืองหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะและจักรยานมากขึ้น หรือลดการใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลลงก็ย่อมได้

พวกเรายิ่งรู้สึกผิดหวังมากขึ้นไปอีกเมื่อได้ฟังการตอบกลับจากเมืองโซชี ซึ่งเป็นเมืองเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อสี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากฝ่ายบริหารของเมืองได้กล่าวกับพวกเราว่าพวกเขาไม่มีแผนการจะทำตามคำแนะนำของทางกรีนพีซแต่อย่างใด และจะไม่นำวิธีการลดมลพิษในอากาศใดๆมาใช้ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ พวกเรายังไม่ได้รับการตอบกลับใดๆจากเมืองนิจนีนอฟโกรอดหรือเมืองซารันสค์ ซึ่งเหตุการณ์นี้ยิ่งไปย้ำถึงผลการวิจัยของทางกรีนพีซที่พบว่า แทบไม่มีผู้ใดพึงพอใจกับมาตรการยกระดับคุณภาพอากาศของทางการในหลายๆเมืองของรัสเซีย

เมื่อความครึกครื้นของเทศกาลฟุตบอลโลกสิ้นสุดลง พวกเราจะนำผลตอบรับที่ได้จากทางรัฐบาลเหล่านี้มาใช้เพื่อทำให้นักการเมืองทั้งหลายรักษาคำมั่นสัญญาที่จะทำให้คุณภาพอากาศในรัสเซียดีขึ้น หากคุณต้องการติดตามข้อมูลความคืบหน้าของเรา คุณสามารถกดติดตามทวิตเตอร์ของเราได้ที่นี่ และถ้าหากคุณยังไม่ได้เข้าร่วมกับเรา คุณสามารถลงชื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องขออากาศดีคืนมาได้ที่นี่

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา : https://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61699/


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 09 กรกฎาคม 2561
Last Update : 9 กรกฎาคม 2561 15:17:21 น. 0 comments
Counter : 471 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com