กรีนพีซดำรงอยู่เพราะโลกอันบอบบางใบนี้สมควรมีผู้ปกป้อง โลกต้องมีวิธีแก้ปัญหา ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการลงมือทำ
 
เหตุผลที่ป่าไม้ควรเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อน



เขียน โดย Jannes Stoppel

บนโลกที่กำลังเผชิญกับวิกฤตโลกร้อน ป่าไม้คือปัจจัยของการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผืนป่าสามารถดูดซับมลพิษได้ราวกับฟองน้ำ สามารถจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศด้วยการสังเคราะห์แสง เก็บไว้ในลำต้นและในผืนดิน การต่อกรกับปัญหาโลกร้อนนั้นมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพลังงานสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย นี่เป็นหนทางเดียวที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสตามที่ตกลงกันไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) แต่ส่วนที่เหลือของทางออกนั้นอยู่ที่ผืนป่าและต้นไม้


ป่า Carpathian ในประเทศโรมาเนีย บันทึกภาพเมื่อ 20 สิงหาคม 2559

เรากำลังเดินหน้าสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย แต่แน่นอนว่าต้องใช้เวลา หากเรายุติการทำลายป่า ร่วมไปกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้ด้วยเราจะต่อกรกับมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ภายในปี 2563 (REDD+) การที่จะช่วยธรรมชาติลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและเก็บไว้ในผืนดินและผืนป่านั้น เราจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟู ผืนป่าหลายล้านไร่ที่สูญไป และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในผืนดินเพาะปลูกด้วยกระบวนการเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่จัดการดินอย่างมีประสิทธิภาพ หากเราทำได้อย่างถูกต้อง สัดส่วนของผืนดินและผืนป่าจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้ และส่งต่อสภาพภูมิอากาศที่เราอาศัยได้อย่างปลอดภัยสู่คนรุ่นหลังต่อไป


ป่า Intact ในประเทศรัสเซีย บันทึกภาพเมื่อ 13 กันยายน 2559

ลองมาดูเรื่องตัวเลขกันบ้าง 350 ส่วนต่อล้านส่วน (parts per million) คือความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัย แต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้พาเราสู่ยุคที่ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่เกิน 400 ส่วนต่อล้านส่วน หากเรายังคงดำเนินการเช่นนี้ต่อไป เราอาจได้เห็นระดับคาร์บอนไดออกไซด์เกิน 450 ส่วนต่อล้านส่วน ภายในปี 2593 พร้อมกับผลกระทบที่เป็นหายนะ

ดังนั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเร่งด่วนเท่านั้น แต่เรายังต้องลบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพอากาศของโลกนั้นอยู่ในระดับที่เราอาศัยอยู่ได้ เราจำเป็นต้องลงมือทำโดยไม่ไขว่คว้าทางออกที่ผิด ๆ อย่างการกักเก็บคาร์บอน หรือเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน(carbon capture and storage – CCS)


ภาพฉายคำว่า “We Will Move Ahead” ที่การประชุม COP22 เมืองมาราเกซ ประเทศโมร็อคโค เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2559

การประชุม COP22 เมืองมาราเกซ ประเทศโมร็อคโค แทบไม่มีการเจรจาตกลงอย่างเป็นทางการถึงทางออกด้านป่าไม้และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน อย่างไรก็ตามข้อตระหนักถึงบทบาทของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและผืนป่านั้นกำลังเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า การลงมืออย่างเหมาะสม ประกอบกับความมุ่งมั่นอันยิ่งใหญ่ มีความจำเป็นอย่างมากในประเด็นนี้ ผู้นำทางการเมืองและทางอุตสาหกรรม รวมถึงองค์กรภาคสังคมต่าง ๆ มีบทเรียนจากโครงการมากมายที่เกิดขึ้น หนึ่งในโครงการนั้นคือ อุตสาหกรรมถั่วเหลืองของประเทศบราซิล ซึ่งกรีนพีซพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการทำลายผืนป่าอะเมซอน และโครงการนี้เองที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นหนทางหนึ่งที่กลุ่มอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถลงมือได้ เพื่อมุ่งสู่การยุติการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทานของตน

พื้นที่ป่าและดินนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อให้เราสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดย 4 ข้อต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญที่ควรเป็นข้อคำนึงในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

1. จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ โปร่งใส และเป็นอิสระในการรับผิดชอบต่อการปล่อยกีาซคาร์บอนไดออกไซด์และลดการปล่อย รวมถึงยุติการทำลายป่า ฟื้นฟูป่า และร่วมลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อื่น ๆ

2. ประเทศที่กำลังพัฒนาควรได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกองทุนสภาพอากาศสีเขียว (Green Climate Fund - GCF) และจากกองทุนทวิภาคีอื่น ไม่ใช่จากสาขาของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ปล่อยมลพิษ

3. ประเทศในแผนสนับสนุนในระดับประเทศอย่างมุ่งมั่น  หรือ NDCs (Nationally Determined Contributions) ควรยกระดับเป้าหมายข้อกำหนดการใช้ผืนป่าและผืนดิน ซึ่งที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอในส่วนของประเทศที่กำลังพัฒนาและแทบจะไม่ปรากฎเลยในประเทศที่พัฒนาแล้ว

4. อาณาเขตของชนพื้นเมืองและสิทธิชุมชนควรได้รับการตระหนักและคุ้มครอง เนื่องจากคนกลุ่มนี้คือผู้ที่พิทักษ์ผืนป่าจากการบุกรุกและถูกทำลาย

ชมวิดีโอ ต้นไม้จำนวน 750,000 ล้านต้น สามารถทำอะไรได้บ้างกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


บทความนี้แปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ  สามารถอ่านได้ที่นี่ Four ways our forests must be part of the climate conversation

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/58457


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่




Create Date : 24 เมษายน 2560
Last Update : 6 กรกฎาคม 2561 11:06:48 น. 0 comments
Counter : 665 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

greenpeacethailand
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




ในพ.ศ.2514 กลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ จากเมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์แห่งโลกสีเขียวและมีสันติสุข ได้แล่นเรือหาปลาเก่าๆ ออกจากแวนคูเวอร์ แคนาดา นักกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกรีนพีซ เชื่อว่าบุคคลไม่กี่คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ภาระกิจของพวกเขาคือการ "เป็นประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุ" ของการทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินที่เกาะอัมชิตกา ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งตะวันตกของรัฐอลาสก้า ซึ่งเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อัมชิตกาเป็นสถานหลบภัยของนากทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 3,000 ตัว และเป็นบ้านของนกอินทรีย์หัวล้าน เหยี่ยวต่างถิ่น และ สัตว์ป่าอื่นๆ มากมาย

ถึงแม้ว่าเรือเก่าๆ ของพวกเขา คือ ฟิลลิส คอร์แมก ถูกขัดขวางก่อนที่จะไปถึงอัมชิตกา แต่การเดินทางครั้งนี้จุดประกายเล็กน้อยให้แก่ความสนใจของสาธารณชน

สหรัฐอเมริกายังคงจุดระเบิดอย่างหนักหน่วง แต่เสียงเพรียกแห่งเหตุผลมีผู้ได้ยินแล้ว การทดลองนิวเคลียร์บนเกาะอัมชิตกาได้สิ้นสุดลงในปีเดียวกัน และเกาะแห่งนั้นได้ถูกประกาศให้เป็นสถานหลบภัยของนกทั้งหลาย

ปัจจุบัน กรีนพีซเป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก


คุณพร้อมที่จะร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือยัง?
มีหลายวิธีที่คุณสามารถทำได้ตอนนี้!


หลายคนอาจจะคิดว่าการดูแลรักษาโลกเป็นเรื่องยาก แค่ลำพังเราอาจทำอะไรได้ไม่มากนัก แต่ในความเป็นจริงแล้วแค่เพียงสองมือเล็กๆของเราก็สามารถทำเพื่อโลกได้มากมาย อ่านต่อ

ติดตามกรีนพีซเพ่ิมเติมได้ที่:

Facebook | Twitter | Instagram | YouTube
[Add greenpeacethailand's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com