นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

จะทำอย่างไร?......ให้ไม้ดอกไม้ประดับผลิดอกออกผลให้เราได้ชื่นชม

ผู้ที่ชอบซื้อไม้ดอกไม้ใบมาประดับตกแต่งภูมิทัศน์รอบๆบ้าน ก็หวังจะชื่นชมความสวยสดงดงามจากธรรมชาติที่มอบให้ นอกจากจะมีความสุขสนุกสนานกับการรดน้ำ พรวนดินให้แก่ต้นไม้แล้ว ก็ยังลุ้นว่าเมื่อไรหนอดอกไม้สีสวยจะผลิแย้มออกมาให้ชื่นชมสมดังใจเสียที รอแล้วรอเล่าเฝ้าแต่รอ...ก็ยังไม่มี เพราะอ่านตำราแบบใหม่ ต้องปลอดภัยต่อชีวี ห้ามใส่ปุ๋ยคเมี จึงใส่แต่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ดอกจึงไม่มีแถมใบยังออกมาเสียมากมาย

ทำไม?...จึงเป็นเช่นนั้น หรือว่าการที่เราใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกแต่เพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะทำให้พืชหรือต้นไม้ของเราได้รับธาตุอาหารตัวหน้าสูงเกินไป นั่นก็คือ “ไนโตรเจน” ซึ่งจะทำให้พืชเจริญเติบโตทางใบเป็นอย่างมากและอ่อนแอต่อโรคและแมลงได้ง่ายถ้าเราใส่เจ้า “ไนโตรเจน” ตัวนี้เข้าไปในดินมากเกินไป จึงทำให้พืชที่เราปลูกอยู่นั้นอาจจะไม่ยอกผลิดอกออกผลให้แก่เจ้าของก็เป็นได้
แนวทางที่จะช่วยทำให้พืชพัฒนาและเจริญเติบโตเป็นดอกได้ดีก็คือ การควบคุม คาร์บอนและไนโตรเจน (C : N Ratio) ให้อยู่ในความเหมาะสม ถ้าเราต้องการที่จะให้พืชออกดอกให้เราได้ชื่นชม ควรทำการใส่ธาตุอาหารคาร์บอนให้เขากินเข้าไปเยอะ ๆ เมื่อพืชหรือต้นไม้ของเราได้สะสม คาร์บอน เก็บไว้เยอะจนมีปริมาณที่สูงกว่าไนโตรเจน ก็จะทำให้พืชพัฒนาเป็นตาดอกได้ง่ายขึ้น
จะให้ "คาบอร์นฯ" เมื่อไรดี?... ระหว่างที่จิตใจของเรากระวนกระวายรอคอยให้แมกไม้นานาพันธุ์ของเราออกมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วและ/หรือว่าอาจจะอยู่ในฤดูที่ต้นไม้ของเราจะต้องออกดอกแล้ว....แต่!..เขากลับไม่ยอมออก......ตรงนี้ล่ะครับคือช่วงเวลาที่ควรจะรีบเติมคาร์บอนเข้าไปให้แก่ต้นไม้ของเรา เอ!...แล้วจะเอามาจากที่ไหน? อันนี้ไม่ต้องกังวลครับ ทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เขามีสูตรฮอร์โมนไข่ ที่ใช้ในการเปิดตาดอกโดยตรง ซึ่งเป็นตัวที่ให้แร่ธาตุปริมาณคาร์บอนเป็นจำนวนมาก โดยปรกติแล้วจะทำไว้ให้กลุ่มเกษตรชาวสวนชาวไร่ไม้ผล นำไปใช้ในช่วงเปิดตาดอก ซึ่งก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก เพราะช่วยกระตุ้นทำให้เกิดการออกดอกโดยที่ไม่ต้องไปทรมานต้นไม้ อย่างที่ชาวสวนในอดีตเขาทำกันเช่น ควั่นกิ่ง, รมควัน, ทิ้งน้ำ (ปล่อยให้อดน้ำโดยไม่ต้องรดเป็นเวลาหลายวัน), ใช้สารพาร์โคบิวทราโซน และ โพแทสเซียมคลอไรด์ ต่างๆ แล้วแต่จะสรรมาทำกัน ซึ่งวิธีแบบนี้จะทำให้ต้นไม้ของเราอยู่กับเราไม่ได้นาน เพราะสภาพต้นจะอ่อนแอลงไปเรื่อย ๆ จนตายในที่สุด
วิธีการทำ ฮอร์โมนไข่.... ก็ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแค่นำไข่ไก่ ชั่งน้ำหนักให้ได้ 5 กิโลกรัม แล้วนำมา บด ทุบ ตี ให้ละเอียด นำไปใส่ภาชนะขวดโหลหรือถังพลาสติก แล้วนำกากน้ำตาลอีก 5 กิโลกรัม ใส่เพิ่มลงไป ลูกแป้งข้าวหมาก (ต้องเป็นลูกแป้งข้าวหมากเท่านั้นนะครับ....ลูกแป้งเหล้าไม่แนะนำ) 1 ลูก ก่อนใส่ให้นำไปใส่ไว้ในถุงก๊อปแก๊ปแล้วบี้ ขยำให้ละเอียดเป็นผุยผง แล้วค่อยโปรยลงไปในภาชนะ สุดท้าย....ท้ายยังไม่ท้ายสุดให้นำยาคูลท์ใส่เพิ่มลงไปอีกหนึ่งขวด แล้วกวนให้เข้ากันเป็นอันเสร็จพิธี หมักทิ้งไว้ ให้ครบ7 วันโดยไม่ต้องคน อ๊ะ!..เกือบลืมถ้าเป็นภาชนะปากกว้างอย่าลืมนำถุงพลาสติกมาปิดคลุม แล้วใช้เชือกผูกมัดปิดปากให้แน่น แล้วใช้ไม้แหลมจุ้มให้มีอากาศเข้าได้บ้างเล็กน้อย
วิธีการใช้ฮอร์โมนไข่ หลังจากที่เราหมักฮอร์โมนไข่จนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้นำมาใช้ในการฉีดพ่นทางใบในอัตรา 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่ว ชุ่มโชก ทั้งใต้ใบ บนใบเหมือนอาบน้ำ ทุก ๆ 3 – 7 วัน ถ้าขนาดของลำต้นหรือทรงพุ่มมีขนาดใหญ่อาจจะราดรดทางดินช่วยอีกทางก็ได้โดยใช้ 20 – 30 ซี.ซี. (1 -2 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดให้ทั่ว ๆ รอบ ๆ บริเวณทรงพุ่มเพียงเดือนละครั้งสองครั้งก็พอ
เมื่อทำเสร็จสรรพครบทุกกระบวนการแล้วก็หวังว่า....เพื่อนสมาชิกและกัลยาณมิตรทั้งหลายคงจะมีต้นไม้ที่ที่เพียบพร้อมไปด้วย กิ่ง ก้าน ใบ และดอก โดยเสร็จสมอารมณ์หมายกันถ้วนหน้านะครับ ใช่ว่าจะมีแต่ดอกเพียงอย่างเดียว (ฮา.......)

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2552   
Last Update : 31 สิงหาคม 2552 17:03:20 น.   
Counter : 583 Pageviews.  

พืชไร่ ไม้ดอก : ระวังโรคที่มากับความหนาว

หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนเคลื่อนแผ่เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ทำให้ภาคอีสานตอนบนของไทยได้รับอิทธิพลจากอากาศที่หนาวเย็นด้วย อุณหภูมิที่ต่ำดูดซับความชื้นจาก พื้นดิน ห้วย หนอง คลอง บึง ส่งผลให้เกิดหมอกซึ่งเป็นไอน้ำที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถที่จะเกาะติดสัมผัสกับพืชผัก พืชไร่ไม้ดอกที่เถาหรือลำต้นมีขนเล็กละเอียดได้ง่าย อย่างเช่น พืชตระกูลแตง ดาวเรือง เบญจมาศ กระเจี๊ยบ ฯลฯ
ความชื้นเมื่อมีมากขึ้นทำให้สปอร์ของเชื้อราในอากาศส่วนหนึ่งมีน้ำหนักเพิ่ม ตกหล่นลงมาและเจริญเติบโตบนใบพืช ความชื้นทำให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสปอร์ ทำให้เกิดโรคที่มีสาหตุจากเชื้อราต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ราน้ำค้าง ราดำ ราจุดและราสนิม ซึ่งส่งผลให้ทำให้ใบด่าง ใบดำ ใบผุ ขอบใบไหม้ แตกต่างกันไปตามลักษณะของการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดต่าง ๆ
การแก้ปัญหาอย่างง่าย ให้ใช้ ฟังก์กัสเคลียร์ (ผงจุลสีที่ใช้กำจัดตระไคร่ในสระว่ายน้ำ แคลเซียม แมงกานีส ซิลิสิค แอซิด) 2 กรัมร่วมกับ แซนโธไนท์ (สารสกัดจากเปลือกมังคุด) 2 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้เปียกชุ่มโชกทั้งใต้ใบบนใบ เพื่อล้างใบและทำลายสปอร์ของเชื้อราตั้งแต่เริ่มแรก มิให้ลุกลามแผ่ขยายเป็นวงกว้างออกไป และในกรณีที่มีการลุกลามและมีการเข้าทำลายของเชื้อราจนเกิดโรคแล้ว สามารถใช้เชื้อบีเอสพลายแก้ว 5 กรัม หมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผลหรือนมรสหวาน ยูเฮชทีหรือ นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หรือใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หมักทิ้งไว้ 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น สลับกับไตรโคเดอร์ม่าละเอียด ก็ช่วยรักษาโรคที่มากับความหนาวได้ดี



มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 16:12:00 น.   
Counter : 481 Pageviews.  

การใช้โพลิเมอร์กับไม้เพาะชำไม้กระถาง

ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ไม้ชำต่าง ๆ มักจะมีปัญหาเรื่องการให้น้ำ เนื่องมาจากปริมาณวัสดุปลูกที่มีอยู่จำกัด ปริมาณน้อยตามขนาดของกระถางหรือถุงเพาะชำ ทำให้การดูดซับกักเก็บน้ำมีประสิทธิภาพน้อยตามลงไปด้วย เมื่อรดน้ำก็จะไหลซึมผ่านวัสดุปลูกออกนอกถุงไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้มากนัก ส่งผลทำให้การใช้น้ำค่อนข้างจะสิ้นเปลือง เพราะต้องคอยรดน้ำอยู่บ่อยๆ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำอย่างมากมาย หรือจะใช้ถาดรองไว้ด้านล่างก็ต้องรดน้ำในปริมาณที่มาก และเมื่อน้ำส่วนเกินขังที่ถาดรองก็จะทำให้เกิดยุงแพร่ระบาดก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตามมาอีกมากมาย
การแก้ปัญหาควรปรับปรุงดินและวัสดุปลูกให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้มากขึ้น โดยการนำดินที่ผสมตามสูตรเดิมคือพยามหาส่วนประกอบหรือสูตรที่มี ดิน อินทรีย์วัตถุและภูไมท์หรือภูไมท์ซัลเฟตร่วมอยู่ด้วยประมาณ 5-6 ส่วนคลุกผสมร่วมกับโพลิเมอร์ที่แช่จนพองตัวเต็มที่แล้ว (โพลิเมอร์1 กิโลกรัม สามารถพองขยายตัวได้ประมาณ 200 เท่า) อีก 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใส่กระถางหรือถุงชำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปลูก
ผลที่ได้รับจะทำให้อัตราการรอดสูง การเจริญเติบโตมีความสม่ำเสมอ รากจะเจริญเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับชั้นที่มีโพลิเมอร์คลุกผสมเพราะได้รับอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เวลาจะถอนไปปลูกหรือชำต่อก็ง่ายสะดวกสบาย ประหยัดค่าแรงงานและค่าน้ำ พืชงามทนเหมาะสำหรับ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใบ ปาล์ม ยาง ไม้ผล ต่างๆ


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 16:09:24 น.   
Counter : 531 Pageviews.  

ฤดูหนาว : แก้ปัญหามะลิไม่ออกดอกแบบปลอดสารพิษ

มะลิจัดเป็นไม้ดอกที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและอยู่คู่คนไทยมาช้านาน แถมยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ จึงยังคงทำให้มีผู้ปลูกมะลิออกจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความนิยมและประโยชน์ของดอกมะลิที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมปลูกมะลิไว้คอยตอบรับกับความต้องการของตลาดกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานเกือบตลอดทั้งปี
ปัญหาของผู้ที่ปลูกมะลิพบกันส่วนมากจะเป็นปัญหาการออกดอกที่น้อยลงในฤดูหนาว ทั้งที่ความต้องการของดอกมะลิยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดกลับน้อยเกินไปส่งผลให้ราคาแพง นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสทองเช่นนี้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในส่วนของการแตกใบอ่อนและการออกดอกน้อยลง โดยมะลิจัดได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนที่จำเป็นดังกล่าวคือ จิบเบอเรลลิค แอซิด, แนพธิล อะซิติค แอซิด ซึ่งถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาให้อาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกปัญหานี้ก็จะน้อยลง เพราะมะลิสามารถที่จะผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้เองและเพียงพอต่อความต้องการใช้
อีกหนึ่งปัญหาคือหนอนเจาะดอกซึ่งจะส่งผลให้ดอกของมะลิเป็นสีม่วง และเป็นปัญหาที่ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ดอกของมะลิเกิดสีเช่นนี้ได้ การที่หนอนเข้าไปกัด เจาะ ทำลายท่อน้ำท่ออาหารจากกิ่งและก้านดอกที่โดยปรกติทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและการสร้างสีขึ้นไปเลี้ยงยังกลีบและช่อดอก ทำให้เกิดการตัดขาดสารอาหารที่จำเป็นในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่าง ๆ ไป ส่งผลทำให้ดอกอยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหารและฮอร์โมนจนเกิดความผิดปรกติและฟ้องผู้ปลูกมะลิโดยการเปลี่ยนสีแทน (เพราะมะลิเข้าพูดไม่ได้ จึงต้องฟ้องเจ้าของด้วยการเปลี่ยนสีให้เห็น)
วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางปลอดสารพิษและประหยัดต้นทุน จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโดยตรงเพราะถ้าฉีดบ่อยก็ยุ่งยากและสิ้นเปลือง หรือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล การฉีดพ่นในอัตราส่วนที่เข้มข้นมาก ๆ พืชเขาก็ไม่สามารถที่จะรับได้ทันทีทั้งหมด จะพยายามสลายฮอร์โมนให้ลดเหลือตามปรกติที่เคยดูดซึมได้เท่านั้น ทำให้วิธีการนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล ควรใช้วิธีการฉีดพ่นสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุเพื่อให้เขาผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง ซึ่งจะส่งผลที่ดีกว่าการนำฮอร์โมนมาฉีดพ่นโดยตรงเป็นอย่างมาก คือให้นำ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม หรือ ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ร่วมกับปุ๋ยทีมีตัวกลางสูง ๆเช่น 0-52-34, 10-52-17
ส่วนปัญหาในเรื่องของหนอนเจาะดอก ให้ใช้สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืนและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ที่จะเข้ามาอาศัยวางไข่ และให้ใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักสูตรไข่ไก่ 5 ฟอง, สเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง, น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง กับน้ำ 20 ลิตร อัดอากาศให้ออกซิเจน 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำ 80 ลิตร หรือจะใช้สูตร เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมร่วมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือนมยุเฮชที, นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ในเวลาที่เท่ากับผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน เพื่อทำลายหนอนเจาะดอกในแปลงปลูกมะลิ ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ปลูกมะลิให้หมดไปได้
สนใจและต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโทร.ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 0-2986-1680-2


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 12 สิงหาคม 2552   
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 16:08:56 น.   
Counter : 1615 Pageviews.  

1  2  3  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]