นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ฤดูหนาว : แก้ปัญหามะลิไม่ออกดอกแบบปลอดสารพิษ

มะลิจัดเป็นไม้ดอกที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมและอยู่คู่คนไทยมาช้านาน แถมยังจัดเป็นไม้มงคลที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในวันแม่ จึงยังคงทำให้มีผู้ปลูกมะลิออกจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยความนิยมและประโยชน์ของดอกมะลิที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่องนี้เอง จึงทำให้มีผู้ที่นิยมปลูกมะลิไว้คอยตอบรับกับความต้องการของตลาดกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานเกือบตลอดทั้งปี
ปัญหาของผู้ที่ปลูกมะลิพบกันส่วนมากจะเป็นปัญหาการออกดอกที่น้อยลงในฤดูหนาว ทั้งที่ความต้องการของดอกมะลิยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแต่ผลผลิตออกสู่ตลาดกลับน้อยเกินไปส่งผลให้ราคาแพง นับว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในโอกาสทองเช่นนี้ของเกษตรกรผู้ปลูกมะลิ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศที่หนาวเย็นทำให้การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในส่วนของการแตกใบอ่อนและการออกดอกน้อยลง โดยมะลิจัดได้ว่ามีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นเป็นอย่างมาก ฮอร์โมนที่จำเป็นดังกล่าวคือ จิบเบอเรลลิค แอซิด, แนพธิล อะซิติค แอซิด ซึ่งถ้ามีการดูแลบำรุงรักษาให้อาหารอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกปัญหานี้ก็จะน้อยลง เพราะมะลิสามารถที่จะผลิตฮอร์โมนเหล่านี้ได้เองและเพียงพอต่อความต้องการใช้
อีกหนึ่งปัญหาคือหนอนเจาะดอกซึ่งจะส่งผลให้ดอกของมะลิเป็นสีม่วง และเป็นปัญหาที่ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ดอกของมะลิเกิดสีเช่นนี้ได้ การที่หนอนเข้าไปกัด เจาะ ทำลายท่อน้ำท่ออาหารจากกิ่งและก้านดอกที่โดยปรกติทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างฮอร์โมนและการสร้างสีขึ้นไปเลี้ยงยังกลีบและช่อดอก ทำให้เกิดการตัดขาดสารอาหารที่จำเป็นในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตต่าง ๆ ไป ส่งผลทำให้ดอกอยู่ในสภาพที่ขาดสารอาหารและฮอร์โมนจนเกิดความผิดปรกติและฟ้องผู้ปลูกมะลิโดยการเปลี่ยนสีแทน (เพราะมะลิเข้าพูดไม่ได้ จึงต้องฟ้องเจ้าของด้วยการเปลี่ยนสีให้เห็น)
วิธีการแก้ปัญหาในแนวทางปลอดสารพิษและประหยัดต้นทุน จึงไม่แนะนำให้ใช้ฮอร์โมนโดยตรงเพราะถ้าฉีดบ่อยก็ยุ่งยากและสิ้นเปลือง หรือใช้น้อยไปก็ไม่ได้ผล การฉีดพ่นในอัตราส่วนที่เข้มข้นมาก ๆ พืชเขาก็ไม่สามารถที่จะรับได้ทันทีทั้งหมด จะพยายามสลายฮอร์โมนให้ลดเหลือตามปรกติที่เคยดูดซึมได้เท่านั้น ทำให้วิธีการนี้ใช้ไม่ค่อยได้ผล ควรใช้วิธีการฉีดพ่นสารอาหารในกลุ่มจุลธาตุเพื่อให้เขาผลิตฮอร์โมนไว้ใช้เอง ซึ่งจะส่งผลที่ดีกว่าการนำฮอร์โมนมาฉีดพ่นโดยตรงเป็นอย่างมาก คือให้นำ ไวตาไลเซอร์ 5 กรัม หรือ ไรซ์กรีนพลัส 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ร่วมกับปุ๋ยทีมีตัวกลางสูง ๆเช่น 0-52-34, 10-52-17
ส่วนปัญหาในเรื่องของหนอนเจาะดอก ให้ใช้สมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการวางไข่ของแม่ผีเสื้อกลางคืนและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ที่จะเข้ามาอาศัยวางไข่ และให้ใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมหมักสูตรไข่ไก่ 5 ฟอง, สเม็คไทต์ 5 ช้อนแกง, น้ำมันพืช 5 ช้อนแกง กับน้ำ 20 ลิตร อัดอากาศให้ออกซิเจน 24 – 48 ชั่วโมง นำมาผสมกับน้ำ 80 ลิตร หรือจะใช้สูตร เชื้อบีทีชีวภาพ 5 กรัมร่วมกับ น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล หรือนมยุเฮชที, นมถั่วเหลือง 1 กล่อง หมักทิ้งไว้ในเวลาที่เท่ากับผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน เพื่อทำลายหนอนเจาะดอกในแปลงปลูกมะลิ ซึ่งวิธีการทั้งหมดนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ของผู้ปลูกมะลิให้หมดไปได้
สนใจและต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโทร.ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้ที่ 0-2986-1680-2


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 12 สิงหาคม 2552
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 16:08:56 น. 0 comments
Counter : 1616 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]