นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปัญหาของไม้กระถาง

การปลูกพืชในปัจจุบันของประเทศไทยนั้นนับว่ามีความก้าวหน้าค่อนข้างมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก น้องๆ ประเทศไต้หวันไม่ว่ามหาวิทยาลัยใดๆ ในโลกต่างก็ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน ทั้งอินเดีย ยุโรป อเมริกา และโดยกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนใกล้เคียงไม่ต้องพูดถึง แทบจะใช้ไทยเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการเลยด้วยซ้ำ(ยกเว้นการเมืองนะครับ) ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่ารูปแบบการปลูกพืชของบ้านเรานั้นจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายรูปแบบ ทั้งใต้ดิน (under soil) บนดิน (upsoil) บนอากาศ (air roots) ในน้ำ(Hydroponics) ไร้ดิน (soilless) ในภาชนะปลูก (container soil) โดยเฉพาะอย่างหลังสุดนี้คือวิธีการปลูกที่จะนำมาพูดถึงในวันนี้คือก่ารปลูกพืชไม้ในภาชนะปลูกหรือไม้กระถาง ในบ้านเรานั้นก็มีหลากหลายทั้งไม้กระถางที่สวยงามหรือจะใช้ภาชนะเหลือใช้อย่างถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ ที่ชำรุดแตกหัก เสีย หาย ก็นำมาใช้เป็นภาชนะปลูกได้ทั้งนั้น

ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าทั้งในรูปแบบ รียูส (Reused)และรีไซเคิล (recycle แถมยังดูมีความเก๋เท่ห์ แปลกตา เคลื่อนย้ายไปตามจุดต่างๆ ได้ตามความต้องการจึงมีผู้นิยมปลูกไม้กระถางประดับประดาบ้านเรือนให้สวยงามอยู่มากมายแต่ปัญหาของการปลูกไม้กระถางคือการที่ต้องหมั่นเติมแร่ธาตุสารอาหารให้พืชอยู่ตลอดเวลาเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มักจะใช้เวลาอยู่กับเหย้าเฝ้าเรือนเป็นส่วนใหญ่แถมต้องมีรสนิยมชมชอบต้นไม้เป็นพิเศษอีกด้วยเพราะต้องมีเวลาหมั่นดูแลบำรุงรักษาสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ว่าพืชจะขาดน้ำ ขาดปุ๋ย เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

ปัญหาของไม้กระถางส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องการเปลี่ยนดิน การเติมปุ๋ยน้ำ เพราะรากพืชไม่สามารถหาอาหารได้จากพื้นดินธรรมชาติได้ ต้องคอยรับจากการป้อนการเติมจากเจ้าของผู้ปลูกอยู่ตลอดเวลา (อาจจะสัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินในกระถาง) การที่ไม้กระถางจะต้องเปลี่ยนดินอยู่บ่อยๆ นั้นเพราะเมื่อรดน้ำลงไปในกระถาง น้ำก็จะพัดพาเอาอินทรียวัตถุ (organic matter)ที่อยู่ภายในไหลออกไปข้างนอกอยู่ตลอดเวลาอินทรียวัตถุเมื่อรวมตัวอยู่กับดิน ก็จะช่วยทำให้โครงสร้างดิน โปร่ง ร่วน ซุยเป็นอาหารของจุลินทรีย์นานาชนิด เมื่อถูกชะล้างไปก็ทำให้โครงสร้างดินแน่นแข็งจุลืนทรีย์ดีมีประโยชน์ก็ลดน้อยถอยลง ทำให้พืชอ่อนแอได้ง่ายเพราะฉะนั้นเกษตรกรจะต้องหมั่นเติมอินทรีย์วัตถุลงไปอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ก็ต้องใช้กาบมะพร้าววางทาบขัดรูก้นกระถางเพื่อให้เกิดการชะล้างอินทรีย์วัตถุออกไปได้ยาก การใช้หินแร่ภูเขา พูมิชซัลเฟอร์ (PumishSulpher) คลุกผสมกับดิน ร่วมกับ โพแทสเซียมฮิวเมท (Humic acid) ในอัตรา 2 :0.5 : 10 (พูมิชซัลเฟอร์ : โพแทสเซียมฮิวเมท : ดิน)จะช่วยทำให้ดินเหมาะสมต่อการปลูกไม้กระถางเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้การแน่นแข็งเกิดขึ้นได้ยากขึ้นจากคุณสมบัติของหินแร่ภูเขาไฟที่มีความโปร่งพรุนและกลุ่มอินทรียวัตถุที่อยู่ในรูปฮิวมัส ฮิวมิคซึ่งพร้อมต่อการเจริญเติบโตของพืชและช่วยให้โครงสร้างดินไม่ขาดอินทรียวัตถุในระยะยาวไม่ต้องเปลี่ยนดินบ่อย พืชแข็งแรงจากซิลิก้าได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วน พืชเขียวนาน เขียวทน

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 26 สิงหาคม 2556
Last Update : 26 สิงหาคม 2556 11:21:50 น. 0 comments
Counter : 471 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]