เรื่องราวของชายผู้มีความหลัง
Group Blog
 
All blogs
 
งานจุฬาวิชาการ 2548 (ตอนจบ)

มาต่อกันนะคับ ถึงแม้ว่าจะเลยช่วงจุฬาวิชาการมานานมาก ๆ แล้วก็ตาม หุหุหุหุหุ

ปกติถึงผมจะเรียนนิติศาสตร์และสนใจอะไรที่เกี่ยวกับกฎหมาย แต่ก็แปลกที่ว่าผมไม่ค่อยมีกระบวนทัศน์ที่ออกไปในแนวนิติศาสตร์มากนัก ออกจะเอาหลายแนวคิดมาโขลก ๆ รวม ๆ กันบ้าง เพราะผมถือว่าการที่เราจะวิเคราะห์ปัญหาสังคม กลไกต่าง ๆ ของสังคมได้นั้น ไม่ควรมองแค่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง เราควรมองให้รอบด้าน กฎหมายก็ถือเป็นกลไกการขัดเกลาทางสังคม แต่ก็เป็นแค่เพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีกลไกอื่น ๆ อีกเช่นวิถีชาวบ้าน จารีต เป็นต้น แต่กระนั้นเมื่อมีนิทรรศการของคณะผมในจุฬาวิชาการ ผมเองก็อดไปดูไม่ได้ เพียงแต่ผมดูผ่าน ๆ ไม่ค่อยสนใจจริงจัง

นิทรรศการคราวนี้ด้วยความที่ผมดูผ่าน ๆ ผมก็ขอเล่าแบบคร่าว ๆ แล้วกันครับ เรื่องของเรื่องคือเมื่อผมเข้าไปดูนิทรรศการของคณะนิติศาสตร์ ผมว่ามันก็มีเรื่องน่าสนใจอยู่หลายเรื่องเลย เรื่องแรกที่ผมไปดูก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับคุก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุกเอกชนซึ่งเป็นอีกแนวคิดหนึ่งในเรื่องคุก โดยในปัจจุบันจำนวนนักโทษที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่คุกของรัฐบาลมีจำนวนไม่เพียงพอต่อนักโทษที่มีมากขึ้น จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาทำกิจการห้องขังนักโทษเพื่อบรรเทาภาระของรัฐบาล การเข้ามาทำกิจการคุกขังนักโทษนั้นเอกชนจะต้องทำสัญญากับรัฐซึ่งเป็นสัญญาในทางมหาชน โดยรัฐบาลมีสิทธิเลิกสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และรัฐต้องจ่ายค่าเสียหายเยียวยาแก่เอกชนนั้นตามกระบวนการของกฎหมาย แน่นอนว่ากระบวนการทำสัญญาทางปกครอง การชดใช้เยียวยา การระงับข้อพิพาทในเมืองไทยมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะกระบวนการทางศาลปกครองซึ่งเป็นกระบวนการแก้ไขเยียวยานั้นก็ถือว่าเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพพอสมควรในปัจจุบัน ถือได้ว่าในอนาคตหากมีการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาทำกิจการห้องขังอาจจะเป็นนิมิตหมายที่ดีไม่น้อยในการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลได้ส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐจะมีกฎหมายมารองรับในส่วนของการให้เอกชนมาทำกิจการห้องขังหรือไม่ รวมถึงจะมีกฎหมายออกมาเกี่ยวกับการโอนย้ายตัวนักโทษระหว่างคุกรัฐบาลกับคุกเอกชนหรือไม่ด้วย ซึ่งเราต้องติดตามกันต่อไป

ต่อมาก็เป็นบอร์ดเกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาท ดูผิวเผินเนื้อหาบนบอร์ดอาจจะธรรมดา แต่จริง ๆ แล้วเป็นมิติใหม่ในการตีความกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาทให้ครอบคลุมไปถึงกรณีการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวอ้างถึงเป็นที่ดูถูกเกลียดชังในสังคม โดยปกติในทางกฎหมายอาญา บุคคลใดกล่าวกับผู้อื่นอันเป็นเหตุให้บุคคลที่สามได้รับการดูถูกเกลียดชัง การกระทำนั้นถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ถ้ามาว่าถึงการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ตประเภทอีเมลนั้น ปกติเป็นการส่งข้อความไปหาผู้อื่นซึ่งเป็นข้อความที่ส่งความหมายทางภาษา ทำให้ผู้รับอีเมลได้รับรู้ว่าข้อความนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นข้อความที่อ้างถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งในทางเสียหายแล้วนั้น ในทางกฎหมายอาญาถือว่าเป็นหมิ่นประมาทได้เช่นกันเพราะกฎหมายอาญาถือเอาข้อความสำคัญกว่าวิธีการส่งข้อความ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นการส่งข้อความทางอีเมล ไม่ว่าจะเป็นวิธีการส่งปกติหรือส่งต่อ (Fwd.) หากเป็นการทำให้บุคคลที่สามได้รับการดูถูกเกลียดชัง ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน แน่นอนว่าผู้ที่ส่งอีเมลให้ระวังตัวเอาไว้เพราะหากส่งข้อความที่ล่อแหลมต่อการเข้าองค์ประกอบความผิดนี้ก็อาจะถูกฟ้องได้หากมีหลักฐานเพียงพอ ซึ่งก็น่าจะระวังเอาไว้บ้าง ถึงแม้จะจับหลักฐานยากพอสมควรก็ถาม ไม่ว่าจะเป็นอีเมลนินทาดารา อีเมลด่านักการเมือง เป็นต้น

ต่อมาเป็นนิทรรศการของคณะรัฐศาสตร์ซึ่งผมเองก็เดินเข้าไปดูไม่มากนัก แต่ผมมองว่าคราวนี้คณะรัฐศาสตร์จัดนิทรรศการได้ดีพอสมควร ต่างจากคราวที่แล้วซึ่งไม่มีอะไรเลย นิทรรศการที่ผมเข้าไปดูอย่างเป็นเรื่องเป็นราวหน่อยก็เห็นจะเป็นนิทรรศการที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางการเมืองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 โดยนิทรรศการนี้มีการจัดแผนผังเรียงลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองตามระยะเวลา ซึ่งในแต่ละช่วงเวลาก็มีเหตุการณ์แตกต่างกันไป อย่างเช่น มีเหตุการณ์ส.ส.ถือปืนเข้าไปในสภาเมื่อปี 2476 มีการรัฐประหารในปี 2490 กบฏวังหลวงในปี 2492 การโกงการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในปี 2500 เป็นต้น จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งผมดูแล้วก็ได้เนื้อหาสาระและความรู้มากมาย ทั้งยังได้เห็นข้อเท็จจริงที่ผมไม่เคยรู้มาก่อนด้วย ในงานก็จะมีเกมให้เล่น แต่เสียดายที่เป็นเกมเล่นกันสนุก ๆ ไม่มีรางวัลให้ครับ เหอ ๆๆๆๆๆ เป็นเกมทายปัญหาเกี่ยวกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางการเมืองแบ่งเป็น 3 อย่าง คือ ทายนายกรัฐมนตรีเจ้าของวาทะเด็ด ทายวาทะของนักการเมืองอื่น ๆ และทายเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการเมืองที่ละเอียดลึกลงไป เป็นต้น ซึ่งผมก็ตอบได้ไม่มากนักครับเพราะผมเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองในยุคเก่ามากนัก แต่กระนั้นผมก็ได้สาระและความรู้มากมายในนิทรรศการของคณะรัฐศาสตร์นี้

เอาเป็นว่าพอแค่นี้แล้วกันครับ ส่วนนิทรรศการของคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นั้นผมเองก็ไม่ค่อยจะได้รู้อะไรมากมายนัก เพราะผมไปดูแบบผ่าน ๆ และไม่ได้มีความรู้ในเรื่องนี้มากเท่าไหร่เลยไม่รู้จะเอามาบรรยายยังไงดี แต่กระนั้นจุฬาวิชาการคราวนี้เป็นจุฬาวิชาการครั้งที่ 4 ของผมและเป็นจุฬาวิชาการที่ผมรู้สึกสนุกที่สุดครั้งหนึ่งเลยทีเดียว หวังว่าจุฬาวิชาการครั้งหน้า น้อง ๆ ชาวจุฬาจะมีสาระน่ารู้ควบคู่กับความบันเทิงเล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้คนไทยได้ชมเพื่อเป็นวิทยาทาน เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยอีกเหมือนเดิมนะครับ



Create Date : 23 เมษายน 2549
Last Update : 23 เมษายน 2549 12:53:10 น. 4 comments
Counter : 417 Pageviews.

 
โห ... หายไปนานจนลืมไปเลยค่ะ
เพิ่งทราบว่ารัฐจะเปิดให้เอกชนมาดำเนินการเรื่องคุก อืม ... เป็นความรู้ใหม่ ขอบคุณที่มาเล่าให้ฟังค่ะ


โดย: Petit Patty วันที่: 23 เมษายน 2549 เวลา:19:08:54 น.  

 
มิติใหม่ในการตีความกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาทให้ครอบคลุมไปถึงกรณีการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวอ้างถึงเป็นที่ดูถูกเกลียดชังในสังคม

ขอบคุณค่ะ..ปกติป่ามืดจะระวังคำพูดอยู่ค่ะ นอกจากน้องๆที่สนิทกันก็มีเล่นกันบ้าง ..ระวังไม่ให้คนอ่านเข้าใจเจตนาของเราผิดค่ะ ..การนำเสนอข้อคิดธรรมะไม่ใช่ในฐานะที่เรารู้มากกว่าเก่งกว่า แต่เพื่อสนทนากันฉันเพื่อนและหรือศึกษาไปด้วยกัน ..บางทีคอมเมนท์ลบแล้วลบอีกค่ะ ..และไม่อยากให้กระทบใจในความหมายอื่นๆอีกด้วยค่ะ ..


โดย: ป่ามืด วันที่: 25 เมษายน 2549 เวลา:1:58:52 น.  

 
จำนวนนักโทษในเมืองไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือคะ ส่วนใหญ่โทษเกี่ยวกับอะไรคะ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ


โดย: ปูขาเก เซมารู วันที่: 25 เมษายน 2549 เวลา:21:20:51 น.  

 
มาติดตามจนจบค่ะ
จะมีต่อภาคหน้ามั๊ยเนี่ยะ
ล้อเล่นนะคะ...

รู้สึกเลยว่า
จำนวนคนที่ทำผิดนี่
คงมากขึ้นตามความเจริญของสังคม


โดย: prncess วันที่: 31 พฤษภาคม 2549 เวลา:8:45:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดยุคแห่งออสเตรีย
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]