A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 

Biblia Koshodou no Jiken Techou ร้านหนังสือเก่าพร้อมปัดเป่าในทุกปัญหา




หากจะถามว่า ...ซีรีย์ช่วงเวลาใดของค่ายฟูจิทีวี ที่เป็นที่น่าจับตามองที่สุด
แน่นอนว่า .......คงจะหนีไม่พ้น ทุกคืนวันจันทร์เวลาประมาณสามทุ่ม
ซึ่งคนทีวีญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีว่าเป็นช่วงเวลาพาร์มไทม์ของละคร
หรือที่เข้าใจกันง่ายๆตามภาษาบ้านๆ (เขา) ว่า getsu9 (月9)
ว่ากันว่า จริงๆแล้วมันไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของตัวซีรีย์เท่าไรนัก
ทว่าเกิดจากอานิสงส์ของการที่ไม่มีรายการถ่ายทอดสดกีฬาเบสบอล
ที่เป็นกีฬาสุดฮิตของผู้ชมทีวี ถึงขึ้นประเภทที่ว่าถ้าเกิดแมชต์ไหน
มีการแข่งขันที่เกิดคู่คี่สูสีถึงขึ้นต่อฎีกา ผังรายการต่อจากนั้นก็ต้องทำใจว่า
คงต้องเลื่อนเวลาให้ดึกลงไป หรือไม่ก็บางทีจำต้องยกเลิกฉายไปสัปดาห์ต่อไป




แน่นอนว่า.......เมื่อมันเป็นช่วงเวลาทองอันมีค่าของทางสถานี
ตัวสถานีเอง...จึงต้องระดมสรรพกำลังในโอกาสที่มีอยู่ไม่บ่อยนี้
ด้วยการระดมเหล่าไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์สตาร์ บทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง
รวมถึงทีมงานโปรดักชั่นสุดอลังการ เพื่อให้สอดรับกับอำนาจตอ่รอง
ที่จะไปสอดคล้องกับราคาค่าโฆษณาที่แพงกว่าซีรีย์ในช่วงเวลาอื่น อย่างปีที่แล้ว
มีซีรีย์getsu9ด้วยกันทั้งหมดสี่เรื่อง เป็นของสมาชิกของวงบอยแบนด์อาราชิเสียสอง
(Lucky Seven กับKagi no Kakatta Heya) เป็นงานคู่รักคู่ขวัญของซูปต้าร์ทีนเอจเสียหนึ่ง
(Rich Man, Poor Woman-ที่ได้โอกุริ ชุนประกบกับซาโตมิ อิชิฮารา) และสุดท้ายปลายปี
ก็หนีไม่พ้นขาประจำหนึ่งในวงSmap-ทาคุซังมาฟาดฟันเรตติ้งปลายปี (ในpriceless)
จึงไม่แปลก.....ที่ผังสลอทไทม์เวลานี้ จะเป็นที่จับตามองของหลายๆฝ่าย ว่าจะดึงซุปต้าร์
ท่านใดมาแสดง บางทีอาจจะแทบไม่ได้สนใจเลยว่าจะมาเล่นเรื่องอะไร พล็อกแบบไหนเสียด้วยซ้ำ





แต่พอมาปีนี้ ...... ดูเหมือนว่าคราวนี้ทางสถานีฟูจิจะมาแปลกกว่าทุกครั้ง
เพราะซีรีย์คืนวันจันทร์สามทุ่มในฤดูหนาว ดูว่าจะมีการปรับกลยุทธใหม่
ไม่ได้เน้นซูปเปอร์สตาร์ดังอย่างที่แล้วมา ทว่า...อาศัยการปั้นดาราหญิงหน้าใหม่
ซึ่งการปลุกปั้น.อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกนักสำหรับคนทำทีวี โดยเฉพาะดาราวัยรุ่น
ที่มักแจ้งเกิดโผล่ปรากฎหน้าจอในเกือบทุกซีซัน เพียงแต่...มันเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
สำหรับช่วงเวลาที่เรียกว่าgetsu9 หรือเวลาพาร์มไทม์ของทางช่องฟูจิทีวี
แสดงว่า......มันต้องมีอะไรดี สถานีถึงได้กล้าเสี่ยง เปลี่ยนขนบวิธีที่ไม่ได้มีกันบ่อย







Biblia Koshodou no Jiken Techou
เป็นซีรีย์ที่ประเดิมช่วงพาร์มไทม์ต้นปี
พูดถึงเรื่องราวของร้านหนังสือมือสองอันเก่าแก่ในย่านคามาคุระ
ร้านนี้มีชื่อว่าBiblia Koshodou ซึ่งในร้านมีผู้จัดการสาวและเป็นเจ้าของกิจการ
"ชิโนคาวะ ชิโอริโกะ" (แสดงโดยโกริคิ อายาเมะ จากเรื่องIS และBeginners!)
ตัวชิโอริโกะเธอจะมีความรอบรู้ในเรื่องของหนังสือเก่าอย่างแตกฉานทุกซอกทุกมุม
ไม่ว่าจะเป็นประวัติของผู้เขียน รายละเอียดของเนื้อหา ลักษณะพิเศษประจำเล่ม
สถานที่ที่เคยจำหน่าย และทะเบียนประวัติการซื้อของลูกค้า เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ในส่วนนี้
จะไปช่วยคลี่คลายในคดีปริศนา และความลับที่ซ่อนอยู่ภายในตัวของหนังสือเก่า
ของคุณลูกค้าผู้ที่มาเยือน และมีความฝังใจหรือผูกพันเป็นพิเศษต่อหนังสือเก่าเล่มนั้นๆ
โดยอาศัยข้อมูลและองค์ประกอบจากตัวหนังสือ ประกอบกับทักษะพิเศษจากความเป็น
หนอนหนังสือตัวยงของชิโอริโกะ มาช่วยไขปริศนาให้เขาและเธอเหล่านั้น
ให้ได้ค้นพบต่อความจริงที่หลบซ่อนอยู่ภายใน ที่แม้แต่ผู้ครอบครองอยู่ปัจจุบันไม่เคยทราบมาก่อน





l love old book.Not just because of the book

(ฉันรักในตัวหนังสือเก่า มิใช่เพียงเพราะว่า มันเป็นแค่หนังสือ)



But because they are passed.
Many old copies of books have a human story attached to them

(แต่ด้วยเพราะว่ามันได้ถูกส่งผ่าน ผ่าหนังสือเล่มเก่าหลายต่อหลายเล่ม
ที่มีเรื่องราวของความเป็นมนุษย์ ที่ถูกส่งมอบแก่พวกเขา)







แต่ถึงกระนั้น ชิโอริโกะเธอก็มีข้อบกพร่องที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก คือ
เธอเป็นคนที่ค่อนข้างจะเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใครเป็นพิเศษ ถึขั้นเป็นโรคแพ้คนแปลกหน้า
แต่อาการเหล่านั้นจะหายไปทันที.....หากเขาหรือเธอคนนั้น มีโอกาสได้พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับ
เรื่องจิปาถะทั่วไปที่วนเวียนอยู่กับบรรดาหนังสือเก่า ไม่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะเป็นแนวไหนก็ตาม
ซึ่งความสามารถพิเศษส่วนนี้ เกิดจากการที่เธอได้คลุกคลีอยู่กับกองหนังสือเก่ามาตั้งแต่เล็ก
สืบเนื่องมาจากการที่เธอเป็นทายาทผู้สืบทอดกิจการร้านหนังสือมือสองต่อจากพ่อของเธอ
ทำให้เธอกับน้องชาย ต้องรับภารกิจในการรักษาสมบัติเก่าแก่อันมีค่าของตระกูล
ขณะที่แม่ของพวกเธอ ได้ทอดทิ้ไปตั้งแต่ที่เขาทั้งสองยังเป็นเด็ก...นับแต่จำความได้







แต่สมาชิกในร้านBiblia Koshodou ไม่ได้มีเพียงแค่เธอคนเดียวเท่านั้น
(ส่วนน้องชายที่แสดงโดยเจสเซ่ ลูวิส หนึ่งในJohnny's Jrกรุ๊ป รับบทเป็นนักศึกษา
ที่มาช่วยงานที่ร้านในบางครั้งบางคราว) เธอยังได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ "โกระ ไดสุเกะ"
(แสดงโดย อากิระ จากGTO 2012) อดีคคุณลูกค้าที่ผันตัวมาเป็นผู้ช่วย
เริ่มแรกเขาเพียงต้องการที่จะรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเก่าของนัตซึเมะ โซเซคิ
(เขาเป็นใคร? เขาก็คือคนที่ปรากฎอยู่ในธนบัตรฉบับละพันเยนของญี่ปุ่น) ซึ่งเดิมที
เป็นหนังสือเล่มสุดโปรดของคุณยายของเขา โดยหนังสือเล่มดังกล่าวจะเปิดเผยความลับ
ที่เกี่ยวข้องถึงต้นกำเนิดของตัวไดสุเกะเอง จนเมื่อเขาได้ค้นพบความจริงนั่นเสร็จสิ้น
ชิโอริโกะก็เลยเอ่ยปากชักชวนเขา ให้เข้ามาเป็นสว่นหนึ่งของร้านBiblia Koshodo







นอกจากนี้ ทางร้านเธอยังมีสายส่งเก่าแก่ "ฮาชิเมะ ชินดะ"  (แสดงโดย
ลุงทาคาฮาชิ คาซึมิจากDon Quixote,NegotiatorและNobuta wo produce)
ทำหน้าที่ตระเวนเป็นพ่อค้าคนกลางในการรับซื้อหนังสือเก่าจากนอกสถานที่
ตามออเดอร์ของแต่ละร้านที่จะสั่งซื้อเข้ามา ตุเหรงปั่นจักรยานไปตามบ้าน
จะรู้จักกันดีกับพ่อของชิโอริโกะ และเห็นชิโอริโกะกันมาตั้งแต่เธอยังเป็นเด็ก
มักจะเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยไขปริศนาความลับ แบบที่ไม่ต้องขออาสา
แต่มาด้วยความเต็มใจ แม้ส่วนใหญ่จะพาให้หลงทางมากกว่าจะค้นพบทางออก







ในบรรดาซีรีย์ญี่ปุ่นเชิงMysteryมากมายหลายสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง
Biblia Koshodou no Jiken Techou ถือว่าเป็นซีรีย์ที่มีจุดขายน่าสนใจหลายด้าน
ประการแรก เป็นซีรีย์ที่แหวกคอกไปจากซีรีย์ปริศนาที่มักจะมาในทางสืบสวนคดีฆาตกรรม
ที่หลังๆเป็นตำรวจไม่พอ ยังเจาะจงให้ไปลงในนครบาล แถมต้องสังกัดหน่วยที่หนึ่งอีก
จนเรียกว่า...หน่วยนี้คนซีรีย์แทบจะเหยียบกันตายเพียงแต่ต่างค่ายและต่างเรื่อง เท่านั้นเอง







ประการที่สอง ถ้ามองแง่ตลาดก็ถือได้ว่าBiblia Koshodou...หลีกจากตลาดRed Ocean
ที่ฟาดฟันกันอย่างดุเดือดในทุกช่อง มาล่องทะเลชิ้วๆยังตลาดWhite Ocean
ที่ยังไม่มีคู่แข่งเจ้าไหนกล้าขืนทำ ซีรีย์หันมาเล่นในมุมความลับส่วนบุคคล
ที่มีความผูกพันกับหนังสือเล่มโปรด โดยที่ซีรีย์จะเน้นในฐานะของ "หนังสือเก่า"
ที่เป็น "ตัวแทนของสาสน์" ของอดีตเจ้าของ ที่บอกเล่าตัวตน-ความคิด-ประสบการณ์
ซึ่งอาจจะอยู่ในสาระเนื้อหาภายในของหนังสือ หรือในฐานะวัตถุของรักที่เป็นสิ่งผูกพัน
หรือประเภทคนคอเดียวกันเท่านั้น ที่จะรู้ตำแหน่งแห่งวาง ที่คนไม่ใช่แฟนหนังสือจะรู้กันได้
ผ่านความเชี่ยวชาญอย่างแตกฉานจากหนอนหนังสือชิโอริโกะ ที่จะมาถอดรหัสปริศนา
เพื่อค้นหานัยยะของความจริงในเชิงคุณค่าสากลจากหนังสือ ส่วนที่เหลือจากนั้น
จะเป็นเรื่องการตีความและเทียบเคียงในเชิงประสบการณ์ส่วนตัว ระหว่างผู้ค้นหาที่ต้องการ
สืบรู้ถึงความจริงกับแรงปรารถนาภายในของอดีตผู้ที่เคยครอบครองมัน และเป็นสิ่งที่ตกค้าง
เพื่อรอการสำรวจจากคนที่ตระหนักในคุณค่าของเขาในวันที่สายไป........ผ่านหนังสือ

อย่างที่ฟรองซัวส์ โมริยัค “tell me what  you read and i'll tell you who you are”
(บอกผมสิว่าคุณอ่านอะไร แล้วผมจะบอกได้ว่าตัวตนของคุณเป็นคนยังไง)







ส่วนประการถัดมา ซีรีย์จะได้ความสดจากทีมนักแสดงหน้าใหม่
ที่แม้อาจจะไม่ใหม่มากนัก แต่ถ้ามองในแง่ตำแหน่งตัวละคร เวลาที่ออกฉาย
รวมถึงประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยว นับเอาเฉพาะแค่วงการทีวีทั้งตัวอายาเมะและอากิระ
จะว่าไปสองคนนี้ถือว่าเติบโตในวงการเร็วใช้ได้ อย่างตัวอายาเมะเอง
มาเริ่มแตะงานซีรีย์ทีวีจริงในช่วงปี๒๐๐๗ แต่ก็ได้บทก๊องๆแก๊งๆตามเรื่องตามราว
ส่วนใหญ่ก็จะเป็นซีรีย์ในช่วงรอบดึกที่เปิดให้รปภ.ดู หรือไม่ก็บทเป็นแค่เพื่อนนางเอก
เรตติ้งก็ระดับต่ำเตี้ยเรี่ยดินกันมาทั้งน่าน ไม่ใช่ประเภทดาราที่พอเอามาขายได้
เธอมาดูดีในสายอาชีพการแสดงบ้างก็เมื่อปีที่แล้วนี้เอง แต่ก็ยังไม่ถึงกับดีมากนัก
ได้รับบทเป็นตัวเอกที่ดูมีเนื้อมีหนังหน่อย เพราะได้ประกบกับพระเอกโอกาดะ มาซากิ
จากซีรีย์เรื่องMirai Nikki ANOTHER:WORLD ที่เป็นซีรีย์คืนวันเสาร์ของทางฟูจิทีวี
ในปีเดียวกันนั่นเอง ก็มาได้บทตัวเอกอีกทางช่องTBSเรื่องBeginners! เล่าถึงช่วง
เวลาสิบเดือนของการเป็นนักเรียนตำรวจ โชคเธอมารุ่งเอาตอนที่ทางฟูจิทีวี
มีโปรเจ็คมูฟวีซีรีย์แนวสยองขวัญแบบจบในตอน ที่ออกฉายในช่วงหน้าร้อนเรื่อง
Honto ni Atta Kowai Hanashi ซึ่งเธอได้แสดงในส่วนตอนที่สองจากจำนวนสี่ตอน
ซึ่งในซีรีย์ชุดนั้น มีก็แต่ดาราดังๆอย่าง ยามะพี,มาซากิ โอกาดะ และคารินะ
ดังนั้น.......ดูตามไทม์ไลน์ที่พอเกริ่นมา ก็คงจะไม่เเปลกอะไรกับปรากฎการณ์เจ๊ดัน
ที่จะพยายามปั้นในหนูอายาเมะแจ้งเกิดในเร็ววัน เพียงแต่ว่า.....รู้สึกเกินคาดนิดหน่อย
ที่จับเธอมาวางโพซิชั่นพาร์มไทม์Getsu9 โดยที่เธอจะต้องเป็นคนประคองเรื่องทั้งหมด
ซึ่งอ่านบทสัมภาษณ์ เจ้าตัวยังนึกว่าเป็นการอำกันเล่นและบทก็ดูจะค้านกับนิสัยเธอพอสมควร







ขณะเดียวกัน ......สถานีก็ดูท่าว่าจะไม่ยอมเสี่ยงโดยฝากชีวิตนี้ให้หญิงสาววัยยี่สิบหมาดๆ
จึงต้องเสริมด้วยตัวละครชาย ในฐานะผู้ช่วยและใส่บทโรแมนติกที่ขาดไม่ได้ในซีรีย์Getsu9
ทางสถานีมาได้นายอากิระหนึ่งในสมาชิกวงEXILE ที่เพิ่งรับบทพระเอกเต็มตัวในปีที่แล้วนี้เอง
ซึ่งจะเป็นช่องไหนไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ฟูจิจัดให้ อันเป็นซีรีย์รีเมกครูอันธพาลGreat Teacher Onizuka
ที่สร้างเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนอยู่ที่ร้อยละ๑๓.๒ ซึ่งสำหรับซีรีย์คืนวันอังคารถือว่าเรตติ้งดีที่เดียว
แม้ว่าโดยประวัติการจับงานซีรีย์ทีวี อากิระจะดูช้ากว่าอายาเมะอยู่หนึ่งปี แต่ก็ดูจะเป็นเส้นทาง
ที่สวนทางกันคนละด้าน สำหรับอากิระแล้ว เขาปล่อยไมค์มาลงจอก็มาจับงานทีวี
ที่เน้นตลาดของกลุ่มคนดูวัยกลางคน ในAround 40 ทางช่องทีบีเอส แล้วไปเสริมภาพลักษณ์
ที่ดูแก่ขึ้นแบบหนวดในซีรีย์Tumbling ที่เป็นช่องทีบีเอสอีกเช่นกัน ก่อนจะถูกทางฟูจิทีวีมา
ปรับลดอายุลงในบทครูหนุ่มโอนิสึกะ ในเรื่องGTO แล้วปิ้วหน้าเด็กสุดๆในบทผู้ช่วยเจ้าของร้าน
ในBiblia Koshodou no Jiken Techouนี้แหละ ดูจะฉีกจากเรื่องก่อนๆชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้า
ต้องมาปรับลุกส์สวมแว่นทำหน้าเจี๋ยมแบบไม่สู้คน เพื่อให้เห็นข้อขัดแย้งระหว่างเจ้าของร้านที่บ้าอ่าน
กับลูกจ้างที่ไม่ชอบอ่านหนังสือวันละไม่เกินหกบรรทัด ซึ่งบทคนหลัง
......น่าจะเข้ากับบุคลิกนิสัยรักการอ่าน แบบไทยๆมากกว่า





ส่วนประการอื่นๆที่รู้สึกชอบก็จะเป็นเรื่องโทนสีของเรื่อง ที่ทำออกมาเป็นAntique
ตามคอนเซ็ปต์ที่ว่ากันด้วยเรื่องราวสัพเพเหระที่่เกี่ยวข้องกับร้านหนังสือเก่า
รวมไปถึงบรรยากาศโปรดักชั่นการออกแบบของร้านbiblia koshodou
ที่อัดแน่นไปด้วยหมู่มวลหนังสือและชั้นไม้จนแทบไม่มีพื้นที่ยืน แต่รู้สึกละมุ่นตา
ส่วนเสื้อผ้าหน้าชุดนี้ก็มิดชิดปกปิด ให้สมกับความเป็นซีรีย์หน้าหนาว
ขณะที่บ้านผู้เขียนร้อนจนตับแตก แต่ก็อดรู้สึกคล้อยเย็นโชยอ่อนๆตามซีรีย์ไปไม่ได้
การควบคุมโทนของทีมโปรดักชั่นเรื่อง ค่อนข้างทำการบ้านในสว่นของรายละเอียดมาดี
ไม่พ้นแม้กระทั่ง......การไปขุดเอาชุดหนังสือเก่าฉบับจริง ที่ยอมรับว่าเรื่องนี้
ค่อนข้างที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำความเข้าใจของตัวเองอยู่พอสมควร
เพราะงานแปลของนักเขียนสว่นมากที่ผู้เขียนได้อ่าน ล้วนแล้วแต่เป็นงานร่วมสมัย
แบบที่เราๆท่านๆสามารถหาอ่านได้ทั่วไปตามร้านหนังสือ แต่ในซีรีย์เป็นคนละเรือ่ง
มันเป็นอะไรที่เก่าบรมมะกึก และส่วนมากล้วนเป็นงานยุคก่อนผู้เขียนจะเกิดเสียด้วยซ้ำ
เอาแค่ครึ่งเรื่องแรกก็เล่นเอาเหงื่อตก อย่างงานของนัตซึเมะ โซเซคิ,มิยาซากวะ เคนจิ
เอ็นโดกาวะ รัมโปะ ,แอนโทนี เบิร์กเกสส์ ,ชาร์ล ดิกกินส์  ก็อาศัยการทำความเข้าใจ
ไปพร้อมๆกับเรื่อง เก็บเล็กผสมน้อยไปกับบท แบบว่าคนที่โตมากับสินสมุทรสุทสาคร
อ่านบทกลอนครูเทพของพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ท่องบทกวีของเปลื้อง วรรณศรี
กระดี๊กระด๊ากับความตลกในพลนิกร กิมหงวน ของป อินทรปาลิต ปลงชีวิตหลังได้อ่าน
เมืองนิมิตรของมรว.นิมิตรมงคร นวรัตน์ ถึงไตรรัตนะเมื่อได้อ่านพระประวัติตรัสเล่า
โดยมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แม้เหมือนเราจะอยู่กันคนละโยชน์
แต่ขึ้นชื่อว่า "การอ่าน" ก็เหมือนกับที่ Simon Van Booy เคยบอกว่า
"read books because I love them,not because I think I shoud reade them"
(ฉันอ่านหนังสือเพราะว่าฉันรัก ไม่ใช่เพราะว่า ฉันคิดว่าฉันควรต้องอ่าน)
หรือที่ Mark Twainเคยเปรียบไว้แสบว่า "The man who does not read good books
has no advantage over the man who can't read.”

(คนที่ไม่รู้จักอ่านหนังสือดีๆ ก็ไม่ได้เปรียบไปกว่าคนที่อ่านหนังสือไม่ได้ออก)






แต่ใช่ว่า ซีรีย์จะมีด้านบวกไปเสียทุกอย่าง
จุดที่ซีรีย์ข้ามไปไม่พ้นก็พอมีอยู่บ้าง อาทิเช่น เคมีของสองนักแสดงอายาเสะกับอากิระ
ที่ดูจะข้ามรุ่นไปโดยเฉพาะการปรับลุกส์ให้อากิระดูเบบี้เฟซลง (เยอะ)
ความน่าสนใจในแง่ "ปริศนา" ด้วยมันไม่ใช่เหตุคดีฆาตกรรมลึกลับอำพราง
ในแบบซีรีย์นักสืบทั่วไป เป็นแค่เพียงความลับอะไรบางอย่างที่ค้างคาใจ
หรือผูกปมทิ้งไว้ของกลุ่มคนเล็กๆจำนวนหนึ่ง และคนเล็กกๆลุ่มนั้นจะต้องมีความ
ผูกพันกับหนังสือเก่าที่ตัวเองมีหรือใครสักคนหนึ่งเคยมี.........เป็นที่ตั้ง
ซีรีย์จึงพูดถึงเคสต์ปัญหาที่เกิดในแวดวงของกลุ่มคนหนอนหนังสือที่รู้ทันกัน
มันไม่ได้เป็นเรื่องสาธารณะของคนเดินถนนทั่วไป ที่จะสามารถเข้าถึงกับมันได้
ซึ่งจะว่าไป......ซีรีย์ดูจะมีการดึงขยายรายละเอียดปลีกย่อยซะยืดยาว
ทั้งๆที่สามารถรวบให้จบประเด็นได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเสียด้วยซ้ำ กว่าจะหงายไพ่
ก็รั้งอารมณ์เฉลยอยู่พอสมควร แอบไปดูต้นฉบับมังงะที่ใช้ชื่อเดียวกันมาตอนหนึ่ง
ที่วาดโดยมิคามิ เอ็น เห็นว่ามีการรวบรวมจำหน่ายมาแล้วสามเล่ม มียอดขาย
กว่าสามล้านสี่แสนเล่ม เมื่อเทียบดูแล้วแทบจะไม่ได้มาในโทนเล่าเรื่องเดียวกัน
ตลอดจนถึงภาพลักษณ์ตัวละครก็แตกต่างจนแทบไม่มีความใกล้เคียงกับซีรีย์เอาเสียเลย
(แต่ความกลัวคนแปลกหน้าในฉบับมังงะดูจะเวอร์กว่า ส่วนไดสุเกะก็ขี้โมโหเหลือหลาย)
แต่ก็ถือเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ ที่คนเขียนบท "โทโมโกะ ไอซาวะ" บรรจบปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับสภาพเงื่อนไขได้ดี เพราะก่อนหน้านี้Kagi no Kakatta Heyaก็จัดว่า
เป็นซีรีย์สืบสวนที่่สนุกสุดๆเรือ่งนี้ในปีที่แล้ว ประวัติชีวิตเธอก็โลดโผนอยู่ไม่น้อย
เริ่มต้นเข้าวงการจากอาชีพนักร้องตอนอายุ๑๙ ในปี๑๙๙๑ มีโอกาสได้ชิมลางงานแสดง
และเขียนนิยายเพียงช่วงเวลาสั้นๆก่อนผันมาเอาดีทางด้านการเขียนบท แล้วทำออกมาดีซะด้วย







วิธีการเล่าเรื่องก็มาในระนาบเดียวกันเกือบทุกตอน
ความเป็นปริศนาก็ได้อรรถรสประมาณหนึ่ง ไม่ถึงขั้นลุกไปห้องน้ำไม่ได้
เพียงแต่มันจะมีรสเสน่ห์เฉพาะบางอย่างที่คนดูซีรีย์อาจจะไม่ค่อยเคยได้เห็นนัก
อารมณ์ประมาณซีรีย์สัปเหร่อปริศนาSaikou no Jinsei no Owarikata (Ending Planner)
เพียงแต่ว่า......เรื่องนี้ไม่เหนือ่ยเท่า มีสีสันจากตัวรายละเอียดของหนังสือ การผูกโยง
(โดยเฉพาะการคลี่คลายของซีรีย์ที่มักจะมาในแนวที่ว่า "ต้องแฟนพันธ์แท้เท่านั้นจึงจะรู้")
และเสน่ห์ของตัวละครเป็นเครือ่งกลมเกลา ส่วนความเป็นดราม่าจะออกไปในทาง
ที่ไม่ค่อยจะทำงานได้เต็มเม็ดหน่วยนัก ทั้งๆที่ซีรีย์พยายามปูความสัมพันธ์ของแขกตัวละคร
อยู่พอสมควร เพียงแต่เมื่อถึงไคล์แมกซ์แล้วดันไม่จี๊ดแบบเห็นผล แต่มันก็ทำให้เรื่องแต่ละตอน
จบลงอย่างสวยงาม แฮฺปปี้เอนดิ้งยิ้มกลับบ้านได้อย่างสบายใจ
ที่สำคัญ.....ซีรีย์ไม่ได้ปลุกเร้าให้เราเกิดความรู้สึกว่าต้องรักการอ่าน เหมือนประชาสัมพันธ์
สร้างภาพกรุงเทพเมืองหนังสือโลก (World Book Capital 2013) ที่ทำหนังสือเหมือนบูชาพระเครื่อง
ได้แตะได้ถือแล้วเป็นคนมีศีลมีธรรม แถมต้องเอามาห้อยโชว์ออกนอกคอ โดยไม่ได้นำเสนอ
อะไรที่เป็นแก่นสาร หรือกระตุ้นให้เกิดลักษณะนิสัยรักการอ่านโดยมีมาตราการอะไรรองรับ
ผิดกับซีรีย์ ที่ทำให้หนังสือเป็นสมบัติที่น่าห่วงแหน และมีนัยยะผูกพันเฉพาะตน
ที่ข้ามพ้นกาลเวลา ด้วยซีรีย์แทบไม่ได้มาสาธยายคุณสมบัติที่ดีหรือภาพลักษณ์ที่่ดูดีที่ควรจะได้
จากการอ่าน ประโยชน์ของการอ่านเลยกลายเป็นเรื่องที่ตระหนักรู้ได้เฉพาะตน
ผลที่ได้จากาการนำเสนอของซีรีย์จึงเป็นประโยชน์ทางอ้อมในมุมที่คนดูอาจมองข้าม
หรือไม่เคยได้รับรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ไหนๆกรุงเทพก็ได้รับเกียรติ์ให้เป็นเมืองหนังสือโลก
น่าจะนำซีรีย์เรื่องมาฉาย ให้ทันกาลก่อนสิ้นปลายปีนี้ก็คงจะดี ........










อ้างอิงข้อมูล

Tokyohive,Asianwiki,Dramawiki

Youtube@bio3612341ak & tylerraiz.wordpress (For Pictures)











 

Create Date : 30 มีนาคม 2556    
Last Update : 10 กันยายน 2556 18:53:38 น.
Counter : 7034 Pageviews.  

มิเกะเนะโกะโฮลม์ แมวสามสีไขคดีฆาตกรรม




Mikeneko Holmes หรือในชื่อ แมวสามสียอดนักสืบ
ดูจะเป็นชื่อวรรณกรรมนักสืบที่ป๊อปมากและอยู่คู่ตามแผงร้านหนังสือมาพอสมควร
เรียกได้ว่า เป็นงานคู่บุญของอดีตสำนักพิมพ์bliss ที่ได้ปิดตัวลงไปก็ว่าได้
กระนั้นเท่าที่สังเกตก็ยังคงมีการวางขายอยู่ในบางร้าน แต่ตอนหลังตัวเองชักหมดเห่อ
หลังจากเล่มที่เจ็ด ที่อาคากาวะหันมาทำเป็นเรื่องสั้น แล้วมันดูจะเข้ารกเข้าพง
อีกทั้งวิธีการดำเนินเรือ่งของตัวละคร ที่ดูจะไม่ค่อยพัฒนาไปไหนต่อไหน
แล้วนักเขียนอาคากาวะ จิโระนั่นวิเศษวิโสแค่ไหนเหรอ? ขอยึดเอาปกหลัง
ของมิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ เล่มแรกตอนปริศนาศพนักศึกษาสาว ที่โปรยท้ายไว้ว่า .....
อาคากาวะ จิโระเป็นนักเขียนที่มีผลงานมากกว่า๔๐๐เรื่อง ยอดจำหน่ายรวม
มากกว่า๒๗๐ล้านเล่ม เรียกว่า ...ปลั๊พยอดจากประเทศแม่กันตั้งแต่เล่มแรกไก่โห่
ถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว








ความที่หนังสือซีรีย์ชุดแมวยอดนักสืบมิเกะเนะโกะ โฮล์มส์
ผูกพันกับผู้เขียนมาพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับคลั่งมาก เคยมีไปมาหาสู่
หยิบเปิดหยิบดูเป็นการทักทาย เพราะมีการวางจำหน่ายกันเกือบทุกร้านหนังสือ
แสดงว่ามีสาวกให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น จนความเมตตาที่ผู้เขียนควรอนุเคราะห์
น่าจะเหมาะกับนักเขียนมือใหม่ไร้ยอดคงจะดีกว่าเสีย ยิ่งมาเห็นว่ามีทยอยแปล
กันอยู่อย่างต่อเนื่อง จนปาไปเล่มที่สิบกว่าด้วยแล้ว พลังตาอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ
อย่างน้อยๆมันก็ต้องมีพลังทรัพย์มาคอยเกื้อหนุน จนกระทั่ง.....ปีที่แล้วทางสถานีเอ็นทีวี
มีแผนที่จะนำงานชิ้นเอกมิเกะเนะโกะ โฮล์มส์ มาสร้างเป็นซีรีย์ทีวีเมื่อกลางปี
แถมมาได้หนึ่งสมาชิกแห่งวงอาราชิอย่างมาซากิ ไอบะ ดังนั้น จึงต้องสนองศรัทธา
ของทีมผู้สร้างกันเสียหน่อย โดยอิงกระแสนิยมจากงานหนังสือเป็นตัววัด








Mikeneko Holmes no Suiri
เป็นอีกหนึ่งซีรีย์แนวตำรวจนักสืบ ที่ดูท่าว่า
จะเป็นซีรีย์ที่ฉีกแนวกว่าซีรีย์นักสืบเกลื่อนจอทั่วไป ยังคงเป็นซีรีย์แบบจบในตอน
ที่ว่ากันด้วยเรื่องของ ตำรวจนักสืบขี้เท่อ "คาตายามะ โยชิตาโระ" (แสดงโดย
มาซากิ ไอบะ จาก My Girl,Bartender และLast Hope)
ตัวแทนเพียงคนเดียวของครอบครัว ที่จะมาสืบสานเจตนารมณ์ของวงศ์ตระกูล
ที่มีพ่อเป็นอดีตตำรวจนักสืบชื่อดัง ตามนโยบายของฝาบ้านที่ว่า "หนึ่งรุ่น หนึ่งตำรวจ"
แต่ทว่า.....คุณสมบัติส่วนตัวของโยชิตาโระ ดูจะไม่เข้ากับคอนเซ็ปต์อาชีพนี้เท่าไรนัก
เพราะเขาเอง ......ทั้งกลัวศพ พบเลือดก็จะเป็นลม แถมก้มหน้าทุกครั้งที่เจอสาว
ดังนั้นตลอดเวลา โยชิตาโระจึงพยายามที่จะยื่นใบลาออกอยู่หลายครั้ง
แต่กลับกลายเป็นว่า .....เขามักจะถูกยับยั้งทั้งจากหัวหน้าหน่วย
พี่น้องในครอบครัว และแมวสามสีที่มาช่วยพลิกไขคดีจนเป็นผลสำเร็จ







อย่างที่บอก โยชิตาโระไม่ได้เป็นผู้ไขคดีเพียงคนเดียวเท่านั้น
เพราะเขายังได้คนในครอบครัวของเขาเอง ประกอบด้วยพี่คนโต "คาตายามะ ฮิโรชิ"
(แสดงโดยนาโอฮิโตะ ฟุจิกิ จากHotaru no Hikari,Operation Love,Shibatora)
ผู้ที่ไม่อาจจะสืบสานปณิธานของครอบครัวในการเป็นตำรวจนักสืบ เพราะตัวเขาเอง
เลือกเส้นทางที่จะเป็นนักเขียนวรรณกรรณนักสืบ และปัจจุบันยังไม่มีสำนักพิมพ์ไหน
สนใจรับตีพิมพ์งานของเขาสักราย ส่วนอีกคนเป็นน้องสาวคนสุดท้อง "คาตายามะ ฮารุมิ"
(แสดงโดยโอมาสะ อายะจากBuzzer Beat,Mei-chan no Shitsuji,Hana yori dango 2)
สาวน้อยเลือดร้อนจอมปะฉะดะ ที่มักจะเป็นปากเป็นเสียงเถียงแทนให้กับโยชิตาโระ
ดูจะพวกสายบู๊ประจำครอบครัวคาตายามะ ขณะที่พี่ชายคนโตจะออกไปทางสายบุ๋นมากกว่า






ขณะเดียวกัน ท่ามกลางคนในสำนักงานตำรวจนครบาล แผนกสืบสวนที่หนึ่ง
ที่ดูจะไม่เป็นมิตรกับโยชิตาโระ และพยายามยุให้หัวหน้ารับรองจดหมายการลาออกของเขา
แต่โยชิตาโระ ก็ยังมีเพื่อนตำรวจนักสืบที่ยังพอเข้าข้างเขาอยู่บ้าง อย่าง "อิชิสุ"
(แสดงโดยทาดาโยชิ โอคุระ จากYasuko to Kenji และUmareru) แม้จะทำงานแผนก
เดียวกันกับโยชิตาโระ แต่ความทื่อและความเซ่อก็ไม่ได้แพ้โยชิตาโระกันเท่าไรนัก
ถึงแม้อิชิสุจะไม่ขี้แหย่ในแบบโยชิตาโระ แต่ก็มักจะทำอะไรทะเลอทะล่าตามเกมไม่ทัน
มักจะมาพึ่งสติปัญญาการขบคิดของคนในตระกูลคาตายามะในการไขคดี
และที่สำคัญ อิชิสุดูเหมือนจะแอบชอบฮารุมิ น้องสาวของโยชิตาโระอยู่ไม่น้อย








ในฐานะที่ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือชุดมิเกะเนะโกะโฮล์มส์มานานเนิน
ด้วยความทรงจำที่เบาบาง กับความประทับใจที่บางเบา
อย่างน้อยก็พอจำได้เลาๆ ว่า.......จินตนาการเป็นภาพวาดในตัวละครที่เคยอ่าน
กับสภาพความเป็นจริงจากการเคสต์ของทีมนักแสดง ดูจะไม่ลงรอยกันสักเท่าไรนัก
เริ่มต้นจากพระเอกที่รับบทโดยมาซากิ ไอบะ เพราะตอนที่อ่าน ตัวละครโยชิตาโระ
ดูจะเป็นตัวละครที่บอบบาง เก้งกางแต่หน้าหวาน ไม่หล่อเหลาตามแบบฉบับพระเอกละคร
แม้คุณสมบัติความแหย่ จะถูกต้องครบถ้วนทุกกระบวนความ แต่ก็เป็นบุคคล
ประเภทสามัญธรรมดาทั่วไป แต่จะไปได้อรรถรสในแง่ตัวตน-บุคลิกนิสัยเสียมากกว่า
แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนยังพอรับได้ สืบเนื่องจากยังคงติดภาพลักษณ์คุณพ่อมือใหม่ไม่เอาไหน
จากซีรีย์เรื่องMy Girl ที่เป็นงานก่อนหน้าชิ้นนี้เมื่อสามปีก่อน







ส่วนพี่น้องตระกูลคาตายามะ ดูจะผิดคาดไปเยอะ
เริ่มจากตัวน้องสาวพระเอก ที่ทางทีมงานเคสต์เอาโอมาสะ อายะมาแสดง
แม้คุณสมบัติเด่นจะเป็นไปตามท้องเรื่องของฉบับวรรณกรรม แต่ภาพลักษณ์
ที่เคยจินตนาการไว้ว่า ตัวฮารุมิออกจะเป็นประเภทหุ่นไม่สวย รูปร่างอวบอั่นแต่ดูดี
มีเสน่ห์ในคำพูดคำจาและกล้าแสดงออกในสิ่งที่ตนเองคิด เป็นตัวขับเคลื่อนในการไขคดี
ที่แม้จะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ แต่ก็กลับมีบารมีที่ดูเหนือกว่าเจ้าหน้าที่ตัวเป็นๆเสียอีก
มีความอ่อนหวานที่ซ่อนอยู่ในความแข็งนอก เมื่อมาเจอะร่างผอมๆนัยตาดุของหนูอายะเข้า
สิ่งที่ฝังใจตั้งแต่แรกอ่านก็เลยเซซวนอยู่เหมือนกัน แม้แต่เพื่อนตำรวจนักสืบของพระเอก-อิชิสุ
หมอนี้น่าจะมาในแบบตำรวจมาดแมน แต่ชอบทำอะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง เป็นคนมีความจริงใจ
ผิดกับในฉบับหนังสือที่เป็นเพียงตำรวจเฝ้าประจำสถานี และกลัวแมวขึ้นสมอง
ขณะเดียวกัน ความรักแบบแรกพบที่มอบให้กับฮารุมิ ในซีรีย์ปรับระดับอารมณ์
ให้กลายเป็นเพียงความปลาบปลื้มแบบไม่แสดงออกนอกหน้า แต่นั้นก็ยังไม่เท่ากับตัวละคร
พี่ชายคนโต-ฮิโรชิ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ไม่มีปรากฎในหนังสือ?







แต่ที่ทำให้ภาพลักษณ์ดูผิดแปลกไปจากหนังสือมากที่สุด
เห็นจะเป็นแมวสามสี ที่เป็นตัวไขคดีต่างๆของเรื่องที่ชื่อ "โฮลม์" เพราะตามภาพปก
ของเหล่าบรรดาหนังสือชุดที่มีแปลเป็นฉบับภาษาไทย ออกจะเป็นแมว
ที่มีไหวพริบปฎิภาณเป็นเลิศ ดังนั้นจึงให้ภาพลักษณ์ในโครงภาพประเภทแมวหัวโต-ตัวผอม
ซึ่งก็ดูสมเหตุสมผลดี แต่ในฉบับซีรีย์นี้ ....... กลับกลายเป็นแมวตัวอ้วนพี หุ่นน่ารักน่าชัง
ไม่ได้รู้สึกเจ้าเล่ห์แถมเย่อหยิ่งตามบทของหนังสือ (นี้ยังไม่รวมถึงที่มาที่ดูจะไม่สำคัญ)
และสิ่งหนึ่งที่ทางโปรดิวเซอร์ดูจะล้ำไปกว่านั้น คือ การให้โฮลม์เป็น "แมวมีองค์"
โดยในยามที่พระเอกโยชิทาโระจนปัญญาในการไขคดี และเป็นเวลาเดียวกันกับที่
ตัวเขาเองกำลังอยู่ตามลำพังกับโฮลม์สองต่อสอง โฮลม์ก็มักจะอวตารร่างกลายเป็น
โฮลม์ในร่างกระเทยยักษ์สุดตุ้ยนุ้ยในชุดคอสเพลย์ตามวาระโอกาส (ซึ่งรับบทโดย
มัตสึโกะ เดลุกซ์ ในประวัติบอกว่านี้เป็นซีรีย์เรื่องแรกของเขาหรือเธอ ในวงการเขาหรือเธอ?
ทำงานเป็นคอลัมนิสต์ และดาราที่ชอบแต่งชุดลักเทียม-transvestite entertainer)
ซึ่งก็เข้าใจไอเดียสุดบรรเจิดนี้ เนื่องด้วยคงไม่สะดวกเท่าไรหากจะปล่อยให้แมวคุ้ยๆเขี่ยๆ
กับหลักฐานทางคดี (ซึ่งคงหมดเวลาไปครึ่งตอน) และวัตถุประสงค์ของงานสร้างตามสัมภาษณ์
ต้องการให้มีการสอดคล้องไปด้วยกัน ระหว่างความเป็นการ์ตูนกับเรื่องที่ดูจริงจัง
(comical parts and the serious parts) ซึ่งบอกตามตรง ผู้เขียนเห็นในส่วนพาร์ทแรกมากกว่า







เรื่องการดัดแปลงจากต้นฉบับวรรณกรรมหนังสือ มาลงสู่หน้าจอทีวีซีรีย์
อันนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะงานซีรีย์ก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็นทั้ง นักสืบGalileo
4shimai tantei Dan หรือShizamono ที่เคยแชร์สู่กันฟัง
ก็ล้วนแล้วแต่มีการดัดแปลง แบบเหลือเค้า คงความเป็นเค้า และไม่เหลือเค้า
เพื่อสนองต่ออรรถรสและรูปแบบที่เหมาะสมของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ
(ไม่อย่างนั้นสู้เอาหนังสือมาอ่านออกอากาศเอาดีก่า? หรือมันไม่ท้าทายทีมผู้สร้าง?
ซึ่งแน่นอนว่า มันก็ต้องทำให้ถูกต่อสุขลักษณะของผู้บริโภคเป็นสำคัญ
ในฐานะที่ผู้บริโภคเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญที่จะสะท้อนผ่านตัวเรตติ้ง เหมือนกับที่
ภาพยนตร์สะท้อนความอยู่รอดผ่านทางช่องจำหน่ายตั๋ว แต่ดูคล้ายกับว่า
ซีรีย์Mikeneko Holmes no Suiri จะมีปัญหาในแง่การนำเสนอที่ไม่ดึงดูดใจผู้ชม
ได้อย่างเพียงพอ ซีรีย์ยังไม่อาจที่จะดึงศักยภาพในรสวรรณกรรมให้ปรากฎบนหน้าจอ
ทั้งๆที่มีถ้านับจากฐานการตีพิมพ์ซ้ำและยอดจำหน่ายของหนังสือแมวยอดนักสืบชิ้นเอกชุดนี้
ของอากาคาวะ จิโระ ที่ถือว่าถล่มทลายจนอยู่สบายในบั้นปลายของผู้เขียนจิโระเขาได้เลย
(หรือจะพูดให้มักง่ายกว่านั้น .....ก็คือเอาชื่อมาแปะก็ขายได้!)







จะว่าไป ลำดับการนำเสนอของซีรีย์กับการเรียงลำดับชุดตอนของหนังสือ
ถือว่ามาในแนวเดียวกันก็ว่าได้ อย่างในหนังสือที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย
ก็ไล่ลำดับตอนตรงกับหมวดทางเดียวของซีรีย์ อย่างน้อยๆก็สองตอนแรกแหละ
อย่างตอนที่๑ - ปริศนาศพนักศึกษาสาว และตอนที่๒ - สังหารโหดอาจารย์
แม้รายละเอียดจะถูกปรับมากอยู่พอสมควร แต่รูปแบบและวิธีการของคนร้าย
ก็ยังคงเหมือนเดิมครบถ้วนตามสูตร! เป็นฆาตกรรมเชิงซ้อนที่มีผู้ต้องสงสัยหลายคน
ที่พอจะอนุมาานว่าเป็นฆาตกรได้ เพียงแต่จะอยู่ต่างกรรมและต่างวาระ
โดยมีเป้าหมายความแค้นส่วนตัวในเหยื่อคนเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้แขกไปใครมา
ก็ตามที่ปรากฎขึ้นในแต่ละตอน ล้วนสามารถตั้งข้อสงสัยและมีเหตุจูงใจเชื่อมโยงกันได้หมด
และคนดูน่าจะจับเค้าได้ชัดขึ้น หลังจากฆาตกรได้สำเร็จกิจโดยการฆ่าเป็นศพที่สามขึ้นไป
พอให้คนดูสามารถผูกโยงเหตุการณ์ของคนร้าย ด้วยวิธีการฆ่า หลักฐานเชื่อมโยง
ปมความขัดแย้งของผู้ตาย ที่เหลือจากนั้นก็รอแค่.....แมวเข้ามาคลอเคลียหลักฐานอะไรบ้างอย่าง?







ถ้าไม่มองว่าข้อปลีกย่อย ที่ซีรีย์พยายามจะใส่เพื่อให้มันคอเมดี้เอนเตอร์เทนต์ขึ้น
ผู้เขียนก็คิดว่า ........ในแง่ความเป็นงานสืบสวนคดีฆาตกรรม เรื่องนี้ถือเป็นซีรีย์
ที่เล่นทริกและตั้งวิธีการล่อหลอกได้แยบยลเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว แต่ทว่า......ข้อยาก
ที่ผู้เขียนรู้ซึ้งจากการติดตามซีรีย์ชุดนี้ก็คือ รายละเอียดปะติดปะต่อที่ค่อนข้างจุกจิก
และผู้กำกับต้องพยายามขมวดมันให้จบลงภายในหนึ่งตอน ขณะเดียวกันก็ต้องใส่
ความเป็นคอเมดี้หรรษาควบคู่ตามไปด้วย แล้วมันมีปัญหาเรื่องความไม่ลงตัว ดูเฟ้อ
โดยเฉพาะความพยายามอัดฉีดความตลกจนเกินพอดี (injected the much-needed humor)
ผิดกับซีรีย์เรื่องIryu Sosa ที่กำลังดูในตอนนี้ที่เป็นแนวตำรวจนักสืบแผนกที่หนึ่งเช่นกัน
เรื่องนี้ไม่ต้องพึ่งพาอะไรที่เป็นลูกตลกคอเมดี้มากนัก ว่ากันไปด้วยเรื่องของคดีล้วนๆ
ซึ่งก็จะได้ความเข้มข้นในอรรถรสแบบซีรีย์ตำรวจนักสืบเพียวๆไม่มีสิ่งเจือปน
เป็นเหตุให้ซีรีย์เรื่องนี้ได้รับความนิยมอยู่พอสมควร สร้างต่ออีกสามภาคแบบคิดไม่ถึง
อันจะต่างกับMikeneko Holmes no Suiri ที่ขาดลูกกลมกล่อมเพราะถูกลดทอน
เพื่อให้เฉลี่ยกับความเป็นคอเมดี้ที่ได้ลูกเพี้ยนจากตัวละครชวนหัว จนรู้สึกไปกลบรัศมี
ของตัวเนื้อเรื่อง หรือไม่ก็มีทิศทางที่ชัดเจนแบบที่ซีรีย์นักสืบในฤดูกาลเดียวกันเขาทำมา
(กลายเป็นว่าซีซันนั้น เป็นการไล่บี้เรตติ้งกันของสองซีรีย์นักสืบKagi no Katta heya
กับAtaru ไปเสียงั้น) ตัวละครก็ถูกนำเสนอให้อยู่ในวังวนแบบชุลมุนวุ่นวาย จับต้นชนปลายไม่ถูก
มันเลยไม่เกิดปรากฎการณ์แบบประทับใจตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ (ยกเว้นจะเป็น
แฟนคลับเฉพาะของคุณไอบะที่สืบทอดตามติดจากวงอาราชิโน้น! สว่นแฟนคลับหนังสือ
น่าจะส่ายหัวตามๆกัน หรือพอรับได้แต่ก็เชื่อว่าปักใจในฝั่งของหนังสือเป็นหลัก)







และอีกดัชนีหนึ่งที่เทียบเคียงว่าแฟนคงถอยหนี คือ คนแปลซับอิงที่อยู่ๆ
ก็เลิกแปลไปเสียกลางทางจนเวลาล่วงจะข้ามปีมาแล้ว ไม่ยอมสืบต่อภารกิจนี้ให้เสร็จ!
สว่นแปลซับไทยก็ไม่ต้องสงสัย แปลไปตอนสองตอน ก็เลิกหายไปตามกัน!)
ซีรีย์เรื่องนี้ยังมีเก๋กว่านั้น! ด้วยการให้แฟนๆทีวีเลือกโหวตตอนจบแบบสองทางเลือก
ระหว่างจะเอาแบบเศร้าสะเทือนใจ-Sayonara Holmes หรือจะเลือกแบบแฮปปี้ยินดีในสไตล์
-Okaeri Holmes ซึ่งทางเลือกทั้งสองแบบ (scenarios) สถานีเขาถ่ายเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
ผ่านการโหวตทางofficial website ซึ่งการให้ผู้ชมมีสว่นร่วมก็ทำให้ซีรีย์ตอนสุดท้าย
กระเตื้องมาเป็น ๑๓.๘ แม้จะดูมากกว่าตอนที่แล้วถึง ๒.๘% แต่ก็อย่าลืมว่า
มันเป็นตอนอวสานของซีรียช่วงเวลาGolden Time และเรตติ้งใน first episode
ก็ทำยอดผู้ชมสูงถึงร้อยละ๑๕.๙ ซึ่งแน่นอนว่ามันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
แต่ทว่า.......มันยังดีคงไม่พอเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่อาศัยความเป็นพล็อกเรื่องมากกว่าการตลาด
(อย่างซีรีย์ATARU ของทางTBSทะยานสูงในตอนจบที่๑๗.๔% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนถึง๓.๙)







แต่ก็กระนั้น ขอบอกไว้ก่อนว่า...ซีรีย์มันไม่ได้แย่ขนาดรับไม่ได้ อย่างน้อยๆก็มีเสน่ห์
ในอรรถรสความสนุกอย่างที่มันควรจะเป็น เพียงแต่ว่า....โดยศักยภาพของงานวรรณกรรมชุด
ของอากาคาวะ จิโระชิ้นนี้ มันน่าจะส่งผลไปได้ไกลกว่านั้น เหมือนกับซีรีย์4shimai tantei Dan
ที่เป็นอีกงานภายใต้ชื่ออากาคาวะ ที่พอมาทำและรับการดัดแปลง ก็พาให้ห่างชั้น
จากความเป็นหนังสือค่อนข้างมาก อาจเป็นไปได้ว่า ........งานของอ.อากาคาวะจริงๆแล้ว
มันเหมาะที่จะอยู่ในรูปแบบของหนังสือมากกว่าการที่ไปปรากฎอยู่บนหน้าจอทีวีเป็นไหนๆ
(ยกเว้นให้เฉพาะกับซีรีย์ยากุซาคอซองSailor-fuku to kikanjuเรื่องเดียว ที่ทำเป็นทีวีซีรีย์
ออกมาแล้วดูเข้าท่า ทว่า...มันก็ไม่ใช่งาน ที่เป็นประเภทสืบสวนปริศนาตามวิธีถนัด
ที่คนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจกัน ในแบบฉบับของยี่ห้อของอากาคาวะ จิโร่ท่าน)







หลังจากที่มีการตีพิมพ์แปลเป็นภาษาไทยของอาคากาวะ จิโร่ ออกมากินเงินบาทอยู่หลายเล่ม
เอาที่พอรู้ อาทิ ซายากะสาวน้อยนักสืบ คู่ซ่าหลังคาเดียว เอริกะแวมไพร์ยอดนักสืบ
โอนุกิสารวัตรจอมป่วน สามสาวนักสืบ คู่ซ่าหลังคาเดียว ฆาตกรรมฆ่าเวลา และอีกเยอะ
แต่ทว่า.....งานที่เป็นชิ้นแรกจริงๆ ของนักเขียนจากฟุกุโอกะคนนี้ กลับเป็นงานวรรณกรรมสยองขวัญ
Ghost Train ที่ถูกตีพิมพ์ในปี๑๙๗๖ และเริ่มเป็นยอมรับกันมากขึ้นจากการได้รับเกียรติ์
ตัดสินรางวัลนักเขียนหน้าใหม่ ในแนวMysteryประจำปีของนิตยสารBungeishunju
จากนั้นงานของเขาก็ถูกนำไปทำเป็นอนิเมชั่น ในเรื่องIncident in the Bedroom Suburb
and Voice from Heaven ขณะที่Sailor-fuku to kikanju ก็ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
แนวตลกคอเมดี้ในปี ๑๙๘๑ ที่นำเเสดงโดยยาคุชิมารุ ฮิโรโกะ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
รวมทั้งถูกนำมาทำเป็นซีรีย์ถึงสองครั้ง (ครั้งแรกปี๘๒-ฮาราดะ โทโมโยะ ครั้งสองปี๐๖-
นากาซาวะ มาซามิ) แม้แต่วีดีโอเกมก็ยังต้องพึ่งชื่อของอากาคาวะ จิโระ นับตั้งแต่สมัย
ที่ยังเป็นคอนโซลแฟมิคอมจนมาถึงยุคนินเทนโด ดีเอส ในเกมแนวไขปริศนาลับสมอง
เอาแค่สถิติที่มีการบันทึกไว้ล่าสุดของปี๒๐๐๖ ประมาณการว่ามีชิ้นผลงานเขียนมา
ไม่น้อยกว่า ๔๘๐เรือ่ง และมียอดจัดจำหน่ายตีพิมพ์มาไม่น้อยกว่า ๓๐๐ล้านก้อปปี้
ในตลอดช่วงอายุสามสิบกว่าปีที่ทำงาน เลยไม่ต้องสงสัยว่าอาคากาวะ จิโระที่เพิ่งเซยิดไป
ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลในตลาดวรรณกรรมของญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันคนหนึ่งที่มาตราฐาน
ในงานเขียน มีดีบ้าง-เป๋บ้าง เป็นธรรมดาตามประสาขยันปั่นงานเยอะ (extremely prolific) ........









--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


อ้างอิงข้อมูล

Tokyohive ,Asiandrama,Wikipedia and Dramacrazy




 

Create Date : 25 มีนาคม 2556    
Last Update : 9 เมษายน 2556 11:37:38 น.
Counter : 10056 Pageviews.  

Priceless ยอดชายนายล่องจุ๊น




หลังจากที่ได้เห็นบทบาทของคิมูระ ทาคุยะในแง่มุมที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็น อัยการฮีโร่ นายกส้มหล่น ลูกเจ้าสัวช่างแค้น ธุรกิจสุดหย่อหยิ่ง
จนไปถึงนักปีนเขาเพื่อชาติ กันมาแล้ว แต่ด้วยระยะหลังบารมีที่เป็นเครือ่งการันตีเรตติ้ง
ดูจะเสียศูนย์ไปพอสมควร สองเรือ่งหลังก็ต้องบอกว่าได้ผลลัพธ์ที่ดูไม่สมใจต่อแฟนๆ
และทางสถานี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับซีรีย์ปีละเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในซีซันที่เป็นการส่งท้ายปลายปี ที่หลายคนพยายามตามลุ้นตามเชียร์
ว่าตำแหน่ง "เจ้าชายแห่งวงการซีรีย์" คนนี้ จะสามารถคืนฟอร์มแก้วิกฤตศรัทธา
กับผลงานซีรีย์เรื่องต่อไปได้อีกรึไม่? และที่สำคัญ เราจะได้เห็นบทบาทอะไรใหม่
สำหรับนักแสดงที่วัยเข้าเลขหลักสี่แห่งวงsmapคนนี้กัน





Priceless ซีรีย์ที่ว่าถึงเรื่องของชีวิตผู้ชายมนุษย์เงินเดือนธรรมดาคนหนึ่ง
ที่ต้องระหกระเหินเร่ร่อนโซซัดโซเซ จากการถูกไล่ออกในความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ
"คินดะอิชิ ฟุมิโอะ"  (ที่แสดงโดยคิมูระ ทาคุยะ) อดีตเจ้าหน้าที่หัวหน้างานระดับกลางของบริษัท
Miracal Electric ซึ่งโดยปกติแล้วตัวเขามักจะเป็นที่รักของบรรดาเพื่อนร่วมงาน
และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา แต่แล้วสถานการณ์ก็ถูกทำให้พลิกผันชั่วข้ามคืน เมื่อเขาถูกกล่าวหา
ว่าได้กระทำการยักยอกข้อมูลของทางบริษัท และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จBusiness Trip
จึงเป็นเหตุให้ทางเบื้องบนมีคำสั่งผ่าเปรี้ยง ให้เขาสิ้นสภาพจากความเป็นพนักงานของบริษัท
อีกทั้งเคราะห์ซ้ำกรรมซัด อพาร์ทแมนที่เขาอาศัยอยู่ประจำก็เกิดเหตุเพลิงไหม้หลังจากนั้น
เป็นผลให้ทรัพย์มีค่าทั้งหมดที่มีอยู่ภายในหายวับไปกับกองเพลิง ฟุมิโอจึงกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอก
ไร้ทั้งเงิน (penniless) ไร้ทั้งบ้าน (homeless) และหมดสิ้นทั้งความหวัง (hopeless) เมื่อมีเงินเหลือ
ติดตัวเพียงไม่กี่สิบเย็นกับเสื้อผ้าอีกไม่กี่ชุด หนึ่งในนั้นรวมไปถึงลูกเบสบอลพร้อมลายเซ็นต์
ที่เป็นของต่างหน้าระหว่างเขากับพ่อ ที่ตัวเขาเองไม่เคยได้พบปะเจอหน้ากันมาก่อน





เมื่อสิ้นหนทาง......เขาเลือกที่จะเป็นคนเร่ร่อนอยู่ตามสาธารณะ
ใช้ชีวิตแบบคนไม่มีหลักเเหล่ง และอาศัยการยังชีพด้วยการหาเศษหาเหลือตามข้างถนน
เพื่อที่จะพอให้เขามีเศษเงินไว้พอประทังชีวิตไปวันๆ จนกระทั่งเขาได้ไปพบกับเด็กเร่ร่อนสองคน
ซึ่งเดิมที เคยเป็นเด็กที่ขอเศษเงินจากเขาเพราะด้วยความสงสาร แต่ตอนหลังกลับมารู้ว่า
เด็กทั้งสองเป็นมิจฉาชีพที่เที่ยวขอเศษเงินจากคนที่เดินผ่านไปมา เมื่อสถานการณ์ปัจจุบันบีบรั้น
เขาเลยล้ำเลิกโดยหันมาเปลี่ยนเป็นการทวงบุญคุณคืนจากเด็ก จนในที่สุด
เขาก็ได้ไปขออาศัยร่วมชายคนเดียวกันกับเด็กสองคนนั้น โดยที่มีป้าซึ่งไม่ใช่ญาติแท้ๆของพวกเขา
"อิชิริน คิคุโอกะ" เป็นเจ้าของที่พัก (แสดงโดยป้านัตสึกิ มาริ จากiryu,Nobuta wo produce
และFirst Kiss)
หญิงชราผู้มีนิสัยเค็มเป็นสรณะ โดยตั้งเงื่อนไขว่า ถ้าหากจะมาขออาศัยอยู่ด้วย
จะต้องค่าใช้จ่ายอย่างน้อยๆ ๕๐๐เยนต่อคืน





ขณะเดียวกัน ก็มีความเคลื่อนไหวภายในของทางบริษัท
เมื่อนักบัญชีสาว "นิไคโดะ ซายะ" (แสดงโดยคิรินะ จากLove Shuffle,Freeter, Ie wo Kau )
เจ้าหน้าที่ผู้มีโลกส่วนตัวสูง ชอบสะสมหุ่นตุ๊กตาขุนศึก อีกทั้งมีความละเอียดรอบคอบเป็นเลิศ
พบความระแคระคายถึงเรื่องไม่ชอบมาพากลในคดียักยอกข้อมูล จึงพยายามแจ้งเรื่อง
ให้กับหัวหน้าฝ่าย "เคนโกะ โมเอะ" (แสดงโดยไคอิชิ นาไคจากSmile,Keigo Higashino Mystery)
พนักงานอาวุโสของบริษัทที่เป็นคนอ่อนน้อมสงบคำ ต้องแบกภาระการเลี้ยงดูทั้งหมดของทางบ้าน
จึงค่อนข้างจะเป็นที่คาดหวังความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เมื่อทั้งสองต่างพยายามก้าวล่วง
กับคดีที่ทางบริษัทไม่ต้องการที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ สุดท้ายทั้งสองต่างก็ได้รับผลกรรมร่วม
ซึ่งมีสภาพที่ไม่ต่างจากฟุมิโอะเป็น นั่นก็คือ.......การตกงานโดยฉับพลัน!!





เบื้องหลังความจริงทั้งหมดของเรื่องก็คือ ประธานของบริษัทคนใหม่ "โอยาชิกิ โทอิชิโระ"
(ที่แสดงโดยนาโอฮิโตะ ฟุจิกิ จากShibatora,Hotaru no Hikari และMikeneko Holmes no Suiri)
ที่เข้ามาแทนตำแหน่งจากพ่อ ซึ่งเป็นอดีตประธานคนก่อนที่เพิ่งได้เสียชีวิตไปไม่นาน
โดยก่อนตาย ตัวพ่อได้สั่งเสียให้ผู้ที่จะสืบทายาทตำแหน่งผู้นำคนต่อไป ไม่ใช่เขา!
แต่เป็นคินดะอิชิ ฟุมิโอะ (ซีรีย์จะยังไม่เฉลย แต่เข้าใจได้เลยว่าฟุมิโอะน่าจะลูกนอกสมรส
ของท่านอดีตประธาน) ดังนั้น .....ทางโทอิชิโระจึงตัดไฟเสียแต่ต้นลม ด้วยการสร้างเรื่อง
เพื่อที่จะขจัดฟุมิโอะให้พ้นทาง และพยายามหาทางกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้ฟุมิโอะ
มีที่ยืนทางสังคม แต่กลายเป็นว่าความริษยาของโทอิชิโระกลับทำให้อดีตพนักงานสามคนของบริษัท
ทั้งฟุมิโอะ , ซายะ และโมเอะ ร่วมกันก่อตั้งบริษัทขนาดเล็กที่ชื่อ Happy Thermos
เพื่อมาต่อกรกันทางธุรกิจ และกลายเป็นเสี้ยนหนามในใจเล็กๆให้กับอาณาจักรMiracal Electric





Priceless เป็นซีรีย์heartwarming comedy ที่ว่าด้วยเรื่องการเลย์ออฟหนักๆในอารมณ์เบาๆ
เนื้อหาของเรื่องจึงกระชับสับเร็ว ดำเนินเรื่องไปเป็นฉากๆ โดยไม่ค่อยได้ลงลึกไปในรายละเอียด
ที่แม้ตัวละครจะถูกกระทำซ้ำเติมอย่างหนักเพียงใดแต่ก็ไม่ทำให้รู้สึกทุกข์พร้อมไปกับตัวละคร
ผ่านกระบวนการมองโลกในแง่ดี และการดำเนินชีวิตที่ไม่เคยละทิ้งซึ่งความหวัง
ผู้เขียนคิดว่า เสน่ห์ของเรื่องน่าจะอยู่ตรงที่แต่ละตัวละครมีความเป็น "เด็ก" ซ่อนอยู่ภายใน
อย่างฟุมิโอะที่ทาคุยะเล่น ก็เป็นสไตล์กึ่งเด็กโข่งกึ่งฮีโร่แมน  ผู้มีความสุขเล็กๆกับสิ่งที่ทำ
ตัวซายะเธอก็เป็นพวกชอบจดจ่อในการสะสมตุ๊กตาหุ่นที่ดูจะขัดแย้งกับวัย ส่วนตัวโมเอะเอง
แม้จะอาวุโสสุด แต่ก็เป็นผู้ใหญ่ที่ขี้กลัวและมักจะย่อมหรี่ตาไว้ข้างหนึ่งเพื่อแลกกับสิ่งตอบแทน
หากเป็นสิ่งที่เขาเคยมุ่งหวัง หรือแม้แต่ตัวประธานโทอิชิโระเองก็เป็นประเภทเด็กไม่รู้จักโต
มักจะชอบการถูกตามใจ หลงในอำนาจ เห็นแก่ตัว พร้อมจะทำในสิ่งที่ตัวเองเห็นเป็นประโยชน์
โดยไม่เห็นหัวแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือพวกกลุ่มซัพพลายเออร์ที่ดูเก่าแก่ล้าสมัย จึงไม่แปลก
ที่อดีตประธานจะมองข้ามความสามารถของเขา แม้จะเป็นทายาทโดยทางการเพียงคนเดียว
กลับหันไปเลือกตัวฟุมิโอะ ที่แม้แต่ตัวเขาเองก็ไม่เคยรู้จักประวัติเบือ้งลึกก่อนหน้าเช่นนี้มาก่อน





ถ้ามองในแง่โครงเรื่อง ซีรีย์ดูจะแบ่งออกเป็นสองช่วง โดยครึ่งแรกจะเป็นเรื่องของพวกLoser
ที่พระเอกจะต้องดิ้นรนทุกวิถีทาง แต่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเพื่อดำรงการมีชีวิตอยู่
จากเดิมที่เขาเคยใช้ชีวิตปกติแม้ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ก็สุขสบายและใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิด
แต่เมื่อสถานการณ์กลับพลิกผันหน้ามือเป็นหลังมือ สายป่านจากความเป็นมนุษย์เงินเดือนถูกตัดขาด
ทรัพย์สินที่เคยสะสมไว้มลายหายไปกับกองไฟ ฟุมิโอจึงต้องกระทำอะไรบางอย่าง
ที่ดูลดจะความมีศักดิ์ศรีและทิฐิลง แม้จะต้องก้มหน้าหาเศษเหรียญจากตู้หยอดน้ำหรือจากตู้โทรศัพท์
เข้าแถวรอรับอาหารแจกในสวนสาธารณะ ตลอดจนไปสมัครเป็นบริกรในร้านที่เขาเคยพักดื่มกินหลังเลิกงาน
(ซึ่งมุกทะลึ่งสิ้นคิดอะไร ที่เราเคยอำเพื่อเล่นตลกในกลุ่มพรรคกระยาจกด้วยกัน ซีรีย์แทบเอามาใช้หมด)
ถ้าเป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์น่าจะเข้าสู่กฎScarcity หรือกฎการมีอยู่อย่างจำกัด เป็นการตอบสนอง
ทรัพยากรปัจจุบันที่มีอยู่อย่างจำกัด (Scarce) ในธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการอันไม่จำกัด
เพียงแต่ในซีรีย์ จะว่าถึงช่องทางหรือโอกาสในการเข้าถึงเดิมที่ถูกจำกัด ทั้งด้วยการถูกตัดสิทธิ์ทางโอกาส
สิทธิ์เดิมที่เคยมีไว้ในครอบครอง ทำให้มูลค่าทางความรู้สึกของสินค้าตัวเดิม กลับมีราคาหรือมูลค่า
ในทางการรับรู้ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นความสมเหตุสมผลในเชิงประสบการณ์ แม้ว่าจะเป็นสินค้าตัวเดียวกัน
และมีมูลค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมาอยู่ในบริบทหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และมันก็ทำให้
ฟุมิโอได้พบกับคุณค่าและความหมายของชีวิตใหม่ที่ไม่ได้ขึ้นหรืออิงกับชื่อเสียงหรือเงินตรา
แต่กลับเป็นคุณค่าระหว่างจิตใจในความเป็นมนุษย์ที่ไม่อิงวัตถุของชาวHomelessด้วยกัน
และก็ทำให้เขาได้เข้าใจความหมายของชีวิตในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่เขาไม่เคยได้เสัมผัส
โดยเฉพาะตอนที่ยังเป็นมนุษย์เงินเดือน ได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน รวมไปถึงช่วงวิกฤตที่ทำให้
เขาได้พบกับมิตรแท้ที่หาไม่ได้ทั่วไป ล้วนแล้วเกิดจากกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ร่วม
ที่อยากเห็นสิ่งที่ถูกต้องและดำเนินไปตามทำนองคลองธรรม





ส่วนในโครงเรื่องหลัง จะเป็นการว่าถึงพวกที่เรียกว่า underdog
เป็นผลจากการก่อร่างสร้างตัวจากหัวอกของคนถูกไล่ ที่นำทีมโดยฟุมิโอ ซายะและโมเอะ
โดยต่างคนก็จะใช้ประสบการณ์และความสามารถที่มีอยู่ บวกกับจริยธรรมทางวิชาชีพ
 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจาก "ฮิโรเสะ โยโกะ" บุตรสาวของประธานบริษัทที่เป็นทั้งคู่แข่ง
และอีกด้านก็เป็นพันธมิตรกับบ.Miracle Electric โยโกะเองเดิมทีก็แอบชอบ
ในตัวฟุมิโอมาตั้งแต่เดินเข้าเดินออกบริษัท เพียงแต่ไม่ได้เผยตัวว่าเป็นลูกท่านเจ้าสัวใหญ่
เมื่อเกิดมาเป็นบริษัทเล็กๆที่ชื่อ Happy Thermos โดยเป็นผลเติบโตตามลำดับ
นับตั้งแต่ทั้งสามเริ่มต้นจับงานเปิดเป็นร้านบะหมี่ร้านเข็น จนมีโอกาสเข้าไปช่วยประคับประคอง
สายงานผลิตของโรงงานเดิมที่ทางMiracleสลัดทิ้ง โดยเห็นว่ากาน้ำสุญญญากาศ
เป็นสินค้าที่ไม่มีอนาคตสำหรับแผนนโยบายใหม่ แม้บริษัทใหม่ที่พวกเขาก่อตั้งขึ้นจะไม่ได้มองว่า
บริษัทเก่าที่พวกเขาเคยทำงานเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ มากไปกว่าการได้ช่วยเหลือคนที่เคยรู้จัก
แต่ความที่ประธานโทอิชิโระมีความแค้นไม่เลิก ก็หาทางที่จะขัดแข้งขัดขา ใช้อำนาจทั้งบนดินและใต้ดิน
สกัดการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทHappy Thermos หลังจากที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรก
ที่เป็นกาน้ำสุญญากาศของพวกเขา เริ่มต้นติดตลาดของกลุ่มผู้บริโภคที่อยากจะใช้สินค้าคุณภาพ
แม้จะมีราคาอยู่พอสมควร แต่ด้วยความแค้นของประธานโทอิชิโระไม่ได้เจาะจงในแค่รูปของธุรกิจ
แต่เป็นความชิงเกลียดชิงชัง ที่หวังจะเล่นงานตัวฟุมิโอะแต่เพียงอย่างเดียว
โดยไม่สนใจหรอกว่า ใครมันจะถูกลูกหลงตามไปด้วย





ซีรีย์พยายามกลับมาหากลิ่นไอเดิมๆ ที่ทาคุยะฮีโร่เคยเป็น และน่าจะประสบความสำเร็จ
ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่อง ภารกิจร่วมกันเฉพาะหมู่ในแบบซีรีย์ change
การค้นหาความหมายของชีวิตในสังคมที่ขาดการเหลี่ยวแลแบบ Engine หรือแม้แต่
การแต่งตัวชุดเบสบอลประจำคาแรกเตอร์ ก็ทำให้นึกถึงซีรีย์อย่างHero ได้เหมือนกัน
ยิ่งท่าทีการแสดงออกกึ่งพูดจริงพูดเล่น แบบว่าใช่ในแบบอัยการโคเฮเลย ก็ไม่รู้ว่า
ความรู้สึกนี้คนเขียนบทอย่างคาซุนาโอะ ฟุรุยะ  เธอจงใจให้เหมือนหรือว่ารับอิทธิพล
โดยอิงจากคาแรกเตอร์ของทาคุยะในแบบที่แล้วมา แต่อยากเชื่อในแบบหลังมากกว่า
เพราะอย่างซีรีย์ล่าสุดของพระเอกโทโมยะ นางาเสะ ในเรือ่ง Nakuna, Hara-chan
ของค่ายNTV ก็ยังมีใบสั่งจากโปรดิวเซอร์ให้อิงคาแรกเตอร์โดยเอาโทโมยะเป็นเกณฑ์
งานขายดารานำ (protagonist) ก็อย่างนี้แหละ อีกทั้งมือเขียนบทก็ถือว่าหน้าใหม่ในวงการ
พอให้ทางสถานีได้ข่มอยู่บ้าง ที่ผ่านมาก็มีงานซีรีย์ปรากฎแค่สองเรื่องเอง คือ  Liar Game
กับ 37sai de Ishani Natta Boku รวมถึงมินิซีรีย์ทีวี Dandori musume ปี๒๐๐๖เท่านั้น
แต่สิ่งที่แตกต่างกว่าทุกเรื่อง คือ การที่ทำให้ตัวละครที่ทาคุยะเล่น มีความใกล้เคียง
กับมนุษย์สามัญชนคนเดินดินกินข้าวแกงทั่วไป ไม่ได้มีความเก่งกาจ-อัจฉริยะ หรือเป็นพวก
เกิดมโนสำนึกในภารกิจต่อการสืบชะตาสายเลือดของบรรพบุรุษ (ที่แม้ว่าเรือ่งนี้จะมี
แต่ก็มาปรากฎรู้เอาในช่วงตอนสุดท้าย ผิดกับธรรมเนียมนิยมที่รู้กันตั้งแต่ต้นเรื่อง)
มีเพียงหลักคุณธรรมที่ยึดถือมั่นจนเป็นหลักการ และไม่ย่อมเปลี่ยนผ่านเพื่อจะละทิ้ง
ถึงแม้จะต้องสูญเสียซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ตลอดไปจนถึงโชคลาภโภคทรัพย์นานาประการ
เพราะมันเป็นสิ่งที่ค้านอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ที่สำคัญซีรีย์พยายามสะท้อนว่า
โลกนี้ไม่ได้มีเพียงแค่หัวอกเราเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะเราก็เป็นผลผลิตที่ต่อเนื่อง
ทั้งจากการเป็นผู้ให้และก็ผู้รับ จึงจำต้องมีความเกื้อกูลเป็นเบื้องต้นทั้งในฐานะเพื่อนร่วมบริษัท
สมาชิกของสังคม และความเป็นเพื่อนร่วมมนุษย์ ซึ่งไม่ต้องเริ่มต้นไกลที่ไหน
เพียงแค่เริ่มจากคนที่ใกล้ตัวเราเป็นสำคัญและส่งความดีนั้น ถ่ายทอดไปยังคนอื่นๆ
รอบข้างกันคนละไม้คนละมือ





ระยะหลัง ซีรีย์ญีปุ่นหันมาอิงสูตร "สามเกลอ" (trio) ในฐานะตัวขับเคลื่อนของเรื่อง
แทนที่อิงแบบคู่พระเอกนางเอก ชายหัวหน้าหญิงผู้ตาม หรือขายหมู่แพ็คกันเป็นทีม
หลังจากที่ซีรีย์แนวนักสืบสามหมู่ทลวงฟัน ค่อนข้างจะได้รับผลตอบรับที่ดีในแง่มาตราฐานเรตติ้ง
ซึ่งสูตรตัวละครก็ง่ายๆ อาศัยมีหนึ่งหนุ่ม หนึ่งสาว แล้วตามประคองด้วยหนึ่งเก๋า
เอาแค่ปีนี้ที่มีให้เห็นก็อย่างในซีรีย์ Kagi no Kakatta heya ที่เป็นซีรีย์เรตติ้งสูงสุด
ประจำซีซันฤดูใบไม้ผลิ (ที่ประกอบด้วยซาโตชิ เอริกะ และลุงโคอิชิ)  Ataruเองก็มาในแนวนั้น
(ซึ่งมีนำทีมด้วยเพื่อนร่วมวงsmap อย่างมาซาฮารุ ตามด้วยชิอากิ และคาซุกิ)
แม้แต่Mikeneko Holmes no Suiri ก็ตามรอยไม่แพ้กัน (ได้ไอบะ โอกุระ และท่านพี่ฟุจิกิ)
อย่างเรื่องที่รีวิวล่าสุด Legal Highที่เป็นเรื่องทนาย ก็ทำท่าว่าจะมาแนวนี้ถึงแม้ว่า
ใบปกจะโชว์ความเป็นทนายคู่หูตต่างอุดมการณ์ระหว่างซาคาอิกับยูอิ แต่ตอนหลังๆ
ก็มีความพยายามดึงพ่อบ้านที่แสดงโดยลุงโคทาโร่เข้ามาแจมด้วย
ซึ่งpriceless ก็ถือว่าค่อนข้างลงตัวและมีเสน่ห์เฉพาะอยู่ไม่น้อย เพราะมันมีผลผูกพัน
ในแง่ความเป็นเนือ้เรือ่ง มากกว่าซีรีย์ที่หวังผลในแง่ของความเป็นคดีจบในตอน
การได้คารินะกับลุงไคอิชิ เป็นการเพิ่มส่วนผสมในแง่บทบาทที่มีต่อตัวเรื่อง มากไปกว่า
การจะเชิดชูเฉพาะแต่ตัวทาคุยะเพียงประการเดียว อย่างน้่อยๆทั้งสองก็เป็นตัวส่งบท
ที่ช่วยประคับประคองให้เป้าหมายและดำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์ให้ไปตลอดรอดฝั่ง
เมื่อต้องเจอะกับอำนาจนิยมเผด็จการแบบหัวเดียวกระเทียมหลีบของประธานอิชิทาโร่
เสียดาย......ที่ซีรีย์เรื่องนี้บิ้วดราม่าไม่ขึ้น และดูเหมือนทีมผู้สร้างเขาก็หาได้แคร์
มุ่งเน้นไปที่เรื่องชุลมุนวุ่นวาย เหตุการณ์ที่พลิกผันที่ล้มลุกคลุกคลาน และแสดงให้เห็น
ความสุขสองด้านระหว่างผู้มีเงินและอำนาจ กับความสุขคนตัวเล็กตัวน้อยที่อดมื้อกินมื้อ
ที่สมกับคอมเซ็ปต์ว่า "หลายสิ่งที่เงินซือ้หากันไม่ได้" (things in life that you can’t buy with money)






Even if you don't get the results you want.

(ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รับผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ)


As long as you make the personal connection in the process.

(ตราบใดที่คุณยังอยู่ในทำนองคลองธรรมในสิ่งที่เหมาะที่ควร)


lt's not a failure.

(มันไม่มีทางที่จะล้มเหลวหรอก)


it's better to have a memorable failure than an ummemorable success.

(มันจะดีกว่า หากว่าเราจะจำจดในสิ่งที่ผิดพลาดมากไปกว่าการไม่จดจำแต่ความสำเร็จ)







สิ่งที่พอจะคาดหวัง ตอนที่ได้ยินข่าวและได้อ่านเรื่องย่อโดยสังเขป
ยังนึกเอาว่า ซีรีย์น่าจะมาในแนวแบบEngine ที่เป็นเรือ่งของนักแข่งรถผู้ตกอับ
เลยต้องโซซัดกลับมาตายรังยังบ้านบ้านกำพร้า แล้วซีรีย์ก็ทำท่าว่าจะมาอย่างนั้น
มีโผล่ตัวละครเด็กผู้ชายสองคนที่โดนทิ้งมาตั้งแต่เล็ก แต่ไปๆมาๆตัวละครเด็กก็แทบ
ไม่มีความสำคัญหลังจากนั้นอีกเลย กลายเป็นว่าเรือ่งกลับไปให้ความสำคัญกับพนักงาน
บริษัทเดียวกันที่เพิ่งถูกไล่ ด้วยอานิสงส์ของการไม่เห็นผิดเป็นชอบตามนโยบายใหม่ของบริษัท
รวมกันเป็นสมาชิกสามเกลอที่ร่วมกันก่อตั้งจนเป็นบริษัทเล็กๆที่ชื่อ happy thermos
จะว่าไป ซีรีย์ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือโดดเด่นจนเป็นที่น่าประทับใจสำหรับผู้เขียนสักเท่าไร
เนือ้เรื่องพอจะเดาทางได้ และเชื่อว่าหลายคนที่ได้ดูก็น่าจะคงรู้ถึงบทสรุปของเรือ่งได้ไม่ยาก
ไม่ได้รู้สึกเลยว่าเป็นงานที่แปลกใหม่ จะว่าไปดูจะเป็นงานเพลย์เซฟเสียด้วยซ้ำ
เพื่อหาทางประคองแบนด์เพอร์เซอร์นัลอย่างคุณพี่ทาคุยะ ไม่ให้ไปเล่นอะไร
ที่ดูจะแหวกความรู้สึกในใจของคนดู จนต้องเจ็บตัวด้านเรตติ้งเป็นซ้ำสาม ทั้งๆที่ซีรีย์เรื่อง
Nankyoku Tairikuของทีบีเอส ออกจะเป็นงานที่คนในเว็บบอร์ดให้ชื่นชอบกันมาก
แต่กลับไม่ได้ลูกประทับใจในเรื่องเรตติ้งที่ลุ่มๆดอนๆ (บางตอนไปแพ้พวกรายการวาไรตี้ด้วยซ้ำ)
ยิ่งสถาบันรางวัลทางทีวีปีนั้น ผู้เขียนอุตสาห์มองโลกในแง่ดีเผื่อจะมีสินน้ำใจให้กับพวกหมาๆ
สุดท้ายก็แห้วไปในทุกรางวัล หรือแม้แต่Special awardในซีซันก็ดันไปให้กับมหากาพย์ซีรีย์
Mito Komon ที่ฉายมาแล้ว๑๑๕๒ตอน  ๓๙ ภาค ที่เป็นงานร่วมค่ายทีบีเอสเช่นเดียวกัน
ไม่มีอะไรพอปลอบใจให้ชิงหมา(ได้)เกิด ซึ่งก็เดาได้ไม่ยากว่า





เรตติ้งน่าจะเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง
ที่มีอิทธิพลต่อเกณฑ์การตัดสินของคณะกรรมการ ก็ยังแอบหวังไว้ว่าในTDAA ครั้งที่๗๕
ภาคฤดูใบไม้ร่วงที่จะมาถึงนี้ pricelessน่าจะมีติดน้อยๆสักสองรางวัล ด้วยเรตติ้งที่สมน้ำสมเนื้อ
ส่วนเนื้อเรื่องก็น่าจะถูกใจกรรมการที่มีต่อมสำนึกทางสังคมสูง อีกทั้งป๋ายะแกก็เกริ่นสัมภาษณ์
ประมาณว่าอินกับบรรดานักกีฬาที่ไปร่วมมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ที่ลอนดอน โดยยกให้เป็น
PRICELESS teamwork (แต่ไม่น่าจะกระทบชิงถึงแข้งฟุตบอลสาวญี่ปุ่นอย่างที่เป็นข่าว ที่บินไปแบบ
ชั้นธรรมดาแต่ทว่าเข้าลึกจนถึงได้ชิง จนสื่อเขาอดไปเทียบกับแข้งชายที่นั่งไปแบบวีไอพีแต่ไปได้ไม่ไกล)
และที่สำคัญรางวัลที่ร่วมโหวตเกี่ยวกับคนทำทีวีอย่างNikkan Sports Drama Grand Prix ครั้งที่๑๖
สร้างแรงบีบด้วย "เหมามอบ"ให้กับpriceless ครองซีรีย์ทั้งสาขาดราม่ายอดเยี่ยม ดารานำชาย
นำหญิง และสมทบชาย เรียกได้ว่าอะไรที่เป็นเสาหลักของรางวัล สาวกท่านก็โหวตเชียร์กันให้
แบบไม่เนียมชนิดไม่ยั้งมือ แต่กระนั้นpriceless ก็ต้องเจอะกับคู่แข่งเบอร์ใหญ่อย่างDoctor XและAibou11ที่เส้นกราฟเรตติ้งออกจะเสมอต้นเสมอปลาย และแนวก็ค่อนข้างถูกจริตในทางที่ชอบ
ของกรรมการ ส่วนทางKekkon Shinai ก็มีทีมนักแสดงที่อดีตต่างคว้ารางวัลทีวีอยู่สม่ำเสมอ
และถ้าไม่แคร์เรตติ้งนัก Going my homeที่มีลุงอาเบะ กับผู้กำกับโคเรอิดะ
ถ้ายึดเอาตามความสามารถ ก็น่าจะถือว่าเข้าเกณฑ์คุณภาพได้อยู่เช่นกัน





แล้ว.........สูงสุดก็คืนสู่สามัญ หลังจากสองสามปีที่ผ่านมา
พระเอกทาคุยะจะหันไปรับงานซีรีย์ เป็นตัวละครที่ดูจะห่างไกลจากคนธรรมดา
อาทิ Moon Lovers ในปี๒๐๑๐ โดยรับบทประธานหนุ่มเรนสุเกะผู้หย่อหยิ่ง
พอมาปี๒๐๑๑ ก็มาเป็นนักปีนเขาที่เป็นความหวังของคนทั้งชาติใน Nankyoku Tairiku
ซึ่งทั้งสองเรื่อง ถ้ามองในแง่เรตติ้งที่เป็นเป้าหมายบ่งชี้ในความสำเร็จเบื้องต้นของคนทำทีวีแล้ว
ก็ต้องถือว่าล้มเหลว ไม่ได้ให้ผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจเมื่อต้องหันไปเทียบกับบารมีเรตติ้ง
ของทาคุยะในครั้งก่อนๆ ที่มองได้ว่าการมีทาคุยะเป็นตัวยืนของเรื่อง (KimuTaku drama)
ก็เท่ากับเป็นเครื่องการันตีเรตติ้งที่ดีในการเรียกคนดู (อย่างน้อยๆก็เฉลี่ยต่อตอนไม่ต่ำกว่า๒๐)
แต่เมื่อกาลนั้นกลับไม่เป็นครั้งก่อน ที่แม้แต่Priceless เปิดพรีเมียร์ตอนแรกก็ทำท่าใจหาย
เพราะถือเป็นประวัติศาสตร์ทางการแสดงของทาคุยะ ที่อย่างน้อยๆเรตติ้งตอนแรก
ขี้หมูขี้หมาก็ไม่เคยทำได้ต่ำกว่าร้อยละ ๒๐  (his first drama that didn’t premiere with
a rating of at least  20%) แต่กลับเป็นว่าตอนแรกเปิดตัวเรียกคนดูได้เพียงร้อยละ๑๖.๙
ทั้งๆที่เป็นซีรีย์เวลาพาร์มไทม์ (getsu9) ของทางฟูจิ (ซึ่งต่อให้ไม่ใช่ทาคุยะ
ตอนที่หนึ่งในช่วงพาร์มไทม์ถ้าทำได้ประมาณนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา (mediocre)
แต่เมื่อเป็นทาคุยะย่อมจะต้องคาดหวังอะไรที่สูงกว่านั้น) เมื่อผลชั้นต้นออกมาในแง่premiere seires
ในฤดูใบไม้ร่วง ซีรีย์pricelessจึงอยู่ในลำดับที่สาม ตามหลังให้กับDoctor Xที่มาเป็นอันดับหนึ่ง (๑๘.๑%) และอันดับสอง  Aibou11ซีรีย์ภาคต่อซีซันที่สิบเอ็ด (๑๗.๙%) ซึ่งทั้งคู่เป็นงานของค่ายทีวีอาซาฮี
แต่ยังดีว่า pricelessเป็นซีรีย์แบบเดี๋ยวขาขึ้นเดี๋ยวก็ขาลง โดยเฉพาะตอนที่แปด ที่สามารถทำให้
ซีรีย์แตะเกินร้อยละ๒๐เป็นผลสำเร็จ (ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ซีรีย์เกือบทุกเรื่องในตอนนั้นกระเตื้องขึ้นกันหมด)
เมื่อครบ๑๐ตอน ซีรีย์มีAverge of Ratingอยู่ที่๑๗.๗ ซึ่งถือว่ามีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ





หากตัดซีรีย์เรื่องAibou11ออก (เพราะยังฉายไม่จบซีซัน) ก็เท่ากับว่า
pricelessเป็นซีรีย์สูงสุดอันดับที่สองของซีซัน เป็นรองเพียงDoctor X ที่ได้สูงสุด
ประจำซีซันฤดูใบไม้ร่วงปลายปี ซึ่งเฉลี่ยต่อตอนอยู่ที่ ๑๙.๑% ดังนั้นก็ยังพอมองได้ว่า
หากยึดหลักในฐานของนักแสดงนำชายที่ช่วยเรียกเรตติ้ง ณ ปัจจุบันนี้ ก็น่าจะยังไม่มีใคร
ที่จะเกินไปกว่าคิมูระ ทาคุยะคนนี้  โดยคิดในแง่ของการผกผันระหว่างปริมาณความนิยมของคนดู
ต่อค่าเฉลี่ยในแต่ละปีบนฐานมวลรวมของซีรีย์ที่ลดต่ำลง เพราะย้อนไปสองปีที่ผ่านมา
ซีรีย์ที่มียอดคนดูเฉลี่ยสูงสุดประจำปี ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากนักแสดงนำที่เป็นฝ่ายหญิง
(นานาโกะจากKasaifui no Mita ในปีก่อนโน้น และเรียวโกะจากDoctor Xในปีที่แล้ว)
ที่แม้จะอยู่รุ่นราวคราวเดียวกันกับป๋ายะ แต่โดยย่อก็ยังอยู่ที่เนื้อหาของเรื่องเป็นสำคัญอยู่ดี
(เพราะอย่างนานาโกะที่ไปเล่นซีรีย์ให้กับค่ายฟูจิ เวลาพาร์มไทม์ในLucky Seven
เรตติ้งก็อยู่ประมาณเฉลี่ยตอนละ ๑๕.๖ ไม่ได้เวอร์ในแม่บ้านมิตะของทางช่องNTVสักเท่าไร)
และสะท้อนว่าซีรีย์ปลายปียังเป็นช่วงที่แข่งขันกันดุ ด้วยซีรีย์สูงสุดประจำปีล้วนมาจากหน้าซีซันนี้ทั้งสิ้น ........







อ้างอิงข้อมูล

Tokyohive , Dramacrazy . Asianwiki and Dramawiki




 

Create Date : 25 มกราคม 2556    
Last Update : 25 มกราคม 2556 23:09:25 น.
Counter : 8204 Pageviews.  

Keizoku - SPEC2 หน่วยคดีพิเศษแก้เคสต์สุดอัศจรรย์




เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผู้เขียนไปสะกิดติ่งในการแปลข่าวชิ้นหนึ่งของทางทีบีเอสทีวี
เกี่ยวกับการส่งท้ายสั่งลา สำหรับซีรีย์นักสืบพลังพิศวง Spec ที่กำลังจะแผนเ
ข้าฉายในโรงภาพยนตร์ จากความที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับซีรีย์เรื่องนี้เลย
แต่พอได้แปลเสร็จชักรู้สึกพล็อกมันเข้าท่าดี ว่าแล้วก็บรรจงโซ้ยเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย
สักตอนสองตอน โดยเฉพาะกะจะดูเอามันส์ในส่วนของSpec2 ที่มีหนูเอริกะเป็นดารานำ
พอดูไปดูมา.....เออมันก็สนุกดีเหมือนกันแหะ แต่จำได้ว่าตอนที่แปลข่าวมันได้เกริ่นอยู่หน่อยนึงว่า
Spec2ที่ผู้เขียนกำลังตั้งตาชมอยู่นี้ จริงๆแล้วมันเป็นงาน "รีฟื้น" จากโครงการซีรีย์
ที่เคยสร้างทิ้งไว้ราวในปี ๑๙๙๙โน้น! สุดท้ายเมื่อช่างใจอยู่สักพัก
เพื่ออรรถรสในการทำความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น ก็เลยไล่หาต้นฉบับเวอรชั่นภาคที่หนึ่ง
ในการกลับไปปูพื้นฐานทำความเข้าใจในตัวเรื่องกันดูสักหนอ่ย ถึงแม้ภาพมันจะดูเก่า
เทคนิควิธีถ่ายทำแบบโบราณ อีกทั้งโปรดักชั่นโหล่กระโท้ย แต่ดารานำหญิงยุคนั้นก็น่าสนใจ
เพราะได้ "นาคาตานิ มิกิ" ที่ตอนนี้กำลังโผล่พูดไทยในช่องไทยพีบีเอสในหมอจินสองอยู่นั่นเอง





อย่างที่ทราบ ก่อนที่จะมาเป็นSPEC2 ที่ออนแอร์ในปี ๒๐๑๐ ความจริงมันก็เป็นงาน
ที่หยิบมาจากการต่อยอดของเดิมที่มีนิยมระดับพอประมาณในปี ๑๙๙๙ ที่ตอนนั้น
มันไม่ได้ใช้ชื่อว่าSPECอย่างที่เข้าใจกัน แต่จะไปใช้ชื่อออริจินอลซีรีย์ว่า Keizoku
อันหมายถึง "คดีที่ยังแก้ไม่ได้"  (Unsolved cases) ซึ่งยุคนั้นเป็นการพูดถึงเรื่องของ
นักสืบสาวอัจฉริยะ "ชิบาตะ จุน" (ที่แสดงโดยนาคาตานิ มิกิ) ซึ่งสำเร็จการศึกษา
ในเกรดสูงสุดของชั้น แต่เธอกลับถูกโอนตัวให้มาประจำแผนกของหน่วยสืบสวนชั้นหัวกะทิ
(elite detective) เพียงแต่หน่วยห้า แผนกคดีปริศนา (Keichicho Koanbu -
Public Security of Bureau)อยู่นั้น รับว่าความเฉพาะคดีที่คิดเหมาเอาเองว่า
คงจะแก้ไม่ได้ (deemed unsolvable case)






You might already know that our department handles cases
That can't be explained by science.



(คุณอาจจะรู้ว่าหน่วยงานของเรารับจัดการกับกรณีที่
ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์)




Like murder cases by supernatural powers.


(เช่นกรณีการฆาตกรรมโดยพลังเหนือธรรมชาติ)



Cases that are hard to prosecute case
that are hard to build up as cases.



(หลายกรณีที่ยากที่จะดำเนินการ ซึ่งมันก็ยากที่จะตั้งขึ้นให้เป็นคดี)






ตัวชิบาตะเธอก็มีรุ่นพี่ที่เป็นคู่หูสืบสวน  "มายามะ โทรุ" (ที่แสดงโดยวาตาเบะ อัตสึโระ
จากBeautiful Life,Godhand Teru)
ที่ดูภายนอกเป็นบุคคลน่าให้ความเคารพ
และมีเที่ยวบินสูงในการตามคดี เมื่อทั้งสองต้องมาเจอะคดีที่มีความซับซ้อน
และดูจะเป็นปรากฎการณ์ที่ชวนเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น คดีเสียงโทรของคนที่ตายแล้ว
ศพในห้องแช่แข็งที่ปิดตาย ฆาตกรหูทิพย์ ชายผู้เห็นอนาคต คำสาปแช่งบนพื้นผ้าใบ
คนจากโลกอนาคตที่ย้อนมาแก้แค้นในอดีต เป็นต้น แต่ด้วยการตามสืบแบบจิกไม่ปล่อยของโทรุ
ที่เจ้าตัวเป็นคนทำงานเนียบและเจ้าอารมณ์ มาผสมกับความสามารถพิเศษเหนือธรรมชาติ
ในการช่างสังเกตของชิบาตะ ที่แม้เธอจะเป็นที่รู้กันว่ามีความอัจฉริยะในตัว
แต่ก็ติดนิสัยเงอะๆเปิ่นๆ ชอบจดจ่อในเรื่องซ้ำๆ  และมักจะทำสิ่งไม่ประสีประสาในสายตาคนอื่น
แต่ทว่า...มันก็ช่วยทำให้หลายคดีที่กรมตำรวจปวดหัวแล้วปวดหัวอีกให้ผ่านพ้นไปด้วยดี
ด้วยสไตล์การลงพื้นทื่จริงที่เก็บเล็กตั้งประเด็นน้อยในทุกรายละเอียด
และเข้าถึงผู้ต้องสงสัยแบบถึงลูกถึงคน






จนเวลาก็ล่วงเลยย่างไปอีกสิบสองปี ทางทีบีเอสก็มีแผนกลับมาปัดฝุ่น
ซีรีย์โครงการKeizokuอีกครั้ง ยังคงไว้ซึ่งความเป็นแผนกคดีสืบสวนเรื่องที่เหนือธรรมชาติ
หรือในเรื่องที่ปิดสำนวนคดีได้ยาก โดยภาคล่าสุดจะเรียกชื่อให้กระชับว่า "SPEC"
(จึงเป็นที่มาที่คนยุคเจนฯนี้คุ้ยติดปากกว่าkeizoku) มาคราวนี้มีการเปลี่ยนทีมชุดนักแสดง
มาสู่อีกเจเนเรชั่นหนึ่ง โดยปี๒๐๑๐จะได้หนูโทดะ เอริกะ มารับบทเป็น "โทมะ ซายะ"
ตำรวจนักสืบหญิงผู้มีไอคิวสูงปี๊ดถึง๒๐๑องศา แต่ทว่าเธอก็ขาดทักษะในการเข้าสู่สังคม
และชอบทำตัวไม่รู้จักโต เอกลักษณ์ส่วนตัวที่ติดตาของเธอ คือ
แขนข้างซ้ายที่เข้าเฝือกโดยตลอดเวลา กับท่าลากกระเป๋ารถเข็นใบสีแดงที่ใช้ประจำ





ในขณะเดียวกันเธอก็เพิ่งจะได้คู่หูคนใหม่ "เซบุมิ ทาเกรุ" ชายหัวเกรียนผู้มีสีหน้าไร้อารมณ์
ที่เพิ่งถูกสั่งย้ายจากหน่วยนครบาล เพราะปฏิเสธคำรับสารภาพที่ว่ามีเจตนายิงเพื่อนร่วมงาน
ด้วยอาการสาหัส แต่เขากลับให้การไปว่าเป็นการยิงเพื่อป้องกันตัวจากกระสุนที่ยิงปะทะเข้ามา
แต่ในที่เกิดเหตุกลับไม่พบปอกกระสุนดังกล่าว ดังนั้น....เมื่อทั้งสองจะต้องทำงานร่วมกัน
ภายใต้การบัญชาการของหัวหน้า "โนโนมุระ โคทาโระ" (แสดงโดยไรตะ ริว จากBloody Monday
และSmile)
หัวหน้าที่ไร้ความน่าเกรงขาม และดันแอบดอดเล่นชู้กับตำรวจรุ่นน้อง





โดยคอนเซ็ปต์ของเรื่อง ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับภาคแรก
ที่ว่ากันด้วยเรือ่งของการคลี่คลายปริศนาของคดีลึกลับที่ไม่สามารถไขให้กระจ่าง
ตามหลักสูตรการสืบสวนของตำรวจในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องจัดหาทีมพิเศษมืออาชีพสักแผนก
เพื่อรับงานประเภทนี้โดยเฉพาะ  (ที่นานๆทีจะโผล่มามีสักชิ้น) โดยที่ผู้ที่ร้องเรียน
จะต้องมาเดินทางมาพบเพื่อให้ปากคำด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับ
เงินจำนวนมาก และชีวิตความปลอดภัยของตัวผู้พูดเอง เมื่อหยิบยกความเป็นภาคที่หนึ่ง
กับภาคที่สองออกมาสาธยายขนาดนี้ เป็นธรรมดาของสากลซีรีย์ ที่อดจะนำมาเปรียบเทียบไม่ได้
ซึ่งkeizokuซีรีย์สืบฆาตกรรมเรื่องนี้ ก็มีทั้งความแตกต่างและความเหมือน
เมื่อเทียบกับซีรีย์พล็อกแนวนี้โดยทั่วไปอยู่พอสมควร





อย่างแรก ส่วนมากซีรีย์แนวนักสืบญี่ปุ่น มักจะตั้งสมมติฐานทางคดี
ให้ผู้คนหลงเชื่อไปว่ามูลเหตุของการฆาตกรรมที่ดูน่าเหลือเชื่อ และไม่มีประจักษ์พยานชัดเจน
มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจากอำนาจลี้ลับ เวทมนตร์ไสยศาสตร์ หรือสอดรับกับตำนานปรัมปรา
ก่อนจะค่อยๆเขยิบการสืบสวนและใช้ตรรกวิทยาทางวิทยาศาสตร์เพื่อมามลายความเป็นอวิชชานั้น
ซึ่งKeizokuก็ทำท่าว่าจะเป็นเช่นนั้น  แต่ทว่ามันก็ได้มีการใส่ความเป็น "พลังวิเศษ" ของตัวฆาตกร
ที่ในเรื่องใช้ศัพท์ว่า SPEC เพียงแต่...มันจะไม่ได้ใช้ไปเพื่อการ "ก่อ" คดี (ซึ่งมันก็ทำได้แต่ไม่ทำ?)
แต่จะกระทำไปเพื่อการ "ซ่อน" วัตถุทางคดี (ซึ่งก็ลึกกว่าการนำไปก่อคดีเยอะ!) โดยในภาคแรก
แทบจะไม่มีการกล่าวถึงตัวผู้ต้องหาที่เป็นพวกที่มีพลังวิเศษ แต่จะเน้นไปที่ตัวพระเอกนางเอกมากกว่า





อย่างที่สอง ความพยายามที่จะเข้าใกล้เส้นความเป็นการ์ตูนหรือเป็นพวกeccentric personalities
แม้ทั้งสองภาคจะเน้นสายคอเมดี้ดีเทคทีฟทั้งคู่ แต่ภาคหนึ่งดูจะเรื่องทีเล่นทีจริงมากกว่า
ขณะที่ภาคสองนี้เลยเถิดไปไกล เข้าใกล้ความพยายามทำอะไรที่ดูจะสุดโต้งถึงระดับเพี้ยนเข้าขั้น
เมื่อภาคแรกดูจะมีความดาร์กในการเล่าเรื่องมากกว่าภาคสอง ส่วนลูกเล่นในมุมกล้อง
ภาคแรกก็ทำไว้ได้หลากหลายตามความนิยมในแนว Mysteryที่ยุคนั้นชอบใช้
(น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากซีรีย์เรือ่ง Psychometrer Eiji มาพอสมควร )แต่วิธีการดังกล่าว
ก็ทำให้ซีรีย์ดูขาดเอกลักษณ์และธรรมดาไป จนไม่มีความโดดเด่นในยุคสมัยนั้น (ซึ่งหมายถึงภาคแรก)
นอกจากเรื่องของคุณวิเศษของตัวเอกซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ผิดกับภาคสองที่มีเอกลักษณ์ชัดแจ้ง
มีวิธีเล่าเรือ่งและการคลี่คลายที่แปลกใหม่ และที่สำคัญมีการผูกปมต่อเนื่องในแต่ละตอน
เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ปริศนาของจุดหมาายปลายทางใหญ่ในตอนสุดท้ายที่ไล่ไปทีละระดับ
จะผิดกับภาคแรกที่ไปจบตูมในตอนอวสาน ถ้าว่ากันด้วยการจบอย่างประทับใจด้วยแล้ว
เสียงชื่นชมในภาคแรกดูจะทำได้ดีกว่า เพราะในภาคที่สองเหมือนจะคาเรือ่งไว้
ทำให้ยังจบได้ไม่สมบูรณ์ คงหวังเพื่อจะต่อยอดรับทรัพย์กันต่อในโรงภาพยนตร์ตามสูตรนิยม





อย่างที่สาม ในแง่ความสัมพันธ์ของตัวละครหลัก
ภาคแรกดูจะแห้งแล้งและปฏิบัติเป็นไปตามหน้าที่ ที่ยึดถือเอาภารกิจเป็นสำคัญ
โดยไปให้เวลากับรายละเอียดและการดำเนินเรื่องเพื่อการคลี่คลายคดี ซึ่งจะไปเน้น
ในสว่นของความสัมพันธ์ของตัวผู้ต้องหาต่อเหตุจูงใจ เพื่อให้คนดูสามารถอนุมาน
เชื่อมเดาเหตุการณ์จากข้อมูลที่ทยอยให้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ในภาคสองที่แม้
ความสำคัญทางคดีก็ยังคงมีเหมือนกัน แต่จะถูกแบ่งเฉลี่ยไปให้กับความสัมพันธ์ด้าน "หวานทื่อ"
(ที่เป็นการแสดงออกในความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างการเป็นคู่หู แม้ผ่านอากัปกิริยาหน้าตาย
และคำพูดที่ฟังดูหวน ไม่หวานปานดราม่าในแบบที่ชาวบ้านเขาทำกัน ทว่า...สื่อสารก็เข้าใจ)
ที่แม้แต่การดีไซด์ตัวละครหลัก จะมีพื้นฐานบางอย่างที่ดูคล้ายกัน คือ นางเอกเก่งแต่เนิร์ด
ขณะที่พระเอกจะดูจริงจังแต่เเข็งทื่อ โดยมีการเสริมรายละเอียดบางอย่างเพื่อคงเอกลักษณ์ไว้
ซึ่งผู้เขียนชอบในส่วนของKeizoku : SPEC2มากกว่า เหตุผลไม่ต้องมากเพราะ..มันบ้าดี!
โดยเฉพาะวิธีการตีโจทย์ปริศนาให้แตกของนางเอกโทมะ  ผ่านการเขียนอักษรพู่กันเป็นตัวอักษร
เขียนด้วยมือฉีกด้วยเท้าแล้วโปรยลงมา จากนั้นก็อาศัยประสาทสัมผัสเหนือธรรมชาติ
เพื่อการเชื่อมรอยออกเป็นเรื่องราวผ่านกลุ่มความคิด เป็นประจักษ์ชัดแจ้งกันออกมา
ผู้เขียนดูซีรีย์ญี่ปุ่นแนวนี้มาก็พอสมควร แต่ก็ไม่เคยเจอวิธีอะไรที่ดูสุดโต้งได้เท่ากับเรือ่งนี้เลยจริงๆ






Human only use 10% of the brains.
What kind of SPEC are hidden in the remaining 90%.


(มนุษย์ใช้กำลังสมองไปเพียงสิบเปอร์เซนต์ของพื้นที่ทั้งหมด
SPECจึงเป็นอะไรที่ซ่อนอยู่ในหน่วยเก้าสิบเปอร์เซนต์นั้น)




We humans still have various kinds of possibility hidden away.


(มนุษย์เรายังคงมีสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้อีกมากมายหลายชนิดที่ยังคงซ่อนอยู่ภายใน)




Than might even pave new path for human being in the future.


(นั่นอาจจะเป็นการปูไปสู่เส้นทางใหม่ สำหรับพวกมนุษย์เราในอนาคต)






สิ่งที่เป็นสารตกค้างจากภาคแรกแล้วยังคงไว้ในส่วนของภาคสองนั้น สิ่งที่แรกที่เห็นเลย คือ
ปู่ริวที่รับบทเป็นหัวหน้าแผนกSPEC ซึ่งแกก็อยู่ทนแบบไม่เติบโตในสายงานเอาซะเลย
สิ่งที่ไม่พัฒนาตามกาลเวลาอีกอย่าง เป็นเรือ่งการออกแบบภายในของตัวสำนักงาน
ที่สิบกว่าปีผ่านมาอย่างไร ก็ไร้งบพัฒนาแผนกไปอย่างนั้น ยกเว้นว่าที่ดูดีขึ้นมานิดหน่อย
ตรงที่มีสำนักงานเขามีลิฟต์ใช้กันแล้ว ในขณะที่ภาคแรกใช้เคาะประตูเอา (แต่บางวัน
ลิฟต์ก็เกิดเสียขึ้นมาก็ต้องอาศัยการปีนขึ้นกันเอาเอง) หลังจากที่ดูภาคหนึ่งจบ
ต่อด้วยภาคสองโดยทันที ก็คิดเอาเองว่ามันยังคงดำเนินเรื่องเหมือนจะมาทางเดียวกัน
คือ คลี่คลายคดีแบบเคสต์บายเคสต์ แต่สุดท้ายSPEC2ดูจะพยายามฉีกตัวให้ครึ่งเรือ่งหลัง
มีความเป็นสตอรีอยู่ในตัว โดยอาศัยความเชื่อมโยงในปรากฎการณ์ของกลุ่มบุคคลผู้มีพลังวิเศษ
ที่ก่อรูปให้ดูมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง มีความเป็นองค์กรลับอะไรบางอย่างที่แอบซ่อนอยู่ข้างใน
ซึ่งลัทธิดังกล่าวจะไปสัมพันธ์กับมูลเหตุ ที่ทำให้เซบุมิโดนย้ายจากหน่วยสวาทและบุคคลผู้ชักใย
ดูท่าว่าจะเป็นที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวกับนักสืบสาวติสท์โทดะ รวมถึงความลับของแขนข้างซ้ายด้วย






ถ้าพูดตามเนือ้ผ้า กระแสของKeizoku ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นซีรีย์ที่โดดเด่นอะไร
จัดอยู่ในประเภทความนิยมปานกลางๆตามหน้าจอทีวี (อย่างเรตติ้งภาคแรกได้ไปเพียง๑๓.๙
พอมาภาคที่สองก็ได้ไปแค่๑๐.๕) แต่มันจะไปได้ภาษีแง่ดีเอาจากเสียงวิจารณ์นอกจอทีวี
และเสียงเชียร์แบบปากตอ่ปาก ด้วยรูปแบบลีลาที่ฉีกแนวการนำเสนอตามสูตรนักสืบทั่วๆไป
เต็มไปด้วยเพี้ยนของตัวละคร ท่าทีที่ก๊วนโอ๊ยกันตลอดทั้งเรื่อง และสุดท้ายSPEC2รู้ว่าตัวเอง
ไปได้ดีกับการสร้างสตอรีของตัวเอง มากกว่าการคลี่คลายตามเดิมแบบคดีละตอนตามสูตรภาคแรก
ในที่สุดก็เลยอาศัยทรัพยากรจากตัวละครที่สร้างขึ้น ผู้เป็นคีย์สำคัญในการสร้างเรื่องราว อย่าง
น้องสาวของเพื่อนตำรวจที่เซบุกิยิงปืนสวน " ชิมูระ มิซุรุ" ผู้มีญาณในการอ่านใจคน
เพียงแค่ได้สัมผัสทางวัตถุของคนๆนั้น (แสดงโดยฟุคุดะ ซากิ จากLife) "อุนโนะ เรียวตะ"
แพทย์ผู้มีพลังวิเศษในการรักษาผู้ป่วยทุกโรค นักต้มตุ็น "โทชิอากิ" หมอดูผู้มีญาณมองเห็นอนาคต
(โดยเท็ตสึชิ ทานากะ จากBloody Monday) "ซุเคฮิโระ ทซึดะ"ที่ปลอมร่างเป็นใครก็ได้ตามใจนึก
(เล่นโดยชิอินะ คิปเป จากCode Blue) "ซาโตชิ ชิอิ" แฟนหนุ่มของนักสืบสาวโทดะ
แต่ตอนหลังมารู้เป็นการตบตา เพราะเขาก็เป็นหนึ่งของผู้ที่มีพลังSPECด้วยเช่นกัน และสุดท้าย
"นิโนมาเอะ" ผู้ที่เป็นตัวการใหญ่ (เสมือนเป็นvillainของเรื่อง-แสดงโดยเรียวโนะสุเกะ คามิกิ)
ในการสร้างความวุ่นวายทั้งหมดเป็นเด็กมัธยมที่มีอำนาจในการหยุดเวลา จัดเป็นบุคคลที่มีพลังSPEC
ที่ร้ายกาจที่สุดของเรื่อง และเป็นผู้อยู่ตอนเกิดเหตุที่ทำให้เขาและโทมะกลายเป็นSPEC






SPEC than can change the impossible to possible
is now hidden in us.




(หน่วยSPECมันยิ่งกว่าการที่จะไปเปลี่ยนสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
ให้มันเป็นไปได้ ซึ่งบัดนี้มันซ่อนอยู่ในตัวเรา)




Endless possibility is in everyone of us.


(ความเป็นไปได้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน)








แม้ภาคที่สอง Keizoku SPEC2จะยังได้คนเขียนบทคนเดิม ที่เขียนไว้ในปี ๑๙๙๙
อย่าง "โนชิโอกิ ยุมิเอะ" (ที่นอกจากkeizokuแล้ว ก็มีอีกเรื่องที่เคยดู คือ Tokujo Kabachi!!
อันโน้นก็เป็นเรื่องของทนายรุ้กกี้จิตป่วนที่ดูสนุกดี) แม้เจ๊ยุมิเอะจะเริ่มเข้าวงการมาตั้งแต่
ปี๙๓ จากการเขียนบทชิ้นแรกDouble Kitchenทางช่องทีบีเอส แต่ระยะหลังมีผลงานไม่บอ่ยนัก
อาจจะเขียนปีแล้วพักไปเป็นปีถึงสองปี แต่การกลับมารื้องานภาคต่อที่ทิ้งไปเป็นสิบกว่าปี
เพื่อให้มาทันขบวนในกระแสตำรวจนักสืบกำลังฮิตเปรี้ยง (ขนาดนักเขียนบางคนที่ถนัด
แต่เขียนพล็อกประเภทรักสามเส้า ยังกระโดดมาเล่นกับเขาด้วย)  ซึ่งก็ไม่ทำให้ผิดหวัง
ทำให้เจ๊ได้รางวัลBest Screenwriterครั้งแรกในชีวิต ในการประกาศรางวัลTDAAครั้งที่ ๖๗





และผลจากผลิตภัณฑ์ในชิ้นงานภายใต้ชื่อ "Keizoku" ทำให้เกิดการแตกไลท์
ขึ้นมากมาย ก็ต้องนับตั้งแต่ปี๑๙๙๙ ในสมัยที่keizokuยังมีนางเอกที่เล่นโดยป้ามิกิ
ที่ถือเป็นต้นกำเนิดของเรื่องที่เป็นภาคปกติทั้วไปในชื่อKeizokuตามที่รู้กัน
พอหมดจากสิบสองตอน ก็เข้าสู่ตอนสเปเชียลทีวีในชื่อตอน Keizoku Special: Phantom
ถัดมาอีกปี คือปี๒๐๐๐ จะมาใช้ชื่อที่บอกก็รู้ว่าเข้าโรงใน Keizoku: The Movie
แล้วพอข้ามพ้นจากปีสหัสวรรษเสร็จ ทางทีบีเอสมีโครงการฟื้นซีรีย์สุดฮิตนี้อีกครั้ง
โดยครั้งนี้มีนางเอกสาวที่แสดงโดยหนูเอริกะ โดยให้ใช้ชื่อเสียใหม่ว่า SPEC ~ First Blood
ที่เป็นซีรีย์ภาคปกติฉายทางทีวี (ที่คนดูส่วนใหญ่จะนิยมเรียกสั้นๆว่า SPEC2)
เมื่อได้รับความนิยมพอสมพอควร ก็เข้าสูตรตามต่อมาด้วย SPEC SP ที่เป็นตอนพิเศษ
ที่ทิ้งช่วงจากตอนปกตินานกว่าสองปี มาออนแอร์เอาในปี๒๐๑๒  ซึ่งก็เป็นปีเดียวกันกับ
ภาค SPEC: Heaven ที่เจตนาฉายต่อเนื่องแต่จำกัดให้เฉพาะในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
และในขณะที่ผู้คนตั้งหน้ารอคอยว่าคงจะมีภาคที่สามตามมาอีกเมื่อไร ทางโปรดิวเซอร์
อุเอดะ ฮิโรกิ (อ้างตามข่าว) ก็สยบข่าวลือทุกอย่างโดยประกาศความเป็นสิ้นสุด
ของความเป็นซีรีย์ตระกูลKoizuku ด้วยการมีแผนที่จะปล่อย SPEC-Zero SP
อันเป็นตอนพิเศษเพื่อเรียกน้ำย่อยผู้ชมก่อนในปี๒๐๑๓ เพื่อจะไปสู่ปัจฉิมภาคในชื่อ
SPEC: Close ที่เป็นตอนอวสานของเรื่องราวทุกอย่าง ทั้งปริศนามือซ้ายของโทดะ
และอดีตความลี้ลับทั้งหลายทั้งปวงของเธอ ซึ่งถ้าใครเป็นแฟนซีรีย์เรื่องนี้ มีฤาที่จะพลาด!







อ้างอิงข้อมูล


Asianwiki , Dramawiki ,jdorama and Tokyohive







 

Create Date : 16 มกราคม 2556    
Last Update : 16 มกราคม 2556 14:10:11 น.
Counter : 6532 Pageviews.  

Legal High สองทนาย_หนึ่งวายร้ายกับทนายสาวผู้แสนดี






ในบรรดางานซีรีย์สายคอเมดี้ โดยความรู้สึกส่วนตัวแล้ว
ผู้เขียนเดา(เอาเอง)ว่า คอเมดี้ที่ต้องมาว่ากันด้วยเรื่อง "กฎหมายและคดีความ"
น่าจะเป็นสายยากสุดบรมที่จะทำอย่างไร ให้เกิดความลงตัว ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่อง
"ความน่าเชื่อถือในชั้นไต่สวน" ให้สอดคล้องไปด้วยกันกับ "ตลกโปกฮากึ่งสาระ"
ย้อนหลังกลับไปสักสองปี เคยได้รีวิวซีรีย์แนวทนายคอเมดี้ Tokujo Kobashi!!
ซึ่งก็เป็นซีรีย์ในแนวทนายคลายทุกข์ ที่ว่าด้วยทนายหนุ่มรุ้กกี้ที่ต้องตกปล่องร่องชิ้น
กับทนายสาวเลือดเย็น ที่คราวนั้นมีดาราแม่เหล็กอย่าง ซากุราอิ โช ต้องมาปะทะฝีปากกับ
นางเอกสาวโฮริกาตะ มากิ ความสนุกระดับปานกลาง ส่วนฐานเรตติ้งเรื่องนั้น
ก็ต้องเรียกว่าไม่ดีนัก อันนี้กระมั้งที่น่าจะมีผลทำให้ซีรีย์แนวทนายคอเมดี้แบบเคสต์บายเคสต์
หายหน้าจากวงการไปพักใหญ่ เลยปล่อยให้คอเมดี้แนวอาร์ฟเตอร์สคูล ดีเทคทีฟโปลิส
และแฟมิลีคอเมดี้ ครองจอกันแทบทุกครัวเรือนและสถานี









จนกระทั่งปีที่แล้ว ดันมีซีรีย์ทนายคอเมดี้ที่หลงมาอยู่หนึ่งเรือ่ง
ที่โดยนักแสดงแล้วมีความน่าสนใจระดับ "ครึ่งหนึ่ง" ที่บอกว่าครึ่งหนึ่งก็เนื่องเพราะ
ได้ "อารากาคิ ยูอิ" มารับบทเป็นทนายสาวหน้าใหม่ไฟแรงสูง ทั้งๆที่ไม่นานมานี้
เธอเพิ่งจะได้เล่นบททนายสาวรุ้กกี้แนวคล้ายๆกันในZenkai Girl ทางช่องฟูจิ
ที่ทำให้แฟนๆต่างโหวตให้ตัวละครอายุกาวะ วาคาบะที่เธอเล่น เป็นตัวละครที่
ประทับใจในอันดับที่สองนับตั้งแต่เธอได้กระโจนเล่นซีรีย์กันมา เป็นรองแค่ตัวละคร
ชิราอิชิ เมกูมิ จากCode Blueเท่านั้น ตามผลโหวตของgoo ranking
แต่ที่ต้องกลั่นใจเอาไว้แค่ครึ่ง เพราะอีกด้านต้องประชันกับดารานำชาย
รุ่นที่มันไม่ใช่ซูเปอร์สตาร์ทีนเอจวัยใกล้ แต่เป็นหนุ่มใหญ่วัย๔๐ "ซาคาอิ มาซาโตะ"
ซึ่งตลอดที่ผ่านมาผู้เขียนผ่านตาแต่บทร้ายๆ ไม่ว่าจะเป็น บทรมต.การคลังใน
Nankyoku Tairiku หรือพี่เลี้ยงเด็กจอมเฮี้ยบในซีรีย์Engine (พอจะได้ข่าวอยู่บ้างว่า
ในAtsu-himeพี่แกได้รับความชื่นชมในทางภาพลักษณ์ดูดี จากบทเชื้อสายโชกุนโตกุกาวะ
เพียงแต่ว่าความดีนั่นมันไม่ได้บังเกิดกับผู้เขียน ด้วยปริมาณตอนกว่าครึ่งร้อยอันเป็นอุปสรรคยิ่ง)
แต่เพื่อหนูยูอิแล้วผู้เขียนอย่างไรเสียก็ทนได้แล้วอีกอย่าง เมื่อเป็นสายคอเมดี้ด้วยแล้ว
โอกาสที่จะอินในบทของตัวละคร น่าจะน้อยไม่เท่ากับความสำราญไปพร้อมกับบท
ส่วนใครจะบอกว่าไร้สาระนั่น อย่างน้อยๆมันก็ยังมี "เกร็ดทางคดี" ที่เอาไว้บังหน้า
ซึ่งพอเอาเข้าจริง กลับรู้สึกได้สาระที่น้อยกว่าครั้งที่เคยดูTokujo Kobashi!!เสียอีก









Legal High
เป็นซีรีย์ทนายคอเมดี้แบบเคสต์บายเคสต์
ที่พูดถึงการห่ำหั่นของทนายความคู่รักคู่แค้น "มิคิ โชอิชิโระ" เจ้าของบรรษัททนายความ
(ที่นำแสดงโดยนามาเสะ คัตสึฮิสะ จาก Gokusen,Strawberry Night)
ซึ่งอดีตเคยร่วมงานกับ "โคมิคาโดะ เคนสุเกะ" (ซึ่งรับบทโดยซาคาอิ มาซาโตะ)
แต่ตอนหลังผิดใจกันด้วยคดีที่มีผลผูกพันทางใจบางอย่าง จนเป็นเหตุให้ทางเคนสุเกะ
ตีตัวแยกมาเปิดสำนักทนายความเล็กๆของตัวเอง ที่ถึงแม้เคนสุเกะจะมีชื่อเสียง
ในเรื่องฝีไม้ลายมือการว่าความขั้นเทพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบนดินหรือการเล่นใต้ดินใ
นทุกประเภทขอเพียงเพื่อให้ชนะคดี และด้วยพฤติกรรมส่วนตัว ที่กักขฬะ หยิ่งจองหอง
ชอบพูดจาดูถูก แล้งน้ำใจ เจ้าอารมณ์ หลงใหลนารีและความมีชื่อเสียง 
และการจะเรียกให้เขายอมสู้ความให้ ลูกความก็จะต้องยอมสู้ค่าเหนื่อยให้ตัวเลขที่สูง
เขาจึงแทบไม่เป็นที่รักของใครๆ ยกเว้นเพียงพ่อบ้าน "ฮัตโตริ" ที่มีนิสัยถ่อมตน สุภาพเรียบร้อย
และขึ้นชื่อในเรื่องการทำอาหารเก่งประจำบ้าน เรียกว่าแทบจะตรงกันข้ามกับเขา
(ที่แสดงโดยลุงโคทาโร่ ซาโตมิ จาก RyomaDen) เมื่อต่างฝ่ายต่างเป็นหนึ่งในการว่าความ
ประกอบกับความแค้นฝังแน่นของทั้งสองฝ่าย จึงกลายเป็นศึกทางวิชาชีพนอกเหนือจากคดี
ที่ตามจิกตามบี้กันมาอย่างไม่หยุดหย่อน แต่ทว่าทนายเคนสุเกะก็สามารถเอาชนะมาได้ในทุกคดี
อันถือเป็นเสี้ยนหนามชิ้นเใหญ่ที่ปักลึกในใจของโชอิทาโระมาโดยตลอด









ในขณะเดียวกัน บรรษัททนายความของโชอิทาโระก็มีลูกจ้างทนายความสาวตัวเล็กๆ
"มายุซุมิ มาชิโกะ" (แสดงโดยอารากาคิ ยูอิ) ผู้มีปณิธานที่จะเอาความรู้ที่ได้จากการเป็นทนายความ
มาช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์และคนตกทุกข์ได้ยากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทางคดี แต่อุดมการณ์ของเธอ
ดูจะไม่สอดรับกับแนวโยบายของบรรษัททนายความที่เธอทำงานด้วยสักเท่าไร จนกระทั่งคดี
ที่ไต่สวนถึงผู้ต้องหาฆาตกรรมนายจ้างของตนเอง ซึ่งเธอเชื่อว่าลูกความของเธอเป็นผู้บริสุทธิ์
แต่กลับไม่ได้รับการเอาใจใส่จากโชอิทาโระ เธอจึงลาออกเพื่อหาทางช่วยเหลือตามความเชื่อส่วนตัว
จนมาได้พบกับทนายความเคนสุเกะ ผู้เป็นปรปักษ์กับโชอิทาโระตั้งแต่ชาติปางก่อน
ผ่านการแนะนำของเลขาสาวเจ้าเล่ห์ของโชอิทาโระ  "ซาวาชิ คิมิเอะ" ซึ่งวางไว้เป็นแผนลวง
กว่าเคนสุเกะจะยอมรับว่าความให้กับมาชิโกะ เธอก็โดนเคนสุเกะเทสาดเล่นเสียๆหายๆ
และถึงขึ้นเธอต้องจำนองที่มูลค่าหลายสิบล้านเยน เพื่อให้เขาเข้าร่วมสู้คดีโดยมีเธอเป็นลูกมือ
และสุดท้ายว่าไปว่ามา มาชิโกะก็กลับกลายเป็นผู้ช่วยของทนายความเคนสุเกะ ที่ไม่ได้ด้วย
ความประทับใจหรือซึ้งในน้ำใจอะไร แต่เป็นเพียงเพราะเธอต้องทำงานใช้หนี้ให้กับเขาต่างหาก!
ถึงกระนั้นระบบความเคารพในลำดับอาวุโส ที่ต่อให้เคนสุเกะจะดีจะชั่วอย่างไร
ในความรู้สึกของมาชิโกะ ก็ยังเคารพและยกย่องทนายเคนสุเกะเหมือนดั่ง "เซนเซ"
แม้เส้นทางตามอย่างในอาชีทนายความ เขาจะเป็นที่รังเกียจขยะแขยงภายในใจของมาชิโกะก็ตาม









จึงเป็นความแตกต่างกันของสองทนายความต่างอุดมการณ์ ที่ต้องมาทำงานร่วมกัน
ระหว่างทนายความสุดเก๋า "เคนสุเกะ" กับทนายสาวสุดซื่อ "มาชิโกะ" ภายใต้โจทย์เดียวกัน
เปรียบเทียบให้เห็นระหว่าง ทนายความที่มีอุดมการณ์สุดโต้งขั้วตรงกันข้ามมาบรรจบกัน
แม้จะมีรากฐานความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในการ
เอาชนะคดีให้จงได้ และที่สำคัญต้องมาต่อสู้กับทนายจำเลยที่มักจะเลือกใช้บริการของ "โชอิทาโร่"
ที่รับเลือกว่าความให้กับฝ่ายตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งก็หาได้ใส่ใจในจริยธรรมและคุณธรรมใดใด
มากไปกว่าวิธีการที่จะเอาชนะในทุกเหลี่ยมทุกมุม แม้จะต้องใช้วิธีอันไม่สุจริต ข่มขู่คุกคาม
แบล็กเมล์ เรียกใต้โต๊ะ ซึ่งในทุกคดีโชอิทาโร่มักจะเลือกข้างฝ่ายผู้มีอำนาจ กลุ่มนายทุน
เจ้าของบริษัทอุตสาหกรรม  ผู้ปกครอง นักการเมือง เจ้าของที่ หรือแม้แต่ยืมมือฆ่าผ่านทาง
เครือญาติฝ่ายเคนสุเกะที่เจ้าตัวไม่เคยญาติดีด้วยก็ตาม  อันนี้จะอยู่ขั้วตรงข้ามกับ
เคนสุเกะและมาชิโกะที่มักจะว่าความให้กับกลุ่มคนเล็กคนน้อย ชาวบ้านในชุมชน คนบริสุทธิ์
ผู้อยู่ใต้ปกครอง  เหยื่อจากการกระทำ ผู้ต้องสงสัย จนถึงพวกรากหญ้าตามแต่จะเรียก
โดยที่มาชิโกะจะเป็นฝ่ายโอนอ่อนผ่อนปรนในแนวคิดอุดมคติ แต่ขาดทักษะความชำนาญ
ในการเอาชนะคดี ซึ่งเป็นวิถีถนัดของทนายเคนสุเกะเขา แต่เคนสุเกะก็จะขาดบุคลิกในเชิงอุดมการณ์
โดยมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการที่ดูจะคล้ายกันกับโชอิทาโร่ แต่ขอบเขตที่เขาพอจะทำได้
จะเป็นอำนาจต่อบุคคล ผิดกับโชอิทาโร่ที่สอดรับไปกับระบบ ด้วยโจทย์เป็นผู้มีอำนาจและมั่งคั่งด้วยเงินทอง









ถ้าจะพูดง่ายๆ ตัวละครโคมิคาโดะ เคนสุเกะ ที่ซาคาอิเล่น
คล้ายจะลอกแบบมาจากตัวละคร Mickey Haller จากThe Lincoln Lawyer อันเป็นนิตินิยาย
งานเขียนของ Michael Connelly ซึ่งถูกทำเป็นหนังฮอลิวู้ดจากการกำกับของBrad Furman
ในปี๒๐๑๑ (ส่วนLegal Highเพิ่งจะออนแอร์ในฤดูใบไม้ผลิ ปี๒๐๑๒) พล็อกเรื่องก็คล้ายคลึงกัน
ว่าด้วยเรื่องทนายยอดฝีมือที่ไม่สนว่าลูกความจะผิดหรือจะถูก ขอเพียงค่าจ้างงามเป็นพอ
เพียงแต่The Lincoln Lawyer จะเล่าเรื่องที่ดูจริงจัง ลุ้นระทึก และเก็บไว้ในทุกรายละเอียด
ผิดกับLegal Higeที่มาสายคอเมดี้ มีบัดดี้คู่หู เล่าเรื่องกระชับสับเร็ว ปัญหาคลี่คลายโดยง่าย
และมีอาการทีเล่นทีจริง ไม่สุดทางด้านใดด้านหนึ่งโดยตลอด จะว่าไปเป้าหมายของแต่ละคดี
ดูจะมีสูตรที่ปักธงเอาไว้ล่วงหน้า คือ "การประนีประนอมยอมความกันนอกศาล" ซึ่งก็สอดรับกับ
สภาพระบบสังคมและอุดมคติของซีรีย์ญี่ปุ่น ที่ไม่อยากจะสร้างความขัดแย้งกันไปตลอดรอดฝั่ง
เราเลยไม่เห็นแบบชนิดที่ศาลฟันธงหรือระบบลูกขุนโหวตเลือกข้าง แต่จะเป็นการเกลี่ยผลประโยชน์
เพือ่หาจุดร่วมในเส้นกึ่งกลางระหว่างโจทย์กับจำเลย ให้ที่ผ่านมาก็แล้วๆกันไป มาเริ่มต้นกันใหม่
นายทุนก็ชำระเงินนอกศาลเคลีย์ปัญหาชาวบ้านกันไป ครอบครัวที่เคยขัดแย้งกันก็หันมามองหน้ากันติด
นักการเมืองก็หันมาสำนึกผิดยอมหลีกทางโดยลงจากตำแหน่ง สามีกับภรรยาก็หันกลับมาสิ่งดีๆต่อกัน
ตอบโจทย์สิ่งที่สังคมฝันปรารถนา แม้ความเป็นจริงอาจจะเกิดขั้นได้ยากแต่กับในจอแล้ว...มันเป็นไปได้!









และสเตริไทป์ที่ฝังใจคนเขียนบท "โคซาวะ เรียวตะ" คือ มักจับประเด็นความชั่วร้ายของบรรดา
พวกนักการเมือง กลุ่มนายทุน และการคอรัปชั่น มาตีแผ่ผ่านพล็อกซีรีย์ทีวีอยู่เสมอ
(และละครบ้านเขาดีอย่าง ที่ถึงเล่นในประเด็นนี้ก็ไม่ต้องกลัวโดนแบน โดยมาตรา๓๗
หรือเสียงเพลงรอสาย แต่ความรับผิดชอบโดยการแบนตัวเองเขาก็มี แต่จะเป็นกรณีข่าวปัจจุบัน
ที่ไปกระทบจิตใจที่ดันไปสอดรับกับเรื่องราวของซีรีย์ที่กำลังจะออกฉาย กรณีนี้เคยพูดถึงไป
บางแล้วในซีรีย์ Sexy Voice & Robo) แล้วที่กล่าวว่าพี่เรียวตะคนเขียนบทเขาอินในทางนี้
อันนี้ก็ไม่ได้มั่ว แต่อาศัยเชื่อมโยงจากงานเขียนบทก่อนหน้าในซีรีย์ชุดAibou กับGonzo
ที่ทั้ง๒เรื่องฉายผ่านช่องอาซาฮีทีวี ก็อัดอยู่กับวังวนในประเด็นนี้แบบจิกไม่ปล่อยเหมือนกัน
(และหลายคนอาจจะไม่รู้ว่านอกจอทีวี หมอนี้ก็เป็นคนเขียนบทให้กับหนังAlwaysทั้งสามภาค)
Legal Highถือเป็นซีรีย์เรื่องแรก ที่แกสลัดตัวหลุดมาเขียนงานให้กับทางสตูดิโอฟูจิทีวี
พอออกมาก็ได้เรื่อง เพราะเป็นเหตุให้แกได้รับรางวัลTDAAครั้งที่๗๓แบบไร้ข้อกังขา
เพราะครั้งนั้นซีรีย์Kagi no Kakatta Heya ที่ผู้เขียนออกจะปลื้ม เล่นเหมาไปเกือบทุกรางวัล)
ก่อนหน้านั่นแกก็เคยได้ในงานชุดAibouในภาคที่๘กับ๙  แต่ตอนนั้นมันเป็นงานระดับ
ระดมพลสุ่มหัวกันหลายคนเพื่อเขียนบท ผลก็เลยพอได้ก็ได้กันแบบยกล็อด
เลยไม่อาจเจาะจงให้ชัดเจนไปเลยว่าพี่แกมันจะเข๋งจริงพอรึป่าว?  โดยเฉพาะวาทะบริภาษ
ของทนายความเคนสุเกะที่อุปมาอุปมัยเปรียบเปรยอย่างแสบสัน ชนิดที่ทั้งเจ็บ
แต่ก็อดขำแทนตัวละครไม่ได้ ยกตัวอย่าง ...."โยนลูกกอล์ฟจากความสูงระดับแปดพันเมตร
ให้ตกใส่รูจมูกของตัวตุ่นที่กำลังขุดรูอยู่ในสนามกอล์ฟ หรือ ความคิดเธอก็ไม่ต่างจาก
เด็กสาวม.ต้นที่ใฝ่งานเขียนแต่ดันถูกตีกลับจากสำนักพิมพ์แล้วยังอินอารมณ์ไม่เลิก
จนต้องรอ้งไห้โฮกออกมา" พี่คิดได้ไงหงะ?








สิ่งที่ผู้คนพูดถึงกันมาก คือการออกแบบลีลาการแสดงของซาคาอิในตัวละครทนายเคนสุเกะ
มันทั้งแปลกตาและยียวนชวนเข้าไส้ กับอารมณ์ขึ้นสุด-ลงสุด นับตั้งแต่ทรงผมขัดลูกนัยน์ตา
ท่าเดินท่าวิ่งในแบบการ์ตูน ยีตาหน้าเบ้แบบไม่หวงภาพลักษณ์ในวัยขึ้นต้นด้วยเลขสี่
แม้จะดูบ้าๆบอๆ แต่มันก็เข้ากันได้ดีกับทนายคอเมดี้ที่ชูภาพแบบคนไม่น่าคบ
ทำให้เรื่องแลดูมีสีสัน บางตำแหน่งในจุดที่ต้องการสื่อสารของตัวละครได้ชัดเจนและโดดเด่น
อันนี้สำหรับคนที่พอรับได้นะครับ เพราะถ้าหากไม่แล้ว....มันก็จะเป็นตัวทำลายองค์รวมของเรื่องไป
ในฐานะตัวละครเอกที่มีความสำคัญตลอดทั้งเรื่อง ผู้เขียนติดตามไปจนถึงตอนสุดท้าย
ก็ยังไม่รู้สึกว่าตัวละครเคนสุเกะมันจะมีส่วนดีให้พอเรียกได้ว่าเป็นพระเอกตรงไหน?
นอกเสียจากว่า ซีรีย์ชูการเลือกข้างให้เป็นปรปักษ์กับทนายโชอิชิโระที่ชั่วร้ายไม่แพ้กัน
หรือให้เรียกอีกทางหนึ่ง ก็คือว่าเรื่องนี้น่าจะมีแต่ฝ่ายพระที่เป็น "นางเอก" เพียงคนเดียว
โดยใช้เคนสุเกะที่มีความสามารถในการว่าความ เป็นทนายตีฝีปากและใช้ทักษะความีเจ้าเล่ห์
เพื่อความสำเร็จในผลลัพธ์เท่านั้น เพราะสุดท้ายนางเอกก็ไม่ได้เห็นดีเห็นงามในสิ่งที่เคนสุเกะทำ
และยังคงยึดมั่นหลักการของตัวเองแต่เริ่มแรกอยู่ดี บททนายจากเรื่องนี้ดูเธอจะเป็นเพียงลูกไล่
และเครือ่งมือระบายอารมณ์ให้กับเคนสุเกะเท่านั้น แม้จุดเชื่อมที่เหมือนกัน คือ ต๊องพอๆกัน
แต่จะเป็นต๊องแบบให้คนรัก ขนาดที่ต๊องแบบเคนสุเกะจะเป็นต๊องให้คนชัง-คนหมั่นไส้ ผิดกับทนาย
ที่เธอเล่นในZenkai Girl ที่บทส่งให้เธอเป็นผู้นำและถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ได้มากกว่า
ถ้าพูดถึงการแสดงของหนูยูอิแล้ว เรือ่งนี้ดูดร็อปลงกว่าเมื่อเทียบกับZentai Girl
ทั้งด้วยตำแหน่งจัดวางที่เล่นเป็นเสมือนกึ่งๆผู้ช่วย และเป็นตัวส่งในภาวะถูกกระทำ
เพื่อสรรสร้างอารมณ์แบบคอเมดี้ ประมาณแบบที่เราเคยเห็นฮารุกะ ฮายาเสะโดยกระทำ
ในMr.Brain หรือโทดะ เอริกะถูกจิกหัวใช้ในKagi no Kakatta Heya ซีรีย์อาจจะลด
ในแง่คุณภาพทางการแสดงของดาราบางคน แต่จะส่งผลในภาพรวมของเรื่องทั้งหมดในทางที่ดี










There is no justice in this world.Those who say "Justice is the one who wins"

(ในโลกนี้ไม่มีหรอกความยุติธรรม มีบางคนเคยกล่าวว่า"ความยุติธรรมคือสมบัติของผู้ชนะ)



There was a time when l thought that might be so as well.
But now.l can say this with conviction.
We human love justice and seek for it with our hearts.

(ซึ่งในเวลานี้ตัวฉันเองก็คิดว่ามันน่าที่จะเป็นจริงที่เดียว เพียงแต่ฉันสามารถที่จะพูดได้
โดยเชื่อมั่นว่ามนุษย์เราทุกคน รักความยุติธรรมและปรารถนาต่อมันด้วยหัวจิตหัวใจ)




A trial isn't game of who wins of who loses nor is it gamble to get money.
It also should not  be a place to injure one another.

(การไต่สาว มิใช่เกมที่จะหาว่าใครเป็นผู้ชนะหรือว่าผู้ทีพ่ายแพ้ และมันก็ไม่ใช่เกม
ที่แสวงหาเพื่อทรัพย์สินเงินทอง เราไม่ควรใข้สถานที่นี้ในการทำร้ายใครคนใดคนหนึ่ง)




Surely,somewhere justice and truth can be found.
lsn't it a place where everyone can look for happiness?

(แน่นอนว่า  คงมีสักที่ที่จะมีความยุติธรรมและความถูกต้องให้เราได้ค้นพบ
และไม่ใช่สถานที่แบบนั่นเหรอ ที่ทุกคนจะสามารถแสวงหาได้ซึ่งความสุขที่ว่า)




l believe that ideal will overthrow reality.

(ฉันเชื่อในแนวความคิดนั้นว่ามันจะช่วยล้มล้างอำนาจเดิมได้อย่างจริงแท้แน่นอน)










หากจะพูดถึงแง่ส่วนของความเป็นคดีแล้ว รูปแบบการนำเสนอดูจะเดาทางง่าย
และประะติประะต่อสู่หนทางของตอนจบในแต่ละตอนได้ไม่ยากนัก ส่วนหนึ่งก็เพราะ
คนเขียนบทเขามีกรอบชุดความคิดเรื่องCompromise ฝังอยู่ในหัวอยู่ก่อนแล้ว
ซึ่งถ้านับเอาแบบสาระที่ได้จากแง่มุมทางคดีที่ตื้นลึกหนาบางและอิงอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมาย
แนะนำว่าควรหันไปดูจากซีรีย์Tokujo Kobashi!!หรือไม่หนังญี่ปุ่นอย่างPhoenix Wright
ดูจะเข้าแก็ปกว่า เพราะเหลี่ยมมุมแม้จะมาสายกลวิธีความเวอร์แบบคอเมดี้ แต่Legal High
ก็ดูเหมือนจะไปกันคนละทาง จะไปเน้นในแง่คดีที่พบเห็นได้ทั่วไปๆ นับตั้งแต่แบบจุลภาค
จนยันไปถึงระดับมหาภาค ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในครอบครัว ล่ามไปถึงความขัดแย้ง
ระหว่างรัฐ นายทุนและสิทธิชุมชน ซึ่งถ้าตัดสีสันของความเป็นคอเมดี้เฮฮาไร้สาระออกไป
มันก็เป็นดรามาเรเกลแบบหนักๆ ดีๆนี้เอง ซึ่งคนทำเขาเก่งในการลดทอนความรุนแรงลง
บั่นทอนความสมจริงสมจังด้วยการคลี่คลายแบบชั้นเดียว ต้อนได้ก็เป็นจบยอมรับสภาพกับง่ายๆ
บางทีก็เบี่ยงเบนอารมณ์โดยการหยอดมุกตลกที่ดูเกินจริง ทำลายพลังของการไต่สวน
โดยให้คงความมีสาระแต่ก็ไม่ถือเอาความมากนัก ผ่านพฤติกรรมแปลกๆของตัวละคร
การทำเป็นเล่นโดยไม่ถือเอาสาระ และใช้ความรุนแรงเพื่อความขำขันผ่านทางคำพูด
และการกระทำที่ดูจะผิดกาละและเทศ Legal Highจึงมีช่องทางการหล่อเลี้ยงเส้นเรื่อง
ทั้งอาศัยจากตัวคดี ประกอบกับคอเมดี้ที่ครื้นเคร้งเป็นระยะๆ เพราะอย่างงี้มั้ง? จึงทำให้
ซีรีย์เรื่องนี้ได้Best Director ของTDAAครั้งที่๗๓ไปอีกรางวัลด้วย









ถึงแม้Legal Hgh จะได้เพียงที่๓ในใจคนดูประจำซีซัน (Your most memorable spring drama)
จากการจัดอันดับของNTT’s popular Internet portal&search engine goo ที่ค่อนข้างจะห่าง
จากที่๑และที่๒ อยู่พอสมควร แต่ทั้่งสองเรื่องอย่าง Kagi no Kakatta Heya และ  ATARU
อาจจะมีความได้เปรียบในแง่หมวดแนวของซีรีย์เชิงสืบสวน ที่สามารถดึงความสนใจคนดูเป็นเบื้องต้น
ด้วยเป็นพล็อกประชานิยมทางเรตติ้งที่ดึงให้แต่ละสถานีต่างต้องแข็งขัน ทั้งการสืบเสาะต้นฉบับ
แย่งชิงลิขสิทธิ์นักเขียนชื่อดัง หรือโน้มน้าวมือเขียนบททีวีให้ลองหันมาเปลี่ยนแนวให้เข้าสมัย
ซึ่งระยะหลังซีรีย์แนวนี้กรรมวิธีและเหตุจูงใจดูจะซ้ำๆ ทำให้ต่างกันก็ตรงแค่ผู้คลี่คลายว่าจะมาไม้ไหน
จะให้เป็นอาชีพอะไร? และดึงดูดจุดอัจฉริยสภาพที่แตกต่างจากคนธรรมดาด้วยวิธีการไหน?
Legal Highจึงฉีกกฎเพื่อหาจุดยืนของตัวเองและได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ เพราะอย่างน้อยๆ
ก็ยังเอาชนะซีรีย์นักสืบอีกเรื่องของค่ายNTV อย่างMikeneko Holmes no Suiriที่แม้เรตติ้งจะเท่ากัน
อยู่ที่๑๒.๕% แต่ความน่าทรงจำในผลโหวตดูจะห่างกันเกือบครึ่ง! ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะอีกสักกี่ปี
ถึงจะมีซีรีย์แนวนิติคอเมดี้ ที่โผล่มาให้ฉีกแนวจากความจำเจซีรีย์แบบทั่วๆไปกันอีก........












อ้างอิงจาก

Dramawiki , Asianwiki ,Tokyohive and Youtube@Imagination1890











 

Create Date : 09 มกราคม 2556    
Last Update : 10 กันยายน 2556 18:46:34 น.
Counter : 10304 Pageviews.  

1  2  

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.