เมื่อเกิดมาแล้ว พบสิ่งประเสริฐ ไม่ศึกษาเพื่อเข้าถึง น่าเสียดายมาก

บันทึกธรรม - หน้า 20

- ธรรมะ ถ้าอยากแล้วจะไม่เห็น
- ดูไป มันดีใจของมันเอง มันเสียใจของมันเอง ไม่มีเราตรงไหน
- รูปเกิดดับ 1 ครั้ง จิตเกิดดับ 17 ครั้ง
- ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา – เป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในจิต
- ดูจิต – ไม่ใช่ดูจิต แต่ 1. ดูความปรุงแต่ง ดูความรู้สึก ดูความเปลี่ยนแปลง ดูสภาวะ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของจิต 2. ดูขบวนการทำงาน ดูปฏิจสมุปบาท เห็นความไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
- กลัวช้าอยากได้เร็ว – ยิ่งช้า
- จิตมีความสุขกับอารมณ์อันได้ จะมีความสงบกับอารมณ์อันนั้น
- เห็นจิตเกิดดับที่จิต เป็นสุข เห็นที่อื่น เป็นทุกข์
- พระอรหันต์เห็นขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ เวลาจะตายท่านเบิกบาน
- ถ้าไม่แยกธาตุแยกขันธ์ ไม่ต้องพูดเรื่องเจริญปัญญา
- ถ้าแยกขันธ์ได้ มันจะล้างความเป็นตัวตนได้
- จิตที่ตั้งมั่นจริงๆ จะไม่ตั้งไว้แข็งๆ
- จิตที่เคยเดินปัญญา มันจะไม่ยอมพัก มักจะขี้เกียจทำสมถะ
- ฝึกให้มีตัวรู้ เพราะอริยมรรคเกิดที่ตัวรู้นี่แหละ
- จิตหนีไปคิดแล้วรู้ ๆ จะได้จิตผู้รู้
- เวลาเกิดอริยมรรค เกิดหนึ่ง แต่มีองค์ประกอบแปด
- เวลาจิตติดภพ ไม่ต้องแก้ โยนมันทิ้งไปแล้วเอาใหม่(ว่ากันใหม่)
- อย่าให้จิตมีความสุขแล้วกระจายกว้าง ๆ ออกไป ให้ย้อนกลับมาดูข้างใน
- ใจที่ยังมีความหวังอยู่ มันยังหลอกอยู่
- จิตนิ่งเฉย ๆ จิตขี้คร้าน, จิตเป็นกลาง มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จิตไม่ฟุ้งไม่แฟบ เป็นกลาง
- ทำงานบ้าน เจริญสติ(ได้)ดีมาก, กวาดบ้านไปกวาดใจไปด้วย ทำแล้วมีความสุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้
- จิตเป็นกลาง ไม่ใช่กลางด้วย Location แต่กลางที่ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
- ทำอะไรก็ผิด แต่ไม่ทำผิดมากกว่า (ไม่ต้องทำให้ถูก)
- เวลาทำความสงบ จิตจะสงบก็ช่าง ไม่สงบก็ช่าง
- ถ้าจิตรวมกับความโกรธ จะเป็นเราโกรธ, ถ้าจิตรวมกับขันธ์ ขันธ์ก็เป็นเรา
- รู้กายอย่าไปรู้ที่เปลือกของกาย
- นั่งสมาธิ ลงก็รู้ ไม่ลงก็รู้
- ไปเกาะว่างๆข้างหน้า เป็นการยึดความว่าง
- ไม่ยึดอะไร เป็นการยึดความไม่มีอะไร ไม่ใช่นิพพานจริง
- วิปัสสนา เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไม่ใช่เห็นรูปนาม, ต้องเป็นการเห็นไม่ใช่คิด
- สมถะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง, จิตสงบ อารมณ์สงบ
- วิปัสนา จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์มีได้มาก, จิตสงบ อารมณ์ไม่สงบ




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2554 8:59:15 น.
Counter : 684 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 19

- ความหมายรู้ เป็นคนละส่วนกับ ใจ ความหมายรู้ ยังเป็นอาการ ออกไปจาก ใจ ไม่ใช่ ใจ เหลือเพียงการมนสิการถึง ใจ อันอัศจรรย์เหลือเกิน แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจทางดำเนินต่อไปอย่างแจ่มชัดว่า มีแต่การ
ใจขยันจับใจที่ไม่ปน
ดังที่ท่านพระอาจารย์มั่นกล่าวไว้นั่นเอง
- แต่เดิมนั้น เราสร้างจิตผู้รู้ เรามีจิตผู้รู้ บัดนี้เห็นชัดแล้วว่า จิตผู้รู้ ยังเป็นส่วนประกอบของ ขันธ์ กับ ใจ เป็นเครื่องมือให้เราเดินปัญญาพิจารณาเข้าสู่ ใจ การปฏิบัติทั้งปวง มีการทำความสงบและการจำแนกรูปนามขันธ์ห้า ล้วนเป็นบันได เป็นมรรคา เพื่อเข้าถึง ใจ ดวงวิเศษนี้เอง คือใจ ดวงที่แยกเอาความหมายรู้อารมณ์หรือสัญญาออกไปได้ ไม่หลงเอาสัญญาหรือความหมายรู้ ว่าเป็นใจ และการจำแนกสัญญา ออกจาก ใจ ก็คือการทำลายจิตผู้รู้นั่นเอง
- เมื่อเข้าถึง ใจ ก็จะเห็นจริงว่า สิ่งที่เกิดออกไป หรืออาการของใจทั้งหมดนั้น ไม่มีอะไรเลยนอกจากทุกข์ ตรงนี้ไม่ใช่โวหาร แต่เป็นการเห็นขันธ์ทั้งปวง เป็นทุกข์ล้วนๆ และทุกข์นั้นก็เป็นความจริงของมันเองอยู่อย่างนั้น แต่ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับ ใจ ที่เป็นความจริงอีกอันหนึ่ง
- สิ่งที่ปิดบังธรรมไว้จนมิดชิด ทำให้เรามองไม่เห็น ก็คือขันธ์นั่นเอง
- มี - ไม่มี ก็คือสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง อันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามเหตุปัจจัย แต่ไม่มีอัตตาตัวตน
- ไม่มี - มี คือวิสังขารธรรม คือได้แก่ ธรรม ที่ไม่มีสังขาร หรือนิพพานนั่นเอง
- ถ้าจิตทรงธรรม ก็เป็นเครื่องกีดกันสมุทัยไม่ให้เกิดขึ้น ทุกข์กับธรรม เป็นของประจำจิตใจ ถ้าจิตทรงธรรม รู้ชัดในทุกข์ ก็เป็นอันตัดสมุทัยได้ ขันธ์ก็เป็นทุกข์ไปตามธรรมชาติของขันธ์ ส่วนใจที่ทรงธรรม ก็ปราศจากทุกข์ ต่างฝ่ายต่างอยู่ ต่างทำหน้าที่ของตนไป
- จิตตั้งมั่น โดยไม่ต้องรักษา สติเกิดเอง โดยไม่เจตนา
- ถ้าใจไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นคนดู จะไม่เกิดปัญญา
- ถ้าแยกรูปแยกนามได้ ไม่ต้องกลัวว่าไม่เดินปัญญา
- สภาวะจำนวนมากเกิดร่วมกันอยู่ ปัญหาคือจะดูตัวไหน รูปก็เกิดเป็นกลุ่มๆอย่างน้อย 7 ตัว ให้ดูตัวที่มีบทบาทเด่นตัวเดียว ถ้าเราไม่แทรกแซงจิต ไม่จงใจจ้อง จิตจะดูตัวที่มีบทบาทเด่น ตัวนั้นจะเป็นตัวที่บงการพฤติกรรมทางใจ
- เวลาตาเห็นรูป อาจผิด 4 อย่าง คือไปกำหนดที่ - รูป – ที่จักขุประสาท – ที่ผัสสะ (ที่กระทบของ 3 สิ่ง อายตนะภายใน ภายนอก และจิต) – ที่จิตที่เห็นรูป
- ทาน เป็นเรื่องสำคัญ ขั้นสุดท้ายถ้าไม่กล้าสละชีวิตเพื่อธรรมะ จะไม่ผ่าน จะป้อแป้ถดถอยไป นิพพานอยู่ฝากตาย
- ขันธ์ พอรวมตัวกัน ก็เกิดเราขึ้นมา
- เราสนใจข่าวสารภายนอก แต่ไม่สนใจข่าวสารภายใน
- สุขจากราคะ สุขแต่ลืมตัว
- จิตอยู่นอกๆ เพราะไหลไปแล้วไม่รู้
- จุดสำคัญของการปฏิบัติ ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการจำแนกจำนวนจิต แต่อยู่ที่ความรู้เท่าทัน ว่าขณะนี้มีอะไรเกิดขึ้นกับจิต เช่นเมื่อมีราคะก็รู้ว่ามีราคะ เมื่อมีโทสะก็รู้ว่ามีโทสะ และรู้เท่าทันการทำงานของจิต เช่นมันรู้อารมณ์โดยไม่หลงตาม หรือมันรู้อารมณ์แล้วหลงตามไปอยาก ไปยึด ไปก่อทุกข์ เป็นต้น
- เห็น คนแก่คนเจ็บคนตาย แล้วใจสลด แสดงว่ามีบารมี




 

Create Date : 25 กันยายน 2554    
Last Update : 25 กันยายน 2554 19:36:50 น.
Counter : 358 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 18

- ตอนเช้าหรือค่ำทำตามรูปแบบ ระหว่างวันเก็บเล็กเก็บน้อย
- จิตไม่มีเจริญ ไม่มีเสื่อม มีแต่เราไปเปรียบเทียบมัน
- การดูจิตผิด หลงตามสภาวะออกนอก หลงเข้าในตามดูกิเลส ประคองรักษาจิต หลงแก้อาการ คอยปัดสภาวะ หลบตรงโน้นหลบตรงนี้
- ลมหายใจเป็น กายสังขาร (สิ่งปรุงแต่งร่างกาย)
- วิตก วิจาร (ความตรึกความตรอง) เป็น วจีสังขาร (ทำให้เกิดการพูด)
- สัญญา และ เวทนา เป็นจิตสังขาร (ทำให้จิตทำงาน)
- ตอนตื่นนอน จิตจะตื่นก่อนร่างกาย
- จิตตั้งมั่น มี 2 แบบ – ตั้งมั่นเอง จะเบาสบาย – บังคับให้ตั้งมั่น จะหนัก
- คำว่า ลองผิดลองถูก ใช้ไม่ได้กับรู้ตัว มีแต่ ลองผิด ลองผิด แล้วก็ลองผิด
- ทำตามรูปแบบตามเวลา นอกเวลามีสติในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปนึกถึงมรรคผลนิพพาน
- เวลาแจ้ง มันแจ้งในมุมที่มันเลือก ไม่ต้องไปเลือกให้มัน
- ช่วงไหนเจริญสติรวด ขาดสมถะ จะดูไม่ถึงจิตจริง
- ภาวนา อย่ากลัวติดข้อง ให้สังเกตเอา
- ไม่ได้ดูให้หาย ดูให้เห็น
- ติดเพ่ง ใช้กายกระตุ้นให้หลุดออกมา
- อะไรเกิดขึ้นในใจเรา สดๆร้อนๆ รู้อันนั้นแหละ
- ภาวนาแล้วเหมือนไม้แห้งน้ำ ดี ไม้แห้งติดไฟง่าย
- ตัวมายาจอมหลอกลวง ไม่มีอะไรจะเสมอด้วยสัญญา
- จะข้ามภพข้ามชาติให้ได้ ก็ต้องทำลายวิญญาณให้ได้
จะดับวิญญาณได้ ก็ต้องละอภิสังขารซึ่งรวมถึงเจตนาให้ได้
จะละอภิสังขาร ก็ต้องมีสติปัญญารู้ทันตอนที่สัญญาผุดขึ้นให้ได้
- ลงท้ายแล้วก็สรุปได้ว่า ความไม่รู้มีอยู่ตราบใด ความปรุงแต่งไปตามการหลอกลวงของสัญญาก็มีอยู่ตราบนั้น
- เปรียบสัญญานี้เหมือนเงา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง แต่หลอกให้คนหลงได้ว่ามีตัวตน
- ถ้าเข้าใจสัญญาว่าเป็นดังเงาที่ไม่มีแก่นสารสาระ จิตก็จะไม่มัวเมาไปกับสังขารหรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ
เพราะสังขารนั้น มีสัญญาเป็นปัจจัยส่งต่อให้เกิดขึ้น
- ผู้ปฏิบัติที่สามารถจำแนกสัญญากับใจออกจากกันแล้ว ท่าน(หลวงปู่มั่น-สุกิจ)ให้ขยันจับใจ ที่ไม่ปนด้วยสัญญา
- ใจจะหยุด นิ่ง สงัด สิ่งใดแปลกปลอมออกจากใจก็รู้ชัด และสิ่งที่แปลกปลอม หรือเป็นอาการของใจ หรือเป็นความไหวออกไปจากใจ ก็คือขันธ์ 5 นั่นเอง
- แต่ก่อน เคยหลงสัญญาว่าเป็นใจ จึงเกิดความสำคัญมั่นหมายในสิ่งภายในภายนอกขึ้น ต่อเมื่อ ใจ ถึง ใจ แล้ว ใจก็เป็นใหญ่ในตัวของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาสัญญา สิ่งต่างๆ ก็เกิดดับไปตามธรรมชาติของมันเอง ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ ใจ กระทั่งการปฏิบัติที่ผ่านมาแล้ว ก็เหมือนบันไดเท่านั้น เมื่อขึ้นถึงจุดสุดท้ายคือ ใจ ก็ไม่มีอะไรจะต้องดำเนินต่อไปอีก




 

Create Date : 04 กันยายน 2554    
Last Update : 4 กันยายน 2554 10:32:52 น.
Counter : 407 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 17

- เวลาที่จะได้ธรรมะ เป็นช่วงที่ไม่คิดว่าจะได้
- ขยันนั้นผิด แต่ไม่ขยันนั้นผิดมากกว่า
- สติ ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ เงียบกริบ
- ฟุ้งซ่าน กับ ปัญญา ใกล้กันมาก
- มีโมหะ รู้ว่ามีโมหะ รู้อย่างที่เค้าเป็น อย่าไปเกลียดเค้า
- จิตมี น.น. เป็นผล เป็นวิบาก ต้องรับผล
- เวลาเดินจงกรม เมื่อสุดทางอย่าเพิ่งหันกลับให้รู้สึกตัวก่อน พอหันกลับอย่าพึ่งรีบเดิน ถ้ารีบจิตจะเดินก่อนขา
- ไม่ว่าจะประคองอะไร จะเกิด น.น.
- การที่จิตเพ่งมี 3 steps เรียก ไตรวัฏฏะ กิเลส กรรม วิบาก (มีกิเลสอยากปฏิบัติ ไม่รู้เลยก่อกรรมเพ่ง แล้วเกิดวิบากหนักๆ )
- พระอรหันต์ คือผู้ที่วางภาระไปแล้ว ไม่หยิบภาระอะไรขึ้นมาอีก ส่วนเราวางแล้วหยิบอีกอันขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
- เราจะสั่งจิต ไม่ให้รู้ ไม่ได้
- ใจที่เป็นทุกข์ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งแวดล้อม
- ดูจิต 2 ขั้นตอน 1 รู้ทันความปรุงแต่งทั้งหลาย เช่น โลภ ดีใจ เสียใจ 2 หลังจากสภาวะเกิดแล้ว จิตยินดี ยินร้าย ก็รู้ทัน
- หายใจแล้วรู้ทันจิต แล้วจะเกิดปัญญา
- ใจมันฟุ้ง แล้วเราไปเบื่อแทนมันทำไม
- ถ้าใครเข้าถึงความเป็นกลาง จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
- ดูกายถูกต้องก็เกิดสติ ดูจิตถูกต้องก็เกิดสติ สติชนิดเดียวกัน
- จิตปรุงกิเลส จิตไม่รู้เท่าทัน จึงถูกกิเลสครอบงำ กิเลสจึงกลับมาปรุงแต่งจิต วนเวียนอยู่อย่างนี้ สะสมเป็นอนุสัย ความเคยชินฝ่ายชั่ว พอกระทบอารมณ์ ความเคยชินฝ่ายชั่ว ปรุงเป็นกิเลสขึ้นมาอีก กิเลสก็หล่อเลี้ยงอนุสัยไว้ อนุสัยก็หล่อเลี้ยงกิเลสไว้ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ พอมีสติรู้ทัน ก็ตัดวงจร ก็ไม่เกิดอนุสัยใหม่ เกิดเป็นบารมีแทน ต่อไปบุญบารมีจะทำงานแทนความชั่ว
- จิตที่ถลำเข้าไป หลวงปู่ดูลย์เรียก จิตส่งออกนอก ให้รู้ไว้แต่อย่าดึง จะแน่น
- การที่จิตปรุงความฟุ้งซ่าน มันเปิดจุดอ่อนให้เรา แสดงให้เห็นว่ามันไม่ใช่เรา
- เคลื่อนไหว เพื่อให้รู้ทันจิต ใจหนีไปแล้วรู้
- เวลาที่จิตตั้งมั่น มันจะเห็นกิเลสไหลมาไหลไป ใจเป็นคนดู
- จิตที่มีแรงมากๆ ถ้าไม่ระวังมันจะกลายเป็นบังคับ
- ไม่ต้องตั้งใจให้เห็นจิตอีกตัวหนึ่ง บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี
- สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้ สิ่งนั้นไม่เป็นตัวตนถาวร
- ดู น.น. เห็นมันไม่เที่ยง เดี๋ยวหนัก เดี๋ยวเบา
- จิตเป็นกุศล เบา, โมหะ โลภะ ก็เบา
- ถ้าจิตไม่เดินปัญญา ช่วยคิดนำหน่อย
- อุทธัจจะ ฟุ้งซ่านในธรรม
- กุกกุจจะ เร่าร้อนที่จะปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม เราต้องใจเย็น เหมือนถูกมัดด้วยเชือกยิ่งดิ้นยิ่งแน่น
- จิตไม่มีขนาดแบบ size X,M,L




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2554    
Last Update : 21 สิงหาคม 2554 8:45:32 น.
Counter : 456 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 16

- เพราะไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ คือ อวิชชา ทำให้ไม่วางจิต
- ถ้าเห็นกิเลส ไม่หลงทาง, ถ้านิ่งๆว่างๆ หลงทาง
- สัญญา เป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เห็นการเกิดดับ (คือมันจำสภาวะเดิมไว้ เราจึงไม่เห็นมันดับ-ผู้บันทึก)
- คนไม่มีศีล จิตว้าวุ่น
- จิตเกิดที่อายตนะ เกิดร่วมกับเจตสิก
- ทำสมาธิ ให้ทำด้วยความรู้สึกตัว
- เมื่อไหร่ดูจิตคนอื่น เมื่อนั้นจะดูจิตตัวเองไม่ได้ มันกลับบ้านไม่เป็น
- ความรู้สึกว่า ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่งตั้งแต่เด็กๆจนเดี่ยวนี้ นั่นคือ อัตตา – ถ้าเห็นสันตติขาด จะลดอัตตาลง
- ตรงที่จิตสักว่ารู้ว่าเห็น จิตจะเป็นนักวิจัยที่แท้จริง
- การรู้แจ้งเป็นการเกิดปัญญาที่ฉับพลัน
- นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา เดินชนทั้งวัน ไม่เคยเห็น
- ถ้ารู้สึกคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ตรงข้ามกับไตรลักษณ์ แปลว่าผิดแล้ว ต้องติดอะไรสักอย่าง
- จิตที่ตั้งมั่น มีลักษณะ เบา นุ่มนวล คล่องแคล่วว่องไว เป็นสัมมาสมาธิ รู้ตื่นเบิกบาน รู้อารมณ์แบบซื่อๆ
- จิตที่รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น ไม่ดึงคืน จะตั้งมั่นขึ้นมา ทีละแว๊ป
- ความรู้สึกตัว = หลง – 1
- เราตกเป็นทาสของกิเลสตัณหาโดยไม่รู้ตัว
- ดูกาย แค่รู้สึกถึงความมีอยู่ของกาย แค่รู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของกาย
- เบาได้ ว่างได้ สบายได้ แต่ให้รู้ทัน เกิดความยินดี ก็รู้ทัน
- จิตมีกิเลส ไม่ใช่เรามีกิเลส
- อย่าปล่อยจิตให้ อ้อยสร้อยอ้อยอิ่ง จะทำให้จิตอ่อนแอ
- จิตวิ่งไปวิ่งมา มันทิ้งสภาวะแล้วมันจะทวนเข้าหาธาตุรู้ พอมันทวนเข้าถึงธาตุรู้ เนี่ย ตรงนี้แหละอริยมรรคจะรวมพลังกันแล้วตัดสังโยชน์ขาดเลย
- ลองผิดลองถูกก็คือ หัดเจริญสติไปเรื่อยเลยเดี๋ยวมันก็มากไป เดี๋ยวมันก็น้อยไป เดี๋ยวก็หนักไป เดี๋ยวก็เบาไป เดี๋ยวก็ขยันเกินไป เดี๋ยวก็ขี้เกียจเกินไป เนี่ยคอยสังเกตใจเราไปเรื่อย จนมันพอดีๆ มันพอดีตรงไหน เหมือนเราคลำๆไปเจอลูกบิด หรือเจอกลอนประตูเข้าแล้ว ไขแกร๊กเดียวเอง ก็เปิดออกมาสู่ความสว่างได้แล้ว
- อย่าประคองผู้ดู จะกลายเป็นเพ่งตัวผู้รู้ ไม่ดี
- ถ้าทำสมาธิมามาก ไปดูจิตจะไม่เห็นการเคลื่อนไหว ให้ไปดูกาย
- ติดเพ่ง ถ้ารู้ต้นทางคือความอยาก จะไม่ติด
- เห็นอย่างนี้ จิตเป็นอย่างนี้ รู้ทัน
- จิตออกนอก จะเพลินๆเบาๆ สบาย อย่างนี้จะติดสุข
- บางครั้งพอเวลาเวทนารุนแรงเนี่ยะ สติเราตามไม่ทัน โทสะมันขึ้น พอโทสะเกิดขึ้นมาเนี่ยะ อย่าไปตกใจกลัวมัน พยายามเจริญเมตตากับร่างกายมันนะ เป็นกลางกับมันนะ ดูไปเรื่อย ตัวสำคัญอยู่ที่ความเป็นกลางหล่ะนะ แล้วอย่าไปกังวลกับมัน
- แท้จริงการดูจิตไม่มีอะไรมาก. เพียงแต่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยจิตที่เป็นกลางจริงๆ ก็พอแล้ว. รู้อยู่ตรงที่รู้นั่นแหละ




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2554    
Last Update : 3 สิงหาคม 2554 10:09:46 น.
Counter : 368 Pageviews.  

1  2  3  4  

โอม37
Location :
Florida United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มนุษย์คนหนึ่ง ชั่วดีมีปน หลง-วนตายเกิด พบรถด่วนขบวนสุดท้าย กำลังเข้าคิวตีตั๋ว
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โอม37's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.