เมื่อเกิดมาแล้ว พบสิ่งประเสริฐ ไม่ศึกษาเพื่อเข้าถึง น่าเสียดายมาก

บันทึกธรรม - หน้า 15

- เวลารู้ว่าจิตไหล มีจุดอ่อน คือชอบไปดึงคืน ให้รู้ว่าจิตไหลไม่ไปดึงคืน
- จิตดื้อ ยอมรับยาก ใช้เวลานาน, จิตไม่ดื้อ ยอมรับง่าย ใช้เวลาไม่นาน
- เวลาเล็กๆ สำคัญ เพราะมีเยอะมาก
- ตามดูจนรู้ว่า ตัวที่ทำอยู่ ไม่ใช่เรา
- มันต้องดิ้น ห้ามไม่ได้ แต่ละขั้นการปฏิบัติต้องดิ้น ดิ้นจนมันปล่อย
- แรงดิ้น เกิดจากอนุสัยทั้งสิ้น มันพยายามรักษาตัวมันสุดฤทธิสุดเดช
- หมดแรงดิ้น ก็จะพบว่าอยู่ตรงนี้เอง
- จิตถูกดูดไปตามความเคยชิน ถ้าฝืนจะปวดหัว มันจะลงนรกก็ไป ไปอย่างมีความสุข จิตเป็นกลางก็หลุด
- เวลาเสื่อมมันลงเร็วมาก แต่เวลาพัฒนา มันค่อยๆกระเถิบๆ
- กิเลส ชอบตามหลังความคิด, หลังเวทนา
- ฝึกใหม่ๆ เห็นใจนี้มีความสุขเมื่อมีสติปัญญา พอฝึกไปเห็นมีแต่ความทุกข์
- ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง โสดาบันไม่เห็นอย่างนี้
- ฝึกจนเห็นว่า 3 แดนโลกธาตุ ไม่มีที่หยั่งเท้าอย่างมีความสุขได้เลย
- เราดิ้นรนหาทางพ้นทุกข์ มันไม่พ้นหรอก ต้องสู้จนหลังชนกำแพง เอาไว้ก็ไม่ดี หนีก็ไม่ได้ ทำอย่างไรก็ไม่พ้น ไม่สู้ไม่หนี จิตจึงจะสลัดออกเอง
- จิตติดภพ อย่ารีบถอน ถ้าติดหลายวันให้ค่อยๆสังเกต ต้องอาศัยภพเรียนรู้ทุกข์ อย่าสังเกตภพตลอดเวลา ถ้าสังเกตภพตลอดจิตจะหลุดออกจากการเจริญสติ ไม่รู้จะดูอะไร ดูอะไรไม่ออก
- ที่พัก มีที่เดียว คือสมถกรรมฐาน แต่ไม่ใช่ ซึมๆทือๆ หลงเพ่ง พอมีเรียวแรงก็ออกมาเจริญสติใหม่
- ภาวนา ต้องสว่างออกจากข้างใน ไม่ใช่สว่างแต่ข้างนอกข้างในมืดๆ
- พิจารณา อย่าให้เกินกายออกไป
- การเพ่ง ภาวนา(จะ)ละเอียดแค่ไหนก็มีโอกาสติดเพ่ง
- วิธีดูว่าเพ่งหรือเปล่า ให้ดูที่จิต ถ้าหนักๆแน่นๆ แสดงว่าเพ่ง
- ที่ผ่านมา เราหลอกตัวเอง ว่านี่เป็นคน สวยๆงามๆ
- โมหะ ภาวนาใหม่ๆจะรู้สึกมัวๆมืดๆ พอภาวนาละเอียดจะรู้สึกสว่างนึกว่าดี (ตรงนี้)ดูยาก
- เราไม่บีบคั้นไม่ก่อกวนจิต จิตก็จะมีความสุขเอง
- พระอนาคา ยังมีโมหะจรเข้ามา โลภะโทสะไม่มี
- ภพ คือ การดิ้นรนของจิต, ชาติ คือ การยึดถือของจิต
- ทุกข์ เกิดเพียงขณะๆเท่านั้น แต่ความจำได้(สัญญา) ทำให้นึกว่าทุกข์ต่อเนื่อง นานๆ
- สัตว์ทั้งหลายมักติดใจในภพของตน
- เราเคยชินที่จะดูอะไรด้วยลูกตา ทำให้มักจะเผลอออกไปดูข้างหน้า
- เมื่อภาวนาปราณีต มักจะหลงไปดูภาวะที่ละเอียดขึ้น
- ไม่ ตามไปดู ให้ตามรู้ ไม่มีคำว่า ไป
- เผลอไปดู พอดูแรงๆเป็นเพ่ง




 

Create Date : 18 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2554 21:08:16 น.
Counter : 406 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 14

- เมื่อฝึกไปช่วงหนึ่ง จะรู้สึกว่า จิตเป็นเรานั้นจะมีเป็นพักๆเท่านั้น
- ถ้าไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกว่าจิตเป็นเราจะไม่มี
- สิ่งที่กลวงๆ จะมีเปลือก คือใจยังถูกหุ้ม
- จิตที่ไม่มีสิ่งห่อหุ้ม จะกระจายออกไป
- พระโสดาบัน ความทุกข์หายไป 10 เปอร์เซ็นต์ จะรู้สึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นพ่อแม่เรา
- จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะดูจิตอยู่ห่างๆ ไม่ได้ , ไม่เหมือนกาย ไม่เหมือนเวทนา ไม่เหมือนสังขาร (ดูห่างๆได้)
- ดูจิต ให้ดูมันเกิดดับ ถ้าดูไม่ได้ก็ดูมันเผลอไป เพ่งไป หลงไป หรือดูจิตที่โลภ จิตที่โกรธ ก็ได้ คู่กับจิตที่รู้
- ดูจิตคู่ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์
- การที่เห็นจิตขาดเป็นช่วงๆ ไม่ใช่มีดวงเดียวทั้งคืนหรือทั้งชาติ ทำให้ละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนได้
- นิพพาน ไม่ใช่การส่งจิตเข้าไปไหน ไม่มีเข้ามีออกมีจุดมีดวง
- ภพใดภพหนึ่ง อย่าสำคัญมั่นหมายว่าสุข , (มัน)ทุกข์ชัดๆ
- ธาตุดิน, ไฟ, ลม รู้สึกด้วย กาย แต่ธาตุน้ำ รู้ด้วยใจ
- ผู้ที่ฝึกสมาธิและปัญญาควบคู่กัน จะดูจิตในสมาธิ
- ถ้ารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จะเดินอริยมรรคต่อได้
- จิตไม่ตั้งมั่น จะไปสร้างภพ จิตที่ตั้งมั่นเองโดยไม่จงใจ จะไม่เป็นภพ แต่เบื้องต้นให้จงใจบ้าง
- มิจฉาทิฐิ (การ)เห็นว่ามีเราถาวร, เห็นว่าตายแล้วมีเราไปเกิด, เห็นว่าเราตายแล้วสูญ ทั้งหมดนี้เห็นผิดตรงที่มีเรา
- นิพพานเป็นธรรมารมณ์ รู้ได้ด้วยใจ
- ถ้าจิตพ้นจากความปรุงแต่ง ความทุกข์เข้าสู่ใจไม่ได้
- วิปัสสนู เกิดเพราะสมาธิไม่พอ จิตไม่ถึงฐาน ออกนอก เคลื่อนไปยึด พอรู้ทันก็ตั้งมั่น
- อนัตตา ไม่ได้แปลว่า ไม่มีอะไร แต่แปลว่าไม่มีตัวตนถาวร
- ไม่ต้องไปรักษาให้จิตตั้งมั่น ถ้าไปรักษาจะเป็นการเพ่งตัวผู้รู้
- ภาวนาแล้วกูเก่ง ไม่ถูกต้อง ต้องภาวนาแล้วเห็นกิเลส
- ภาวนาแล้วจิตจะไปสู่ความเป็นกลาง
- จงใจภาวนาเป็นภพ (คือ)ภพนักปฏิบัติ
- จิตเป็นกลาง คือ ไม่หลงยินดี ไม่หลงยินร้าย
- ใจถึงๆ กล้าปล่อยให้ใจทำงาน โดยไม่บังคับ ไม่กด
- ถ้าเพ่งเบาๆ ก็เคลิ้ม เพ่งแรงๆ ก็เครียด
- สติ คือ เครื่องระลึกรู้ของความมีอยู่ของกาย ความมีอยู่ของใจ
- เวลาทำอกุศลมากๆ จะรู้สึกถึงก้อนอะไรก้อนหนึ่ง เหนียวหนา
- อย่าไปเริ่มจากราบๆ(เรียบๆ) ให้เริ่มนับหนึ่งมีสติรู้กายรู้ใจทุกครั้ง
- น้อมใจว่าง ใช้ไม่ได้
- เรียนเยอะไป ไม่ดีตรงที่คาดหวัง
- สมาธิ ความตั้งมั่น ไม่เพ่ง แต่รู้อารมณ์ด้วยความรู้ตื่นเบิกบาน เป็นผู้รู้ผู้ดู ไม่ใหลตามอารมณ์




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2554    
Last Update : 2 กรกฎาคม 2554 6:45:11 น.
Counter : 406 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 13

- สภาวะ   –กิเลสปรุงจิต –จิตปรุงกิเลส
- หัดดูสภาวะบ่อยๆ แล้วสติจะเกิดบ่อย
- ปกติ จิตขึ้นรับอารมณ์แล้วจะดับไปขณะหนึ่ง
- เวลาที่จิตมีกิเลสขึ้นมา ถ้าเราไม่ไปตกใจซะก่อน จิตกำลังมีจุดอ่อนให้เราเห็น
- ถ้าไม่ตั้งใจรู้จะรู้จริง ถ้าตั้งใจรู้จะรู้ไม่จริง
- จิต ส่ายไปมา เพราะอยากได้ความสุข หนีทุกข์ เหมือนว่าวที่ไม่ติดลมบน ถ้าอยู่ในอารมณ์เดียวจะนิ่งเหมือนติดลมบน เป็นสมถะ
- สมถกรรมฐาน ไม่ใช่น้อมใจให้สงบ แต่ให้ใจอยู่ในอารมณ์ที่มีความสุข ควรเลือกอารมณ์ที่เกื้อกูลต่อการเจริญปัญญา คือเกี่ยวเนื่องด้วยกายด้วยใจ ไม่ออกนอกได้ง่าย
- เมื่ออยู่ในความสงบอย่าบังคับให้จิตถอน ให้จิตถอนเอง ถอนแล้วให้เจริญปัญญาต่อไป แต่ถ้าจิตติดความสงบจะซึมๆ ให้หาอะไรทำไม่ให้จิตติดสงบ เช่นพิจารณากาย
- รู้เพื่อจะรู้ ไม่ใช่รู้เพื่อจะละ
- คนที่จิตตื่น จะตื่นๆหลับๆ จิตพระอรหันต์ ตื่นแล้วตื่นเลย
- รู้ จะรู้แป๊บเดียว เหมือนแมลงปอโฉบผิวน้ำ
- ถ้ารู้ถึงการมีอยู่ของกายของใจ เรียกว่า มีสติ แต่ถ้ารู้ด้วยว่ากายใจนี้เป็นไตรลักษณ์ เรียกว่ามีทั้งสติและปัญญา
- ความรู้สึกว่ามีตัวเรา สภาวะนี้เรียกว่าตัวเรา ถ้าแยกสภาวะออกไป จะเห็นว่าไม่มีเรา
- ไม่ต้องคิดว่าจิตไม่ใช่เรา ให้หัดมีสติรู้กายรู้ใจไป วันหนึ่งมันจะเฉลียวมาเห็นเอง
- ตั้งใจตื่น ใช้ไม่ได้ มีโลภะ
- เห็นจิตแตกต่างกัน เรียกว่าเห็นจิตเกิดดับ เห็นช่องว่างคั่น
- ปฏิบัติ เว้นวรรคไม่ได้ ให้ปฏิบัติเป็นปกติ จะเห็นการเจริญแล้วเสื่อม
- ไปรู้ไปเห็นอะไร ไม่สำคัญ แต่เห็นแล้วจิตเราเป็นอย่างไร ตรงนี้สำคัญ
- ก่อนจะดู อย่าอยาก ให้รู้สึกก่อนแล้วค่อยดู
- ถ้าเพ่งอยู่ กี่ปีกี่ปี มันก็อยู่อย่างนั้น
- จิตรวม คล้ายมันตัดการรับรู้ภายนอก เหลือแต่รู้ตัวภายใน
- พอรู้ตัวเป็น กิเลสมากขึ้น แต่เบาลง
- โทสะ มักจะเกิดตามหลังทุกขเวทนา ( ราคะ มักเกิดตามหลัง สุขเวทนา )
- ไม่ว่าจะทำอะไร รากเหง้ามันคือ อวิชชา หน้าที่ของเราคือรู้ทันจิต ไม่ใช่ไปดัดแปลงมัน
- ไม่ต้องคิดหรอกว่า ภาวนาอย่างไรจึงจะถูก
- รู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ต้องรีบร้อนไปรู้เท่าพระอรหันต์
- พอเห็นสภาวะ มักจะใหลเข้าไปจ้อง เรียกจิตไม่ถึงฐาน
- อดทนไว้ ยิ่งฉลาดยิ่งค้นคว้ามาก ยิ่งห่างไกล
- ก่อนรู้อย่าอยาก ระหว่างรู้อย่าอยากรู้ให้ชัด(จะ)ถลำลงไปจ้อง รู้แล้วอย่าไปแทรกแซง
- พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้หนีทุกข์ ละทุกข์ แต่สอนให้รู้ทุกข์
- พระอรหันต์ ธาตุรู้ซึมซ่านซึมแทรกไปกับทุกสิ่ง




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2554    
Last Update : 17 มิถุนายน 2554 18:29:35 น.
Counter : 400 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 12


- มหากิริยาจิต นั้นไม่เที่ยง แต่เกิดขึ้นมาทีไร ก็เป็นจิตที่ไม่ทุกข์ เป็นธรรมะที่อัศจรรย์ เป็นความสุขที่มหาศาล จนธาตุขันธ์แทบทนไม่ไหว
- เวลาเข้าฌาน ไม่ขาดสติ มีสติรู้ตลอดสาย
- ไม่มีใครทำวิปัสสนารวดเดียวได้ จิตจะพลิกไปมา แต่สมถะมีรวดเดียว
- หัวใจของกรรมฐาน คือ มีสติรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวัน จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน รู้สึกตัว
- ผู้ปฎิบัติ พลาดตรงชอบไปกดไว้ ไม่ต้องกลัวกิเลส ถือศีล 5 แล้ว ดูมันไป
- วิธีดูเวทนา ไม่ใช่ดูเพื่อให้หายเวทนา แต่ดูให้เห็นว่าเวทนาส่วนเวทนา ไม่ใช่จิต
- ดูจิต ไม่ต้องรู้ชัด
- วิธีดูว่าบังคับจิตหรือเปล่า ให้ดูว่าย้อนมาแล้วแน่นๆหรือเปล่า
- เวลาเกิดความอยาก ใจจะถูกบีบเค้นทันที
- วันใดเห็นกายเห็นใจเป็นก้อนทุกข์ มันจะคว้างทิ้งเอง เห็นกายนี้จิตนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ทุกข์บ้างสุขบ้าง มีแต่ทุกข์เกิดขึ้น มึแต่ทุกข์ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์ดับไป
- จิตพระอรหันต์ต่างกับเราตรงที่ เวทนาย้อมใจท่านไม่ได้
- ถ้าไม่รู้วิธีพัฒนาตนเอง หมื่นปีนิสัยก็ยังไม่เปลี่ยน
- ตราบใดที่เรายังผลักอารมณ์ จิตจะยังเกาะกับอารมณ์ เช่นเราผลักเสา มือเราก็ยังติดกับเสา
- ตัวจิตแท้ๆ ดูไม่ได้ การดูจิตไม่ได้ดูที่จิต ให้ดูที่อารมณ์
- ยิ่งรีบยิ่งช้า ยิ่งขี้เกียจยิ่งไม่ถึง
- ถ้ามีสัมมาสติ และ สัมมาสมาธิที่แท้จริง จะเห็นไตรลักษณ์เอง ไม่ต้องไปกำหนดเห็น
- กรรมฐาน เริ่มต้นด้วยการ หัดดูสภาวะ
- เริ่มต้นให้แรงนิดนึง พอคลายจะพอดี ถ้าเริ่มต้นเบามันจะลืมไปเลย
- ภาวนา ตอนที่บรรลุ เป็นช่วงที่ไม่ได้จงใจอะไร ให้ภาวนาเพราะว่าสมควรจะภาวนา
- ขณะเกิดสติ ถ้ามีสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นจะมีปัญญา
- ไม่ทำอะไร คือ ทำแค่มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยความตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่ทำอย่างอื่น ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย
- เพ่งมันทำไม เสียเวลา
- ให้รู้ทัน นิดๆหน่อยๆ ก็ต้องรู้
- อาศัยการสะสม(ภาวนา) ด้วยการจงใจ จนกระทั่งหมดความจงใจ
- ถ้าเกินจริง (แสดงว่า) ต้องแกล้งทำ
- เรียนเพื่อให้เห็นความต่างของจิตแต่ละขณะ
- คนภาวนาเป็น ช่วงที่มีความทุกข์จะภาวนากระปรี้กระเปร่าที่สุด พอผ่านมาได้จิตจะพัฒนาไปอีก
- ไม่ให้เหลือตัวที่นิ่งๆ ให้มันเคลื่อนไหวทุกตัว
- ฝึกเพื่อให้รู้ทันตัวเอง
- จิตเปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็ว เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน
- สู้ไม่ไหวจริงๆ ถึงค่อยหนี ถ้าหนีตลอดจะแพ้ตลอด




 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 21:12:55 น.
Counter : 416 Pageviews.  

บันทึกธรรม - หน้า 11

- แค่รู้อย่างเดียวก็พอ ไม่ต้องดูไตรลักษณ์ มันจะเห็นเอง
- โยนิโสนมัสสิการ สังเกตสภาวะเทียบเคียงกับคำสอนพระพุทธเจ้า
- เป็นกลางโดยการทำขึ้นมา ไม่ใช่กลางจริง
- การคิดนำ เหมือนกินยาแก้ปวด มันจะติดยา
- คนจิตตื่น เห็นสภาวธรรม ผ่านมา ผ่านไป ไม่ใช่เรา
- ตัวผู้รู้ ก็ไม่เที่ยง ไม่ต้องรักษา มันมีบ้างหายไปบ้าง ถ้าจงใจประคองผู้รู้จะหนัก
- นิพพาน ไม่เกิดไม่ดับ มีอยู่ตลอด แต่เราไม่เห็น
- อยากรู้ของจริง ต้องรู้กับปัจจุบัน
- การเห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นที่กายใจของตนเอง ไม่ใช่ของคนอื่น
- อนาลโย ไม่อาลัยอาวรณ์ในรูปนาม
- เมื่อไหร่ สติเกิดขึ้น มันจะรักษาจิต เราไม่ต้องรักษา คือทันทีที่สติเกิด อกุศลจะดับ
- เวลาที่เราหายใจตามปกติ เรียกว่าหายใจยาว
- จิต มีธรรมชาติ ไหลไปตามความเคยชิน
- จิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้จริง แต่จิตเป็นธรรมชาติฝึกได้
- จิต เหมือนสุนัขจรจัด หิวหาอารมณ์ ไหลไปตามความเคยชิน เริ่มจากจุดเล็กๆ จนเคยชิน แล้วก็มากขึ้น
- ก่อนจะมีปัญญาอัตโนมัติ ต้องมีสติอัตโนมัติก่อน
- การที่มีแล้วไม่มี หรือ ไม่มีแล้วมีขึ้น คือ อนิจจัง, สิ่งมีอยู่ ไม่มีอยู่ตลอดไป คือ ทุกขัง
- จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดู เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ
- กรรมฐาน ทั้งหลาย เป็นของที่ถูกรู้ถูกดู
- ปัญญา เห็นไม่มีเราในขันธ์ 5 ไม่เห็นแบบพลุบๆโพล่ๆ
- ฝึกในรูปแบบ ผู้รู้ผู้ดูจะเด่นขึ้นมา จิตมีกำลัง สติอัตโนมัติจะเกิดง่าย
- เวลาฝึกสติ ถ้าเห็นเกิดดับ เป็นการฝึกวิปัสสนา แต่ถ้าจิตไม่มีแรงจิตจะจับกับอารมณ์เป็นสมถะ พลิกไปมาระหว่างสมถะและวิปัสสนา (ถ้าไม่ติดสมถะ)
- ฝึกสมาธิ ถ้าเคลิ้ม (ถูก)โมหะแทรก ต้องไม่เอาเลย (เพราะ)เลิกแล้วโมหะจะติดออกมา
- ถ้าเห็นกิเลสเกิดทั้งวัน ใช้ได้ ถ้าเพ่งจะไม่ค่อยเห็นกิเลส ใช้ไม่ได้
- จิตชอบเที่ยว ต้องหาอารมณ์ที่จิตชอบมาเป็นเหยื่อล่อให้จิตสงบ หรือ ให้รู้ทันศัตรู คือนิวรณ์ นิวรณ์จะหายไป จิตก็จะสงบ
- แค่เห็นว่า สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ก็ถูกต้องแล้ว ไม่ต้องฉลาดไม่ต้องดี
- จิตเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ แต่มีสติรู้ทัน
- พวกที่สงสัย ให้กล้าหาญ ยอมโง่
- ตอนที่ตาเห็นรูป เพ่งได้ หลายแบบ –รูป –ประสาทตา(อายตนะ) -จุดกระทบทางตา –จิตที่เกิดที่ตา เป็นการแทรกแซงจิต
- สักว่ารู้ เช่น เห็นสาวเกิดราคะ รู้ว่าเกิดราคะ ไม่ทำอะไรต่อดูมันต่อไป
- วัฏจักร ไม่ได้อยู่ที่ไหน หมุนอยู่ในจิตเรานี่แหละ ถ้ารู้กายรู้ใจมากๆ วัฏจักรนี้จะคว่ำลง เกิดเป็นมหากิริยาจิต





 

Create Date : 05 พฤษภาคม 2554    
Last Update : 28 พฤษภาคม 2554 21:23:57 น.
Counter : 498 Pageviews.  

1  2  3  4  

โอม37
Location :
Florida United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มนุษย์คนหนึ่ง ชั่วดีมีปน หลง-วนตายเกิด พบรถด่วนขบวนสุดท้าย กำลังเข้าคิวตีตั๋ว
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โอม37's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.