พัฒนาชีวิตด้วยปัญญา และความดี
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 กรกฏาคม 2560
 
All Blogs
 
#สร้างพอร์ตเก็บผล-ตุนไว้ยามเกษียณ “สร้างพอร์ตเกษียณยังไงดี?”



#สร้างพอร์ตเก็บผล-ตุนไว้ยามเกษียณ “สร้างพอร์ตเกษียณยังไงดี?”

สำหรับคนที่คิดจะสร้างพอร์ตตุนไว้ยามเกษียณ และไม่รู้จะสร้างยังไงดี … ผมคิดว่าถ้าเราวางแผนอย่างเป็นรูปธรรม โอกาสประสบความสำเร็จย่อมมีมากกว่าที่เราทำไปแบบไร้ทิศทาง … อย่างที่ผมเคยบอกเล่าเอาไว้ว่า เพื่อนรุ่นเดียวกับผมหลายๆ คนนั้นเริ่มคิดแผนเกษียณกันแล้ว และผมเองก็ไม่อยากให้คุณผู้อ่านรีรอ ควรเริ่มต้นทันที

หากเราเริ่มคิดวางแผนเกษียณ ให้เริ่มคิดจากระยะเวลาที่เราต้องการเกษียณตัวเองจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานประจำ หรือการทำธุรกิจส่วนตัวเราก็ต้องมีวันเกษียณไม่วันใดก็วันหนึ่ง หากเราไม่คิดไว้ล่วงหน้า เวลาที่เราเลิกทำอาจมีผลกระทบกับกิจการของเราเอง รวมทั้งสภาพจิตใจของเราด้วยนะครับ …

สร้างพอร์ตเกษียณต้องคิดถึงอะไรบ้าง

สำหรับพอร์ตเกษียณเราควรเลือกสิ่งที่เราถนัด และมีความรู้พอสมควร ยกตัวอย่างเช่น หากเรารัก และชอบคอนโดมิเนียม มีความสุขที่ได้เห็นสิ่งสวยๆ งามๆ ชอบเดินทางไปดูโครงการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในทำเลที่เราคิดว่าจะมีอนาคตอันสดใส ชอบไปงานเปิดตัวคอนโดที่ต่างๆ และมองออกว่าจะทำเงินได้ยังไง แบบนี้ก็ควรเลือกซื้อคอนโดเป็นสินทรัพย์ไว้เก็บกินยามเกษียณ

หรือหากเราชอบลงทุนในหุ้น พอจะวิเคราะห์กิจการเป็นว่ากิจการใดจะมีอนาคต มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะโตช้าบ้าง แต่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มจะจ่ายปันผลมากขึ้นทุกปี ตามการเติบโตของกิจการที่มั่นคงสดใส แบบนี้เราก็ควรเลือกลงทุนในหุ้นแบบระยะยาว

หรือหากเราไม่รู้จะลงทุนอะไร ไม่มีความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์เลย ยิ่งเรื่องหุ้นยิ่งดูไม่รู้เรื่อง ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หรืออาจจะซื้อกองทุนรวมที่มีเงินปันผล และปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนเก่งๆ ลงทุนแทนเรา เป็นต้น

สร้างพอร์ตหุ้นรับวัยเกษียณ

สำหรับคนที่เลือกจะสร้างพอร์ตหุ้นรับวัยเกษียณ หากคุณมีเวลาเหลือแค่ 10-20 ปี ควรเลือกหุ้นที่มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่ต้องเน้นการเติบโตมาก ให้ค่อยๆ เติบโตและมีเงินปันผลรับตลอดทางในการออมหุ้น

การสร้างพอร์ตหุ้นปันผลรับเกษียณนั้น เราควรลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงในอุตสาหกรรมต่างๆ หุ้นในพอร์ตไม่ควรเกิน 10 ตัว และไม่ควรต่ำกว่า 5 ตัว ค่อยๆ ซื้อสะสมเข้าไปทุกๆ เดือน หรืออาจใช้วิธีออมเป็นเงินสดๆ ไว้ก่อน เวลาหุ้นตกหนักๆ ค่อยเข้าไปซื้อก็ทำได้ทั้งนั้นครับ ไม่มีข้อจำกัดแต่ประการใด

สร้างพอร์ตกองทุนรวมรับวัยเกษียณ

สำหรับพอร์ตกองทุนรวมรับวัยเกษียณ เป็นทางเลือกสำหรับคนไม่มีความรู้เรื่องหุ้นมากนัก คือ เราใช้ผู้จัดการกองทุนเก่งๆ ที่อยู่เบื้องหลังกองทุนรวมเหล่านั้นคอยบริหารกองทุนรวมของเรา เคล็ดลับเล็กๆ ก็คือ ควรเลือกกองทุนรวมที่มีเงินปันผล เพราะระหว่างทางเราจะได้รับเงินปันผลมากินมาใช้ด้วย และเมื่อเราเกษียณแล้วพอร์ตของเราใหญ่พอ บางทีก็ไม่จำเป็นต้องขายคืนกองทุน แต่เก็บเอาแค่เงินปันผลมาใช้จ่ายก็ได้ครับ

สร้างพอร์ตอสังหารับวัยเกษียณ

สำหรับการสร้างพอร์ตอสังหารับวัยเกษียณนั้น เราอาจต้องใช้ความรู้ในการดูทำเลเสียหน่อย วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือค้นคว้าหาความรู้ตามอินเตอร์เน็ต ประกอบกับการเดินไปดูอสังหาที่เราสนใจในสถานที่จริง และสิ่งที่น่าลงทุนสำหรับยุคนี้คงหนีไม่พ้น “คอนโดมิเนียม”

การเลือกซื้อคอนโดมิเนียมนั้น ถ้าเราคิดจะซื้อลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ควรเลือกทำเลที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ หรือยังไม่กินอนาคตมากเกินไป เพื่อซื้อคอนโดให้ได้ในราคาที่เหมาะสมที่สุด ควรเลือกซื้อทำเลที่ในอนาคตจะพัฒนา เช่น มีรถไฟฟ้าผ่าน หรือมีสถานที่สำคัญๆ ห้างสรรพสินค้า แหล่งทำงาน office เพราะถ้าเราคิดปล่อยเช่า กลุ่มเป้าหมายเราต้องเป็นคนทำงานในย่านนั้นๆ หรือจะขายต่อทำกำไรก็จะมีส่วนต่างสูงกว่าทำเลที่ไม่ดีนะครับ

เพื่อนๆ ใครมีบ้าน คอนโด ที่ดินเปล่า มาโพสขายได้ที่นี่ฟรีนะครับ //www.topofliving.com/property-exchange/

สร้างพอร์ตแบบผสมผสาน

จากพอร์ตยอดฮิตในยุคนี้ ถ้าเรากลัวว่าจะให้น้ำหนักกับอะไรมากเกินไป เราสามารถสร้างพอร์ตแบบผสมผสานได้ เช่น พอร์ตหุ้น พอร์ตกองทุนรวม พอร์ตอสังหา หรือแม้แต่ พันธบัตร หุ้นกู้ ฉลากออมสิน ทองคำ โดยการเฉลี่ยน้ำหนักของสินทรัพย์แต่ละอย่างในพอร์ตผมคิดว่าไม่มีกฎตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของตนเองเป็นหลักเลยครับ

ส่วนตัวผมมีพอร์ตหุ้น พอร์ตกองทุนรวม และพอร์ตอสังหา … ด้วยความทีลงทุนมาหลายปี ทำให้ตอนนี้มีเงินที่ไม่ได้ทำงานแล้ว หรือ passive income ส่วนหนึ่งซึ่งพอเลี้ยงครอบครัวได้เลยทีเดียว แต่ผมเองยังไม่แก่มาก ยังมีอายุการทำงานอีกหลายปี ผมยังคงสร้าง active income ต่อไป หรือยังทำงานต่อ เพื่อสร้างกระแสเงินสด และส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายก็จะมาเติมพอร์ตตุนไว้ยามเกษียณนั่นเองครับ

#หนังสือเสียง … “กลยุทธ์ลงทุนหุ้นโตเร็ว”
หนังสือ นายแว่นฯ มี audio book ด้วยนะครับ … คลิ๊กหนังสือเสียงที่นี่เลยครับ

แนะนำหนังสือ

หาหุ้นโตเร็ว สไตล์ VI – โต 10 เท่าในสิบปี

“หาหุ้นโตเร็ว สิบเท่า ในสิบปี” … หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนในยามตลาดหุ้นผันผวน และดูเหมือนว่านักลงทุน “ส่วนใหญ่” มองไม่เห็นว่าการลงทุนหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้อย่างไร … แต่ข้อเท็จจริงก็คือ แม้ในยามตลาดแย่ ก็มีหุ้นโตเร็วเกิดขึ้นมากมาย บางตัวโต 1 เท่าตัว 2 เท่าตัว หรือ 5-10 เท่าตัวก็มี … ทำอย่างไรเราจะ “ค้นหา” หุ้นโตเร็ว หรือ Growth Stock เหล่านี้ได้ หนังสือเล่มนี้มีคำตอบครับ #NaiwaenInvestment

อ่านเรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ How to การบริหารจัดการเงิน อสังหา “คลิ๊กอ่านที่นี่เลยครับ”

[เกี่ยวกับผู้เขียน]

นายแว่นธรรมดา stand top of living“นายแว่นธรรมดา” หนึ่งในกูรูหุ้น FINOMENA และผู้ก่อตั้ง //www.topofliving.com ผู้เขียนหนังสือ “ลงทุนหุ้นโตเร็ว” และหนังสือขายดี “กลยุทธุ์จับจังหวะลงทุนหุ้น” ปัจจุบันเป็นนักลงทุนอิสระ นักเขียนอิสระ ขอถ่ายทอดความรู้ด้านการลงทุน เผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ติดต่อนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับ  naiwaentammada@gmail.com

Top Banner




Create Date : 27 กรกฎาคม 2560
Last Update : 27 กรกฎาคม 2560 12:10:16 น. 0 comments
Counter : 1042 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตี๋2555
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




สวัสดีครับผม "นายแว่นธรรมดา" ผู้เขียนหนังสือขายดี "รวยหุ้นแบบ VI ไม่เสี่ยง" หนังสือ "หุ้น 5 พารวย" และเป็นผู้ก่อตั้ง http://www.naiwaen.com เว็บไซค์การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และ Money Market อีกมากมาย
และ http://www.topofliving.com เว็บไซค์เกี่ยวกับการเลือกซื้อบ้านหลังแรก การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยนิยามส่วนตัวก็คือ ทำให้ความมั่งคั่ง กลายเป็นเรื่อง "สนุก"
หากต้องการข้อมูลข่าวสารการลงทุนอย่างรวดเร็ว และเชื่อถือได้ แวะไปกด LIKE ที่นี่นะครับ https://www.facebook.com/NaiwaenTammada

ผมยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ
Free counters!
New Comments
Friends' blogs
[Add ตี๋2555's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.