ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
วัดพูจำปาสัก มรดกโลกแห่งที่สองของลาว

      ปราสาทวัดพู หรือวัดภู อยู่ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 38 กิโลเมตร เดินทางผ่าน สพานข้ามแม่น้ำโขง ปากเช-โพนทอง ไปถึงปราสาทวัดพู เป็นโบราณสถานในศาสนาฮินดู-พรามหณ์ ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 5-7

          ลักษณะของปราสาทวัดพู จะสร้างอยู่เชิงเขาลิงบรรพต ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู-พรามหณ์ ที่ว่าเทพศิวะจะต้องประทับอยู่บนเขาพระสุเมรุ

ชั้นนอกสุด เป็นบารายหรือสระน้ำขนาดใหญ่ 3 สระ เมื่อใครจะมานมัสการพระศิวะต้องผ่านก่อน ซึ่งบารายนี้ อาจเปรียบเทียบได้กับทะเลสีทันดอนที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุก็ได้ ในปัจจุบัน คงเหลือให้เห็นอยู่ 2 สระเท่านั้น

โรงท้าว โรงนาง หรือโรงซาว เป็นอาคารลักษณะเหมือนตัวยู โดยมีทางเข้าด้านหลัง 1 ด้าน และทางออก 2 ด้านทางหน้า มีอาคารอีกหลังสร้างบังด้านหน้าเป็นรูปตัวไอ โดยมีทางเข้า เข้าด้านหน้า 1 ด้าน และทงออก 2 ด้าน ทางหลังทางออกจะตรงกันกับอาคารด้านหลังรูปตัวยูพอดี อาคารทั้งสองจะเหมือนกัน

      อาคารเทวสถานนี้ มีลวดลายของทับหลังที่สวยงาม และเด่นชัดทุกด้าน โดยที่ยังคงสวยงามมากแห่งหนึ่งในแถบนีภายในอาคาร ได้มีการสร้างพระพุทธรูปไว้เคารพสัการะเมื่อครั้งยังเป็นวัด

          นอกจากจะพบกับระเบียงคตด้านหลังที่เป็นรูปตัวยู ยังมีโบราณวัตถุให้ชม ประกอบด้วย

บ่อน้ำเที่ยง หรือน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำตลอดทั้งปี ในสมัยก่อนจะต่อท่อเอาน้ำนี้มาใช้รดบนศิวลึงค์

หินสกัดรูปจระเข้ เกี่ยวข้องกับการบูชายันต์

รูปตรีมูรติ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู-พรามหณ์ ที่แบ่งแยกให้เห็นว่า ในศิวลึงค์นั้นประกอบไปด้วยเทพ 3 องค์นี้ คือ พระพรหมผู้สร้าง พระนารายณ์ผู้รักษา และพระศิวะผู้ทำลาย

และมีรูปปั้นลวดลายต่างๆอีกมากมาย

รูปปั้นเจ้าพ่อกมมะทา ที่ชาวลาวเชื่อว่าเป็นผู้นำในการสร้างวัดพู

ที่มา: วิกิพีเดีย



Create Date : 22 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 0:38:28 น. 0 comments
Counter : 2945 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.