bloggang.com mainmenu search












ขายกระเป๋ามือสองแบรนเนมด์ติดคุกไหมครับ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน วันนี้ผมมีคำถามเกี่ยวกับของเก่า

 แต่อย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของเก่า

แก่ง่ายตายยากที่อยู่ที่บ้านนะครับ ไม่ใช่นะครับ

แต่ของเก่าที่ว่านี้ หมายถึง ของเก่าที่เป็นข้าวของเครื่องใช้

อาทิเช่น กระเป๋า เสื้อผ้า กางเกง ฯลฯ นะครับ เ

รื่องนี้มีความสำคัญกับพวกเราเป็นอย่างยิ่ง

 โดยเฉพาะยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดอย่างนี้

คุณสาวๆ ทั้งหลายคงคิดอยากโละของใช้เก่าๆ

กระเป๋าหรือเสื้อผ้าเก่าๆ แล้วเอาไปเปิดท้ายขายของ

เพื่อจะได้นำเงินมาซื้อของใช้ใหม่ๆ ใช่ไหมครับ

หากคิดอยู่มาดูคำถามนี้กันครับ

เป็นคำถามของเพื่อนในเฟช ซึ่งผมขอสงวนนาม

 ได้ถามมาว่า “สวัสดีครับคุณทนาย ผมสนใจ

และได้ติดตามผลงานของคุณทนายมาอย่างต่อเนื่อง

 โดยเฉพาะบทความต่างๆ ที่เป็นการไขข้อข้องใจ

ให้กับคนที่เดือดร้อนต่างๆ เป็นการให้ความรู้

แก่บุคคลทั่วไปอย่างยิ่ง ผมขอชื่นชมเป็นอย่างสูงครับ

 แต่วันนี้ผมไม่ได้มายอคุณทนายเพียงอย่างเดียว

แต่ผมมีข้อสงสัยประการหนึ่งครับ

เนื่องจากผมกับแฟนมีงานประจำทำอยู่แล้ว

 แต่เราต้องการหารายได้เสริมด้วยการขายของตามตลาดนัด

ปกติผมขายพวกรองเท้ามือสองอยู่แล้ว

แต่ทีนี้มีพี่ที่ทำงานจะให้ผมนำกระเป๋ามือสอง

ซึ่งเป็นของคุณแม่เขาเองมาขาย

โดยนำรายได้บางส่วนไปทำบุญ

ในส่วนนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะนำกระเป๋ามือสอง

ซึ่งเป็นสินค้าแบรนเนมด์ซึ่งมาขายได้หรือไม่ อย่างไรครับ

 เพราะผมกลัวเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์

ดังที่เห็นในข่าวอยู่มากมาย ต้องขออภัย

หากเป็นคำถามซ้ำๆ ที่ทางคุณทนายพรชัย

เคยตอบไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม”

ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนว่าคำถามนี่เป็นคำถามใหม่แกะกล่อง

สำหรับผมเลยนะครับ เอาล่ะเรามาคุยเรื่องนี้กันครับ

โดยปกติแล้วเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น

 หากเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพื่อผลทางการค้าขาย

หรือไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจ

เจ้าของลิขสิทธิ์มักจะไม่คิดค่าใช้จ่าย

หรือค่าลิขสิทธิ์หรอกครับ

 แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่เขาไม่อนุญาต

แต่นำของเขาไปใช้เพื่อผลทางการค้า

เช่นเห็นการออกแบบลวดลายกราฟฟิก

ของเขาสวยดี ก็เลยตั้งโรงงานเสื้อผ้า

โดยนำภาพการออกแบบของเขามาพิมพ์เป็นลายเสื้อ

การกระทำอย่างนี้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อผลทางการค้า

 ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27, มาตรา 31

 ซึ่งมีโทษถึงขั้นจำคุก 6 เดือน – 4 ปี

หรือปรับ 100,000 –800,000 บาท

หรือทั้งจำทั้งปรับเลย ตาม มาตรา 69, มาตรา 70

แต่ในเมื่อกระเป๋าสินค้ามือสองนั้น เป็นสินค้าแบรนเนมด์

ซึ่งมีลิขสิทธิ์ แต่โดยหลักของการกระทำ

ที่กฎหมายถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิ์แห่งสินค้ากระเป๋านั้น

 จะต้องเป็นการกระทำซ้ำหรือดัดแปลง

เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งสินค้ากระเป๋านั้น

จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม มาตรา 27

ดังนั้น เมื่อสินค้ามือสองแบรนเนมด์ดังกล่าว

ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์

ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยที่ท่านไม่ได้นำมาทำซ้ำ

หรือดัดแปลงแก้ไขซึ่งงานนั้นอีก

 เพียงแต่ท่านนำกระเป๋านั้นมาขายเป็นสินค้ามือสอง

ซึ่งไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์

ตามปกติเจ้าของ ลิขสิทธิ์

และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมาย

ของเจ้าของลิขสิทธิ์อันเกินสมควร

การเปิดร้านขายกระเป๋ามือสองดังกล่าวของท่าน

จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตาม มาตรา 32 

***กฎหมายอ้างอิง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537

มาตรา ๒๗ “การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

แก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

 โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕)

ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน”

มาตรา ๓๑ “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า

งานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร

ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า

 เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิด

ความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

(๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร”

มาตรา 32 “การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์

ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้

หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์

ากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์

และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ

อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์

เกินสมควร

มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง

 การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

แก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง

 มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น

อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง

หรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง

และบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้

ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้

ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ

เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล

หรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย

หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง

หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน

 เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน

 อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน

หรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา

 เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียน

หรือในสถาบันศึกษา

 ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่ง

ในการถามและตอบในการสอบ”

มาตรา ๖๙ “ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘

มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒

ต้องระวางโทษปรับ

ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง

เป็นการกระทำเพื่อการค้า

 ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี

หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท

 หรือทั้งจำทั้งปรับ”

มาตรา ๗๐ “ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์

ตามมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษปรับ

ตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท”



ขอบคุณที่มา fb. ทนายพรชัย รังสรรค์




Create Date :21 ตุลาคม 2557 Last Update :21 ตุลาคม 2557 11:02:57 น. Counter : 4374 Pageviews. Comments :0