bloggang.com mainmenu search

เตือนภัย การขายดาวน์รถที่กำลังผ่อนอยู่
สวัสดีครับเพื่อนๆ เช้านี้ผมขอนำเรื่องสำคัญเร่งด่วน
มาบอกกล่าว มาฝากเตือนเพื่อนๆ
 ถึงความเสี่ยงภัยของการขายรถที่กำลังผ่อนอยู่
 สืบเนื่องจากที่ผ่านมาผมได้โพสต์บทความ
 ให้ความรู้ และให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมา
กับเพื่อนๆ ในเฟช ปัญหาที่พบส่วนใหญ่
จะเป็นเรื่องเช่าซื้อรถ ซึ่งมีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อย
ที่ประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนรถได้จนครบจำนวนปี
ตามที่ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับ...บริษัทไฟแนนซ์
 เพื่อเลี่ยงการโดนถูกยึดรถจึงแอบขายดาวน์รถยนต์
 เพราะคิดว่าการขายดาวน์นั้นสามารถทำงานได้ง่ายๆ
  โดยนำรถยนต์ที่ตัวเองเช่าซื้อมาจากบริษัทไฟแนนซ์
ขายต่อให้คนอื่นเพื่อได้เงินกลับคืนมาเร็วๆ
 จากนั้นคนที่ซื้อรถจากตนก็ไปผ่อนต่อ
ตามสัญญาเช่าซื้อจนครบ แต่ไม่มีการแจ้ง
เรื่องเปลี่ยนชื่อคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คุณทราบไหมว่าการทำเช่นนี
มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากั้งต่อทั้งผู้ขาย
เพราะเป็นการข้ามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตามกฎหมายไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
เหมือนกับเพื่อนหลายคนที่ได้พูดคุยมานะครับ
ที่นี้เรามาดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ขายดาวน์กันว่า
 เมื่อขายดาวน์ไปแล้ว ปรากฏว่า
คนซื้อรถไปแล้วไม่ผ่อนค่างวดให้ไฟแนนซ์
ผู้ขายดาวน์หรือเจ้าของรถเดิม
ก็จะตกเป็นผู้ผิดสัญญา
กับ บริษัทไฟแนนซ์ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ให้กับบริษัทไฟแนนซ์ หรือร้ายแรงกว่านั้น
ถ้าผู้ซื้อดาวน์ไม่ผ่อน
และยังนำรถยนต์ไปซุกซ่อนหลบหนีไป
รวมทั้งเอาไปจำนำ ทำให้ บริษัทไฟแนนซ์
ไม่สามารถตามยึดรถกลับมาได้
นอกจากผู้ขายดาวน์จะต้องรับผิดชอบ
ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับบริษัทไฟแนนซ์แล้ว
 ส่งผลให้บริษัทไฟแนนซ์ยื่นโนติ๊สยกเลิกสัญญา
และเรียกให้ส่งมอบรถคืน แต่ผู้ขายดาวน์หรือผู้เช่าซื้อ
ไม่มีปัญญาส่งมอบรถ เนื่องจากผู้ที่ซื้อรถต่อ
ได้นำรถไปซุกซ่อนหรือขายให้กับบุคคลภายนอก 
 จึงต้องรับผิดตามกฎหมายในฐานะผู้เช่าซื้อ 
 และไม่สามารถจะยกเหตุผลมาหักล้าง
เพื่อให้พ้นความรับผิดได้
ผมจึงใคร่ขอแนะนำว่า การขายดาวน์
จะต้องแจ้งให้กับ บริษัทไฟแนนซ์ ทราบ
พร้อมทั้งนัดหมายผู้ซื้อดาวน์ ไปทำเรื่อง
เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อจากเดิมเป็นผู้เช่าซื้อรายใหม่
ให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน 
 มิฉะนั้นผู้เช่าซื้อเดิมคงต้องรับผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมอยู่ต่อไป
นอกจากนี้ผู้ขายดาวน์หรือเช่าซื้อ
ยังต้องรับผิดชอบทางอาญา
  ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อีกทางหนึ่ง
  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 
 ซึ่งมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท 
 หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วยนะครับ
 หรืออีกกรณีหนึ่งแม้ผู้ซื้อดาวน์จะผ่อนชำระ
อย่างถูกต้องต่อเนื่องกับบริษัทไฟแนนซ์
แต่นำรถยนต์คันที่ซื้อไปทำผิดกฎหมาย
 เช่น ใช้ขนยาเสพติด ชนคนตายแล้วหนี ฯลฯ
ก็อาจทำให้เกิดปัญหายุ่งยากวุ่นวาย
มาถึงผู้ขายดาวน์ได้เช่นกันเพราะชื่อของผู้เช่าซื้อ
ยังคงเป็นชื่อของผู้ขายดาวน์นั่นเอง
แต่ทั้งนี้ ความเสี่ยงภัยใช่ว่าจะเกิด
ต่ผู้ขายดาวน์แต่เพียงผู้เดียว
 แต่อาจเกิดขึ้นกับฝากฝั่งของผู้ซื้อดาวน์
ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
 แม้ว่าจะได้ครอบครองรถอยู่และผ่อนชำระจนครบ
 แต่ผู้ซื้อดาวน์ก็ไม่อาจมีชื่อเป็นเจ้าของรถได้
เพราะบริษัทลิสซิ่งต้องทำตามกฎหมาย
คือโอนรถยนต์ดังกล่าวให้กับชื่อผู้เช่าซื้อ
ซึ่งก็คือผู้ที่ขายดาวน์คนเดิม และอาจเสี่ยง
ที่จะถูกบริษัทไฟแนนซ์ ดำเนินคดีอาญาข้อหารับของโจ
 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย
ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์
อันได้มาโดยการกระทำความผิด
ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
 กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง
 ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วยก็ได้
ดังนั้น โปรดคิดให้ดีก่อนที่จะซื้อหรือขายดาวน์รถนะครับ
ขอบคุณที่มา fb. ทนายพรชัย รังสรรค์






Create Date :18 ตุลาคม 2557 Last Update :18 ตุลาคม 2557 11:31:19 น. Counter : 4630 Pageviews. Comments :1