bloggang.com mainmenu search










#‎ลูกนอกสมรส‬ ถ้าพ่อดูแลเลี้ยงดูออกหน้าออกตา

ชาวบ้านรับรู้ มีสิทธิ์รับมรดกได้นะ#

ชีวิตคู่ในยุคใหม่ หลายๆท่านอยู่กินกันฉันผัวเมีย

 จนมีลูกมีเต้า บุตรที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

ตามกฎหมาย เรียกว่า

 " บุตรนอกกฎหมาย" หรือ"บุตรนอกสมรส"

ซึ่งลูกบางท่านต้องเสียสิทธิ์ในการรับมรดก

เพราะความไม่รู้ซึ่งคิดว่า

 ต้องเป็นลูกที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสเท่านั้น

ถึงจะได้รับมรดกของพ่อได้

เพจทนายเพื่อนคุณ ตระหนักถึงการเสียสิทธิ์

ในการรับมรดกของลูกนอกสมรส

จึงขอ ตอกย้ำ! สร้างความชัดเจน!! ในเรื่องดังกล่าวนี้

มาตรา1627 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 ได้กล่าวว่า "บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว

และบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน

 เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้"

จะเห็นได้ว่าตามความหมายในมาตรานี้

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว หมายถึง ดังนี้

1.บุตรสืบสายโลหิตของบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา

2.การรับรองในที่นี้เป็นการแสดงออกโดยพฤตินัย

ก็ถือว่าบิดาได้รับรองแล้ว เช่น ให้ใช้นามสกุล

 เลี้ยงดูส่งเสียจนชาวบ้านรับรู้ว่าเป็นลูก

ฎีกา 1854/2551

ผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาของผู้ตาย

ภายหลังจากที่มีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5

 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน

ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านจะอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายตลอดมา

ซึ่งทำให้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมาย

ที่ผู้คัดค้านรับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม

 แต่ผลของบทบัญญัติดังกล่าวก็เพียงแต่ให้ถือว่า

บุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

มีสิทธิรับมรดกของบิดาเท่านั้น

หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

กลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรม

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่

ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทของผู้ตาย

หรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย

ที่จะมีสิทธิคัดค้านการขอจัดการมรดก

หรือร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

ฎีกา 513/2546

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564

 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627

 ให้ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

 ซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดก

ในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้น

เมื่อ ช. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย

ในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ส. และเด็กชาย ว.

บุตรของโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม

ของเด็กชายทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะ

จากจำเลยผู้ทำละเมิดแก่ผู้ตายได้

สรุป "บุตรนอกสมรส" หรือ"บุตรนอกกฎหมาย"

ถ้าบิดาดูแลเลี้ยงดูชาวบ้านรับรู้หรือมีพฤติกรรม

แสดงออกถึงความเป็นพ่อ

กฎหมายก็ถือว่าบิดาได้รับรองบุตรโดยพฤตินัย

ทำให้มีสิทธิ์รับมรดกเทียบเท่าบุตรในสมรส

ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมชั้นแรกครับ

ขอขอบคุณภาพจาก comment-joke-funny.blogspot.com







ขอบคุณที่มา fb. ทนายเพื่อนคุณ
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ

Create Date :11 มิถุนายน 2559 Last Update :11 มิถุนายน 2559 11:13:01 น. Counter : 2179 Pageviews. Comments :0