bloggang.com mainmenu search













จากกรณีที่บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงรายใหญ่ของไทย

 ขึ้นข้อความหลังคลิปมิวสิคโวดิโอที่เพิ่งอัพโหลดใหม่

 แจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการร้านอาหาร ผับ บาร์ คาราโอเกะ

 หรือร้านค้าทั่วไป ว่าการเปิดเพลงที่เป็นลิขสิทธิ์ของแกรมมี่

ให้ลูกค้าฟังผ่าน Youtube ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

หากต้องการเปิดแบบถูกต้อง จะต้องติดต่อขอสิทธิ์กับทางบริษัท

 ซึ่งโดยทั่วไปการเปิดผ่าน Youtube

 จะอนุญาตให้รับชมได้เฉพาะเป็นการส่วนตัว

หรือในที่อยู่อาศัยเท่านั้น

กรณีนี้เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งพอจะเทียบเคียงได้ กล่าวคือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553

พนักงานอัยการจังหวัดระยอง
โจทก์

นางสุรินทร์ XXX
จำเลย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี

ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

พ.ศ.2539 มาตรา 26

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่ง

และเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้”

อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้น

หรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง

 ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรง

จากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทน

หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด

การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด

ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31

ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง

 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว

ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรง

จากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ

ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศ

และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

________________________________

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย

ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 30, 31, 69, 70, 75, 76

ริบโทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี

และให้แผ่นซีดีเพลงจำนวน 19 แผ่น

 ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย

 ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

 และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่ง

ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

พิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า

 ที่โจทก์อุทธรณ์การกระทำของจำเลย

เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31

 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง

 เห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31

 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า

งานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร

ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (2)

เผยแพร่ต่อสาธารณชน…”

ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว

จึงต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน “เพื่อหากำไร”

 ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มา

จะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้น

โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

 แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า

จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม

 จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้”

อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้น

หรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง

 ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรง

จากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง

โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง

 หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด

 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด

ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31

ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง

 เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว

ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรง

จากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพ

ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศ

และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา

และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

พิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว

 อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

สาระสำคัญในคำวินิจฉัยคือ

กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร 

 คือกำไรโดยตรงไม่ได้มาจากการเปิดเพลง

 แต่มาจากอาหาร
ซึ่งคีย์เวิรด์ให้จำง่ายๆนะครับ

 ” ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรง

จากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง

โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง

หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด ”

ซึ่งทางเว็บมองว่าการกระทำดังกล่าว

มิได้ทำเพื่อการหากำไรจากงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์

จึงไม่เข้าข่ายความผิดอยู่ดี




ขอบคุณที่มา.......Lawyers.in.th Poll

......................























Create Date :18 มีนาคม 2558 Last Update :25 พฤษภาคม 2558 13:51:34 น. Counter : 1012 Pageviews. Comments :0