bloggang.com mainmenu search











พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้  พ.ศ. 2558

..................




 นับตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ไปอีก ๑๘๐ วัน .....

ไม่ว่าหนี้จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่.....

บรรดานักทวงหนี้มีสิทธิเดินเข้าคุกกันถ้วนหน้านะครับ.....

ว่าแต่ว่าค่าตัวนักทวงหนี้ก็คงจะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว.....

ฎหมายว่าด้วยการทวงหนี้คือ

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘

มีผลใช้บังคับตั้งแต่ครบ ๑๘๐ วัน

โดยนับแต่วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘

โดยมาตรา ๒ บอกว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ

เมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)

และไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

.....(๑)ถ้าที่ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นได้รับการปฏิบัติจาก .....

“ผู้ทวงถามหนี้” .....

ที่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัตินี้

 ก็ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียน

ต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้

ประจำจังหวัดหรือประจำกรุงเทพมหานคร

เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้

.....(๒) “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า

.....(๒.๑)เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ

.....(๒.๒)ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

 เช่นบริษัทรถยนต์ เครื่องใช้ฟ้า และอีกสารพัดบรรดามี

.....(๒.๓)ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระ

ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน

.....(๒.๔)และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจาก

การกระทำที่เป็น ทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้

....(๒.๕)ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว

.....(๒.๖)ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้

.....(๒.๗)ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

.....(๒.๘)และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย

..... (๓) “ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า.....

 “การรับจ้างทวงถามหนี้” .....

ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ

(คุณตำรวจ คุณทหาร คุณนักเลง ที่รับจ้างทวงหนี้

แบบลับๆอ้อมๆก็อยู่ในข่ายนี้นะครับท่านผู้มีเกียรติครับ)

.....(๔) “ธุรกิจทวงถามหนี้” ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้

ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความของตน

*****ทนายความที่ทวงหนี้แทนลูกความและซื่อสัตย์สุจริตอ

ยู่ในกรอบวิชาชีพก็ไม่มีโอกาสตกเป็นผู้กระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัตินี้ แหกกรอบเมื่อไหร่ก็โดนแหละครับ

.....(๕) ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้

ในลักษณะดังต่อไปนี้

.....(๕.๑) ห้ามข่มขู่ ห้ามใช้ความรุนแรง ห้ามกระทำการ

ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย,ชื่อเสียง,

 หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

.....(๕.๒) ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น

.....(๕.๓) ห้ามแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้

ห้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้

***** เว้นแต่ เว้นแต่ สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้

และบุคคลเหล่านี้ได้สอบถาม “ผู้ทวงถามหนี้”

ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ “ผู้ทวงถามหนี้” ชี้แจงข้อมูล

เกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม

.....(๕.๔) ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร,เอกสารเปิดผนึก,

โทรสาร,หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนอง

ด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่ง

เจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น

หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

.....(๕.๕) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์

หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย

ในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า

เป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้

เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของ “ผู้ทวงถามหนี้”

ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

.....(๕.๖) ห้ามทำการทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม

ในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

*****ความใน (๕.๖) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้

เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล

.....(๖) มีคุกรออยู่นะครับท่าน ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้

ก็มีโทษทางอาญาคือจำคุกและมีโทษทางปกครองคือปรับ

และ/หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เท่านี้แหละครับ

นับว่าผมนี่เก่งมากที่สามารถย่อ พ.ร.บ.ทั้งฉบับมาได้ขนาดนี้

แถมท่านทั้งหลายอ่านแล้วก็เข้าใจเสียด้วยสิครับ.....

ปรบมือให้ผมหน่อยนะครับ




Cr:ทีนิวส์

ขอบคุณที่มา  fb.Ampaipan Wachaporn 




Create Date :29 พฤษภาคม 2558 Last Update :29 พฤษภาคม 2558 16:25:40 น. Counter : 1983 Pageviews. Comments :0