bloggang.com mainmenu search


พระเจ้าสุปปพุทธะขวางการบิณฑบาตรพระพุทธเจ้า
พระเจ้าสุปปพุทธะเป็นกษัตริย์โกลิยะวงศ์เป็นพระราชบิดาของพระเทวทัต เมื่อทราบว่าพระเทวทัตถูกธรณีสูบ ลงมหาอเวจีนรกก็มิสำนึกในบาปบุญคุณโทษ กลับมีจิตอาฆาตพยาบาทพระพุทธองค์ เพราะนอกจากจะทำให้พระเทวทัตต้องธรณีสูบ พระพุทธองค์ยังทำให้เจ้าหญิงยโสธราธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะเป็นหม้าย จึงกลั่นแกล้งพระพุทธองค์ด้วยการเกณฑ์อำมาตย์ข้าราชบริพารไปนั่งเสพเมรัยขวางทางที่พระพุทธองค์จะออกบิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งทางนั้นมีเพียงทางเดียวเท่านั้นที่พระพุทธองค์จะทรงเสด็จดำเนินไปได้ เมื่อเสด็จดำเนินผ่านไม่ได้เพราะพระเจ้าสุปปพุทธะกับบริวารขวางอยู่วันนั้น พระพุทธองค์ทรงอดพระกระยาหาร ๑ วัน พระอานนท์จึงทูลถามอยากจะทราบโทษของพระเจ้าสุปปพุทธะ พระพุทธองค์จึงทรงได้มีพุทธฎีกาตรัสว่า “ อานันทะดูก่อนอานนท์ หลังจากนี้ไปนับได้ ๗ วัน พระเจ้าสุปปพุทธะจะลงอเวจีตามเทวทัตไป ”


เมื่อบริวารของพระเจ้าสุปปพุทธะกลับไปถวายรายงาน พระเจ้าสุปปพุทธะก็มีจิตต้องการให้พุทธฎีกาของพระพุทธองค์มิเป็นความจริง จึงขึ้นประทับ ณ ปราสาท ๗ ชั้น แต่ละชั้นมีนายทวารป้องกันแข็งขัน ทรงตรัสกับนายทวารที่มีร่างกายกำยำนั้นว่า “ ในระหว่าง ๗ วันนี้ ถ้าฉันลงมาละก็ พวกเธอจงขัดขวางเอาไว้ไม่มีใครทำโทษ ” โดยประกาศต่ออำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระบรมวงศานุวงศ์ไว้ดังนั้น เพื่อมิให้นายทวารทั้งหลายต้องโทษ จนกระทั่งถึงวันที่ ๗ วันนั้นปรากฏว่า ม้าแก้ว ซึ่งเป็นม้าทรงศึกที่พระเจ้าสุปปพุทธะโปรดปราน อาละวาดกระทืบโรง ร้องเสียงดังมาก พระเจ้าสุปปพุทธะเกิดเป็นห่วงม้า ด้วยอาการขาดสติจึงทรงลงจากปราสาทชั้น ๗ แต่ปรากฏว่านายทวารมิได้ขัดขวาง ด้วยคิดว่าเลยครบกำหนด ๗ วันแล้ว พอพระเจ้าสุปปพุทธะย่างพระบาทเหยียบแผ่นดิน ก็ถูกพระธรณีสูบหายไปสู่มหานรกอเวจี ตรงตามพุทธะฎีกาที่ตรัสไว้แก่พระอานนท์

//goo.gl/iFvUmW

1. ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ด้วยความเมตตาสงสาร ได้อานิสงส์ถึง 100 ภพ คือได้อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ อย่างละ 100 อัตภาพ
2. ให้ทานแก่ผู้ทุศีล ได้อานิสงส์ถึง 1,000 ภพ
3. ให้ทานแก่ผู้มีศีล ในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ได้อานิสงส์ถึง 100,000 ภพ
4. ให้ทานแก่ดาบสที่ได้อภิญญา ในช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ได้อานิสงส์ถึง 1 แสนโกฏิภพ (ล้านล้านภพ)
5. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระโสดาบัน ผู้เป็นคฤหัสถ์หรือเป็นบรรพชิตก็ตาม จะเป็น ฌานลาภีบุคคล (ผู้ได้ฌาน) หรือไม่ใช่ฌานลาภีบุคคลก็ตาม เป็นผู้มีศีล เข้าถึงไตรสรณคมน์ ได้อานิสงส์ถึงอสงไขยภพ (นับภพไม่ถ้วน)
6. ให้ทานแก่พระโสดาบันบุคคล ย่อมมีอานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
7. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระสกทาคามี ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
8. ให้ทานแก่พระสกทาคามีบุคคล ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
9. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอนาคามี ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
10. ให้ทานแก่พระอนาคามีบุคคล ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
11. ให้ทานแก่ผู้ที่ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
12. ให้ทานแก่พระอรหันต์ ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
13. ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก
14. ให้ทานแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมได้อานิสงส์มากยิ่งขึ้นไปอีก

การให้ทานในปาฏิปุคคลิกทานคือ
การให้ทานเฉพาะเจาจง ตามที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง เช่น ให้ทานกับสัตว์เดรัจฉาน ให้ทานกับพระพุทธเจ้า ชื่อว่าให้ทานจำเพาะเจาะจง ปาฏิปุคคลิกทาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ทานที่ให้จำเพาะเจาะจง ปาฏิปุคคลิกทานก็มีผลบุญไม่มากเท่า สังฆทานคือ ทานถวายแด่สงฆ์หมู่ใหญ่
ดังนั้นการขวางงานตักบาตรจึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้ม
เครดิต https://goo.gl/NSLeHk
Create Date :25 สิงหาคม 2558 Last Update :25 สิงหาคม 2558 17:38:58 น. Counter : 2223 Pageviews. Comments :11