bloggang.com mainmenu search
๑๐ เหตุให้อายุยืนในพระไตรปิฎกดังกล่าวได้ค้นคว้าจากหลายแหล่งมารวมไว้ด้วยกัน โดยจะอ้างอิงแหล่งที่มาและอธิบายดังนี้


๑.ไม่ฆ่าสัตว์ ทำให้อายุยืน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับ”สุภมาณพ โตเทยยบุตร” ไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร ความว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว (ฆ่าสัตว์รวมทั้งฆ่าคน) เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน.



๒.ปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา ทำให้อายุยืน
จากจูฬกัมมวิภังคสูตร ประโยคที่ว่า “เอ็นดูอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์” หมายถึง ช่วยเหลือสรรพสัตว์นั่นเอง การปล่อยสัตว์ ปล่อยปลา จึงจัดเข้าในความหมายนี้




๓.ทำบุญยารักษาโรค ทำให้อายุยืน
ข้อนี้อ้างอิงจากประวัติของพระพากุลเถระ ซึ่งท่านอายุยืนถึง ๑๖๐ ปี มีบันทึกไว้ว่า “พระเถระครองเรือน ๘๐ ปี อาพาธเจ็บป่วยไรๆก็มิได้มีตลอดกาล...แม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อยมิได้มีเลย”

โดยบุญหลักที่ท่านทำคือ ถวายยารักษาโรคแก่พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า คือ ชาติหนึ่งพระพากุลเถระบวชอยู่ในป่า ท่านเล่าว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภูพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นนายกของโลก ทรงแสวงหาที่เร้น เสด็จเข้าสู่อาศรมของเรา และเมื่อเราเข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระนามว่า อโนมทัสสีผู้มียศมาก โรคลมก็เกิดขึ้นแก่พระโลกนาถโดยฉับพลัน.

เรารีบขึ้นไปบนภูเขาเก็บยาทุกสิ่งมาปรุง ได้ปรุงเป็นยาต้มแล้ว รินเอาน้ำยามาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เมื่อพระมหาวีระผู้สัพพัญญู เป็นนายกของโลก เสวยแล้วโรคลมของพระสุคตเจ้าผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ก็สงบลงฉับพลัน”.






๔.ทำบุญภัตตาหาร
ข้อนี้อ้างอิงจากสุปปวาสสูตรดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับนางสุปปวาสาว่า “ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกาเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๔ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน ๔ คืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง…”
หมายความว่า ผู้ให้โภชนาการหรือทำบุญภัตตาหาร แก่ ปฏิคาหก คือ ผู้รับ ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ จะส่งผลให้พระภิกษุ มีอายุยืน วรรณะผ่องใส มีความสุข และมีกำลัง เมื่อเป็นเช่นนี้ บุญก็จะส่งผลให้ผู้ถวายภัตตาหาร ให้มีอายุยืน วรรณะผ่องใส มีความสุข และมีกำลังเช่นกัน



๕.อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์
ข้อนี้อ้างอิงจากเรื่องอายุวัฒนกุมาร โดยครั้งหนึ่ง พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยทีฆลัมพิกนคร ประทับอยู่ ณ กุฎีในป่า ทรงปรารภกุมารผู้อายุยืน โดยพระองค์ ตรัสว่า " ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์”
*ผู้เจริญ หมายถึง ผู้มีศีลธรรม ได้แก่ พระพุทธเจ้า และพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รวมถึงฆราวาสผู้มีศีลด้วย









๖.ทำความสบายแก่ตนเอง
ข้อ ๖-๑๐ อ้างอิงจากอนายุสสสูตรโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้เที่ยวในเวลาสมควร ๑ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน.” แต่ละข้อมีอธิบายดังนี้
ทำความสบายแก่ตนเอง ภาษาบาลีใช้คำว่า “สัปปายะ” ซึ่งแปลว่า สบาย ทำสิ่งที่เป็นสัปปายะ หมายถึง ทำในสิ่งที่ทำให้มีความสบายต่อสุขภาพของตนเอง สัปปายะ มี ๗ ประการ ได้แก่ อาวาส, โคจร, การสนทนา, บุคคล, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ สัปปายะทั้ง





๗ ประการนี้เป็นเครื่องสนับสนุนให้การเจริญ “สมถวิปัสสนา” มีความก้าวหน้า ส่วนสัปปายะที่มีผลโดยตรงต่อการดูแลสุขภาพนั้นมี ๔ ประการคือ อาวาส, โภชนะ, ฤดู และ อิริยาบถ
อาวาส แปลว่า ที่อยู่อาศัย อาวาสเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาวาสที่มีสิ่งแวดล้อมดี มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะเป็นพิษ ไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป เป็นต้น การได้อยู่ในอาวาสเช่นนี้ก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและอายุยืน


โภชนะ แปลว่า อาหาร อาหารเป็นที่สบายต่อสุขภาพ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และ ปลอดจากสารพิษ เป็นต้น


ฤดู หมายถึง ภูมิอากาศในแต่ละช่วงของปี โดยทั่วไปมีอยู่ ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ฤดูนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงฤดู หากร่างกายปรับตัวไม่ทันก็อาจจะเจ็บป่วย หรือ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น ในช่วงย่างเข้าฤดูหนาวในแต่ละปีก็จะได้ยินข่าวคนหนาวตายเกือบทุกปี ด้วยเหตุนี้การดูแลร่างกายให้มีความสบายในแต่ละฤดูจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง


อิริยาบถหมายถึง อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถนั้นก็มีความสำคัญต่อสุขภาพมาก ในแต่ละวันเราจะต้องผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ ให้เกิดความสมดุลกัน เลือดลมในตัวจึงจะไหลเวียนได้สะดวก ไม่เกิดการเมื่อยล้าเพราะอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม” อิริยาบถในที่นี้หมายรวมถึงการ “ออกกำลังกาย” ด้วย






๗.รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย
รู้จักประมาณในสิ่งที่สบายในที่นี้คือ การรู้จัก “ความพอดี” เช่น เรื่องอาหาร เมื่อเราจัดหาอาหารที่ดี มีประโยชน์ได้แล้ว อาหารนี้ก็ได้ชื่อว่าอาหารเป็นที่สบาย แต่ในเวลารับประทานอาหารนั้นเราจะต้องรู้จักประมาณ ต้องรู้จักความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า “ภิกษุ เมื่อฉันอาหารสดก็ตาม แห้งก็ตาม ไม่พึงฉันให้อิ่มเกินไป ไม่พึงฉันให้น้อยเกินไป พึงฉันแต่พอประมาณ พึงมีสติอยู่”
สำหรับวิธีการรับประทานอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อนั้น พระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า “พึงเลิกฉันก่อนอิ่ม ๔ – ๕ คำ แล้วดื่มน้ำเท่านี้ก็เพียงพอเพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยวมุ่งนิพพาน” เหตุที่ต้องเลิกก่อนฉันอิ่ม ๔ – ๕ คำนั้น ก็เพื่อสำรองพื้นที่ในกระเพาะไว้สำหรับน้ำที่จะดื่มหลังเลิกฉันอาหารแล้ว เมื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็จะทำให้รู้สึกอิ่มพอดี





คลิกเื่ออ่านต่อ....






เฮดบล็อก  เรือนเรไร
ญามี่... ภาพบีจี
กุ๊กไก่...ของแต่งบล็อก
โกฟี่แมว... กรอบแต่งบล็อก
ชมพร... ไอคอนเล็กๆ
สายรุ้งตกจากเมาส์
ไอคอนดอกไม้เล็กๆ




TOPคลิ๊กกลับขึ้นบน
Create Date :02 มีนาคม 2565 Last Update :2 มีนาคม 2565 9:33:47 น. Counter : 1456 Pageviews. Comments :9