bloggang.com mainmenu search


ซึ่งชาวพุทธโบราณของสยาม ได้นำภาพลักษณ์ของยักษ์ตามบันทึกข้อมูลในศาสนาพุทธมาประยุกต์ใช้ในนิทานพื้นบ้านตลอดจนวรรณกรรมต่างๆ ซึ่งภาพลักษณ์ของยักษ์ในพื้นบ้าน-วรรณคดีนั้นมักถูกสื่อออกมาในแง่ลบที่เห็นได้อย่างชัดเจนและในรูปของสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์อีกด้วย



 ยักษ์ อมนุษย์ประเภทหนึ่ง ตามข้อมูลในศาสนาพุทธ ระบุว่า ยักษ์ เป็นชาวสวรรค์กลุ่มจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งจากทั้งหมด ๔ ประเภท(ไม่รวมชาวครุฑ) ซึ่งชาวพุทธโบราณของสยามได้นำภาพลักษณ์ของยักษ์ตามบันทึกข้อมูลในศาสนาพุทธมาประยุกต์ใช้ในนิทานพื้นบ้านตลอดจนวรรณกรรมต่างๆ ซึ่งภาพลักษณ์ของยักษ์ในพื้นบ้าน-วรรณคดีนั้นมักถูกสื่อออกมาในแง่ลบที่เห็นได้อย่างชัดเจน และยังถูกขยายความให้กว้างขึ้นโดยการนำมาแสดงออกในรูปของสงครามระหว่างมนุษย์กับยักษ์อีกด้วยและในบางเรื่องยักษ์เองกลับได้เป็นผู้เลี้ยงดูตัวเอก        แต่ท้ายสุดแล้วไม่ว่ายักษ์ที่เป็นศัตรูรึเป็นมิตรกับมนุษย์ก็มักจะมีจุดจบแบบเดียวกัน คือ ตาย



    ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เองที่เริ่มมีผู้ไร้ความรู้ทั้งหลายออกมาตราหน้าว่าตัวเอกในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีหลายเรื่องว่ามีพฤติกรรมเนรคุณ อกตัญญูต่อยักษ์ เช่น พระสังข์กับนางพันธุรัตสินสมุทรกับนางผีเสื้อสมุทร สิงหไกรภพ-พราหมณ์เทพจินดากับพินทุมาร แต่ก็ยังดีที่ไม่มีการตราหน้าถึงขั้นทรพี(เพราะตัวเอกเหล่านี้ไม่ได้สังหารยักษ์ผู้เป็นบุพพการีของตนเอง)เพราะไม่มีความเข้าใจในรูปแบบและความหมายของยักษ์ในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีที่ชาวพุทธสยามโบราณได้ออกแบบไว้อย่างแยบยลนั่นเอง


การที่ชาวพุทธสยามโบราณนำเอายักษ์มาเป็นคู่สงครามในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีแทนการ รบกับมนุษย์ด้วยกันนั้น เพราะการรบกับมนุษย์ด้วยกันมันดูธรรมดาเกินไปจนอาจทำให้เนื้อเรื่องดูน่าเบื่อและไม่ดึงดูดใจผู้อ่าน นอกจากจุดประสงค์ที่ไม่ต้องการให้เนื้อเรื่องเกิดความซ้ำซากจำเจแล้ว ความหมายของยักษ์ตามบันทึกข้อมูลในศาสนาพุทธยังมีนัยยะสำคัญซึ่งสื่อถึงลำดับชั้นขั้นตอนไปสู่การบรรลุธรรมชั้นสูงซ่อนซ้อนอยู่อีกด้วย

ยักษ์ นอกจากเป็นชื่อของกลุ่มอมนุษย์ชาวจาตุมหาราชิกาประเภทหนึ่งแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนของกามคุณ๕(รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส)อีกด้วย

 ซึ่งสัญลักษณ์ของกามคุณนี้มักแสดงออกมาในรูปของสิ่งร่างจำแลงแปลงของตัวยักษ์เองและสิ่งเนรมิตรทั้งหลายซึ่งมีลักษณะสวยงามยวนใจเพื่อใช้ลวงจับมนุษย์ซึ่งยังหลงใหลในกิเลสกามคุณนั้น ซึ่งกามคุณนี้มีหน้าที่คอยขัดขวางไม่ให้บุคคลไปถึงจุดหมายและเป้าหมายของภารกิจแห่งความเจริญทั้งกายและใจ

 ทำให้ไขว้เขวออกจากเส้นทางแห่งความเจริญ(คือการถูกยักษ์ครอบงำ ตกเป็นทาสยักษ์ไม่อาจหนีไปไหน เช่น กรณีของพระอภัยมณีที่ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวหวงแหนไว้ถึง๘ปีเต็มจึงสามารถหนีนางผีเสื้อฯออกมาได้สำเร็จ) และยังสามารถทำให้บุคคลที่หลงใหลล่วงถึงความตายได้หากไม่ยอมถอนตัว(ซึ่งก็หมายถึงถูกยักษ์นั้นจับเคี้ยวกินไปโดยสมบูรณ์แล้ว)

ในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดีได้จำแนกลักษณะของยักษ์(กามคุณ)ไว้ ๒ ประเภทด้วยกัน ได้แก่

คลิกชมภาพและอ่านต่อ......
Create Date :02 กุมภาพันธ์ 2560 Last Update :2 กุมภาพันธ์ 2560 8:06:35 น. Counter : 1144 Pageviews. Comments :0