สมรภูมิ "เดมแยงส์" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตอนที่ 4

สมรภูมิ "เดมแยงส์" (Battle of Demyansk)

ตอนที่ 4

จากหนังสือเรื่อง "สมรภูมิของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.สิ่งพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและค้นคว้าแก่ผู้สนใจเท่านั้น




 เครื่องบินลำเลียงแบบ เจยู 52 ของกองทัพอากาศเยอรมันกำลังลำเลียงยุทธปัจจัยให้กับกำลังทหารในวงล้อม "เดมแยงส์"


ในช่วงที่การขนส่งทางอากาศของเยอรมันดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น กองทัพรัสเซียสังเกตุเห็นว่ากองบัญชาการกองบินที่ ของเยอรมัน ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเปสกี้ และทำหน้าที่ในการอำนวยการยุทธอย่างได้ผล จึงรวมกำลังเข้าโจมตีที่มั่นของกองบินที่ อย่างรุนแรงในช่วงค่ำของวันที่ 19 มีนาคม ค..1942 โดยจัดกำลังจากกองพลน้อยส่งทางอากาศ (พลร่มที่ และ 204 (1st and  204th Airborne  Brigade) เข้าตีสนามบินทั้งสองแห่งที่เมือง "เดมแยงส์และเมือง "เปสกี้"

การรบเริ่มขึ้นเมื่อทหารรัสเซียอาศัยความมืดคืบคลานผ่านแนวป่าทึบ จนถึงแนวหน้าของทหารเยอรมัน แต่ทหารราบเยอรมันสืบทราบความเคลื่อนไหวของทหารรัสเซียมาก่อนหน้านี้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้เตรียมการรับมืออย่างเต็มที่ พวกเขาต่อสู้อย่างเหนียวแน่นเพราะต่างทราบดีว่าหากเมือง "เปสกี้และสนามบินของเมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของฝ่ายรัสเซียแล้ว ก็จะส่งผลกระทบถึงการขนส่งยุทธปัจจัย และนำมาซึ่งความพ่ายแพ้ของเยอรมันในวงล้อม "เดมแยงส์อย่างแน่นอน การต่อต้านของเยอรมันทำให้การเข้าตีครั้งใหญ่ของรัสเซียล้มเหลวเนื่องจากทหารพลร่มของรัสเซียมีแต่อาวุธประจำกาย ไม่มีอาวุธหนักสนับสนุน ทำให้ประสบกับความสูญเสียจำนวนมาก




ปืนใหญ่ต่อสู้รถถังขนาด 37 มิลลิเมตรแบบแพ็ค 36 ของเยอรมันตั้งมั่นรอการโจมตีของทหารรัสเซีย จะสังเกตุเห็นภูมิประเทศซึ่งเป็นที่โล่งแจ้งปราศจากสิ่งกำบังสำหรับฝ่ายรุกและฝ่ายรับ


โดยเฉพาะการรบของกองกำลังเฉพาะกิจ “ไซม่อน”  หรือ “คามป์กรุไซม่อน” (KampfgruppeSimon)  สังกัดกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรองผู้บัญชาการกองพล คือ เอส เอส โอแบร์ฟือเรอห์ แมกซ์ ไซม่อน (SS Oberfuhrer Max Simon - เอสเอส โอแบร์ฟืเรอร์ เป็นชั้นยศของหน่วย เอส เอส อยู่ระหว่างพันเอกและพลจัตวาของระบบสหรัฐอเมริกา ในที่นี้อาจเทียบได้กับชั้นยศพันเอกพิเศษที่สามารถต้านทานการเข้าตีสนามบินเมือง "เดมแยงส์ของทหารรัสเซียได้อย่างห้าวหาญและน่าทึ่ง เพราะมีกำลังเป็นรองทหารรัสเซียถึง 1:8 โดยเฉพาะการบดขยี้ทหารรัสเซียจากกองพลน้อยส่งทางอากาศที่ ซึ่งมีกำลังพลทั้งสิ้นถึง 8,500 นาย นำโดยพันโท นิโคไล ทาราซอฟ (NikolayTarasov) ให้เหลือรอดกลับไปเพียง 900 นาย

การเข้าตีของทหารรัสเซียที่สนามบิน "เดมแยงส์ดังกล่าวเปิดฉากขึ้นในเวลากลางคืน แม้ขณะนั้นจะไม่มีเครื่องบินขนส่งเดินทางเข้ามาแล้ว แต่ในพื้นที่บริเวณสนามบินก็เต็มไปด้วยยุทธปัจจัยอันมีค่าต่างๆ มากมาย ที่รอการขนส่งไปยังแนวหน้า 

เมื่อเสียงนกหวีดดังไปทั่วแนวรบ ทหารรัสเซียระลอกแรกก็วิ่งดาหน้าออกมาจากแนวป่ามุ่งเข้าหาสนามเพลาะของทหาร เอส เอส ปืนกลแบบเอ็มจี 34 (MG 34) เปิดฉากการยิงประสานกันเป็นแนวฉากกั้น เพื่อหยุดยั้งการเข้าตีของทหารรัสเซีย

กระสุนพุ่งเข้าตัดร่างของทหารพลร่มรัสเซียแนวแรก ที่วิ่งเข้ามาราวกับถูกเคียวที่คมกริบตัดขาดสะบั้น ในขณะที่พลยิงเครื่องยิงลูกระเบิดของเยอรมันก็ปูพรมด้วยกระสุนเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 82 มิลลิเมตร ที่ยิงทั้งลูกระเบิดแรงสูง สลับกับกระสุนส่องสว่าง ขึ้นบนท้องฟ้าเพื่อชี้เป้าให้ทหารเยอรมันที่อยู่ตามสนามเพลาะ

ถึงแม้ทหาร เอส เอส จะระดมยิงสกัดทหารพลร่มรัสเซียด้วยอาวุธทุกอย่างที่มีอยู่ แต่ทหารรัสเซียอย่างน้อยหนึ่งกองร้อย ก็สามารถรุกเข้ามาถึงแนวสนามเพลาะของทหารเยอรมัน ณ เวลานี้ การต่อสู้แบบประชิดตัวได้เปิดฉากขึ้น ทหาร เอส เอสใช้พลั่วสนามที่คมกริบและมีความคล่องตัวกว่าการใช้ดาบปลายปืน ฟาดฟันใส่ทหารพลร่มรัสเซีย

การสู้รบแบบมือเปล่ามีให้เห็นอยู่ทั่วไป จนในที่สุดทหารพลร่มรัสเซียก็ไม่อาจต้านทานความบ้าบิ่นและห้าวหาญของทหาร เอส เอส ได้ ต้องล่าถอยกลับเข้าพื้นที่ป่าไปทิ้งซากศพไว้กว่า 600 ศพทหารเอส เอสที่กระเหี้ยนกระหือรือ ปีนสนามเพลาะ วิ่งออกไล่ตามทหารพลร่มรัสเซียที่กำลังบาดเจ็บและเสียขวัญ พร้อมกับสาดกระสุนเข้าใส่อย่างไม่ยั้งมือ จนทหารพลร่มรัสเซียแทบจะละลายไปทั้งหน่วย

นอกจากนี้ในพื้นที่เมืองบาโคโว (Bjakowo) ชุดต่อสู้ทำลายรถถังของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ภายใต้การนำของเอส เอส โอแบร์สตรุมฟือเรอห์ เออร์วิน มายเออร์เดรส (SS Obersturmsfuhrer Erwin Meierdress – เอสเอส โอแบร์สตรุมฟือเรอห์ เทียบเท่ากับยศร้อยโทซึ่งมีกำลังเพียง 120 นายได้รับมอบหมายให้ยึดพื้นที่เมืองนี้ไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

มายเออร์เดรสมีรถปืนใหญ่อัตตาจรแบบสตุก อยู่เพียงไม่กี่คันพร้อมกับปืนใหญ่ต่อสู้รถถังแบบลากจูงอีกเพียงไม่กี่กระบอก สามารถตอบโต้การเข้าตีของทหารรัสเซียและสามารถทำลายรถถังแบบที 34 ได้จำนวนหนึ่ง

แต่ฝ่ายรัสเซียก็เข้าตีอย่างไม่หยุดหย่อน จนทั้งสองฝ่ายต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ในที่สุดชุดต่อสู้รถถังของมายเออร์เดรส ก็เหลือกำลังพลเพียง 30 นาย โดยที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นทหารรัสเซียยังสามารถตัดขาด และโอบล้อมเมืองบาโคโว ออกจากกำลังส่วนใหญ่ของเยอรมันทำให้ทหารเยอรมันไม่ได้รับการส่งกำลังจากแนวหลังเลย แต่มายเออร์เดรสก็ยังคงยืนหยัดยึดที่มั่นอยู่ต่อไป

จนกระทั่งได้รับการช่วยเหลือจากกำลังอีกส่วนหนึ่งของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ที่แหวกวงล้อมเข้ามาช่วย และนำมายเออร์เดรสส่งกลับไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลสนามของหน่วย เอส เอสในเมือง "เดมแยงส์วีรกรรมในครั้งนี้ทำให้มายเออร์เดรสได้รับเหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นอัศวิน (Knight's Cross of the Iron Cross)

แม้ทหารรัสเซียจะต้องสูญเสียอย่างหนัก แต่การสูญเสียของกองทัพแดงไม่เคยเป็นปัญหา อันเนื่องมาจากการมีทรัพยากรมนุษย์ที่ไร้ขีดจำกัด ทหารรัสเซียหน่วยใหม่ๆ ยังคงหนุนเนื่องเข้ามาทดแทนกำลังพลที่สูญเสียไปอย่างต่อเนื่อง

กล่าวกันว่ากำลังของฝ่ายรัสเซียที่เข้าโอบล้อมและเข้าตีทหารเยอรมันมีจำนวนเทียบเท่าถึง 15 กองพลทหารราบเลยทีเดียว ตรงกันข้ามกับเยอรมันที่การสูญเสียกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ไป ได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างมาก แม้จะมีความพยายามในการส่งกำลังหนุนเข้ามาในวงล้อม แต่ก็กระทำได้อย่างยากลำบาก

ในขณะเดียวกันการขนส่งยุทธปัจจัยเข้าสู่วงล้อม "เดมแยงส์ของกองบินที่ ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และไม่ขาดสาย แม้จะต้องประสบกับการต้านทานและนำมาซึ่งความสูญเสีย จนผลสำเร็จเริ่มปรากฏชัดเจน เพราะทำให้เสบียงอาหารถูกลำเลียงเข้ามาจนสามารถใช้หล่อเลี้ยงทหารเยอรมันได้เป็นเวลานาน ถึง วัน แม้การลำเลียงจากสนามบินไปสู่แนวหน้าของวงล้อมจะประสบปัญหาบ้างพอสมควร

ความต้องการอันดับแรกๆ ในการขนส่งยุทธปัจจัยในวงล้อม "เดมแยงส์นั้น คือกระสุนสำหรับปืนใหญ่เฮาวิทเซอร์ โดยเฉพาะกระสุนของปืนใหญ่ขนาด 150 มิลลิเมตรแบบเอฟเฮช18 (FH 18) ซึ่งเป็นปืนใหญ่หลักของเยอรมันในการยิงสนับสนุนแนวตั้งรับในวงล้อม

ปืนใหญ่ชนิดนี้มีระยะยิงไกลถึง 13,325  เมตรหรือกว่า 13 กิโลเมตร เยอรมันค่อนข้างโชคดีที่มีปืนใหญ่ขนาดดังกล่าวในจำนวนที่มากพอ และอยู่ในสภาพที่ดี ก่อนที่ตกอยู่ในวงล้อมของรัสเซีย

กระสุนปืนใหญ่นี้มีน้ำหนักนัดละ 43 กิโลกรัมและใช้เวลาในการยิงน้อยกว่า นาทีต่อนัด โดยปกติแล้วกองบินที่  จะจัดสรรอาหาร น้ำ ยุทธปัจจัยอื่นๆ เช่น กระสุนปืนเล็ก ระเบิดขว้าง และกระสุนปืนใหญ่ โดยขนส่งกระสุนปืนใหญ่ในอัตรา 80– 100 ตันต่อวัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะในบางวันยอดการขนส่งก็ลดลง เนื่องจากอุปสรรคจากฝูงบินขับไล่ของรัสเซียและสภาพภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา

แม้ในบางห้วงเวลา กองบินที่ จะสามารถขนส่งยุทธปัจจัยได้เพิ่มขึ้นถึงวันละ 300 ตันและเพิ่มเป็นวันละ 544 ตันในห้วงเดือนมีนาคมก็ตาม ทำให้กองบินที่  ต้องใช้การทิ้งร่มลงในแนวตั้งรับของทหารเยอรมัน ซึ่งบางครั้งกระแสลมที่รุนแรงทำให้ยุทโธปกรณ์ที่ส่งลงมาถูกพัดเข้าไปแนวรบของทหารรัสเซีย

อุปสรรคเหล่านี้ทำให้หน่วยปืนใหญ่ของเยอรมันในแนวหน้าลดความแข็งแกร่งลงถึงร้อยละ 30 เนื่องจากขาดแคลนกระสุนปืนใหญ่ ตัวเลขที่น่าสนใจคือ เฉพาะกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ เพียงกองพลเดียว ใช้กระสุนของปืนใหญ่ขนาด 150 มิลลิเมตร แบบเอฟเฮช 18 เกินกว่าครึ่งหนึ่งของกระสุนปืนใหญ่ทั้งหมดในวงล้อม "เดมแยงส์

นอกจากนี้กองบินที่ ยังได้ลำเลียงปืนใหญ่ต่อสู้รถถังขนาด 45 มิลลิเมตร จำนวน 10 กระบอกที่ยึดมาได้จากฝ่ายรัสเซียให้กับทหารเยอรมันในแนวหน้าอีกด้วย เนื่องจากทหารเยอรมันสามารถหากระสุนได้จากการปะทะและยึดกระสุนขนาดดังกล่าวได้เป็นจำนวนมาก

นอกจากกระสุนปืนใหญ่และยุทโธปกรณ์อื่นๆ ตลอดจนเสบียงอาหารสำหรับทหารแล้ว อาหารสำหรับม้าจำนวนกว่า 20,000 ตัวที่ตกอยู่ในวงล้อมก็เป็นปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะม้าได้ถูกใช้ลากจูงเกวียนบรรทุกอาหาร กระสุนปืนเล็ก กระสุนปืนใหญ่และน้ำมัน ไปส่งให้ทหารเยอรมันในแนวหน้ากองบินที่ ต้องลำเลียงข้าวโอ็ตและหญ้าแห้งจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ในการดูแลม้าที่ตกอยู่ในวงล้อม ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าอาหารสำหรับม้าถูกจัดความสำคัญให้อยู่ในลำดับท้ายๆ ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนอาหารม้าและนับวันม้าเหล่านั้นก็จะผอมและไร้เรี่ยวแรงลงทุกวัน 

 (โปรดติดตามตอนต่อไป)




Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 15 ธันวาคม 2556 12:29:15 น.
Counter : 1708 Pageviews.

0 comments
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ…วางแผนการเงินอย่างไร ให้เหลือใช้ถึงปลายเดือน! สมาชิกหมายเลข 7654336
(13 เม.ย. 2567 02:04:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vuw.BlogGang.com

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]

บทความทั้งหมด