สมรภูมิ "เดมแยงส์" ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตอนที่ 3

สมรภูมิ "เดมแยงส์" (Battle of Demyansk)

ตอนที่ 3

จากหนังสือเรื่อง "สมรภูมิของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์"

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธ์ตาม พรบ.สิ่งพิมพ์ พ.ศ.2537

ห้ามทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและค้นคว้าแก่ผู้สนใจเท่านั้น


ในสมรภูมิที่เมือง "เดมแยงส์กองพล เอส เอส โทเทนคอฟ ขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพที่ 16 และถูกแบ่งกำลังออกเป็น กองกำลังเฉพาะกิจ หรือ “คามป์กรุพป์” ((Kampfgruppe) คำว่า “คามป์กรุพป์” เทียบเท่ากับ TaskForce หรือกองกำลังเฉพาะกิจในระบบการจัดกำลังของกองทัพสหรัฐอเมริกาโดยแต่ละกองกำลังได้รับมอบหมายให้ยึดพื้นที่รับผิดชอบเป็นเวลานานที่สุด ไม่ว่าจะต้องสูญเสียเพียงใดก็ตาม กองกำลังเฉพาะกิจแรกมีภารกิจในยึดเมืองสตารายารุสซ่า ส่วนอีกกองกำลังเฉพาะกิจหนึ่งเสริมพื้นที่แนวตั้งรับตลอดแนวแม่น้ำ "โลวัต" ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณปีกของกองทัพที่ 16


พลประจำปืนใหญ่ต่อสู้รถถังของเยอรมัน กำลังหลบกระสุนปืนใหญ่ของรัสเซียที่ยิงมาตกใกล้กับที่ตั้ง  


ในวันที่ 20 มกราคม ทหารรัสเซียทุ่มกำลังเข้าตีแนวตั้งรับของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ การสู้รบเป็นไปอย่างติดพัน บางแห่งถึงขั้นประชิดตัว ทหารรัสเซียสูญเสียอย่างหนักจากการสู้อย่างยิบตาของทหาร เอส เอส แต่ด้วยจำนวนที่น้อยกว่าทำให้ทหารรัสเซียสามารถเจาะแนวตั้งรับของทหารเยอรมันเข้ามาได้หลายช่อง และเริ่มบีบวงล้อมเข้ามาเรื่อยๆ กองทัพแดงใช้เวลาประมาณสามสัปดาห์ ก็สามารถปิดล้อมทหารเยอรมันในพื้นที่เมือง "เดมแยงส์ได้อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา ทหารรัสเซียยังสามารถโอบล้อมทหารเยอรมันเป็นวงล้อมเล็กๆ ซ้อนอยู่ในวงล้อม "เดมแยงส์อีกหลายแห่ง 

ทหารเอส เอส ต้องอาศัยพื้นที่หมู่บ้านแต่ละแห่ง ดัดแปลงเป็นที่มั่นของตนในการตั้งรับการเข้าตีอย่างรุนแรงและต่อเนื่องของทหารรัสเซีย ในขณะเดียวกันเครื่องบินของกองทัพรัสเซียก็ทิ้งระเบิดลงใส่ที่มั่นของทหารเยอรมันอยู่ตลอดเวลา ทำให้อาคารบ้านเรือนต่างๆ ในพื้นที่วงล้อมถูกทำลายลงเกือบสิ้นเชิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันทหารเยอรมันใช้อาคารเหล่านั้นเป็นที่มั่นในการตั้งรับ ส่งผลให้กำลังพลของเยอรมันต้องทนอากาศหนาวเหน็บในยามค่ำคืนอยู่กลางที่โล่ง หรือตามสุมทุมพุ่มไม้ ซึ่งนับว่าเป็นสภาพที่โหดร้ายมาก โดยเฉพาะฤดูหนาวในรัสเซียที่อุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ถึงยี่สิบองศาหรือกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม กำลังพลของกองพล เอส เอส โทเทนคอฟ นั้นยังนับว่ามีโอกาสดีมากกว่าทหารเยอรมันในกองทัพบกหรือหน่วยปกติอื่นๆ ทั้งนี้เพราะความใกล้ชิดส่วนตัวของ ธีโอดอร์ ไอค์เคอ กับ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทำให้เขาสามารถจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ตลอดจนเสื้อผ้าเครื่องกันหนาวคุณภาพดีมาให้กับกำลังพลของหน่วยได้เป็นจำนวนมาก ก่อนที่ "เดมแยงส์จะถูกปิดล้อมอย่างแน่นหนา จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรบและการต่อสู้กับความหนาวเย็นของทหาร เอส เอส มีสูงกว่าหน่วยทหารเยอรมันหน่วยอื่นๆ

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะมีอุปกรณ์ที่ดีมากเพียงใด แต่หิมะที่ตกลงมาอย่างหนักจนทำให้พื้นดินปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งขาวโพลนหนาถึงสามฟุตครึ่ง หรือเกือบหนึ่งเมตร ก็ได้ทำให้การรบเต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งจากความหนาวเย็น  ทัศนวิสัยในการมองเห็นและศักยภาพในการเคลื่อนที่

ในช่วงวิกฤตินี้เอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ตัดสินใจเรียกจอมพล แฮร์มานน์ เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน หรือ “ลุฟวาฟเฟอ” เข้าพบ โดยมอบหมายภารกิจในการส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ให้กับทหารเยอรมัน ที่ถูกปิดล้อมในวงล้อม "เดมแยงส์เพื่อให้ทหารเหล่านั้นสามารถยืนหยัดอยู่ได้ จนกว่ากองกำลังชุดใหญ่จะเข้าไปช่วยเหลือ 

จอมพลเกอริง จึงมอบหมายให้กองบินที่ 1 (Luftflotte 1) ภายใต้การบังคับบัญชาของพลอากาศโท อัลเฟรด เคลเลอร์ เข้าทำหน้าที่ดังกล่าว และเคลเลอร์ก็มอบหมายภารกิจในแนวหน้าให้กับโอแบร์ส เฟรดริค วิลเฮล์ม มอร์ซิค (Oberst Friedrich Wilhelm Morzik)

สำหรับกองบินที่ หรือ "ลุฟฟลอทท์ ของกองทัพอากาศเยอรมันนั้น มีลักษณะและขนาดเทียบเท่ากับการจัดกำลังในระดับกองพลของกองทัพบก 

กองบินที่ นี้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ ค..1939 ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเพียงไม่กี่เดือน มีกองบัญชาการหลักอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมัน และมีส่วนแยกอยู่ในดินแดนเอสโตเนีย แลตเวีย และลิธัวเนีย 

มีภารกิจในการสนับสนุนทางอากาศต่อยุทธการบาร์บารอสซ่า ในการรุกเข้าสู่สหภาพโซเวียต โดยรับผิดชอบการสนับสนุนในพื้นที่ทางตอนเหนือ สำหรับภารกิจของกองบินที่ ที่ “เดมแยงส์”  ในครั้งนี้ ก็คือ การส่งกำลังบำรุงให้กับทหารเยอรมันในวงล้อม "เดมแยงส์วันละ 240 ตันเป็นประจำทุกวัน ติดต่อกันนานกว่า 70 วันโดยทหารเยอรมันที่ติดอยู่ในวงล้อม จะต้องรักษาสนามบินสองแห่ง คือ สนามบินที่เมือง "เดมแยงส์และสนามบินที่เมือง "เปสกี้" เอาไว้ให้ได้ แม้จะต้องสูญเสียมากมายเพียงก็ตาม


รถถังแบบ แพนเซอร์


นับว่าโชคยังเข้าข้างเยอรมันอยู่มาก เพราะในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่แนวตั้งรับของเยอรมันในวงล้อม “เดมแยงส์” ยังคงแข็งแกร่งอยู่นั้น ท้องฟ้าดูจะสดใสเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้พื้นดินจะถูกปกคลุมด้วยหิมะหนาก็ตาม 

ทันวิสัยที่ดีนี่เอง ที่ทำให้กองบินที่ ของกองทัพอากาศเยอรมัน สามารถดำเนินการส่งกำลังบำรุงได้อย่างเต็มที่ นักบินเยอรมันใช้อากาศยานทุกชนิดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขนส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด, เครื่องบินลาดตระเวณ แม้กระทั่งเครื่องบินธุรการ นำยุทธปัจจัยจำนวนมากบินเข้าสู่วงล้อม "เดมแยงส์เที่ยวบินแล้วเที่ยวบินเล่า 

อย่างไรก็ตามเมื่อการรบยืดเยื้อออกไป การขนส่งยุทธสัมภาระเข้าสู่วงล้อม "เดมแยงส์ของกองทัพอากาศเยอรมัน ก็เต็มไปด้วยอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะเครื่องบินขับไล่ของรัสเซีย ที่คอยบินก่อกวนขบวนเครื่องบินลำเลียงแบบ เจยู  52 ที่เริ่มล้าสมัย อุ้ยอ้ายและเชื่องช้า โดยได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ ปี ค..1930 มีความเร็วเพียง 265 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็เป็นเครื่องบินที่ฮิตเลอร์ไว้วางใจ ให้เป็นเครื่องบินประจำตัวของเขาเมื่อแรกขึ้นดำรงตำแหน่ง "ท่านผู้นำหรือ "ฟือเรอห์" (Fuhrer)
นอกจากนี้ ยังมีน้อยครั้งที่ฝูงบินขับไล่ของเยอรมัน แบบ แมสเซอร์ชมิทท์ บีเอฟ 109 จะร่วมบินคุ้มกันให้กับเครื่องบินลำเลียง เนื่องจากความขาดแคลนเครื่องบินขับไล่ของกองบินที่ ในแนวรบด้านนี้
แต่ในเดือนมีนาคม ค..1942 ฝูงบินขับไล่ของเยอรมัน ก็สามารถจัดสรรเครื่องบินที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าต่อกรกับเครื่องขับไล่แบบ มิค 3 ของรัสเซีย ส่งผลให้เครื่องบินขับไล่ของรัสเซียถูกยิงตกเป็นจำนวน 162 ลำ ภายในเดือนมีนาคมเพียงเดือนเดียว
แต่ถึงแม้เครื่องบินขับไล่ของกองทัพแดง จะไม่สามารถครองความเป็นเจ้าอากาศเหนือน่านฟ้าเมือง "เดมแยงส์ได้อย่างเด็ดขาด พวกเขาก็สามารถสร้างความเสียหายให้เครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินทิ้งระเบิด แบบ ไฮน์เกล เฮชอี 111  ที่นำมาใช้ในภารกิจการขนส่งได้มากพอสมควร
สำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ ไฮน์เกล เฮชอี  111 รุ่นนี้ สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 14,000 กิโลกรัม ทำความเร็วได้  415 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงสงครามกลางเมืองในสเปน แต่ในช่วงการรบเหนือเกาะอังกฤษ เครื่องบินแบบ ไฮน์เกล เฮชอี 111 ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมาก จนต้องเพิ่มอาวุธปืนกลประจำเครื่องบินให้มากขึ้น แต่นั่นก็หมายถึงการเพิ่มจำนวนพลประจำปืนขึ้นไปอีก อันส่งผลให้ความสามารถในการบรรทุกสัมภาระของเครื่องบินชนิดนี้ลดลงเช่นกัน

แม้ฝูงบินขับไล่ของรัสเซียจะพยายามเข้าขัดขวาง แต่เนื่องจากในห้วงเวลานั้น นักบินรัสเซียยังด้อยประสบการณ์กว่านักบินของเยอรมันอยู่มาก จึงทำให้กองทัพอากาศของรัสเซียประสบกับความสูญเสียอย่างมาก

นอกจากเครื่องบินขับไล่ของรัสเซีย จะสร้างปัญหาให้กับขบวนเครื่องบินลำเลียงของเยอรมันแล้ว ปืนต่อสู้อากาศยาน ตลอดจนการยิงรบกวนด้วยอาวุธประจำกายของทหารราบรัสเซีย ที่กระชับวงล้อมอยู่อย่างหนาแน่น ก็ยังเป็นอุปสรรคและสร้างความเสียหายให้ฝูงบินลำเลียงมากพอสมควร

โดยเฉพาะปืนต่อสู้อากาศยานของรัสเซียนั้น สามารถยิงเครื่องบินลำเลียงแบบเจยู 52 ตกถึง 52 ลำภายในเดือนมีนาคม ค..1942 เพียงเดือนเดียว มอร์ซิค ผู้บังคับการกองบินที่ ของเยอรมัน ซึ่งย้ายกองบัญชาการกองบินของเขา เข้ามาอยู่ที่เมืองเปสกี้ (สนามบินเมืองเปสกี้เป็นสนามบินหนึ่งในสองสนามบินซึ่งอยู่ในวงล้อม "เดมแยงส์ที่ใช้ในการขนส่งยุทธปัจจัยตัดสินใจที่จะเปลี่ยนยุทธวิธีของเขา ด้วยการให้ฝูงบินลำเลียงของเขาบินเกาะกลุ่มด้วยจำนวนเครื่องบินที่มากขึ้นถึง 12 ลำต่อหนึ่งขบวน และบินด้วยความสูง 6,000 – 8,000 ฟุต (1,850 –  2,500 เมตรเพื่อให้พ้นรัศมีของปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดเล็กของรัสเซีย

การเกาะกลุ่มขนาดใหญ่ในลักษณะนี้ ทำให้เครื่องบินขับไล่ของเยอรมันที่มีอยู่น้อย สามารถให้การสนับสนุนในการบินคุ้มกันได้อย่างทั่วถึง การเปลี่ยนยุทธวิธีในครั้งนี้ทำให้ยอดการสูญเสียเครื่องบินลำเลียงแบบ เจยู 52 ลดลงเหลือเพียง ลำในเดือนถัดมา คือเดือนเมษายน แต่กลับสามารถทำลายเครื่องบินขับไล่ของรัสเซียได้เป็นจำนวนถึง 260 ลำในเดือนเดียวกันนี้เอง

สำหรับความสูญเสียทางอากาศในภาพรวมทั้งหมด ตลอดระยะเวลาการรบที่ “เดมแยงส์” นั้นฝ่ายรัสเซียสูญเสียเครื่องบินไปถึง 408 ลำมีนักบินเสียชีวิตหรือถูกจับเป็นเชลย 243 คนส่วนเยอรมันสูญเสียเครื่องบินไป 265 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินขนส่งแบบ จุงเกอร์ เจยู 52 จำนวน 106 ลำ และเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางแบบ ไฮน์เกล เฮชอี 111 อีก 17 ลำนอกจากนี้เยอรมันยังสูญเสียนักบินและพลประจำเครื่องบินที่มีประสบการณ์ไปอีกจำนวน 387 นายด้วย 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)





Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 15 ธันวาคม 2556 12:34:44 น.
Counter : 2229 Pageviews.

0 comments
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
AI คืออะไร ? ข้อดีของ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยในการผ่าตัด newyorknurse
(19 เม.ย. 2567 02:45:03 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Vuw.BlogGang.com

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]

บทความทั้งหมด